โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ฉันเคยผ่านไปในพื้นที่ย่านเขตดุสิตริมคลองสามเสนหลายครั้ง ได้เห็นบ้านเก่าโบราณสวยๆ หลายหลัง บ้างก็ถูกทิ้งร้าง บ้างก็ยังมีสภาพน่าอยู่อาศัย ยังนึกสงสัยว่าเป็นบ้านใครกันหนอ มารู้ทีหลังเมื่อได้มาเดินเท้าท่องเที่ยวเลาะรั้ววังริมคลองสามเสนกับทีมงานสรรพ์สารศิลป์ ที่พาไป “ฟื้นความหลัง ยลวังเจ้านาย เลียบรายคลองสามเสน” นำบรรยายโดยพี่นัท จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา และเกริกเกียรติ ไพบูลศิลป เป็นวิทยากร ทำให้รู้ว่าบ้านที่เห็นบางหลังนั้นก็เป็นวังของเจ้านายที่เรียกว่า “วังสวนนอก”
ว่าแต่วังสวนนอกนั้นคือที่ไหนกัน? ก่อนจะอธิบายถึง “สวนนอก” นั้น ต้องพูดถึงการสร้าง “พระราชวังดุสิต” ก่อน เนื่องจากภายในพระบรมมหาราชวังซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์มาแต่เดิมนั้นมีผู้คนอยู่รวมกันอย่างแออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้มีผู้เจ็บป่วยอยู่เสมอ ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินบริเวณทุ่งนาระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสนเพื่อสร้างเป็นพระราชนิเวศน์แห่งใหม่ มีพระที่นั่งต่างๆ ใช้ประกอบพิธีได้เช่นเดียวกับพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานนามว่า “พระราชวังสวนดุสิต”
ต่อมา พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ขยายเขตพระราชฐานด้านหลังพระราชวังสวนดุสิต พระราชทานนามว่า “สวนสุนันทา” เพื่อเป็นที่ประทับถาวรของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในที่ใกล้ชิดและข้าราชบริพารในพระองค์ อีกทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินนอกเขตพระราชวังสวนดุสิต ซึ่งยังเป็นที่ท้องร่องอยู่ริมคลองสามเสนฝั่งใต้ เรียกว่า “สวนนอก” เพื่อพระราชทานให้แก่เจ้าจอมและพระราชธิดา ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้านายฝ่ายในที่ไม่ได้รับพระราชทานที่สร้างวังกว้างขวางเหมือนวังพระราชโอรสองค์สำคัญๆ
และภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 พระราชธิดาและเจ้าจอมบางพระองค์ได้เสด็จออกจากวังสวนสุนันทามาสร้างตำหนักเพื่อเป็นที่ประทับถาวรบนที่ดินที่ได้รับพระราชทานซึ่งถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ ขนานตลอดคลองสามเสน อาทิ ตำหนักพระองค์เจ้าวาปีบุษกร (วังวาริชเวสม์) ตำหนักพระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ ตำหนักพระองค์เจ้าอรพินธ์เพ็ญภาค ปัจจุบันอยู่ในสถานีตำรวจนครบาลดุสิต ตำหนักพระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา ปัจจุบันเป็นห้องสมุดและร้านกาแฟในบริเวณที่ทำการพรรคชาติไทย และ บางส่วนเป็นสันนิบาตรสหกรณ์แห่งประเทศไทย
นอกจากนั้นก็ยังมี ตำหนักทิพย์ ของพระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา ตำหนักสวนปาริฉัตร ของพระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา และเจ้าจอมมารดาอ่อน ตำหนักทองของพระองค์เจ้าเหมวดี และตำหนักของเจ้าจอมก๊ก อ. อันได้แก่ เจ้าจอมอาบ เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมเอื้อน และเจ้าจอมเอี่ยม ก็อยู่บริเวณสวนนอก ริมคลองสามเสนด้วยเช่นกัน
แต่วังสวนนอกที่ฉันมีโอกาสได้มาชมอย่างใกล้ชิดในครั้งนี้ มีอยู่ 2 วังด้วยกัน วังแรกคือ “วังวาริชเวสม์” ซึ่งเป็นวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาพร้อม และทรงเป็นพระราชธิดาบุญธรรมของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งพระองค์ท่านเป็นสมเด็จย่าของในหลวง อีกทั้งยังทรงพระชนม์ชีพยาวนานที่สุดในบรรดาพระราชโอรสและพระราชธิดาของรัชกาลที่ 5 โดยทรงมีพระชนมายุยืนถึง 91 ปี
วังวาริชเวสม์ตั้งอยู่ในซอยสุโขทัย 6 ปัจจุบันเป็นอาคารอนุรักษ์ของสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และทางบริษัทแมทชิ่ง สตูดิโอ ได้เช่าใช้พื้นที่เป็นที่ตั้งบริษัท ความน่าสนใจของวังวาริชเวสม์อย่างหนึ่งอยู่ตรงที่ได้พระสาโรชรัตนนิมมานก์ ซึ่งเป็นสถาปนิกไทยรุ่นบุกเบิกที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศมาเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง วังแห่งนี้ถือเป็นอาคารหลังแรกๆ ในช่วงการเปลี่ยนยุคทางสถาปัตยกรรมช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 7 สู่ยุคต้นรัชกาลที่ 8 เปลี่ยนจากสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบดั้งเดิมให้มีความร่วมสมัย(ของยุคนั้น)มากขึ้น การก่อสร้างจึงเน้นความประหยัดและเรียบง่าย ตัววังเป็นอาคาร 2 ชั้น มีการใช้คอนกรีตเสริมเหล็กมาใช้แทนไม้หรือปูนในส่วนโครงสร้างและองค์ประกอบตกแต่ง และใช้ลวดลายเรขาคณิตแทนลวดลายฉลุขนมปังขิงแบบสมัยก่อน ภายในอาคารยังคงรักษาสภาพไว้ได้เป็นอย่างดี
บริเวณด้านข้างตำหนักมีระเบียงกว้างซึ่งท่านเจ้าของวังมักจะมาประทับพักผ่อนพระอิริยาบถ และยังใช้เป็นสถานที่รับแขกที่ทรงสนิทสนม โดยแขกคนสำคัญที่เคยเสด็จมาเยี่ยมเยือน ณ วังแห่งนี้ก็คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระราชินีนาถ และสมเด็จย่า มีภาพพระราชจริยวัตรอันงดงามของพระองค์บันทึกไว้ด้วย
ที่วังวาริชเวสม์นี้ฉันได้พบกับคุณป้าชวพร กิตติภิญโญ (สิงหเสนี) ทายาทข้าหลวงต้นเครื่องของวัง ที่มาเล่าเรื่องราวต่างๆ สมัยที่ยังเป็นเด็กและได้อาศัยอยู่ภายในวัง คุณป้าเล่าว่าบรรยากาศในวังนั้นมีชีวิตชีวาเมื่อครั้งที่ท่านเจ้าของวังยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ในวันเสาร์จะมีเจ้านายและข้าหลวงจากวังต่างๆ ใกล้เคียงมาเฝ้าเสมอๆ คุณป้ายังเล่าว่าขนมของหวานขึ้นชื่อของวังนี้ก็คือ “ลูกชุบ” ที่ถือว่าเป็นราชินีของขนมไทยที่ทำอย่างพิถีพิถัน ส่วนมากจะทำขึ้นทูลเกล้าฯ วันเฉลิมพระชนมพรรษา หรือวันประสูติของเจ้าฟ้าต่างๆ ลูกชุบของวังนี้จะมีเอกลักษณ์ตรงที่ปั้นเป็นรูปมะเฟือง ชมพู่ ละมุดสีดา มังคุด ซึ่งปั้นได้เหมือนมาก แม้จะมีขนาดเพียงปลายก้อย ไม่ใหญ่เหมือนลูกชุบที่ขายในปัจจุบัน
อีกหนึ่งวังที่มีโอกาสได้เข้าไปชมก็คือ “ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ” ซึ่งอยู่ในซอยสุโขทัย 6 เช่นกัน อยู่ใกล้กับวังวาริชเวสม์เพียงนิดเดียว พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพเป็นพระราชธิดาลำดับที่ 31 ในรัชกาลที่ 5 และเจ้าจอมมารดาจันทร์ พระองค์เคยประทับอยู่ที่ตำหนักศศิพงศ์ประไพในวังสวนสุนันทา ก่อนจะย้ายมาประทับที่สวนนอกหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ตำหนักของพระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพนี้เป็นเรือนไม้ 2 ชั้น แบบเรียบง่าย ตัวตำหนักทาด้วยสีขาว บันไดทางขึ้นตำหนักมีหลังคาคลุม ชายคาประดับไม้แกะสลักเป็นลวดลายขนมปังขิงอ่อนช้อยน่าชม ปัจจุบันตำหนักหลังนี้อยู่ในความดูแลของโรงเรียนอักษรเจริญ โรงเรียนประถมที่รับทั้งนักเรียนประจำและไป-กลับและใช้ตัวตำหนักเป็นบ้านพักของอาจารย์ใหญ่
ส่วนอีกหนึ่งพระราชวังที่ฉันได้มาชมนั้นแม้มิใช่สวนนอก แต่ก็ตั้งอยู่ริมคลองสามเสนเช่นเดียวกัน เป็นพระราชวังสำคัญอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ นั่นก็คือ “พระราชวังพญาไท” ที่สร้างขึ้นในปี 2451 โดยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จทอดพระเนตรการทำนา การปลูกผัก และการเลี้ยงสัตว์ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่เคยจัดขึ้นที่สนามหลวงมาจัดที่ทุ่งแห่งนี้แทน พร้อมทั้งสร้างพระตำหนักที่ประทับ พระราชทานนามว่า “วังพญาไท”
เมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 6 ได้ทูลเชิญสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพันปีหลวง พระราชมารดา มาประทับที่พระราชวังแห่งนี้ด้วย จนกระทั่งพระราชมารดาสวรรคตเมื่อปี 2463 หลังจากนั้นรัชกาลที่ 6 ทรงวางโครงสร้างพระราชมณเฑียนสถานสำหรับเป็นที่ประทับถาวรและพระราชทานนามว่า “พระราชวังพญาไท” ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่ง 5 องค์ ได้แก่ พระที่นั่งไวกูณฐเทพสถาน พระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ และพระที่นั่งอุดมวนาภรณ์
หลังจากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 7 พระราชวังพญาไทได้ใช้เป็นโรงแรมชั้นหนึ่งนามว่า “โฮเต็ลพญาไท” เช่าใช้พื้นที่โดยกรมรถไฟหลวง ยังคงเห็นร่องรอยของการเป็นโรงแรมได้จากหมายเลขห้องพักเหนือบานประตู และในระหว่างนั้นได้มีการใช้พระราชวังพญาไทเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของไทย ออกอากาศเมื่อปี 2473 การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกครั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อคณะราษฎร์ได้เปลี่ยนพระราชวังพญาไทเพื่อใช้เป็นโรงพยาบาลทหาร ต่อมาจึงได้ใช้พื้นที่ของพระราชวังแห่งนี้เป็นสถานพยาบาลของกองทัพบก และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าจนปัจจุบัน
ขณะนี้บางส่วนของวังพญาไทกำลังบูรณะซ่อมแซม แต่ในพื้นที่ที่ฉันได้เข้าชมนั้นก็เห็นความงดงามอลังการไม่น้อย เช่นที่พระที่นั่งพิมานจักรี ซึ่งเป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระที่นั่งทั้ง 5 พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่ประทับของร.6 และพระมเหสี ลักษณะตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น สถาปัตยกรรมแบบโรมันเนสก์ผสมกอธิค จุดเด่นของพระที่นั่งองค์นี้อยู่ที่ยอดโดมสีแดงซึ่งใช้สำหรับชักธงมหาราชขึ้นเหนือพระที่นั่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ ด้านบนอาคารมีท้องพระโรงเป็นห้องเสด็จออกให้เฝ้าส่วนพระองค์ มีห้องพระบรรทมพร้อมห้องสรงของ ร.6 ส่วนพระที่นั่งองค์อื่นๆ ก็มีความงดงามไม่แพ้กัน ถ้าหากใครมีโอกาสฉันก็อยากให้มาชมด้วยตาตัวเองสักครั้งเพราะรายละเอียดมีมากเหลือเกินจนบรรยายได้ไม่หมด
จากสวนนอกเลาะเลียบริมคลองสามเสนจนมาถึงพระราชวังพญาไท นับเป็นการจบทริปที่น่าประทับใจและได้รับความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยทีเดียว
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ผู้ที่สนใจเกร็ดความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ไทย สามารถมาร่วมทริป ภัสสรสัญจร ครั้งที่ 20 “สักการะ 5 พุทธสถานมงคล ยลศิลป์ ถิ่นธนบุรี...ส่งท้ายปี 2555” ในวันเสาร์ที่ 15 ธ.ค. นี้ โดยจะพาไปชมสิ่งที่น่าสนใจในวัดพระยาทำวรวิหาร วัดเครือวัลย์วรวิหาร ฟังเรื่องราวสมเด็จพระเจ้าตากสิน ณ วัดนาคกลางวรวิหาร วัดสังข์กระจายวรวิหาร วัดราชสิทธารามราชวรวิหารซึ่งมีพิพิธภัณฑ์กรรมฐานที่น่าสนใจ อัตราค่าร่วมกิจกรรม ท่านละ 500 บาท ปิดรับสมัครวันพุธที่ 12 ธ.ค. นี้ สอบถามโทร 08 1343 4261
ฉันเคยผ่านไปในพื้นที่ย่านเขตดุสิตริมคลองสามเสนหลายครั้ง ได้เห็นบ้านเก่าโบราณสวยๆ หลายหลัง บ้างก็ถูกทิ้งร้าง บ้างก็ยังมีสภาพน่าอยู่อาศัย ยังนึกสงสัยว่าเป็นบ้านใครกันหนอ มารู้ทีหลังเมื่อได้มาเดินเท้าท่องเที่ยวเลาะรั้ววังริมคลองสามเสนกับทีมงานสรรพ์สารศิลป์ ที่พาไป “ฟื้นความหลัง ยลวังเจ้านาย เลียบรายคลองสามเสน” นำบรรยายโดยพี่นัท จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา และเกริกเกียรติ ไพบูลศิลป เป็นวิทยากร ทำให้รู้ว่าบ้านที่เห็นบางหลังนั้นก็เป็นวังของเจ้านายที่เรียกว่า “วังสวนนอก”
ว่าแต่วังสวนนอกนั้นคือที่ไหนกัน? ก่อนจะอธิบายถึง “สวนนอก” นั้น ต้องพูดถึงการสร้าง “พระราชวังดุสิต” ก่อน เนื่องจากภายในพระบรมมหาราชวังซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์มาแต่เดิมนั้นมีผู้คนอยู่รวมกันอย่างแออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้มีผู้เจ็บป่วยอยู่เสมอ ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินบริเวณทุ่งนาระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสนเพื่อสร้างเป็นพระราชนิเวศน์แห่งใหม่ มีพระที่นั่งต่างๆ ใช้ประกอบพิธีได้เช่นเดียวกับพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานนามว่า “พระราชวังสวนดุสิต”
ต่อมา พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ขยายเขตพระราชฐานด้านหลังพระราชวังสวนดุสิต พระราชทานนามว่า “สวนสุนันทา” เพื่อเป็นที่ประทับถาวรของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในที่ใกล้ชิดและข้าราชบริพารในพระองค์ อีกทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินนอกเขตพระราชวังสวนดุสิต ซึ่งยังเป็นที่ท้องร่องอยู่ริมคลองสามเสนฝั่งใต้ เรียกว่า “สวนนอก” เพื่อพระราชทานให้แก่เจ้าจอมและพระราชธิดา ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้านายฝ่ายในที่ไม่ได้รับพระราชทานที่สร้างวังกว้างขวางเหมือนวังพระราชโอรสองค์สำคัญๆ
และภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 พระราชธิดาและเจ้าจอมบางพระองค์ได้เสด็จออกจากวังสวนสุนันทามาสร้างตำหนักเพื่อเป็นที่ประทับถาวรบนที่ดินที่ได้รับพระราชทานซึ่งถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ ขนานตลอดคลองสามเสน อาทิ ตำหนักพระองค์เจ้าวาปีบุษกร (วังวาริชเวสม์) ตำหนักพระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ ตำหนักพระองค์เจ้าอรพินธ์เพ็ญภาค ปัจจุบันอยู่ในสถานีตำรวจนครบาลดุสิต ตำหนักพระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา ปัจจุบันเป็นห้องสมุดและร้านกาแฟในบริเวณที่ทำการพรรคชาติไทย และ บางส่วนเป็นสันนิบาตรสหกรณ์แห่งประเทศไทย
นอกจากนั้นก็ยังมี ตำหนักทิพย์ ของพระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา ตำหนักสวนปาริฉัตร ของพระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา และเจ้าจอมมารดาอ่อน ตำหนักทองของพระองค์เจ้าเหมวดี และตำหนักของเจ้าจอมก๊ก อ. อันได้แก่ เจ้าจอมอาบ เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมเอื้อน และเจ้าจอมเอี่ยม ก็อยู่บริเวณสวนนอก ริมคลองสามเสนด้วยเช่นกัน
แต่วังสวนนอกที่ฉันมีโอกาสได้มาชมอย่างใกล้ชิดในครั้งนี้ มีอยู่ 2 วังด้วยกัน วังแรกคือ “วังวาริชเวสม์” ซึ่งเป็นวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาพร้อม และทรงเป็นพระราชธิดาบุญธรรมของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งพระองค์ท่านเป็นสมเด็จย่าของในหลวง อีกทั้งยังทรงพระชนม์ชีพยาวนานที่สุดในบรรดาพระราชโอรสและพระราชธิดาของรัชกาลที่ 5 โดยทรงมีพระชนมายุยืนถึง 91 ปี
วังวาริชเวสม์ตั้งอยู่ในซอยสุโขทัย 6 ปัจจุบันเป็นอาคารอนุรักษ์ของสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และทางบริษัทแมทชิ่ง สตูดิโอ ได้เช่าใช้พื้นที่เป็นที่ตั้งบริษัท ความน่าสนใจของวังวาริชเวสม์อย่างหนึ่งอยู่ตรงที่ได้พระสาโรชรัตนนิมมานก์ ซึ่งเป็นสถาปนิกไทยรุ่นบุกเบิกที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศมาเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง วังแห่งนี้ถือเป็นอาคารหลังแรกๆ ในช่วงการเปลี่ยนยุคทางสถาปัตยกรรมช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 7 สู่ยุคต้นรัชกาลที่ 8 เปลี่ยนจากสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบดั้งเดิมให้มีความร่วมสมัย(ของยุคนั้น)มากขึ้น การก่อสร้างจึงเน้นความประหยัดและเรียบง่าย ตัววังเป็นอาคาร 2 ชั้น มีการใช้คอนกรีตเสริมเหล็กมาใช้แทนไม้หรือปูนในส่วนโครงสร้างและองค์ประกอบตกแต่ง และใช้ลวดลายเรขาคณิตแทนลวดลายฉลุขนมปังขิงแบบสมัยก่อน ภายในอาคารยังคงรักษาสภาพไว้ได้เป็นอย่างดี
บริเวณด้านข้างตำหนักมีระเบียงกว้างซึ่งท่านเจ้าของวังมักจะมาประทับพักผ่อนพระอิริยาบถ และยังใช้เป็นสถานที่รับแขกที่ทรงสนิทสนม โดยแขกคนสำคัญที่เคยเสด็จมาเยี่ยมเยือน ณ วังแห่งนี้ก็คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระราชินีนาถ และสมเด็จย่า มีภาพพระราชจริยวัตรอันงดงามของพระองค์บันทึกไว้ด้วย
ที่วังวาริชเวสม์นี้ฉันได้พบกับคุณป้าชวพร กิตติภิญโญ (สิงหเสนี) ทายาทข้าหลวงต้นเครื่องของวัง ที่มาเล่าเรื่องราวต่างๆ สมัยที่ยังเป็นเด็กและได้อาศัยอยู่ภายในวัง คุณป้าเล่าว่าบรรยากาศในวังนั้นมีชีวิตชีวาเมื่อครั้งที่ท่านเจ้าของวังยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ในวันเสาร์จะมีเจ้านายและข้าหลวงจากวังต่างๆ ใกล้เคียงมาเฝ้าเสมอๆ คุณป้ายังเล่าว่าขนมของหวานขึ้นชื่อของวังนี้ก็คือ “ลูกชุบ” ที่ถือว่าเป็นราชินีของขนมไทยที่ทำอย่างพิถีพิถัน ส่วนมากจะทำขึ้นทูลเกล้าฯ วันเฉลิมพระชนมพรรษา หรือวันประสูติของเจ้าฟ้าต่างๆ ลูกชุบของวังนี้จะมีเอกลักษณ์ตรงที่ปั้นเป็นรูปมะเฟือง ชมพู่ ละมุดสีดา มังคุด ซึ่งปั้นได้เหมือนมาก แม้จะมีขนาดเพียงปลายก้อย ไม่ใหญ่เหมือนลูกชุบที่ขายในปัจจุบัน
อีกหนึ่งวังที่มีโอกาสได้เข้าไปชมก็คือ “ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ” ซึ่งอยู่ในซอยสุโขทัย 6 เช่นกัน อยู่ใกล้กับวังวาริชเวสม์เพียงนิดเดียว พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพเป็นพระราชธิดาลำดับที่ 31 ในรัชกาลที่ 5 และเจ้าจอมมารดาจันทร์ พระองค์เคยประทับอยู่ที่ตำหนักศศิพงศ์ประไพในวังสวนสุนันทา ก่อนจะย้ายมาประทับที่สวนนอกหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ตำหนักของพระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพนี้เป็นเรือนไม้ 2 ชั้น แบบเรียบง่าย ตัวตำหนักทาด้วยสีขาว บันไดทางขึ้นตำหนักมีหลังคาคลุม ชายคาประดับไม้แกะสลักเป็นลวดลายขนมปังขิงอ่อนช้อยน่าชม ปัจจุบันตำหนักหลังนี้อยู่ในความดูแลของโรงเรียนอักษรเจริญ โรงเรียนประถมที่รับทั้งนักเรียนประจำและไป-กลับและใช้ตัวตำหนักเป็นบ้านพักของอาจารย์ใหญ่
ส่วนอีกหนึ่งพระราชวังที่ฉันได้มาชมนั้นแม้มิใช่สวนนอก แต่ก็ตั้งอยู่ริมคลองสามเสนเช่นเดียวกัน เป็นพระราชวังสำคัญอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ นั่นก็คือ “พระราชวังพญาไท” ที่สร้างขึ้นในปี 2451 โดยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จทอดพระเนตรการทำนา การปลูกผัก และการเลี้ยงสัตว์ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่เคยจัดขึ้นที่สนามหลวงมาจัดที่ทุ่งแห่งนี้แทน พร้อมทั้งสร้างพระตำหนักที่ประทับ พระราชทานนามว่า “วังพญาไท”
เมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ 6 ได้ทูลเชิญสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพันปีหลวง พระราชมารดา มาประทับที่พระราชวังแห่งนี้ด้วย จนกระทั่งพระราชมารดาสวรรคตเมื่อปี 2463 หลังจากนั้นรัชกาลที่ 6 ทรงวางโครงสร้างพระราชมณเฑียนสถานสำหรับเป็นที่ประทับถาวรและพระราชทานนามว่า “พระราชวังพญาไท” ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่ง 5 องค์ ได้แก่ พระที่นั่งไวกูณฐเทพสถาน พระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ และพระที่นั่งอุดมวนาภรณ์
หลังจากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 7 พระราชวังพญาไทได้ใช้เป็นโรงแรมชั้นหนึ่งนามว่า “โฮเต็ลพญาไท” เช่าใช้พื้นที่โดยกรมรถไฟหลวง ยังคงเห็นร่องรอยของการเป็นโรงแรมได้จากหมายเลขห้องพักเหนือบานประตู และในระหว่างนั้นได้มีการใช้พระราชวังพญาไทเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของไทย ออกอากาศเมื่อปี 2473 การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกครั้งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อคณะราษฎร์ได้เปลี่ยนพระราชวังพญาไทเพื่อใช้เป็นโรงพยาบาลทหาร ต่อมาจึงได้ใช้พื้นที่ของพระราชวังแห่งนี้เป็นสถานพยาบาลของกองทัพบก และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าจนปัจจุบัน
ขณะนี้บางส่วนของวังพญาไทกำลังบูรณะซ่อมแซม แต่ในพื้นที่ที่ฉันได้เข้าชมนั้นก็เห็นความงดงามอลังการไม่น้อย เช่นที่พระที่นั่งพิมานจักรี ซึ่งเป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระที่นั่งทั้ง 5 พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่ประทับของร.6 และพระมเหสี ลักษณะตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น สถาปัตยกรรมแบบโรมันเนสก์ผสมกอธิค จุดเด่นของพระที่นั่งองค์นี้อยู่ที่ยอดโดมสีแดงซึ่งใช้สำหรับชักธงมหาราชขึ้นเหนือพระที่นั่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ ด้านบนอาคารมีท้องพระโรงเป็นห้องเสด็จออกให้เฝ้าส่วนพระองค์ มีห้องพระบรรทมพร้อมห้องสรงของ ร.6 ส่วนพระที่นั่งองค์อื่นๆ ก็มีความงดงามไม่แพ้กัน ถ้าหากใครมีโอกาสฉันก็อยากให้มาชมด้วยตาตัวเองสักครั้งเพราะรายละเอียดมีมากเหลือเกินจนบรรยายได้ไม่หมด
จากสวนนอกเลาะเลียบริมคลองสามเสนจนมาถึงพระราชวังพญาไท นับเป็นการจบทริปที่น่าประทับใจและได้รับความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยทีเดียว
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ผู้ที่สนใจเกร็ดความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ไทย สามารถมาร่วมทริป ภัสสรสัญจร ครั้งที่ 20 “สักการะ 5 พุทธสถานมงคล ยลศิลป์ ถิ่นธนบุรี...ส่งท้ายปี 2555” ในวันเสาร์ที่ 15 ธ.ค. นี้ โดยจะพาไปชมสิ่งที่น่าสนใจในวัดพระยาทำวรวิหาร วัดเครือวัลย์วรวิหาร ฟังเรื่องราวสมเด็จพระเจ้าตากสิน ณ วัดนาคกลางวรวิหาร วัดสังข์กระจายวรวิหาร วัดราชสิทธารามราชวรวิหารซึ่งมีพิพิธภัณฑ์กรรมฐานที่น่าสนใจ อัตราค่าร่วมกิจกรรม ท่านละ 500 บาท ปิดรับสมัครวันพุธที่ 12 ธ.ค. นี้ สอบถามโทร 08 1343 4261