โดย : ตะลอนเที่ยว (travel_astvmgr@hotmail.com)
หนึ่งในการขยับเพื่อเตรียมรับการเปิด “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”(AEC) ในปี พ.ศ. 2558 ของสหภาพเมียนมาร์ หรือ“พม่า” ก็คือ การร่วมมือกับสายการบินแอร์เอเชีย เปิดเที่ยวบินเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับเมืองมัณฑะเลย์ โดยจะทำการเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ในวันที่ 4 ต.ค. 55 นี้
อย่างไรก็ดีก่อนหน้านั้นทางรายการ “พราว” ได้จัดเที่ยวบินพิเศษเช่าแอร์เอเชียเหมาลำ มี “อ.เผ่าทอง ทองเจือ” เป็นหัวหน้าทัวร์เอ็กคลูซีฟ พาแฟนคลับเหินฟ้าสู่มัณฑะเลย์ในช่วงต้นเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา
มัณฑะเลย์ นอกจากจะเป็นเมืองเศรษฐกิจ ท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นหนึ่งในเมืองประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากของพม่า เพราะเป็นราชธานีสุดท้ายก่อนพม่าจะตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในยุคล่าอาณานิคม
เมืองมัณฑะเลย์มีประวัติศาสตร์อันสุดแสนรันทด มีตัวละครสำคัญที่เป็นตัวจริงเสียงในประวัติศาสตร์ 4 คน ซึ่งม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้นำมาเขียนเป็นหนังสือชื่อ “พม่าเสียเมือง” โดยท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ได้แถลงไขไว้ในตอนหนึ่งของคำนำว่า
....ทั้งที่ตั้งใจในขณะที่เขียนว่าจะเขียนให้เป็นพม่ามากที่สุดเท่าที่คนไทยจะทำได้ แต่เมื่อเขียนแล้วจึงรู้ว่าคนไทยเมื่อเขียนเรื่องพม่าก็มีใจเอนเอียงเป็นไทยได้มากเหมือนกัน...
ใครที่อยากรับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ช่วงสำคัญของพม่าที่ติดกลิ่นแบบไทยๆ สามารถไปหาอ่านได้ในหนังสือดังกล่าว
สำหรับ“ตะลอนเที่ยว”แล้ว ถือว่าการเที่ยวมัณฑะเลย์กับการซึมซับประวัติศาสตร์แห่งชาติพม่าเป็นของคู่กัน ดังนั้นเราจึงขอหยิบประวัติศาสตร์อันสุดดราม่า(ในเวอร์ชั่นรวบรัดตัดความ)ของราชธานีมัณฑะเลย์มานำเล่าสู่กันฟัง เพื่อเรียกน้ำย่อยพอเป็นกระสาย ก่อนที่จะออกไปตะลอนทัวร์แหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆในเมืองนี้ต่อไป
พระเจ้ามินดง
ในยุคล่าอาณานิคมราวๆปี พ.ศ. 2367 จักวรรดิอังกฤษสามารถยึดครองพม่าตอนล่างแถบเมืองท่าย่างกุ้งไว้ได้
กรุงรัตนบุระอังวะหรือพม่าในยุคนั้น ต้องย้ายราชธานีจากกรุงอังวะมาอยู่ที่กรุงอมรปุระโดยมีกษัตริย์คือ“พระเจ้าพะคันหมิ่น” ผู้มีความโลภ ปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์อย่างกดขี่ รีดนาทาเร้น เข่นฆ่าประชาชนเพื่อแย่งชิงทรัพย์สมบัติเอามาไว้เป็นของตน ทำให้ "พระเจ้ามินดง" ได้รวบรวมไพร่พล เข้าทำการยึดพระราชอำนาจ แล้วทรงย้ายราชธานีไปอยู่ ณ ที่แห่งใหม่
เหตุที่ทรงย้ายเมืองใหม่ มีทั้งเรื่องของความเชื่อและยุทธศาสตร์ โดยพระเจ้ามินดงทรงพระสุบิน(ฝัน)เห็นภูเขามัณฑะเลย์ที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงอมรปุระอยู่บ่อยๆ จึงให้โหรทำนายได้ข้อสรุปว่าควรจะสร้างราชธานีใหม่ขึ้นระหว่างภูเขามัณฑะเลย์กับแม่น้ำอิระวดี เพราะเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับอยู่ที่ด้านหลังพร้อมกับทรงตรัสว่า เมืองนี้ในอนาคตจะเจริญรุ่งเรืองเป็นแหล่งเผยแผ่ศาสนาพุทธที่สำคัญยิ่งในด้านตะวันออก
ส่วนในด้านยุทธศาสตร์นั้น เมืองใหม่มีทำเลที่เหมาะสม และอยู่ไกลจากแม่น้ำมากกว่าอมรปุระ ทำให้สามารถหนีเรือกลไฟของกองทัพอังกฤษที่จะรุกประชิดเข้ามาได้ในระดับหนึ่ง
นั่นจึงทำให้พระเจ้ามินดงที่มีศรัทธาแรงกล้าในพุทธศาสนา ทำการย้ายเมืองใหม่มาที่นี่ในช่วงราวปี พ.ศ. 2400 พร้อมกับตั้งชื่อเมืองตามภูเขาว่าเมือง“มัณฑะเลย์”
ในการย้ายเมืองใหม่แม้พระเจ้ามินดงจะได้ชื่อว่า “ธรรมกษัตริย์” แต่ก็ยังเชื่อถือในพิธีโบราณเรื่อง“อาถรรพ์เมือง” ดังนั้นการสร้างเมืองใหม่มัณฑะเลย์จึงมีการนำคนเป็นๆมาฝังถึง 52 คน ทั้งตามมุมเมือง ประตูเมือง ประตูพระราชวัง และ 4 มุมกำแพงเมือง รวมถึงใต้พระที่นั่งในท้องพระโรงก็ต้องฝังคนเป็นๆไว้ถึง 4 คนด้วย
...เรื่องนี้ไม่ว่าพระเจ้ามินดง โหร และผู้ปกครองในยุคนั้นจะเชื่อถืออย่างไร แต่ต่อมาในยุคหลังๆ ใครหลายๆคนต่างเชื่อว่านี่คือบาปกรรมที่ทำให้ราชธานีมัณฑะเลย์ที่สร้างอย่างยิ่งใหญ่ ต้องล่มสลายภายในเวลาเพียงแค่ 28 ปี เท่านั้น อีกทั้งพระราชวังมัณฑะเลย์ที่ประทับของกษัตริย์ก็ยังหนีไม่พ้นบ่วงกรรม ถูกทิ้งระเบิดราบคาบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2...
พระนางอเลนันดอ
แม้จะเป็นธรรมกษัตริย์ผู้เคร่งครัดในพุทธศาสนา แต่พระเจ้ามินดงก็ทรงมีพระมเหสีมากถึง 45 องค์(บ้างก็ว่า 54 องค์) มีพระอัครมเหสี(มเหสีเอก) คือ พระนาง“นัมมะดอ” ผู้ทรงธรรมไม่มักใหญ่ใฝ่สูง
ต่างจากพระมเหสีรอง คือพระนาง “อเลนันดอ” ที่ทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วพระนางอเลนันดอสามารถเบียดแทรกตีตนขึ้นมาเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้ามินดงและเป็นมเหสีเบอร์หนึ่งในทางพฤตินัย ก่อนที่จะดำเนินการวางแผนยึดกุมอำนาจแบบเบ็ดเสร็จชนิดที่พระเจ้ามินดงไม่กล้าหือ กล้าอือ
หลังพระเจ้ามินดงสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับมัณฑะเลย์ ทำนุบำรุงพุทธศาสนา สังคยานาพระไตรปิฎก ในช่วงครึ่งหลังของรัชกาลพระองค์เอาแต่หมกมุ่นกับการศาสนาจนทำให้การบริหารราชการแผ่นดินในช่วงนี้อ่อนแอ ไร้สมรรถภาพ เกิดการแก่งแย่งชิงอำนาจกันอย่างสูง จนพระเจ้ามินดงเกิดความเหนื่อยหน่าย วันๆจึงเอาแต่นั่งสมาธิบำเพ็ญเพียร ก่อนที่จะทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตไปอย่างรันทดใจ โดยยังมิได้แต่งตั้งผู้ใดมาสืบทอดราชบัลลังก์องค์ต่อไป ทิ้งอำนาจให้พระนางอเลนันดอปกครองเมืองพม่าตามใจชอบต่อไป
พระเจ้าสีป่อ
การไม่ตั้งรัชทายาทสืบทอดราชบัลลังก์ของพระเจ้ามินดง เกิดข้อวิจารณ์ในภายหลังว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พม่าเสียเมือง เรื่องนี้หากย้อนไปดูข้อเท็จจริงนับว่าน่าเห็นใจพระเจ้ามินดงไม่น้อย เพราะพระองค์เคยตั้งรัชทายาทไว้แล้ว แต่ถูกพระราชโอรสจากพระมเหสีองค์อื่นลอบสังหาร(แล้วยังพาลจะมาลอบสังหารพระเจ้ามินดงเพื่อขึ้นเป็นใหญ่ด้วย)
เมื่อไม่มีรัชทายาทสืบทอด พระนางอเลนันดอได้วางแผนผลักดัน“เจ้าชายสีป่อ” พระราชโอรสที่ประสูติจากพระมเหสีชาวไทใหญ่ ซึ่งเป็นคนหัวอ่อน อ่อนแอ หูเบา ไม่ฉลาดเฉลียว ให้ขึ้นมาเป็นกษัตริย์หุ่นเชิดตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และนางคอยชักใยอยู่เบื้องหลังอีกที โดยหลังพระเจ้ามินดงสวรรคต พระนางอเลนันดอได้กำจัดพระราชโอรสที่มีสิทธ์ได้รับการสืบรัชทอดทายาทด้วยการไล่ล่า นำไปจับขัง และให้กินหวุ่นหมิ่นกี้ล็อบบี้เหล่าขุนนางให้เลือกเจ้าชายสีป่อขึ้นสืบราชบังลังก์เป็นลำดับต่อไป
พระนางศุภยลัต
เมื่อผลักดันเจ้าชายสีป่อขึ้นครองบัลลังก์ได้แล้ว แผนการลำดับต่อไปก็คือการแต่งตั้งพระมเหสี พระนางจึงให้ธิดาของตนคือ“เจ้าฟ้าศุภยคยี”(องค์พี่) และ “เจ้าฟ้าศุภยลัต”(องค์น้อง) อภิเษกกับพระเจ้าสีป่อ (ทั้งๆที่มีสายเลือดพ่อเดียวกัน) โดยเจ้าฟ้าศุภยคยีมีตำแหน่งเป็นอัครมเหสี ส่วนเจ้าฟ้าศุภยลัตเป็นมเหสีรอง
พระนางศุภยคยีองค์พี่นั้นเป็นคนดี ต่างกันลิบกับองค์น้องคือพระนางศุภยลัตที่ร้ายกาจเหลือคณา อีกทั้งยังจัดอยู่ในประเภท “มเหสีขี้หึงเหมือนหนึ่งเสือ”(ตามสำนวนของอาจารย์หม่อม) ภายหลังขึ้นเป็นมเหสีรอง พระนางได้หาทางกำจัดเสี้ยนหนามหัวใจ ด้วยการส่งคนไปวางยาลอบฆ่าพี่สาวของเธอ ที่แม้พระนางศุภยคยีจะหนีไปบวชชีแต่พระนางศุภยลัตก็ไม่ละเว้น
แน่นอนว่าความตายพระนางศุภยคยีผู้ที่ทุกข์ทนแทบใจสลายย่อมหนีไม่พ้นพระนางอเลนันดอ ที่เห็นน้องสาวมาฆ่าพี่สาวร่วมอุทรเดียวกันได้อย่างเลือดเย็น
ใครหลายๆคนบอกว่านี่เป็นกรรมสนองของพระนางอเลนันดอ ซึ่ง “ตะลอนเที่ยว” มองว่ามันไม่ยุติกรรม เพราะความตายดันไปตกกับพระนางศุภยคยีผู้พี่ที่เป็นคนดี
จากเหตุการณ์ครั้งนี้พระนางอเลนันดอได้ทราบถึงความร้ายกาจของพระราชธิดาของนาง ซึ่งสุดท้ายแล้วอำนาจที่พระนางอเลนันดอใช้ความชั่วร้ายก่อกรรมทำเข็ญมา กลายเป็นธิดาของนางชุบมือเปิบไปเชยชมแทน
ซูสีไทเฮาแห่งลุ่มอิระวดี
หลังจากที่พระนางศุภยลัตฆ่าพี่สาว ขึ้นเป็นพระมเหสีเอกอย่างเป็นทางการ และสามารถกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ บงการพระเจ้าสีป่อได้ พระนางศุภยลัตยิ่งเพิ่มความร้ายกาจมากขึ้นเรื่อยๆ จนในยุคต่อมาผู้คนได้ให้ฉายาเธอว่า “ซูสีไทเฮาแห่งลุ่มอิระวดี”(แต่ตำแหน่งจริงของเธอเปรียบได้กับฮองเฮา)
สำหรับแผนสุดชั่วร้ายลำดับต่อไปก็คือการกำจัดผู้ที่พระนางคิดว่าจะเป็นศัตรูเสี้ยนหนาม นั่นก็คือบรรดาพระราชวงศ์ใกล้ชิดด้วยกลัวจะแข็งข้อขึ้นมาแย่งชิงอำนาจ ซึ่งพวกนี้ส่วนใหญ่ต่างก็เป็นพี่น้องร่วมพระบิดาเดียวกับนางนั่นเอง
แม้เหล่าเครือญาติจะมีอยู่นับร้อยพระองค์ แต่นั่นหาใช่เรื่องยากสำหรับพระนางศุภยลัตไม่ เพราะนางได้วางแผนสังหารหมู่ขึ้น ด้วยการขุดหลุมยาวไว้ภายในพระราชวังมัณฑะเลย์เพื่อรอรับบางสิ่งบางอย่าง
ครั้นเมื่อวันนองเลือดมาถึง ด้านหนึ่งพระนางใจร้ายได้จัดให้มีละครมาเล่นในวังชั้นในแบบมาราธอนข้ามวันข้ามคืนขึ้น เพื่อให้พระเจ้าสีป่อทอดพระเนตร ร่ำน้ำจัณฑ์ โดยไม่ต้องสนใจไยดีต่อเหตุการณ์ภายนอก ส่วนอีกด้านหนึ่งพระนางได้ให้เหล่าเพชฌฆาต คอยไล่ฆ่าเหล่าเครือญาติอย่างโหดเหี้ยมเลือดเย็น
ในการสังหารหมู่นั้น เดิมกำหนดให้ใช้ท่อนจันทน์ทุบ หากเป็นเจ้านายฝ่ายในให้ทุบที่ลูกกระเดือก เจ้านายฝ่ายนอกให้ทุบที่ต้นคอ จากนั้นให้โยนรวมลงไปในบ่อ บางคนแม้ยังไม่ตายคาที่ก็ถูกโยนลงไปทับกันตายในบ่อ แต่การฆ่าไม่ได้มีแค่นี้ เพราะมีพวกเพชฌฆาตที่เมามัน เมาเลือด ได้ทำการสังหารโหดอีกต่างๆนานาๆ โดยเฉพาะเหล่าเด็กๆนั้นตายอย่างน่าเวทนานัก หลายคนถูกกระชากมาจากอ้อมอกพ่อแม่แล้วจับสองขาเหวี่ยงฟาดกับกำแพงวังให้แดดิ้นไป...ช่างเป็นการสังหารอย่างโหดร้ายทารุณสุดจะเกินพรรณนา
ช่วงเวลาในการสังหารหมู่ หากเสียงร้องของผู้ถูกฆ่าดังโหยหวนเข้ามาในวังชั้นในจนที่สงสัยแก่พระเจ้าสีป่อ พระนางศุภยลัตที่คิดวางแผนมาอย่างแยบยลก็จะส่งสัญญาณให้วงปี่พาทย์อัดเสียงดนตรีระรัวให้ดังกระหึ่มเพื่อกลบเสียงหวีดร้องเหล่านั้น แถมบางครั้งนางยังหัวเราะขบขันเหมือนสะใจเหลือประมาณ
การสังหารหมู่กระทำควบคู่ไปกับการเล่นละครนอกแบบมาราธอน 3 วัน 3 คืน (เหมือนดูหนังที่ผู้ร้ายฆ่าคนไปมีซาวนด์แทรคประกอบควบคู่ไปด้วย) การฆ่าหมู่จึงสิ้นสุด ละครนอกจบเสร็จสิ้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างแยกย้าย
ทว่าเรื่องยังไม่จบเท่านั้น เพราะหลังจากนั้นอีก 4-5 วัน ศพในหลุมที่ถูกโยนลงไปได้อืดบวมขึ้น พระนางศุภยลัตได้สั่งให้เอาช้างหลวงมาย่ำกลบ แต่อีกไม่กี่วันศพก็บวมอืดขึ้นมาอีก สุดท้ายจึงต้องนำศพใส่เกวียนหลายสิบเล่มบรรทุกไปเททิ้งยังแม่น้ำอิระวดี
ว่ากันว่าช่วงนี้เมืองมัณฑะเลย์ยามค่ำคืนร่ำระงมไปด้วยเสียงร้องโหยของวิญญาณพยาบาท ขณะที่ชาวบ้านนั้นต้องนอนคลุมโปงกันแทบทั้งเมือง
พม่าเสียเมือง
หลังเหตุการณ์สังหารหมู่สุดโหดแพร่กระจายไปทั่ว อังกฤษที่หาเหตุจ้องจะเข้ามายึดพม่าเหนืออยู่แล้วก็ได้รุกคืบเข้ามา
เมื่อผู้นำกล้ากระทำการอุกอาจ ชาวบ้านก็เอาอย่าง ราชธานีมัณฑะเลย์ช่วงนี้จึงไร้ขื่อไร้แป มีโจรผู้ร้ายชุกชุม ข้าวหยากหมากแพง ชนชั้นปกครองกดขี่ขูดรีดประชาชน บ้านเมืองระส่ำระสาย ประชาชนเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า จนบางส่วนต้องอพยพไปอยู่ในเขตพม่าใต้ยอมอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ แต่เรื่องเหล่านี้ดูเหมือนพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยลัตจะไม่รู้สึกรู้สากลับใช้วิธีหาเงินเข้าคลังด้วยการออกหวยให้ประชาชนติด และพระเจ้าสีป่อก็นำเงินหวยที่รัฐเก็บได้มาถลุงเสวยสุข
ฝ่ายอังกฤษที่หาเหตุจ้องจะเข้ามายึดกรุงรัตนบุระอังวะอยู่แล้ว หลังเหตุการณ์สังหารหมู่สุดโหดก็ได้หาเหตุรุกคืบเข้าไปอีก ช่วงนั้นขุนนางพม่าผู้รักชาติบางคนได้พยายามกราบบังคมทูลเตือนภัยให้พระนางศุภยลัตรับรู้ในความน่ากลัวของกองทัพอังกฤษ แต่กลับไม่เป็นผล หนำซ้ำผู้นำความจริงไปกราบทูลยังถูกจับไปประหารอีก เพราะพระนางศุภยลัตหยิ่งผยองมั่นใจว่ากองทัพอังกฤษไม่สามารถทำอะไรกองทัพพม่าได้
แล้ววันล่มสลายก็มาถึงในตอนใกล้ค่ำของวันที่ 28 พ.ย. 2428 เมื่ออังกฤษยกกองทัพเข้ามาตามแม่น้ำอิระวดีและสามารถรุกประชิดมายึดพระราชวังได้ พร้อมกับเนรเทศพระเจ้าสีป่อ พระนางศุภยลัต พระนางอเลนันดอ และผู้ติดตามอีกจำนวนหนึ่ง ให้ออกทางประตูผีอย่างไร้เกียรติ(ประตูผีเป็นประตูสำหรับหามศพออกไป)โดยให้นั่งเกวียนไปลงเรือต่อไปยังย่างกุ้ง เพื่อเดินทางต่อไปยังเมืองรัตนคีรี ประเทศอินเดีย ปิดฉากกรุงรัตนบุระอังวะลงในยุคนี้
บทส่งท้าย
หลังพม่าเสียเมืองให้อังกฤษ พระเจ้าสีป่อ พระนางศุภยลัต พระนางอเลนันดอ ถูกขับไสให้ไปอยู่อินเดียในฐานะเชลยราช
- พระนางอเลนันดอ หลังประทับอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งได้ทะเลาะกับพระนางศุภยลัตอย่างรุนแรงถึงขั้นตัดแม่ลูกกัน พระนางอเลนันดอขออนุญาตอังกฤษกลับมายังเมืองย่างกุ้ง และเสด็จทิวงคตที่นั่นในเวลาต่อมาอีกไม่นาน
- พระเจ้าสีป่อ ใช้ชีวิตอย่างเศร้าหมอง ไร้จุดมุ่งหมาย ในบ้านพักที่อินเดียเป็นเวลา 31 ก่อนเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2459 มีพระชนม์มายุได้ 58 ปี ถือเป็นอันสิ้นสุดยุคราชวงศ์(อลองพญา)ของพม่า
- พระนางศุภยลัต ทางการอังกฤษส่งกลับมาอยู่ที่ย่างกุ้งหลังสิ้นพระเจ้าสีป่อ โดยนางได้แต่งชุดขาวไว้ทุกข์ให้พระสวามีอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังคงถือยศศักดิ์เหมือนเมื่อครั้งเป็นราชินี ก่อนสินพระชนม์เมื่อ ปี พ.ศ. 2468 มีอายุได้ 68 ปี ทิ้งตำนานความโหดร้ายเลือดเย็นอย่างสุดแสนของพระนางศุภยลัต ทรราชย์แห่งลุ่มน้ำอิระวดีให้อนุชนคนรุ่นหลังได้รำลึกถึงอย่างเจ็บแค้นใจ
- 4 ม.ค. 2491 พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษอย่างเป็นทางการ และมีการปกครองอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
...และนี่ก็คือประวัติศาสตร์ยุคหนึ่งของพม่าที่แม้จะเป็นโศกนาฏกรรมรันทดสุดดราม่า แต่นี่ไยมิใช่สัจธรรมของการแย่งชิงอำนาจที่ไม่ว่าชายหรือหญิงหากลองได้เสพติดมัน ย่อมสามารถกระทำเรื่องเหนือความคาดหมายได้อย่างเหลือเชื่อ
แถมหลายครั้งยังเป็นการกระทำที่ไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะกระทำได้...(ตามอ่านเรื่องเที่ยวไฮไลท์ในมัณฑะเลย์ในตอนหน้า)
*****************************************
ข้อมูลส่วนหนึ่งอ้างอิงจากหนังสือ “พม่าเสียเมือง” โดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช,หนังสือ “ท่องแดนเจดีย์ไพรใน พุกามประเทศ” โดย ธีรภาพ โลหิตกุล และนำมาจากคำบอกเล่าของ อ.เผ่าทอง ทองเจือ และ“สีผ่อง”ไกด์ในพม่า
หนังสือเรื่องพม่าเสียเมือง ได้ถูกนำมาเขียนบทสร้างเป็นละครเรื่อง “เพลิงพระนาง” โดยพระเจ้ามินดง หรือ “เจ้าเมืองคุ้ม”(ชื่อในละคร) แสดงโดย“สันติสุข พรหมศิริ”,พระนางอเลนันดอ หรือ “เจ้านางอนัญทิพย์” แสดงโดย “ชไมพร จตุรภุช”, เจ้าชายสีป่อ หรือ “เจ้าม่านฟ้า” แสดงโดย “พลังธรรม กล่อมทองสุข”, และ พระนางศุภยลัต หรือ “เจ้านางปิ่นมณี” แสดงโดย “วาสนา พูนผล”
การเดินทางสู่เมืองมัณฑะเลย์ปัจจุบันมีสายการบินแอร์เอเชีย บินตรง“กรุงเทพฯ-มัณฑะเลย์” 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2515-9999 หรือดูที่ www.airasia.com
หนึ่งในการขยับเพื่อเตรียมรับการเปิด “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”(AEC) ในปี พ.ศ. 2558 ของสหภาพเมียนมาร์ หรือ“พม่า” ก็คือ การร่วมมือกับสายการบินแอร์เอเชีย เปิดเที่ยวบินเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับเมืองมัณฑะเลย์ โดยจะทำการเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ในวันที่ 4 ต.ค. 55 นี้
อย่างไรก็ดีก่อนหน้านั้นทางรายการ “พราว” ได้จัดเที่ยวบินพิเศษเช่าแอร์เอเชียเหมาลำ มี “อ.เผ่าทอง ทองเจือ” เป็นหัวหน้าทัวร์เอ็กคลูซีฟ พาแฟนคลับเหินฟ้าสู่มัณฑะเลย์ในช่วงต้นเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา
มัณฑะเลย์ นอกจากจะเป็นเมืองเศรษฐกิจ ท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นหนึ่งในเมืองประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากของพม่า เพราะเป็นราชธานีสุดท้ายก่อนพม่าจะตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในยุคล่าอาณานิคม
เมืองมัณฑะเลย์มีประวัติศาสตร์อันสุดแสนรันทด มีตัวละครสำคัญที่เป็นตัวจริงเสียงในประวัติศาสตร์ 4 คน ซึ่งม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้นำมาเขียนเป็นหนังสือชื่อ “พม่าเสียเมือง” โดยท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ได้แถลงไขไว้ในตอนหนึ่งของคำนำว่า
....ทั้งที่ตั้งใจในขณะที่เขียนว่าจะเขียนให้เป็นพม่ามากที่สุดเท่าที่คนไทยจะทำได้ แต่เมื่อเขียนแล้วจึงรู้ว่าคนไทยเมื่อเขียนเรื่องพม่าก็มีใจเอนเอียงเป็นไทยได้มากเหมือนกัน...
ใครที่อยากรับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ช่วงสำคัญของพม่าที่ติดกลิ่นแบบไทยๆ สามารถไปหาอ่านได้ในหนังสือดังกล่าว
สำหรับ“ตะลอนเที่ยว”แล้ว ถือว่าการเที่ยวมัณฑะเลย์กับการซึมซับประวัติศาสตร์แห่งชาติพม่าเป็นของคู่กัน ดังนั้นเราจึงขอหยิบประวัติศาสตร์อันสุดดราม่า(ในเวอร์ชั่นรวบรัดตัดความ)ของราชธานีมัณฑะเลย์มานำเล่าสู่กันฟัง เพื่อเรียกน้ำย่อยพอเป็นกระสาย ก่อนที่จะออกไปตะลอนทัวร์แหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆในเมืองนี้ต่อไป
พระเจ้ามินดง
ในยุคล่าอาณานิคมราวๆปี พ.ศ. 2367 จักวรรดิอังกฤษสามารถยึดครองพม่าตอนล่างแถบเมืองท่าย่างกุ้งไว้ได้
กรุงรัตนบุระอังวะหรือพม่าในยุคนั้น ต้องย้ายราชธานีจากกรุงอังวะมาอยู่ที่กรุงอมรปุระโดยมีกษัตริย์คือ“พระเจ้าพะคันหมิ่น” ผู้มีความโลภ ปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์อย่างกดขี่ รีดนาทาเร้น เข่นฆ่าประชาชนเพื่อแย่งชิงทรัพย์สมบัติเอามาไว้เป็นของตน ทำให้ "พระเจ้ามินดง" ได้รวบรวมไพร่พล เข้าทำการยึดพระราชอำนาจ แล้วทรงย้ายราชธานีไปอยู่ ณ ที่แห่งใหม่
เหตุที่ทรงย้ายเมืองใหม่ มีทั้งเรื่องของความเชื่อและยุทธศาสตร์ โดยพระเจ้ามินดงทรงพระสุบิน(ฝัน)เห็นภูเขามัณฑะเลย์ที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงอมรปุระอยู่บ่อยๆ จึงให้โหรทำนายได้ข้อสรุปว่าควรจะสร้างราชธานีใหม่ขึ้นระหว่างภูเขามัณฑะเลย์กับแม่น้ำอิระวดี เพราะเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับอยู่ที่ด้านหลังพร้อมกับทรงตรัสว่า เมืองนี้ในอนาคตจะเจริญรุ่งเรืองเป็นแหล่งเผยแผ่ศาสนาพุทธที่สำคัญยิ่งในด้านตะวันออก
ส่วนในด้านยุทธศาสตร์นั้น เมืองใหม่มีทำเลที่เหมาะสม และอยู่ไกลจากแม่น้ำมากกว่าอมรปุระ ทำให้สามารถหนีเรือกลไฟของกองทัพอังกฤษที่จะรุกประชิดเข้ามาได้ในระดับหนึ่ง
นั่นจึงทำให้พระเจ้ามินดงที่มีศรัทธาแรงกล้าในพุทธศาสนา ทำการย้ายเมืองใหม่มาที่นี่ในช่วงราวปี พ.ศ. 2400 พร้อมกับตั้งชื่อเมืองตามภูเขาว่าเมือง“มัณฑะเลย์”
ในการย้ายเมืองใหม่แม้พระเจ้ามินดงจะได้ชื่อว่า “ธรรมกษัตริย์” แต่ก็ยังเชื่อถือในพิธีโบราณเรื่อง“อาถรรพ์เมือง” ดังนั้นการสร้างเมืองใหม่มัณฑะเลย์จึงมีการนำคนเป็นๆมาฝังถึง 52 คน ทั้งตามมุมเมือง ประตูเมือง ประตูพระราชวัง และ 4 มุมกำแพงเมือง รวมถึงใต้พระที่นั่งในท้องพระโรงก็ต้องฝังคนเป็นๆไว้ถึง 4 คนด้วย
...เรื่องนี้ไม่ว่าพระเจ้ามินดง โหร และผู้ปกครองในยุคนั้นจะเชื่อถืออย่างไร แต่ต่อมาในยุคหลังๆ ใครหลายๆคนต่างเชื่อว่านี่คือบาปกรรมที่ทำให้ราชธานีมัณฑะเลย์ที่สร้างอย่างยิ่งใหญ่ ต้องล่มสลายภายในเวลาเพียงแค่ 28 ปี เท่านั้น อีกทั้งพระราชวังมัณฑะเลย์ที่ประทับของกษัตริย์ก็ยังหนีไม่พ้นบ่วงกรรม ถูกทิ้งระเบิดราบคาบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2...
พระนางอเลนันดอ
แม้จะเป็นธรรมกษัตริย์ผู้เคร่งครัดในพุทธศาสนา แต่พระเจ้ามินดงก็ทรงมีพระมเหสีมากถึง 45 องค์(บ้างก็ว่า 54 องค์) มีพระอัครมเหสี(มเหสีเอก) คือ พระนาง“นัมมะดอ” ผู้ทรงธรรมไม่มักใหญ่ใฝ่สูง
ต่างจากพระมเหสีรอง คือพระนาง “อเลนันดอ” ที่ทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วพระนางอเลนันดอสามารถเบียดแทรกตีตนขึ้นมาเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้ามินดงและเป็นมเหสีเบอร์หนึ่งในทางพฤตินัย ก่อนที่จะดำเนินการวางแผนยึดกุมอำนาจแบบเบ็ดเสร็จชนิดที่พระเจ้ามินดงไม่กล้าหือ กล้าอือ
หลังพระเจ้ามินดงสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับมัณฑะเลย์ ทำนุบำรุงพุทธศาสนา สังคยานาพระไตรปิฎก ในช่วงครึ่งหลังของรัชกาลพระองค์เอาแต่หมกมุ่นกับการศาสนาจนทำให้การบริหารราชการแผ่นดินในช่วงนี้อ่อนแอ ไร้สมรรถภาพ เกิดการแก่งแย่งชิงอำนาจกันอย่างสูง จนพระเจ้ามินดงเกิดความเหนื่อยหน่าย วันๆจึงเอาแต่นั่งสมาธิบำเพ็ญเพียร ก่อนที่จะทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตไปอย่างรันทดใจ โดยยังมิได้แต่งตั้งผู้ใดมาสืบทอดราชบัลลังก์องค์ต่อไป ทิ้งอำนาจให้พระนางอเลนันดอปกครองเมืองพม่าตามใจชอบต่อไป
พระเจ้าสีป่อ
การไม่ตั้งรัชทายาทสืบทอดราชบัลลังก์ของพระเจ้ามินดง เกิดข้อวิจารณ์ในภายหลังว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พม่าเสียเมือง เรื่องนี้หากย้อนไปดูข้อเท็จจริงนับว่าน่าเห็นใจพระเจ้ามินดงไม่น้อย เพราะพระองค์เคยตั้งรัชทายาทไว้แล้ว แต่ถูกพระราชโอรสจากพระมเหสีองค์อื่นลอบสังหาร(แล้วยังพาลจะมาลอบสังหารพระเจ้ามินดงเพื่อขึ้นเป็นใหญ่ด้วย)
เมื่อไม่มีรัชทายาทสืบทอด พระนางอเลนันดอได้วางแผนผลักดัน“เจ้าชายสีป่อ” พระราชโอรสที่ประสูติจากพระมเหสีชาวไทใหญ่ ซึ่งเป็นคนหัวอ่อน อ่อนแอ หูเบา ไม่ฉลาดเฉลียว ให้ขึ้นมาเป็นกษัตริย์หุ่นเชิดตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และนางคอยชักใยอยู่เบื้องหลังอีกที โดยหลังพระเจ้ามินดงสวรรคต พระนางอเลนันดอได้กำจัดพระราชโอรสที่มีสิทธ์ได้รับการสืบรัชทอดทายาทด้วยการไล่ล่า นำไปจับขัง และให้กินหวุ่นหมิ่นกี้ล็อบบี้เหล่าขุนนางให้เลือกเจ้าชายสีป่อขึ้นสืบราชบังลังก์เป็นลำดับต่อไป
พระนางศุภยลัต
เมื่อผลักดันเจ้าชายสีป่อขึ้นครองบัลลังก์ได้แล้ว แผนการลำดับต่อไปก็คือการแต่งตั้งพระมเหสี พระนางจึงให้ธิดาของตนคือ“เจ้าฟ้าศุภยคยี”(องค์พี่) และ “เจ้าฟ้าศุภยลัต”(องค์น้อง) อภิเษกกับพระเจ้าสีป่อ (ทั้งๆที่มีสายเลือดพ่อเดียวกัน) โดยเจ้าฟ้าศุภยคยีมีตำแหน่งเป็นอัครมเหสี ส่วนเจ้าฟ้าศุภยลัตเป็นมเหสีรอง
พระนางศุภยคยีองค์พี่นั้นเป็นคนดี ต่างกันลิบกับองค์น้องคือพระนางศุภยลัตที่ร้ายกาจเหลือคณา อีกทั้งยังจัดอยู่ในประเภท “มเหสีขี้หึงเหมือนหนึ่งเสือ”(ตามสำนวนของอาจารย์หม่อม) ภายหลังขึ้นเป็นมเหสีรอง พระนางได้หาทางกำจัดเสี้ยนหนามหัวใจ ด้วยการส่งคนไปวางยาลอบฆ่าพี่สาวของเธอ ที่แม้พระนางศุภยคยีจะหนีไปบวชชีแต่พระนางศุภยลัตก็ไม่ละเว้น
แน่นอนว่าความตายพระนางศุภยคยีผู้ที่ทุกข์ทนแทบใจสลายย่อมหนีไม่พ้นพระนางอเลนันดอ ที่เห็นน้องสาวมาฆ่าพี่สาวร่วมอุทรเดียวกันได้อย่างเลือดเย็น
ใครหลายๆคนบอกว่านี่เป็นกรรมสนองของพระนางอเลนันดอ ซึ่ง “ตะลอนเที่ยว” มองว่ามันไม่ยุติกรรม เพราะความตายดันไปตกกับพระนางศุภยคยีผู้พี่ที่เป็นคนดี
จากเหตุการณ์ครั้งนี้พระนางอเลนันดอได้ทราบถึงความร้ายกาจของพระราชธิดาของนาง ซึ่งสุดท้ายแล้วอำนาจที่พระนางอเลนันดอใช้ความชั่วร้ายก่อกรรมทำเข็ญมา กลายเป็นธิดาของนางชุบมือเปิบไปเชยชมแทน
ซูสีไทเฮาแห่งลุ่มอิระวดี
หลังจากที่พระนางศุภยลัตฆ่าพี่สาว ขึ้นเป็นพระมเหสีเอกอย่างเป็นทางการ และสามารถกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ บงการพระเจ้าสีป่อได้ พระนางศุภยลัตยิ่งเพิ่มความร้ายกาจมากขึ้นเรื่อยๆ จนในยุคต่อมาผู้คนได้ให้ฉายาเธอว่า “ซูสีไทเฮาแห่งลุ่มอิระวดี”(แต่ตำแหน่งจริงของเธอเปรียบได้กับฮองเฮา)
สำหรับแผนสุดชั่วร้ายลำดับต่อไปก็คือการกำจัดผู้ที่พระนางคิดว่าจะเป็นศัตรูเสี้ยนหนาม นั่นก็คือบรรดาพระราชวงศ์ใกล้ชิดด้วยกลัวจะแข็งข้อขึ้นมาแย่งชิงอำนาจ ซึ่งพวกนี้ส่วนใหญ่ต่างก็เป็นพี่น้องร่วมพระบิดาเดียวกับนางนั่นเอง
แม้เหล่าเครือญาติจะมีอยู่นับร้อยพระองค์ แต่นั่นหาใช่เรื่องยากสำหรับพระนางศุภยลัตไม่ เพราะนางได้วางแผนสังหารหมู่ขึ้น ด้วยการขุดหลุมยาวไว้ภายในพระราชวังมัณฑะเลย์เพื่อรอรับบางสิ่งบางอย่าง
ครั้นเมื่อวันนองเลือดมาถึง ด้านหนึ่งพระนางใจร้ายได้จัดให้มีละครมาเล่นในวังชั้นในแบบมาราธอนข้ามวันข้ามคืนขึ้น เพื่อให้พระเจ้าสีป่อทอดพระเนตร ร่ำน้ำจัณฑ์ โดยไม่ต้องสนใจไยดีต่อเหตุการณ์ภายนอก ส่วนอีกด้านหนึ่งพระนางได้ให้เหล่าเพชฌฆาต คอยไล่ฆ่าเหล่าเครือญาติอย่างโหดเหี้ยมเลือดเย็น
ในการสังหารหมู่นั้น เดิมกำหนดให้ใช้ท่อนจันทน์ทุบ หากเป็นเจ้านายฝ่ายในให้ทุบที่ลูกกระเดือก เจ้านายฝ่ายนอกให้ทุบที่ต้นคอ จากนั้นให้โยนรวมลงไปในบ่อ บางคนแม้ยังไม่ตายคาที่ก็ถูกโยนลงไปทับกันตายในบ่อ แต่การฆ่าไม่ได้มีแค่นี้ เพราะมีพวกเพชฌฆาตที่เมามัน เมาเลือด ได้ทำการสังหารโหดอีกต่างๆนานาๆ โดยเฉพาะเหล่าเด็กๆนั้นตายอย่างน่าเวทนานัก หลายคนถูกกระชากมาจากอ้อมอกพ่อแม่แล้วจับสองขาเหวี่ยงฟาดกับกำแพงวังให้แดดิ้นไป...ช่างเป็นการสังหารอย่างโหดร้ายทารุณสุดจะเกินพรรณนา
ช่วงเวลาในการสังหารหมู่ หากเสียงร้องของผู้ถูกฆ่าดังโหยหวนเข้ามาในวังชั้นในจนที่สงสัยแก่พระเจ้าสีป่อ พระนางศุภยลัตที่คิดวางแผนมาอย่างแยบยลก็จะส่งสัญญาณให้วงปี่พาทย์อัดเสียงดนตรีระรัวให้ดังกระหึ่มเพื่อกลบเสียงหวีดร้องเหล่านั้น แถมบางครั้งนางยังหัวเราะขบขันเหมือนสะใจเหลือประมาณ
การสังหารหมู่กระทำควบคู่ไปกับการเล่นละครนอกแบบมาราธอน 3 วัน 3 คืน (เหมือนดูหนังที่ผู้ร้ายฆ่าคนไปมีซาวนด์แทรคประกอบควบคู่ไปด้วย) การฆ่าหมู่จึงสิ้นสุด ละครนอกจบเสร็จสิ้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างแยกย้าย
ทว่าเรื่องยังไม่จบเท่านั้น เพราะหลังจากนั้นอีก 4-5 วัน ศพในหลุมที่ถูกโยนลงไปได้อืดบวมขึ้น พระนางศุภยลัตได้สั่งให้เอาช้างหลวงมาย่ำกลบ แต่อีกไม่กี่วันศพก็บวมอืดขึ้นมาอีก สุดท้ายจึงต้องนำศพใส่เกวียนหลายสิบเล่มบรรทุกไปเททิ้งยังแม่น้ำอิระวดี
ว่ากันว่าช่วงนี้เมืองมัณฑะเลย์ยามค่ำคืนร่ำระงมไปด้วยเสียงร้องโหยของวิญญาณพยาบาท ขณะที่ชาวบ้านนั้นต้องนอนคลุมโปงกันแทบทั้งเมือง
พม่าเสียเมือง
หลังเหตุการณ์สังหารหมู่สุดโหดแพร่กระจายไปทั่ว อังกฤษที่หาเหตุจ้องจะเข้ามายึดพม่าเหนืออยู่แล้วก็ได้รุกคืบเข้ามา
เมื่อผู้นำกล้ากระทำการอุกอาจ ชาวบ้านก็เอาอย่าง ราชธานีมัณฑะเลย์ช่วงนี้จึงไร้ขื่อไร้แป มีโจรผู้ร้ายชุกชุม ข้าวหยากหมากแพง ชนชั้นปกครองกดขี่ขูดรีดประชาชน บ้านเมืองระส่ำระสาย ประชาชนเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า จนบางส่วนต้องอพยพไปอยู่ในเขตพม่าใต้ยอมอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ แต่เรื่องเหล่านี้ดูเหมือนพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยลัตจะไม่รู้สึกรู้สากลับใช้วิธีหาเงินเข้าคลังด้วยการออกหวยให้ประชาชนติด และพระเจ้าสีป่อก็นำเงินหวยที่รัฐเก็บได้มาถลุงเสวยสุข
ฝ่ายอังกฤษที่หาเหตุจ้องจะเข้ามายึดกรุงรัตนบุระอังวะอยู่แล้ว หลังเหตุการณ์สังหารหมู่สุดโหดก็ได้หาเหตุรุกคืบเข้าไปอีก ช่วงนั้นขุนนางพม่าผู้รักชาติบางคนได้พยายามกราบบังคมทูลเตือนภัยให้พระนางศุภยลัตรับรู้ในความน่ากลัวของกองทัพอังกฤษ แต่กลับไม่เป็นผล หนำซ้ำผู้นำความจริงไปกราบทูลยังถูกจับไปประหารอีก เพราะพระนางศุภยลัตหยิ่งผยองมั่นใจว่ากองทัพอังกฤษไม่สามารถทำอะไรกองทัพพม่าได้
แล้ววันล่มสลายก็มาถึงในตอนใกล้ค่ำของวันที่ 28 พ.ย. 2428 เมื่ออังกฤษยกกองทัพเข้ามาตามแม่น้ำอิระวดีและสามารถรุกประชิดมายึดพระราชวังได้ พร้อมกับเนรเทศพระเจ้าสีป่อ พระนางศุภยลัต พระนางอเลนันดอ และผู้ติดตามอีกจำนวนหนึ่ง ให้ออกทางประตูผีอย่างไร้เกียรติ(ประตูผีเป็นประตูสำหรับหามศพออกไป)โดยให้นั่งเกวียนไปลงเรือต่อไปยังย่างกุ้ง เพื่อเดินทางต่อไปยังเมืองรัตนคีรี ประเทศอินเดีย ปิดฉากกรุงรัตนบุระอังวะลงในยุคนี้
บทส่งท้าย
หลังพม่าเสียเมืองให้อังกฤษ พระเจ้าสีป่อ พระนางศุภยลัต พระนางอเลนันดอ ถูกขับไสให้ไปอยู่อินเดียในฐานะเชลยราช
- พระนางอเลนันดอ หลังประทับอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งได้ทะเลาะกับพระนางศุภยลัตอย่างรุนแรงถึงขั้นตัดแม่ลูกกัน พระนางอเลนันดอขออนุญาตอังกฤษกลับมายังเมืองย่างกุ้ง และเสด็จทิวงคตที่นั่นในเวลาต่อมาอีกไม่นาน
- พระเจ้าสีป่อ ใช้ชีวิตอย่างเศร้าหมอง ไร้จุดมุ่งหมาย ในบ้านพักที่อินเดียเป็นเวลา 31 ก่อนเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2459 มีพระชนม์มายุได้ 58 ปี ถือเป็นอันสิ้นสุดยุคราชวงศ์(อลองพญา)ของพม่า
- พระนางศุภยลัต ทางการอังกฤษส่งกลับมาอยู่ที่ย่างกุ้งหลังสิ้นพระเจ้าสีป่อ โดยนางได้แต่งชุดขาวไว้ทุกข์ให้พระสวามีอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังคงถือยศศักดิ์เหมือนเมื่อครั้งเป็นราชินี ก่อนสินพระชนม์เมื่อ ปี พ.ศ. 2468 มีอายุได้ 68 ปี ทิ้งตำนานความโหดร้ายเลือดเย็นอย่างสุดแสนของพระนางศุภยลัต ทรราชย์แห่งลุ่มน้ำอิระวดีให้อนุชนคนรุ่นหลังได้รำลึกถึงอย่างเจ็บแค้นใจ
- 4 ม.ค. 2491 พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษอย่างเป็นทางการ และมีการปกครองอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
...และนี่ก็คือประวัติศาสตร์ยุคหนึ่งของพม่าที่แม้จะเป็นโศกนาฏกรรมรันทดสุดดราม่า แต่นี่ไยมิใช่สัจธรรมของการแย่งชิงอำนาจที่ไม่ว่าชายหรือหญิงหากลองได้เสพติดมัน ย่อมสามารถกระทำเรื่องเหนือความคาดหมายได้อย่างเหลือเชื่อ
แถมหลายครั้งยังเป็นการกระทำที่ไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะกระทำได้...(ตามอ่านเรื่องเที่ยวไฮไลท์ในมัณฑะเลย์ในตอนหน้า)
*****************************************
ข้อมูลส่วนหนึ่งอ้างอิงจากหนังสือ “พม่าเสียเมือง” โดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช,หนังสือ “ท่องแดนเจดีย์ไพรใน พุกามประเทศ” โดย ธีรภาพ โลหิตกุล และนำมาจากคำบอกเล่าของ อ.เผ่าทอง ทองเจือ และ“สีผ่อง”ไกด์ในพม่า
หนังสือเรื่องพม่าเสียเมือง ได้ถูกนำมาเขียนบทสร้างเป็นละครเรื่อง “เพลิงพระนาง” โดยพระเจ้ามินดง หรือ “เจ้าเมืองคุ้ม”(ชื่อในละคร) แสดงโดย“สันติสุข พรหมศิริ”,พระนางอเลนันดอ หรือ “เจ้านางอนัญทิพย์” แสดงโดย “ชไมพร จตุรภุช”, เจ้าชายสีป่อ หรือ “เจ้าม่านฟ้า” แสดงโดย “พลังธรรม กล่อมทองสุข”, และ พระนางศุภยลัต หรือ “เจ้านางปิ่นมณี” แสดงโดย “วาสนา พูนผล”
การเดินทางสู่เมืองมัณฑะเลย์ปัจจุบันมีสายการบินแอร์เอเชีย บินตรง“กรุงเทพฯ-มัณฑะเลย์” 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2515-9999 หรือดูที่ www.airasia.com