โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
ปี พ.ศ. 2543 “ณรงค์” เพื่อนผมมันชวนไปเที่ยวบ้านมันที่ “หมู่บ้านปากจก” บน “เกาะพระทอง” นั่นเป็นการรู้จักและสัมผัสกับเกาะพระทองครั้งแรก ด้วยความงดงามจากธรรมชาติอันพิสุทธิ์ผสานกับวิถีชีวิตอันเรียบง่ายแต่ทรงเสน่ห์ ถือเป็นความทรงจำชั้นดีที่ผมยังประทับใจไม่รู้ลืม
ปี 2546 เกาะพระทองได้รับการคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ให้เป็น “อันซีนไทยแลนด์” ส่งผลให้เกาะแห่งนี้โด่งดังเพียงชั่วข้ามคืน โดยเฉพาะกับทุ่งหญ้าสีทองอันงดงามบนเกาะที่ได้รับฉายาว่า “สะวันนาเมืองไทย” นั้นถือเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างดีให้เดินทางมาสัมผัสกับธรรมชาติอันพิสุทธิ์บนหมู่เกาะแห่งนี้ จนหลายคนอดหวั่นไม่ได้ว่าชื่อเสียง ความโด่งดังที่มาเร็วเกินไป อาจจะทำให้เกาะพระทองต้องเสียศูนย์ในอนาคตอันไม่ไกล
แต่...ปลายปี 2547 เกิดเหตุการณ์ธรรมชาติวิปโยค คลื่นยักษ์สึนามิที่คนไทยไม่เคยพบพาน ได้ถั่งโถมโหมกระหน่ำเกาะพระทองจนย่อยยับ หมู่บ้านปากจกที่ผมเคยไปนอน ถูกคลื่นยักษ์พัดราบพนาสูร บ้านเรือนเสียหาย ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก รวมถึงครอบครัวของณรงค์ซึ่งถูกคลื่นยักษ์พัดทำลายเสียชีวิตเกือบหมด(ส่วนณรงค์รอดเพราะวันนั้นเขาทำธุระอยู่บนฝั่ง)
หลังเหตุการณ์สึนามิถล่มปี 47 เกาะพระทองที่กำลังมาแรงทางการท่องเที่ยว สะดุดล้มโครม มาจนถึงวันนี้สภาพการณ์ทางการท่องเที่ยวบนเกาะพระทอง(ในสายตาของคนทำธุรกิจท่องเที่ยวและหน่วยงายที่ดูแลด้านการท่องเที่ยว) ยังไม่ฟื้น แต่ธรรมชาติบนเกาะพระทองนั้นฟื้นนานแล้ว ซึ่งนี่ถือเป็นเสน่ห์สำคัญให้ผมเดินทางกลับมาเยือนเกาะพระทองอีกครั้ง
เกาะอันดับ 5...แปลกตาธรรมชาติ
เกาะพระทอง ตั้งอยู่ใน อ.คุระบุรี จ.พังงา มีพื้นที่ 102 ตารางกิโลเมตร(ข้อมูลจาก อบต.เกาะพระทอง) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในพังงาและใหญ่เป็นอันดับ 5 ของเมืองไทย
เกาะพระทองเกิดจากซากปะการังทับถมกันมายาวนานนับล้านๆปี จนเกิดเป็นเกาะที่มีสภาพภูมิประเทศที่แปลกตา คือมีลักษณะค่อนข้างแบนราบ กลายเป็นลักษณะเฉพาะตัวอันโดดเด่นของเกาะแห่งนี้
แม้พื้นดินบนเกาะพระทองส่วนใหญ่จะเป็นดินปนทรายไม่เหมาะต่อการเพาะปลูก อันเนื่องมาจากสภาพธรรมชาติและเคยผ่านการทำเหมืองแร่มาก่อน ทำให้ที่นี่มีพืชเศรษฐกิจหลักเพียงมะม่วงหิมพานต์(กาหยี) กับมะพร้าว แต่เกาะพระทองกลับเป็นเกาะที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก บนเกาะมีทั้งชายหาด ป่าชายหาด ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าเสม็ด ทุ่งหญ้า ไม้พุ่ม พืชสังคมทดแทน กล้วยไม้หายาก
ทางฝั่งตะวันออกของเกาะที่อยู่ห่างจากคุระบุรีแค่ราว 2 กม.นั้น เป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ถือเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญ คลังอาหารตามธรรมชาติชั้นเลิศของชาวเกาะ เพราะมีทั้ง กุ้ง หอย ปู ปลา โดยเฉพาะกับ “ปูดำ” ที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจเด่นของที่นี่ ส่วนทางด้านฝั่งตะวันตกจะเป็นแนวชายหาดอันสวยงามทอดยาวมีทิวสนขึ้นประดับในบางช่วง ขณะที่ถัดลึกเข้ามาจะเป็นไฮไลท์ของที่นี่กับป่าเสม็ด กับทุ่งหญ้าที่มีความสวยงามโดดเด่นจนได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน “อันซีนไทยแลนด์”
บนเกาะพระทองยังมากไปด้วยสัตว์นานาพันธุ์ โดยที่ถือเป็นไฮไลท์ก็คือ “กวางม้า” หรือ กวางป่าตัวโต ที่ปัจจุบันต้องช่วยกันอนุรักษ์ดูแลให้ดี เพราะกวางป่าที่นี่ถูกหมาเลี้ยง หมาบ้าน ที่เริ่มเปลี่ยนวิถีกลายเป็นหมาป่าไล่ล่า เนื่องจากเจ้าของหมาพวกนี้ส่วนหนึ่งเสียชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ อีกส่วนหนึ่งอพยพไปอยู่บนฝั่ง ปล่อยทิ้งพวกมันให้หากินตามยถากรรม ส่วนอีกหนึ่งผู้ล่ากวางที่สำคัญนั้นย่อมหนีไม่พ้น “คน” ที่มีทั้งคนนอกคนใน ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่กลุ่มหนึ่งได้ตั้งกลุ่มอนุรักษ์กวางขึ้นมา คอยดูแลไม่ให้ทั้งหมาทั้งคนไล่ล่า และร่วมอยู่กับกวางอย่างเป็นมิตร
นอกจากนี้บนเกาะพระทองยังเป็นแหล่งวางไข่เต่าทะเลที่สำคัญของเมืองไทย ซึ่งชาวบ้านได้ตั้งกลุ่มอนุรักษ์ดูแลเต่าทะเลขึ้นมา อีกทั้งยังเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญ เพราะบนเกาะมีนกเกือบ 140 ชนิด ทั้งนกป่า นกน้ำ มีนกที่เด่นๆอย่าง กาน้ำ เหยี่ยวแดง กระสานวล ปากซ่อม รวมถึงนกหายากอย่าง “นกแก๊ก” และ“นกตะกรุม” ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ นับเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์อันโดดเด่นที่ตอกย้ำถึงลักษณะเฉพาะและความหลากหลายทางธรรมชาติของเกาะพระทอง
นั่งอีแต๊ก ท่องเกาะพระทอง
แม้จะเป็นเกาะขนาดใหญ่ แต่บนเกาะพระทองมีแค่ 3 หมู่บ้าน คือบ้านปากจก บ้านทุ่งดาบ และบ้านแป๊ะโย้ย เดิมที่เกาะเคยมีประชากรอาศัยอยู่ในหลักหลายร้อย แต่หลังเหตุการณ์สึนามิประชากรหายไปกว่าครึ่ง นั่นจึงทำให้เกาะพระทองวันนี้มีสภาพเงียบเหงาไม่น้อย
จากบนฝั่งที่ท่าบางแดด เรือโดยสารใช้เวลาประมาณ 40 นาที พาผมและคณะมาส่งบนเกาะพระทองที่ท่าบ้านแป๊ะโย้ย
ครั้นเมื่อเดินขึ้นฝั่งเข้าสู่หมู่บ้าน สิ่งหนึ่งที่ดึงดูดใจให้ผมต้องยกกล้องขึ้นมากดชัตเตอร์ไปเสียหลายแชะ นั่นก็คือดอกกล้วยไม้ 5 แฉกสีขาวนวล ใจกลางเป็นส้มสดผมเหลืองที่ปลูกไว้หน้าบ้านลุงคนหนึ่ง
“นี่คือกล้วยไม้ดอนมาลี เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นของที่นี่”
น้องเจี๊ยบ เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของอบต.เกาะพระทอง เจ้าถิ่นผู้มาเป็นคนต้อนรับขับสู้บอกกับผม ก่อนอธิบายเพิ่มเติมว่า ดอนมาลี เป็นกล้วยไม้สกุลหวาย เกิดจากการผสมสายพันธุ์ระหว่างเอื้องเงินหลวง(หรือโกมาซุม ไม้ประจำจังหวัดระรอง)กับเอื้องปากนกแก้ว
พวกเราเดินไปบนถนนคอนกรีตเล็กๆที่เป็นเส้นทางสัญจรหลักของที่นี่ ผ่านสวนกาหยีที่กำลังออกลูกแดง ไปยืนคอยท่ารอ “ผู้ใหญ่ยอด” หรือ “สายชล เอี๋ยวสกุล” ผู้ใหญ่บ้านปากจก ที่นัดกันไว้ให้มาพานำเที่ยวเกาะพระทอง
สักพักเพียงชั่วไม่กี่นาทีผู้ใหญ่ยอดก็มาตามนัดพร้อมกับรถ “อีแต๊ก” คู่ใจ พาเราวิ่งลัดเลาะไปบนเส้นทาง ที่อย่าว่าแต่รถจะสวนกันไม่ได้เคย แค่บังคับรถอีแต๊กคันนี้ไม่ให้ล้อตกถนนนี่ก็ยากลำบากแล้ว
เส้นทางหลังผ่านสวนกาหยีไป เปลี่ยนป่าบกผสมป่าพรุ แล้วเข้าสู่ดงเสม็ดที่ยังคงมีร่องน้ำอันเกิดจากการทำเหมืองในอดีตปรากฏให้เห็น
จากนั้นเมื่อสิ้นสุดเส้นทางถนน ก็เป็นเส้นทางลำลองในผืนป่าเสม็ดอันกว้างใหญ่ กับต้นเสม็ดขาวรูปทรงหยึกหยัก แปลกตา สวยงาม ซึ่งนี่ถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์อันโดดเด่นของเกาะพระทองกับป่าเสม็ดนับเกือบหมื่นไร่ มีหญ้าต้นเตี้ยๆขึ้นแซมเต็มไปทั่วบริเวณ ขณะที่ตามลำต้นเสม็ดหลายๆต้นมีกล้วยไม้ พืชอิงแอบอาศัยต่างๆขึ้นอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน บนถนนสายนี้หลักๆจะเป็นถนนทรายสีขาวนวล เนื้อละเอียดยิบ แซมด้วยถนนดินบ้างในบางจุด ขณะที่บางช่วงของเส้นทางมีลำคลองทอดยาว
“ช่วงหน้าฝนในคลองที่นี่มีปลาเยอะมาก ทั้งปลาช่อน ปลาดุก ชาวบ้านจะมาจับปลากันเป็นเต็มไปหมด” ผู้ใหญ่ยอดบอกกับผม
เมื่อปลาเยอะ นกก็เยอะตาม แต่ในหน้าแล้วอย่างนี้ แม้สายน้ำยังคงเย็นใสไม่แห้งเหือด แต่ปลาแทบไม่ปรากฏให้เห็น ทำให้นกพลอยหายไปด้วย
ผู้ใหญ่ยอดยังคงบังคับเจ้าอีแต๊กคู่ใจไปบนเส้นทางอย่างชำนาญ ท่ามกลางเส้นทางที่ทำให้พวกเราต้องกระเด้งกระดอนกันในหลายๆครั้ง แต่นี่นับเป็นเสน่ห์แห่งเกาะพระทองที่ใครไม่ลองย่อมไม่รู้
พ้นเลยจากป่าเสม็ดไปเป็นทุ่งหญ้ากว้างที่ได้รับการยกย่องให้เป็นอันซีนไทยแลนด์ ที่คนรู้จักกันดีในนาม“ทุ่งสะวันนาเกาะพระทอง” หรือบางคนก็เรียกว่า “ทุ่งหญ้าซาฟารี”
ทุ่งหญ้าแห่งนี้หากมาถูกช่วงฤดู ถูกช่วงจังหวะเวลา จะน่าดูมาก โดยนองเจี๊ยบแนะนำว่าให้มาช่วงฤดูแล้งเมื่อหญ้าเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นเหลืองไปจนถึงน้ำตาลอ่อนๆ ซึ่งในยามเช้าหรือยามเย็นเมื่อแสงแดดอ่อนๆส่องอาบไล้ ทุ่งหญ้าเหล่านี้จะกลายเป็นทุ่งหญ้าสีทองเหลืองอร่าม ยังความตื่นตาตื่นใจชวนหลงใหลแก่ผู้พบเห็นไม่น้อย
หลังสัมผัสความงามของทุ่งหญ้าแห่งนี้จนหนำใจ ผู้ใหญ่ยอดพานั่งรถอีแต๊กต่อไปสู่ฝั่งตะวันตก และจอดส่งเราให้เดินเท้าต่อไปบนหาดทรายอันกว้างไกลสวยงามในบริเวณที่เรียกว่า “สุดขอบฟ้า” ที่ตั้งชื่อตามรีสอร์ทดั้งเดิมของที่นี่
ที่สุดขอบฟ้ามีจุดชมวิวเป็นเนินน้อยๆให้ขึ้นไปชมทิวทัศน์ของแนวเวิ้งอ่าว นับเป็นพื้นที่ธรรมชาติที่สูงสุดบนเกาะแห่งนี้ ขณะที่ตามแนวชายหาดมีหาดตาสุขในบริเวณรีสอร์ทเป็นจุดพักผ่อนสำคัญของชาวต่างชาติ ส่วนจุดชมพระอาทิตย์ตกอันสวยงามในบริเวณนี้ ผมขอยกให้“อ่าวตาแดง” หรือ ที่หลายคนเรียกว่า“อ่าวตาฉุย”เพราะเรียกชื่อตามรีสอร์ท “ทับตาฉุย” รีสอร์ท สงบน่ารัก ที่ตั้งอยู่หลังแนวหาดนี้
บริเวณอ่าวตาแดงเมื่อมองออกไปในทะเลจะเห็นเกาะปลิงใหญ่ ปลิงเล็ก ทอดตัวอยู่คู่กันในท้องทะเล นอกจากนี้ยังมีแนวโขดหิน “พ่อตาหินกอง” ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ โดยมีการตั้งศาลไว้คู่กับต้นสนหนึ่งเดียวอันโดดเด่นตระหง่าน
พ่อตาหินกองนับเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่หาไม่ได้ง่ายๆในเมืองไทย เพราะมีทั้งความงดงามและความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว
หลังดวงตะวันลาลับ ผู้ใหญ่ยอดพาเรามุ่งสู่หมู่บ้านปากจกหรือหมู่บ้านไลอ้อนที่เป็นบ้านเรือนสร้างใหม่หลังสึนามิ ที่เป็นจุดพักค้างสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการท่องเที่ยวชุมชนสัมผัสวิถีชีวิตโฮมสเตย์ที่เกาะพระทองที่มีเรื่องราวของวิถีชาวบ้านอันน่าสนใจให้สัมผัสกัน ไม่ว่าจะเป็น การทำประมงพื้นบ้าน จับเคย แมงกะพรุน(ตามฤดูกาล) เรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเล ชมแหล่งกล้วยไม้ดอนมาลี ชมการทำผ้ามัดย้อมธรรมชาติ การคั่วกาหยี ทำใบจาก การทำกะปิปากจกที่ได้ชื่อว่าเป็นกะปิดีที่สุดในเมืองไทย ฯลฯ
และนั่นก็คือบางส่วนของวิถีชีวิตและธรรมชาติอันโดดเด่นบนเกาะพระทอง ซึ่งเดิมนั้นเกาะพระทองมีความพยายามจากภาครัฐจะประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ(ตั้งแต่เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว) แต่ถูกต่อต้านจากชาวบ้าน เพราะพวกเขา(ที่อยู่อาศัยมาแต่ดั้งเดิม) กลัวถูกไล่ที่ สูญเสียที่ทำกิน กลัวรัฐนำเอาที่ของชาวบ้านที่ยังไม่มีเอกสารชัดเจนไปขายให้นายทุน สร้างรีสอร์ท ทำธุรกิจ ซึ่งชาวบ้านหลายๆคนต่างพูดในทำนองเดียวกันว่า ด้วยขั้นตอนและกระบวนการที่ไม่โปร่งใสชัดเจน ทำให้พวกเขาไม่ไว้ใจต่อภาครัฐ นั่นจึงทำให้ในวันนี้ทางภาครัฐได้ปรับสถานะใหม่ของเกาะพระทองเป็น “เขตห้ามล่าสัตว์ป่า”(เพิ่งประกาศเมื่อไม่นานมานี้) ซึ่งคงต้องติดตามดูกันต่อไปว่าเหตุการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไรต่อไป
*************************************************************
เกาะพระทอง ตั้งอยู่ที่ อ.คุระบุรี จ.พังงา ปัจจุบันบนเกาะยังไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่ไฟฟ้ากำลังจะมาในปีหน้า เกาะพระทองเป็นเกาะที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เรียนรู้วิถีชุมชน หรือท่องเที่ยวเชิงจิตอาสา CSR เพราะบนเกาะมีความสงบ มีธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์ ไม่ใช่เกาะแห่งแสงสี หรือการท่องเที่ยวแบบสะดวกหรูหรา เพราะการสัญจรบนเกาะ ต้องใช้รถอีแต๊ก รถขับเคลื่อน 4 ล้อ รถจักรยานยนตร์พ่วงข้าง หรือทางเรือ ใกล้ๆกับเกาะพระทองมี เกาะระ และ เกาะคอเขา เป็น 2 เกาะท่องเที่ยวที่น่าสนใจเคียงคู่กัน
ผู้สนใจข้อมูลท่องเที่ยวเกาะพระทองเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ งานส่งเสริมการท่องเที่ยว อบต.เกาะพระทอง 085-781-7902 สอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชน พักค้างโฮมสเตย์ได้ที่ 080-692-0039 และสามารถสอบถามข้อมูลการท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหารเชื่อมโยงในจังหวัดพังงาได้ที่ ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โทร.0-7648-1900-2
***********************************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
ปี พ.ศ. 2543 “ณรงค์” เพื่อนผมมันชวนไปเที่ยวบ้านมันที่ “หมู่บ้านปากจก” บน “เกาะพระทอง” นั่นเป็นการรู้จักและสัมผัสกับเกาะพระทองครั้งแรก ด้วยความงดงามจากธรรมชาติอันพิสุทธิ์ผสานกับวิถีชีวิตอันเรียบง่ายแต่ทรงเสน่ห์ ถือเป็นความทรงจำชั้นดีที่ผมยังประทับใจไม่รู้ลืม
ปี 2546 เกาะพระทองได้รับการคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ให้เป็น “อันซีนไทยแลนด์” ส่งผลให้เกาะแห่งนี้โด่งดังเพียงชั่วข้ามคืน โดยเฉพาะกับทุ่งหญ้าสีทองอันงดงามบนเกาะที่ได้รับฉายาว่า “สะวันนาเมืองไทย” นั้นถือเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างดีให้เดินทางมาสัมผัสกับธรรมชาติอันพิสุทธิ์บนหมู่เกาะแห่งนี้ จนหลายคนอดหวั่นไม่ได้ว่าชื่อเสียง ความโด่งดังที่มาเร็วเกินไป อาจจะทำให้เกาะพระทองต้องเสียศูนย์ในอนาคตอันไม่ไกล
แต่...ปลายปี 2547 เกิดเหตุการณ์ธรรมชาติวิปโยค คลื่นยักษ์สึนามิที่คนไทยไม่เคยพบพาน ได้ถั่งโถมโหมกระหน่ำเกาะพระทองจนย่อยยับ หมู่บ้านปากจกที่ผมเคยไปนอน ถูกคลื่นยักษ์พัดราบพนาสูร บ้านเรือนเสียหาย ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก รวมถึงครอบครัวของณรงค์ซึ่งถูกคลื่นยักษ์พัดทำลายเสียชีวิตเกือบหมด(ส่วนณรงค์รอดเพราะวันนั้นเขาทำธุระอยู่บนฝั่ง)
หลังเหตุการณ์สึนามิถล่มปี 47 เกาะพระทองที่กำลังมาแรงทางการท่องเที่ยว สะดุดล้มโครม มาจนถึงวันนี้สภาพการณ์ทางการท่องเที่ยวบนเกาะพระทอง(ในสายตาของคนทำธุรกิจท่องเที่ยวและหน่วยงายที่ดูแลด้านการท่องเที่ยว) ยังไม่ฟื้น แต่ธรรมชาติบนเกาะพระทองนั้นฟื้นนานแล้ว ซึ่งนี่ถือเป็นเสน่ห์สำคัญให้ผมเดินทางกลับมาเยือนเกาะพระทองอีกครั้ง
เกาะอันดับ 5...แปลกตาธรรมชาติ
เกาะพระทอง ตั้งอยู่ใน อ.คุระบุรี จ.พังงา มีพื้นที่ 102 ตารางกิโลเมตร(ข้อมูลจาก อบต.เกาะพระทอง) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในพังงาและใหญ่เป็นอันดับ 5 ของเมืองไทย
เกาะพระทองเกิดจากซากปะการังทับถมกันมายาวนานนับล้านๆปี จนเกิดเป็นเกาะที่มีสภาพภูมิประเทศที่แปลกตา คือมีลักษณะค่อนข้างแบนราบ กลายเป็นลักษณะเฉพาะตัวอันโดดเด่นของเกาะแห่งนี้
แม้พื้นดินบนเกาะพระทองส่วนใหญ่จะเป็นดินปนทรายไม่เหมาะต่อการเพาะปลูก อันเนื่องมาจากสภาพธรรมชาติและเคยผ่านการทำเหมืองแร่มาก่อน ทำให้ที่นี่มีพืชเศรษฐกิจหลักเพียงมะม่วงหิมพานต์(กาหยี) กับมะพร้าว แต่เกาะพระทองกลับเป็นเกาะที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก บนเกาะมีทั้งชายหาด ป่าชายหาด ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าเสม็ด ทุ่งหญ้า ไม้พุ่ม พืชสังคมทดแทน กล้วยไม้หายาก
ทางฝั่งตะวันออกของเกาะที่อยู่ห่างจากคุระบุรีแค่ราว 2 กม.นั้น เป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ถือเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญ คลังอาหารตามธรรมชาติชั้นเลิศของชาวเกาะ เพราะมีทั้ง กุ้ง หอย ปู ปลา โดยเฉพาะกับ “ปูดำ” ที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจเด่นของที่นี่ ส่วนทางด้านฝั่งตะวันตกจะเป็นแนวชายหาดอันสวยงามทอดยาวมีทิวสนขึ้นประดับในบางช่วง ขณะที่ถัดลึกเข้ามาจะเป็นไฮไลท์ของที่นี่กับป่าเสม็ด กับทุ่งหญ้าที่มีความสวยงามโดดเด่นจนได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน “อันซีนไทยแลนด์”
บนเกาะพระทองยังมากไปด้วยสัตว์นานาพันธุ์ โดยที่ถือเป็นไฮไลท์ก็คือ “กวางม้า” หรือ กวางป่าตัวโต ที่ปัจจุบันต้องช่วยกันอนุรักษ์ดูแลให้ดี เพราะกวางป่าที่นี่ถูกหมาเลี้ยง หมาบ้าน ที่เริ่มเปลี่ยนวิถีกลายเป็นหมาป่าไล่ล่า เนื่องจากเจ้าของหมาพวกนี้ส่วนหนึ่งเสียชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ อีกส่วนหนึ่งอพยพไปอยู่บนฝั่ง ปล่อยทิ้งพวกมันให้หากินตามยถากรรม ส่วนอีกหนึ่งผู้ล่ากวางที่สำคัญนั้นย่อมหนีไม่พ้น “คน” ที่มีทั้งคนนอกคนใน ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่กลุ่มหนึ่งได้ตั้งกลุ่มอนุรักษ์กวางขึ้นมา คอยดูแลไม่ให้ทั้งหมาทั้งคนไล่ล่า และร่วมอยู่กับกวางอย่างเป็นมิตร
นอกจากนี้บนเกาะพระทองยังเป็นแหล่งวางไข่เต่าทะเลที่สำคัญของเมืองไทย ซึ่งชาวบ้านได้ตั้งกลุ่มอนุรักษ์ดูแลเต่าทะเลขึ้นมา อีกทั้งยังเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญ เพราะบนเกาะมีนกเกือบ 140 ชนิด ทั้งนกป่า นกน้ำ มีนกที่เด่นๆอย่าง กาน้ำ เหยี่ยวแดง กระสานวล ปากซ่อม รวมถึงนกหายากอย่าง “นกแก๊ก” และ“นกตะกรุม” ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ นับเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์อันโดดเด่นที่ตอกย้ำถึงลักษณะเฉพาะและความหลากหลายทางธรรมชาติของเกาะพระทอง
นั่งอีแต๊ก ท่องเกาะพระทอง
แม้จะเป็นเกาะขนาดใหญ่ แต่บนเกาะพระทองมีแค่ 3 หมู่บ้าน คือบ้านปากจก บ้านทุ่งดาบ และบ้านแป๊ะโย้ย เดิมที่เกาะเคยมีประชากรอาศัยอยู่ในหลักหลายร้อย แต่หลังเหตุการณ์สึนามิประชากรหายไปกว่าครึ่ง นั่นจึงทำให้เกาะพระทองวันนี้มีสภาพเงียบเหงาไม่น้อย
จากบนฝั่งที่ท่าบางแดด เรือโดยสารใช้เวลาประมาณ 40 นาที พาผมและคณะมาส่งบนเกาะพระทองที่ท่าบ้านแป๊ะโย้ย
ครั้นเมื่อเดินขึ้นฝั่งเข้าสู่หมู่บ้าน สิ่งหนึ่งที่ดึงดูดใจให้ผมต้องยกกล้องขึ้นมากดชัตเตอร์ไปเสียหลายแชะ นั่นก็คือดอกกล้วยไม้ 5 แฉกสีขาวนวล ใจกลางเป็นส้มสดผมเหลืองที่ปลูกไว้หน้าบ้านลุงคนหนึ่ง
“นี่คือกล้วยไม้ดอนมาลี เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นของที่นี่”
น้องเจี๊ยบ เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของอบต.เกาะพระทอง เจ้าถิ่นผู้มาเป็นคนต้อนรับขับสู้บอกกับผม ก่อนอธิบายเพิ่มเติมว่า ดอนมาลี เป็นกล้วยไม้สกุลหวาย เกิดจากการผสมสายพันธุ์ระหว่างเอื้องเงินหลวง(หรือโกมาซุม ไม้ประจำจังหวัดระรอง)กับเอื้องปากนกแก้ว
พวกเราเดินไปบนถนนคอนกรีตเล็กๆที่เป็นเส้นทางสัญจรหลักของที่นี่ ผ่านสวนกาหยีที่กำลังออกลูกแดง ไปยืนคอยท่ารอ “ผู้ใหญ่ยอด” หรือ “สายชล เอี๋ยวสกุล” ผู้ใหญ่บ้านปากจก ที่นัดกันไว้ให้มาพานำเที่ยวเกาะพระทอง
สักพักเพียงชั่วไม่กี่นาทีผู้ใหญ่ยอดก็มาตามนัดพร้อมกับรถ “อีแต๊ก” คู่ใจ พาเราวิ่งลัดเลาะไปบนเส้นทาง ที่อย่าว่าแต่รถจะสวนกันไม่ได้เคย แค่บังคับรถอีแต๊กคันนี้ไม่ให้ล้อตกถนนนี่ก็ยากลำบากแล้ว
เส้นทางหลังผ่านสวนกาหยีไป เปลี่ยนป่าบกผสมป่าพรุ แล้วเข้าสู่ดงเสม็ดที่ยังคงมีร่องน้ำอันเกิดจากการทำเหมืองในอดีตปรากฏให้เห็น
จากนั้นเมื่อสิ้นสุดเส้นทางถนน ก็เป็นเส้นทางลำลองในผืนป่าเสม็ดอันกว้างใหญ่ กับต้นเสม็ดขาวรูปทรงหยึกหยัก แปลกตา สวยงาม ซึ่งนี่ถือเป็นหนึ่งในไฮไลท์อันโดดเด่นของเกาะพระทองกับป่าเสม็ดนับเกือบหมื่นไร่ มีหญ้าต้นเตี้ยๆขึ้นแซมเต็มไปทั่วบริเวณ ขณะที่ตามลำต้นเสม็ดหลายๆต้นมีกล้วยไม้ พืชอิงแอบอาศัยต่างๆขึ้นอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน บนถนนสายนี้หลักๆจะเป็นถนนทรายสีขาวนวล เนื้อละเอียดยิบ แซมด้วยถนนดินบ้างในบางจุด ขณะที่บางช่วงของเส้นทางมีลำคลองทอดยาว
“ช่วงหน้าฝนในคลองที่นี่มีปลาเยอะมาก ทั้งปลาช่อน ปลาดุก ชาวบ้านจะมาจับปลากันเป็นเต็มไปหมด” ผู้ใหญ่ยอดบอกกับผม
เมื่อปลาเยอะ นกก็เยอะตาม แต่ในหน้าแล้วอย่างนี้ แม้สายน้ำยังคงเย็นใสไม่แห้งเหือด แต่ปลาแทบไม่ปรากฏให้เห็น ทำให้นกพลอยหายไปด้วย
ผู้ใหญ่ยอดยังคงบังคับเจ้าอีแต๊กคู่ใจไปบนเส้นทางอย่างชำนาญ ท่ามกลางเส้นทางที่ทำให้พวกเราต้องกระเด้งกระดอนกันในหลายๆครั้ง แต่นี่นับเป็นเสน่ห์แห่งเกาะพระทองที่ใครไม่ลองย่อมไม่รู้
พ้นเลยจากป่าเสม็ดไปเป็นทุ่งหญ้ากว้างที่ได้รับการยกย่องให้เป็นอันซีนไทยแลนด์ ที่คนรู้จักกันดีในนาม“ทุ่งสะวันนาเกาะพระทอง” หรือบางคนก็เรียกว่า “ทุ่งหญ้าซาฟารี”
ทุ่งหญ้าแห่งนี้หากมาถูกช่วงฤดู ถูกช่วงจังหวะเวลา จะน่าดูมาก โดยนองเจี๊ยบแนะนำว่าให้มาช่วงฤดูแล้งเมื่อหญ้าเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นเหลืองไปจนถึงน้ำตาลอ่อนๆ ซึ่งในยามเช้าหรือยามเย็นเมื่อแสงแดดอ่อนๆส่องอาบไล้ ทุ่งหญ้าเหล่านี้จะกลายเป็นทุ่งหญ้าสีทองเหลืองอร่าม ยังความตื่นตาตื่นใจชวนหลงใหลแก่ผู้พบเห็นไม่น้อย
หลังสัมผัสความงามของทุ่งหญ้าแห่งนี้จนหนำใจ ผู้ใหญ่ยอดพานั่งรถอีแต๊กต่อไปสู่ฝั่งตะวันตก และจอดส่งเราให้เดินเท้าต่อไปบนหาดทรายอันกว้างไกลสวยงามในบริเวณที่เรียกว่า “สุดขอบฟ้า” ที่ตั้งชื่อตามรีสอร์ทดั้งเดิมของที่นี่
ที่สุดขอบฟ้ามีจุดชมวิวเป็นเนินน้อยๆให้ขึ้นไปชมทิวทัศน์ของแนวเวิ้งอ่าว นับเป็นพื้นที่ธรรมชาติที่สูงสุดบนเกาะแห่งนี้ ขณะที่ตามแนวชายหาดมีหาดตาสุขในบริเวณรีสอร์ทเป็นจุดพักผ่อนสำคัญของชาวต่างชาติ ส่วนจุดชมพระอาทิตย์ตกอันสวยงามในบริเวณนี้ ผมขอยกให้“อ่าวตาแดง” หรือ ที่หลายคนเรียกว่า“อ่าวตาฉุย”เพราะเรียกชื่อตามรีสอร์ท “ทับตาฉุย” รีสอร์ท สงบน่ารัก ที่ตั้งอยู่หลังแนวหาดนี้
บริเวณอ่าวตาแดงเมื่อมองออกไปในทะเลจะเห็นเกาะปลิงใหญ่ ปลิงเล็ก ทอดตัวอยู่คู่กันในท้องทะเล นอกจากนี้ยังมีแนวโขดหิน “พ่อตาหินกอง” ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ โดยมีการตั้งศาลไว้คู่กับต้นสนหนึ่งเดียวอันโดดเด่นตระหง่าน
พ่อตาหินกองนับเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่หาไม่ได้ง่ายๆในเมืองไทย เพราะมีทั้งความงดงามและความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว
หลังดวงตะวันลาลับ ผู้ใหญ่ยอดพาเรามุ่งสู่หมู่บ้านปากจกหรือหมู่บ้านไลอ้อนที่เป็นบ้านเรือนสร้างใหม่หลังสึนามิ ที่เป็นจุดพักค้างสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการท่องเที่ยวชุมชนสัมผัสวิถีชีวิตโฮมสเตย์ที่เกาะพระทองที่มีเรื่องราวของวิถีชาวบ้านอันน่าสนใจให้สัมผัสกัน ไม่ว่าจะเป็น การทำประมงพื้นบ้าน จับเคย แมงกะพรุน(ตามฤดูกาล) เรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเล ชมแหล่งกล้วยไม้ดอนมาลี ชมการทำผ้ามัดย้อมธรรมชาติ การคั่วกาหยี ทำใบจาก การทำกะปิปากจกที่ได้ชื่อว่าเป็นกะปิดีที่สุดในเมืองไทย ฯลฯ
และนั่นก็คือบางส่วนของวิถีชีวิตและธรรมชาติอันโดดเด่นบนเกาะพระทอง ซึ่งเดิมนั้นเกาะพระทองมีความพยายามจากภาครัฐจะประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ(ตั้งแต่เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว) แต่ถูกต่อต้านจากชาวบ้าน เพราะพวกเขา(ที่อยู่อาศัยมาแต่ดั้งเดิม) กลัวถูกไล่ที่ สูญเสียที่ทำกิน กลัวรัฐนำเอาที่ของชาวบ้านที่ยังไม่มีเอกสารชัดเจนไปขายให้นายทุน สร้างรีสอร์ท ทำธุรกิจ ซึ่งชาวบ้านหลายๆคนต่างพูดในทำนองเดียวกันว่า ด้วยขั้นตอนและกระบวนการที่ไม่โปร่งใสชัดเจน ทำให้พวกเขาไม่ไว้ใจต่อภาครัฐ นั่นจึงทำให้ในวันนี้ทางภาครัฐได้ปรับสถานะใหม่ของเกาะพระทองเป็น “เขตห้ามล่าสัตว์ป่า”(เพิ่งประกาศเมื่อไม่นานมานี้) ซึ่งคงต้องติดตามดูกันต่อไปว่าเหตุการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไรต่อไป
*************************************************************
เกาะพระทอง ตั้งอยู่ที่ อ.คุระบุรี จ.พังงา ปัจจุบันบนเกาะยังไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่ไฟฟ้ากำลังจะมาในปีหน้า เกาะพระทองเป็นเกาะที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เรียนรู้วิถีชุมชน หรือท่องเที่ยวเชิงจิตอาสา CSR เพราะบนเกาะมีความสงบ มีธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์ ไม่ใช่เกาะแห่งแสงสี หรือการท่องเที่ยวแบบสะดวกหรูหรา เพราะการสัญจรบนเกาะ ต้องใช้รถอีแต๊ก รถขับเคลื่อน 4 ล้อ รถจักรยานยนตร์พ่วงข้าง หรือทางเรือ ใกล้ๆกับเกาะพระทองมี เกาะระ และ เกาะคอเขา เป็น 2 เกาะท่องเที่ยวที่น่าสนใจเคียงคู่กัน
ผู้สนใจข้อมูลท่องเที่ยวเกาะพระทองเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ งานส่งเสริมการท่องเที่ยว อบต.เกาะพระทอง 085-781-7902 สอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชน พักค้างโฮมสเตย์ได้ที่ 080-692-0039 และสามารถสอบถามข้อมูลการท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหารเชื่อมโยงในจังหวัดพังงาได้ที่ ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โทร.0-7648-1900-2
***********************************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com