โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
สุพรรณบุรีเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีของดีซุกซ่อนอยู่หลากหลาย
สำหรับ“พุหางนาค” ถือเป็นอีกหนึ่งของดีซ่อนกายแห่งสุพรรณ เพิ่งเปิดตัวเป็นแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่ แต่ว่ามาแรงไม่เบา
พุหางนาคหรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “อุทยานสวนหินพุทธสถานทวารวดีอู่ทอง(พุหางนาค)” เป็นส่วนหนึ่งของ “วนอุทยานพุม่วง” ในพื้นที่อ.อู่ทอง ซึ่งวันนี้ทางองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(อพท.) สมาพันธ์สมาคมเครือข่ายท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สคท.) กับเจ้าของพื้นที่อย่างวนอุทยานพุม่วง และเทศบาลตำบลท้าวอู่ทอง ได้ร่วมมือกันพัฒนา ผลักดัน ให้พุหางนาคเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำอีกแห่งหนึ่งของเมืองสุพรรณ
พุหางนาค มีความโดดเด่นทั้งเรื่องของประวัติศาสตร์และธรรมชาติ (รวมไปถึงความเชื่อ“เฉพาะบุคคล”ในเรื่องของสิ่งศักดิสิทธิ์และความลี้ลับบางอย่างที่ยังพิสูจน์ไม่ได้)
ในทางประวัติศาสตร์ มีการค้นพบ “อาคารเรียงหิน”ซ้อนชั้นกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งพบทั้งที่พุหางนาค และที่อื่นๆอีกกว่า 20 จุดในเขตเมืองโบราณอู่ทอง กระจายตัวอยู่ทั่วไปตามแนวเทือกเขา
อาคารเรียงหินเหล่านี้ มีข้อสันนิษฐานจากนักวิชาการแตกต่างกันไป บ้างว่าเป็นยุคเดียวกับวัฒนธรรม “หินตั้ง” เมื่อกว่า 2,000 ปีก่อน ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ในยุคบูชาผีหรืออำนาจเหนือธรรมชาติ บ้างเชื่อว่าเป็นดังเจดีย์หินใช้บูชาพญาแถนหรือเทพเจ้า ส่วนบ้างก็สันนิษฐานว่านี่เป็นอาคารแบบเดียวกับ “หอคอยหิน” ในต่างประเทศ ที่สร้างขึ้นเพื่อให้สัญญาณไฟหรือสร้างเป็นที่ระวังภัย ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่นักวิชาการ นักโบราณคดีคงต้องไปศึกษา ค้นคว้า หาข้อมูลกันต่อไป
ส่วนในทางธรรมชาติ พุหางนาคนอกจากจะมีระบบนิเวศที่หลากหลายแล้ว ที่นี่ยังเป็นแหล่งธรรมชาติแปลกตาน่าทึ่ง มากไปด้วยเสน่ห์ชวนค้นหา ซึ่งปฐมบทการเที่ยวพุหางนาคของผมเริ่มขึ้นที่ “สำนักสงฆ์พุหางนาค” ที่วันนี้มีอีกบทบาทหนึ่งในฐานะศูนย์บริการนักท่องเที่ยว(ชั่วคราว)
สำหรับการจะเข้าไปเที่ยวตามจุดต่างๆของพุหางนาค ควรมีเจ้าหน้าที่หรือมัคคุเทศก์น้อยนำทาง เพื่อป้องกันการหลงทางของนักท่องเที่ยวรวมถึงคอยให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีป้ายบอกทางและป้ายสื่อความหมาย โดยผู้ที่จะทำหน้าที่พาผมและคณะออกตะลุยในครั้งนี้คือ พี่“สมเกียรติ สำเร็จทรัพย์” เจ้าของฉายา “หางนาค 6” หนึ่งในทีมจิตอาสาพาเที่ยวพุหางนาค
งานนี้พี่สมเกียรติไม่ได้มาคนเดียวโดดๆ หากแต่พาเด็กสร้าง อย่าง “น้ำหวาน”(ด.ญ.ปวันรัตน์ ศรีสว่าง) และ “แชมป์”(ด.ช.พิชิตชัย สมนึก) สองมัคคุเทศก์น้อยมาร่วมเป็นกองหนุนด้วย
ก่อนที่จะออกเดินตะลุย พี่สมเกียรติพาผมไปสักการะ“หลวงปู่ใหญ่” เพื่อความเป็นสิริมงคลเอาฤกษ์เอาชัย
หลวงปู่ใหญ่เป็นพระปางไสยาสน์(พระนอน) สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่พุหางนาค ที่ประดิษฐานอยู่ใน “ถ้ำหลวงปู่ใหญ่” ถ้ำที่มีหลักฐานการค้นพบมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ก่อนมาเปิดเป็นศาสนสถานในปี พ.ศ. 2513
ถ้ำหลวงปู่ใหญ่เป็นถ้ำมีโพรงเปิดให้แสงแดดสาดส่องลงมายังบริเวณช่วงบนของหลวงปู่ใหญ่ ซึ่งช่วงกลางองค์พระมีหินเป็นรูปหนุมาน ส่วนช่วงเหนือเศียรมีหินเป็นรูปหัวช้างให้จินตนาการ แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันน้ำฝนเหนือถ้ำเปลี่ยนทางไหลลงมากระทบพระพักตร์ของหลวงปู่ ทำให้ต้องทำเพิงสังกะสีกันไว้ ดูประดักประเดิด ซึ่งหากทางพุหางนาคได้งบพัฒนามา ควรปรับปรุงภูมิทัศน์ในจุดนี้ให้กลมกลืนดูดีกว่านี้ก็จะดีมาก
จากหลวงปู่ใหญ่พี่สมเกียรติพาผมเดินผ่านดงจันทน์ผาต้นโตไปแวะหยุดยังบ่อพักน้ำตามธรรมชาติที่ใช้สำหรับรดน้ำต้นไม้ที่นี่ พร้อมอธิบายถึงที่มาของชื่อพุหางนาคให้ฟังว่า “พุ” คือ น้ำผุดตามธรรมชาติที่ผุดขึ้นมาทางด้านล่างของภูเขา ซึ่งเชื่อว่าเป็นส่วนของหางนาค
พูดถึงนาคแล้ว ชาวบ้านที่นี่(ส่วนหนึ่ง)มีความเชื่อว่าที่พุหางนาคเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ มีพญานาค 3 ตน คอยปกปักรักษา แบ่งพื้นที่กันดูแลในช่วงบน กลาง ล่าง
พี่สมเกียรติพาพวกเราเดินหน้าต่อไป ระหว่างนี้น้องน้ำหวานชี้ให้ดูหินก้อนหนึ่งที่ดูด้านล่างไม่เห็นว่ามันจะเด่นตรงไหน แต่เมื่อเดินขึ้นไปด้านบนแล้วมองย้อนลงมาจะเห็นเป็นรูปหัวลิง(ต้องจินตนาการตาม) ที่ชาวบ้านเรียกขานว่า “หินพญาวานร”
จากนั้นเมื่อเดินถัดสูงขึ้นไปจะเป็นซอกหินแคบๆให้มุดลอด พี่สมเกียรติบอกว่านี่เป็นประตูเมืองลับแลที่ถือเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของคนสมัยก่อนที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน พร้อมๆกับเรื่องเล่าว่าในวันขึ้น 15 ค่ำ เคยมีคนได้ยินเสียงปี่พาทย์และการจัดงานมหรสพดังมาจากที่แห่งนี้
ภายในเมืองลับแลถือเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญของพุหางนาค ในนี้มีสวนหินที่มากไปด้วยหินรูปร่างประหลาดชวนให้จินตนาการเพียบ ไม่ว่าจะเป็น หินรูปปลาซัคเกอร์ที่แชมป์ชี้ให้ดูเห็นมันกำลังเกาะห้อยอยู่ริมกำแพงหินใหญ่ หินรูปหัวใจที่หากใครกำลังอกหักอาจมองเห็นเป็นอย่างอื่นได้ หินรูปเต่ายิ้มกำลังเดินลงเขาอันแสนน่ารักเห็นแล้วอดยิ้มตามไม่ได้ หินรูปเต่ากำลังเดินขึ้นเขา หินรูปช้าง รูปหัวช้าง หินรูปเศียรพญานาค หินรูปวาฬสวมหมวกแก๊ป หินรูปปลาไหล หินรูปเป็ด(ย่าง)หรือรูปนกสุดแท้แต่จะมอง เป็นต้น
นอกจากนี้ก็ยังมีก้อนหินประหลาดลักษณะดูคล้ายเปลือกไม้กลายเป็นหินปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก หินหลายก้อนวางซ้อนชั้นเรียงกันอยู่ บางก้อนวางเหมือนจะตกแต่มันคงแข็งแรง โยกผลักกันไม่มีสั่นไหว
พี่สมเกียรติบอกว่าหินพวกนี้เป็นหินตะกอน เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนใต้ทะเล มีอายุประมาณ 400-500 ล้านปีในยุคออร์โดวิเชียน ก่อนที่โลกจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดกลุ่มหินพวกนี้ขึ้นที่พุหางนาค
ในบรรดาก้อนหินตะกอนมากหลาย มีอยู่ 2 ก้อน ก้อนแรกมีเส้นสายลวดลายรอยสีเหลืองที่พี่พี่สมเกียรติบอกเป็นรูปงูสู้กับนกอินทรี ส่วนก้อนที่ 2 เป็นก้อนไฮไลท์ มีริ้วรอยเป็นทางขาวมองคล้ายลำตัวช่วงบนของพญานาคที่ช่วยตอกย้ำความเป็นพุหางนาคให้ดูหนักแน่นยิ่งขึ้น เพราะด้านบนเขาเป็นส่วนหัวนาค ด้านล่างที่มีพุเป็นส่วนหางนาค
ขณะที่ต้นไม้ในระดับไฮไลท์นั้น เห็นจะหนีไม่พ้นต้นจันทน์ผาที่นอกจากจะมีต้นโตขึ้นทั่วไปแล้ว ยังมีจันทน์ผาต้นเด่น 2 ต้นขึ้นอยู่ในจุดที่แตกต่างกัน
ต้นแรกเป็นจันทน์ผาต้นใหญ่โดดๆขึ้นบนก้อนหินตะกอน ได้ชื่อว่าเป็น“จันทน์ผาสัญญารัก” สัญลักษณ์ของพุหางนาค อีกต้นหนึ่งเป็นจันทน์ผาต้นยักษ์อายุหลายร้อยปีที่ขึ้นบริเวณจุดชมวิว มองลงไปเห็นอำเภออู่ทองและเห็นถึงความเป็นแหล่งดอกไม้นานาชนิดของขุนเขาลูกนี้ จนที่นี่ได้ชื่อว่า “ภูเขาบุษยคีรี” ที่หมายถึงภูเขาที่มีดอกไม้หลากหลาย
นอกจากต้นไม้เด่นๆทั้งหลายตามที่กล่าวมาแล้ว ในช่วงขาเดินลง พี่สมเกียรติพาไปดูต้นมะกลักประหลาด ซึ่งแกเรียกว่าเป็นต้นไม้ 2 เพศ ที่เมื่อเห็นแล้วไม่ต้องมีคำอธิบายใดๆ แต่ละคนก็ถึงบางอ้อในความเป็น 2 เพศของมัน
นับเป็นอีกหนึ่งธรรมชาติประหลาดส่งท้ายการเที่ยวพุหางนาคของผมในครั้งนี้ ที่ยังไงก็ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายช่วยกันดูแลรักษาป่าพุหางนาคไว้ให้ดี อย่าให้เกิดกรณีดังแล้วเสียศูนย์เหมือนกับแหล่งท่องเที่ยวหลายๆแห่งในบ้านเรา
**************************************************************************
พุหางนาค หรือ อุทยานพุทธสถานทวารวดีอู่ทอง(พุหางนาค)ตั้งอยู่ในวนอุทยานพุม่วง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี อยู่ห่างจากตัวเมืองสุพรรณฯไปประมาณ 30 กม. จะถึงหอนาฬิกาอู่ทอง ตรงเข้าไปวงเวียนแล้วออกตรงทางที่สอง ไปทางวัดเขาพระฯ เลี้ยวซ้ายก่อนถึงวัดเขาพระฯ แล้วมุ่งสู่สำนักสงค์พุหางนาคก็จะถึง
นอกจากสิ่งน่าสนใจในเนื้อเรื่องแล้ว พุหางนาคยังมีสิ่งน่าสนใจอีกหลากหลาย อาทิ ถ้ำบาดาล สะพานหิน ปรง 4 ยอด ลานหินตัด เป็นต้น นอกจากนี้พุหางนาคกับพิพิธภัณฑ์อู่ทอง ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงในเส้นทาง "ไหว้พระออมบุญ 5 ขุนเขา 1 ศาลเจ้าพ่อพระยาจักร" ของ อ.อู่ทอง
สำหรับผู้สนใจท่องเที่ยวพุหางนาค สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วนอุทยานพุม่วง 089-948-3018 หรือที่ เทศบาลตำบลท้าวอู่ทอง โทร.0-3555-2997
สุพรรณบุรีเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีของดีซุกซ่อนอยู่หลากหลาย
สำหรับ“พุหางนาค” ถือเป็นอีกหนึ่งของดีซ่อนกายแห่งสุพรรณ เพิ่งเปิดตัวเป็นแหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่ แต่ว่ามาแรงไม่เบา
พุหางนาคหรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “อุทยานสวนหินพุทธสถานทวารวดีอู่ทอง(พุหางนาค)” เป็นส่วนหนึ่งของ “วนอุทยานพุม่วง” ในพื้นที่อ.อู่ทอง ซึ่งวันนี้ทางองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(อพท.) สมาพันธ์สมาคมเครือข่ายท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สคท.) กับเจ้าของพื้นที่อย่างวนอุทยานพุม่วง และเทศบาลตำบลท้าวอู่ทอง ได้ร่วมมือกันพัฒนา ผลักดัน ให้พุหางนาคเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำอีกแห่งหนึ่งของเมืองสุพรรณ
พุหางนาค มีความโดดเด่นทั้งเรื่องของประวัติศาสตร์และธรรมชาติ (รวมไปถึงความเชื่อ“เฉพาะบุคคล”ในเรื่องของสิ่งศักดิสิทธิ์และความลี้ลับบางอย่างที่ยังพิสูจน์ไม่ได้)
ในทางประวัติศาสตร์ มีการค้นพบ “อาคารเรียงหิน”ซ้อนชั้นกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งพบทั้งที่พุหางนาค และที่อื่นๆอีกกว่า 20 จุดในเขตเมืองโบราณอู่ทอง กระจายตัวอยู่ทั่วไปตามแนวเทือกเขา
อาคารเรียงหินเหล่านี้ มีข้อสันนิษฐานจากนักวิชาการแตกต่างกันไป บ้างว่าเป็นยุคเดียวกับวัฒนธรรม “หินตั้ง” เมื่อกว่า 2,000 ปีก่อน ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ในยุคบูชาผีหรืออำนาจเหนือธรรมชาติ บ้างเชื่อว่าเป็นดังเจดีย์หินใช้บูชาพญาแถนหรือเทพเจ้า ส่วนบ้างก็สันนิษฐานว่านี่เป็นอาคารแบบเดียวกับ “หอคอยหิน” ในต่างประเทศ ที่สร้างขึ้นเพื่อให้สัญญาณไฟหรือสร้างเป็นที่ระวังภัย ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่นักวิชาการ นักโบราณคดีคงต้องไปศึกษา ค้นคว้า หาข้อมูลกันต่อไป
ส่วนในทางธรรมชาติ พุหางนาคนอกจากจะมีระบบนิเวศที่หลากหลายแล้ว ที่นี่ยังเป็นแหล่งธรรมชาติแปลกตาน่าทึ่ง มากไปด้วยเสน่ห์ชวนค้นหา ซึ่งปฐมบทการเที่ยวพุหางนาคของผมเริ่มขึ้นที่ “สำนักสงฆ์พุหางนาค” ที่วันนี้มีอีกบทบาทหนึ่งในฐานะศูนย์บริการนักท่องเที่ยว(ชั่วคราว)
สำหรับการจะเข้าไปเที่ยวตามจุดต่างๆของพุหางนาค ควรมีเจ้าหน้าที่หรือมัคคุเทศก์น้อยนำทาง เพื่อป้องกันการหลงทางของนักท่องเที่ยวรวมถึงคอยให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีป้ายบอกทางและป้ายสื่อความหมาย โดยผู้ที่จะทำหน้าที่พาผมและคณะออกตะลุยในครั้งนี้คือ พี่“สมเกียรติ สำเร็จทรัพย์” เจ้าของฉายา “หางนาค 6” หนึ่งในทีมจิตอาสาพาเที่ยวพุหางนาค
งานนี้พี่สมเกียรติไม่ได้มาคนเดียวโดดๆ หากแต่พาเด็กสร้าง อย่าง “น้ำหวาน”(ด.ญ.ปวันรัตน์ ศรีสว่าง) และ “แชมป์”(ด.ช.พิชิตชัย สมนึก) สองมัคคุเทศก์น้อยมาร่วมเป็นกองหนุนด้วย
ก่อนที่จะออกเดินตะลุย พี่สมเกียรติพาผมไปสักการะ“หลวงปู่ใหญ่” เพื่อความเป็นสิริมงคลเอาฤกษ์เอาชัย
หลวงปู่ใหญ่เป็นพระปางไสยาสน์(พระนอน) สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่พุหางนาค ที่ประดิษฐานอยู่ใน “ถ้ำหลวงปู่ใหญ่” ถ้ำที่มีหลักฐานการค้นพบมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ก่อนมาเปิดเป็นศาสนสถานในปี พ.ศ. 2513
ถ้ำหลวงปู่ใหญ่เป็นถ้ำมีโพรงเปิดให้แสงแดดสาดส่องลงมายังบริเวณช่วงบนของหลวงปู่ใหญ่ ซึ่งช่วงกลางองค์พระมีหินเป็นรูปหนุมาน ส่วนช่วงเหนือเศียรมีหินเป็นรูปหัวช้างให้จินตนาการ แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันน้ำฝนเหนือถ้ำเปลี่ยนทางไหลลงมากระทบพระพักตร์ของหลวงปู่ ทำให้ต้องทำเพิงสังกะสีกันไว้ ดูประดักประเดิด ซึ่งหากทางพุหางนาคได้งบพัฒนามา ควรปรับปรุงภูมิทัศน์ในจุดนี้ให้กลมกลืนดูดีกว่านี้ก็จะดีมาก
จากหลวงปู่ใหญ่พี่สมเกียรติพาผมเดินผ่านดงจันทน์ผาต้นโตไปแวะหยุดยังบ่อพักน้ำตามธรรมชาติที่ใช้สำหรับรดน้ำต้นไม้ที่นี่ พร้อมอธิบายถึงที่มาของชื่อพุหางนาคให้ฟังว่า “พุ” คือ น้ำผุดตามธรรมชาติที่ผุดขึ้นมาทางด้านล่างของภูเขา ซึ่งเชื่อว่าเป็นส่วนของหางนาค
พูดถึงนาคแล้ว ชาวบ้านที่นี่(ส่วนหนึ่ง)มีความเชื่อว่าที่พุหางนาคเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ มีพญานาค 3 ตน คอยปกปักรักษา แบ่งพื้นที่กันดูแลในช่วงบน กลาง ล่าง
พี่สมเกียรติพาพวกเราเดินหน้าต่อไป ระหว่างนี้น้องน้ำหวานชี้ให้ดูหินก้อนหนึ่งที่ดูด้านล่างไม่เห็นว่ามันจะเด่นตรงไหน แต่เมื่อเดินขึ้นไปด้านบนแล้วมองย้อนลงมาจะเห็นเป็นรูปหัวลิง(ต้องจินตนาการตาม) ที่ชาวบ้านเรียกขานว่า “หินพญาวานร”
จากนั้นเมื่อเดินถัดสูงขึ้นไปจะเป็นซอกหินแคบๆให้มุดลอด พี่สมเกียรติบอกว่านี่เป็นประตูเมืองลับแลที่ถือเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของคนสมัยก่อนที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน พร้อมๆกับเรื่องเล่าว่าในวันขึ้น 15 ค่ำ เคยมีคนได้ยินเสียงปี่พาทย์และการจัดงานมหรสพดังมาจากที่แห่งนี้
ภายในเมืองลับแลถือเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญของพุหางนาค ในนี้มีสวนหินที่มากไปด้วยหินรูปร่างประหลาดชวนให้จินตนาการเพียบ ไม่ว่าจะเป็น หินรูปปลาซัคเกอร์ที่แชมป์ชี้ให้ดูเห็นมันกำลังเกาะห้อยอยู่ริมกำแพงหินใหญ่ หินรูปหัวใจที่หากใครกำลังอกหักอาจมองเห็นเป็นอย่างอื่นได้ หินรูปเต่ายิ้มกำลังเดินลงเขาอันแสนน่ารักเห็นแล้วอดยิ้มตามไม่ได้ หินรูปเต่ากำลังเดินขึ้นเขา หินรูปช้าง รูปหัวช้าง หินรูปเศียรพญานาค หินรูปวาฬสวมหมวกแก๊ป หินรูปปลาไหล หินรูปเป็ด(ย่าง)หรือรูปนกสุดแท้แต่จะมอง เป็นต้น
นอกจากนี้ก็ยังมีก้อนหินประหลาดลักษณะดูคล้ายเปลือกไม้กลายเป็นหินปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก หินหลายก้อนวางซ้อนชั้นเรียงกันอยู่ บางก้อนวางเหมือนจะตกแต่มันคงแข็งแรง โยกผลักกันไม่มีสั่นไหว
พี่สมเกียรติบอกว่าหินพวกนี้เป็นหินตะกอน เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนใต้ทะเล มีอายุประมาณ 400-500 ล้านปีในยุคออร์โดวิเชียน ก่อนที่โลกจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดกลุ่มหินพวกนี้ขึ้นที่พุหางนาค
ในบรรดาก้อนหินตะกอนมากหลาย มีอยู่ 2 ก้อน ก้อนแรกมีเส้นสายลวดลายรอยสีเหลืองที่พี่พี่สมเกียรติบอกเป็นรูปงูสู้กับนกอินทรี ส่วนก้อนที่ 2 เป็นก้อนไฮไลท์ มีริ้วรอยเป็นทางขาวมองคล้ายลำตัวช่วงบนของพญานาคที่ช่วยตอกย้ำความเป็นพุหางนาคให้ดูหนักแน่นยิ่งขึ้น เพราะด้านบนเขาเป็นส่วนหัวนาค ด้านล่างที่มีพุเป็นส่วนหางนาค
ขณะที่ต้นไม้ในระดับไฮไลท์นั้น เห็นจะหนีไม่พ้นต้นจันทน์ผาที่นอกจากจะมีต้นโตขึ้นทั่วไปแล้ว ยังมีจันทน์ผาต้นเด่น 2 ต้นขึ้นอยู่ในจุดที่แตกต่างกัน
ต้นแรกเป็นจันทน์ผาต้นใหญ่โดดๆขึ้นบนก้อนหินตะกอน ได้ชื่อว่าเป็น“จันทน์ผาสัญญารัก” สัญลักษณ์ของพุหางนาค อีกต้นหนึ่งเป็นจันทน์ผาต้นยักษ์อายุหลายร้อยปีที่ขึ้นบริเวณจุดชมวิว มองลงไปเห็นอำเภออู่ทองและเห็นถึงความเป็นแหล่งดอกไม้นานาชนิดของขุนเขาลูกนี้ จนที่นี่ได้ชื่อว่า “ภูเขาบุษยคีรี” ที่หมายถึงภูเขาที่มีดอกไม้หลากหลาย
นอกจากต้นไม้เด่นๆทั้งหลายตามที่กล่าวมาแล้ว ในช่วงขาเดินลง พี่สมเกียรติพาไปดูต้นมะกลักประหลาด ซึ่งแกเรียกว่าเป็นต้นไม้ 2 เพศ ที่เมื่อเห็นแล้วไม่ต้องมีคำอธิบายใดๆ แต่ละคนก็ถึงบางอ้อในความเป็น 2 เพศของมัน
นับเป็นอีกหนึ่งธรรมชาติประหลาดส่งท้ายการเที่ยวพุหางนาคของผมในครั้งนี้ ที่ยังไงก็ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายช่วยกันดูแลรักษาป่าพุหางนาคไว้ให้ดี อย่าให้เกิดกรณีดังแล้วเสียศูนย์เหมือนกับแหล่งท่องเที่ยวหลายๆแห่งในบ้านเรา
**************************************************************************
พุหางนาค หรือ อุทยานพุทธสถานทวารวดีอู่ทอง(พุหางนาค)ตั้งอยู่ในวนอุทยานพุม่วง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี อยู่ห่างจากตัวเมืองสุพรรณฯไปประมาณ 30 กม. จะถึงหอนาฬิกาอู่ทอง ตรงเข้าไปวงเวียนแล้วออกตรงทางที่สอง ไปทางวัดเขาพระฯ เลี้ยวซ้ายก่อนถึงวัดเขาพระฯ แล้วมุ่งสู่สำนักสงค์พุหางนาคก็จะถึง
นอกจากสิ่งน่าสนใจในเนื้อเรื่องแล้ว พุหางนาคยังมีสิ่งน่าสนใจอีกหลากหลาย อาทิ ถ้ำบาดาล สะพานหิน ปรง 4 ยอด ลานหินตัด เป็นต้น นอกจากนี้พุหางนาคกับพิพิธภัณฑ์อู่ทอง ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงในเส้นทาง "ไหว้พระออมบุญ 5 ขุนเขา 1 ศาลเจ้าพ่อพระยาจักร" ของ อ.อู่ทอง
สำหรับผู้สนใจท่องเที่ยวพุหางนาค สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วนอุทยานพุม่วง 089-948-3018 หรือที่ เทศบาลตำบลท้าวอู่ทอง โทร.0-3555-2997