โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
พอใกล้ๆ วันสำคัญทางศาสนา ฉันก็เริ่มมองหาวัดที่จะเข้าไปทำบุญใหญ่สักครั้งหนึ่ง นอกเหนือจากวันธรรมดาที่จะตักบาตร ทำบุญ ทำทานอยู่แล้ว ยิ่งเป็นวันพระใหญ่ วันอาสาฬหบูชา ต่อด้วยวันเข้าพรรษา การได้ไปสงบจิตสงบใจให้เป็นกุศลกับตัวเองก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ดี
แต่ถ้าจะให้ไปไกลจากเมืองกรุงก็คงจะไม่สะดวกนัก ฉันเลยขอเลือกที่จะไปทำบุญที่ “วัดราชสิทธาราม” หรือ “วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร” ที่ตั้งอยู่ฝั่งธนบุรี สาเหตุที่เลือกมาที่นี่ก็เนื่องจากวัดนี้มีชื่อเสียงทางด้านกรรมฐาน ที่สอนตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้
ก่อนจะเข้าไปที่วัด ฉันก็ขอศึกษาประวัติความเป็นมาของวัดนี้เสียหน่อย เวลาเดินดูภายในวัดจะได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งขึ้น วัดราชสิทธารามแห่งนี้ แต่เดิมมีชื่อว่า “วัดพลับ” สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ก็ไม่ได้ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อไหร่ แต่ตัววัดเดิมนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดในปัจจุบัน
มาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดใหม่บริเวณที่ติดกัน และให้รวมวัดพลับเดิมเข้าไปอยู่กับเขตวัดที่สร้างขึ้นใหม่ เนื่องจากได้ทรงอาราธนา “พระอาจารย์สุก” (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น พระญาณสังวรเถร และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) มาจำพรรษา ณ วัดในกรุงเทพฯ
พระอาจารย์สุก หรือ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) ทรงเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวักราชสิทธาราม ทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงพระเกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ ทรงเชี่ยวชาญในกัมมัฏฐาน มีเมตตาภาวนาแก่กล้า จนสามารถเลี้ยงไก่ป่าให้เชื่องได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้รับฉายาว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน”
เมื่อเดินเข้ามาถึงตัววัดแล้ว สิ่งแรกที่ฉันเห็นเด่นชัดและสะดุดตาเป็นอย่างมากก็คือ พระอุโบสถ ที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณี หากมองขึ้นไปบริเวณหน้าบันแล้วสังเกตดีๆ จะเห็นลวดลายไม้แกะสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ล้อมรอบด้วยลายก้านขดประดับกระจกสีลงรักปิดทอง ที่ยังคงดูสวยสดงดงามแม้จะผ่านกาลเวลามายาวนานแล้ว
สำหรับพระประทานในโบสถ์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย นามว่า “พระพุทธจุฬารักษ์” ฉันก็ได้ไปกราบสักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนที่จะเดินดูความงดงามของจิตรกรรมฝาผนังภายใน ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ มหาเวสสันดรชาดก ภาพไตรภูมิ และอื่นๆ อีกมากมาย ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของศิลปะแบบไทยๆ ที่น่าชื่นชม และควรอนุรักษ์ให้ลูกหลานเราได้เห็นสืบไป
เมื่อเดินออกมาด้านนอก จะเห็นสิ่งก่อสร้างคล้ายๆ ศาลาหลังเล็กๆ ตั้งเรียงรายกันอยู่รอบโบสถ์ ฉันลองสอบถามคุณลุงที่นั่งอยู่แถวนั้น ท่านก็ตอบว่า สิ่งที่เห็นนี้คือกุฏิวิปัสสนา มีทั้งหมด 24 หลัง สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน และบริเวณหน้าบันก็ยังปั้นปูนเป็นลวดลายสวยงามด้วย นอกจากนี้ ที่ด้านหน้าโบสถ์ยังมีเจดีย์สำคัญอีก 2 องค์ คือ พระสิราศนเจดีย์ และ พระสิรจุมภฏเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบทรงเครื่อง ตั้งอยู่ทางทิศใต้และทิศเหนือของตัวพระอุโบสถ
เนื่องจากเป็นวัดที่สร้างขึ้นมานานแล้ว จึงทำให้ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างและจุดสำคัญๆ อีกหลายจุด อาทิ พระวิหารแดง ศาลาการเปรียญ หอระฆัง และที่สำคัญ คือ พระตำหนักจันทน์ ที่ในอดีตเคยเป็นพระตำหนักจำพรรษาของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งที่ทรงผนวช ส่วน พระตำหนักเก๋งจีน ที่สร้างอยู่คู่กับพระตำหนักจันทน์นั้น แต่เดิมก็ใช้เป็นที่รับรองผู้มาเข้าเฝ้าฯ และในบริเวณเดียวกันนี้ก็ยังมี ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งปลูกไว้ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
อย่างที่บอกมากตั้งแต่ต้นว่า ฉันเลือกมาที่นี่เนื่องจากวัดนี้มีชื่อเสียงทางด้านกรรมฐาน จึงขอแนะนำเสียหน่อยว่า กรรมฐานของวัดราชสิทธาราม เป็นพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ คือการเรียนปฏิบัติไปตามกำลังของจิต เกิดสมาธิเป็นขั้นๆ ไป และถือว่าเป็นกรรมฐานของเก่าที่สืบทอดกันมาช้านานตั้งแต่สมัยพุทธกาล
จนมาถึงในสมัยรัตนโกสินทร์ ก็มีสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) ทรงเป็นพระอาจารย์ใหญ่กรรมฐาน โดยได้มีการสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ เพื่อรักษาไว้ไม่ให้สูญหาย หรือแตกกระจายไป
แต่ในปัจจุบันนั้น กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับได้เสื่อมลงเรื่อยๆ โดยใช้แบบแผนอื่นเข้ามาแทน ซึ่งยังคงเหลือเฉพาะที่วัดราชสิทธารามเพียงแห่งเดียว ที่ยังคงรักษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับเป็นหลักไว้อย่างยาวนานมาจนถึงขณะนี้
ใครที่เพิ่งเริ่มต้นนั่งกรรมฐาน อาจจะมาเริ่มต้นที่วัดแห่งนี้ก็ได้ โดยจะมีการสอนนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนี้ในทุกวัน เวลา 09.00-19.00 น. ซึ่งเมื่อเรียนรู้แล้วก็สามารถนำไปปฏิบัติต่อเองที่บ้านได้
สิ่งที่ไม่ควรพลาดอีกแห่งหนึ่งเมื่อมาถึงที่วัดนี้ก็คือ การขึ้นไปศึกษายัง พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน ที่รวบรวมโบราณวัตถุ และของเก่าหายากต่างๆ มาให้ได้ศึกษากัน ทั้งของใช้ และของที่ได้รับพระราชทานของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) อาทิ ไม้เท้าเบิกไพรไผ่ยอดตาล พระคัมภีร์มูลกัจจายน์ อุณากัณฑ์ ที่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) ทรงคัดลอกด้วยลายพระหัตถ์ บาตรดินเผา ธรรมมาสน์แสดงธรรม เป็นต้น
และยังมีหุ่นขี้ผึ้งของพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) รวมถึงหุ่นขี้ผึ้งของพระอาจารย์วิปัสสนาสายเดียวกันนี้อีกหลายองค์ ที่รวบรวมไว้อยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ให้คนทั่วไปได้เข้าไปกราบไหว้
นอกจากจะไปสงบจิตสงบใจด้วยการเข้าวัดทำบุญ หรือไปนั่งสมาธิที่วัดแล้ว ฉันว่า การที่ทำจิตใจให้สงบ มีสติ รู้จักอยู่กับปัจจุบัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถสงบจิตสงบใจของเราได้เช่นกัน และนอกจากจะได้ทำบุญในช่วงวันพระใหญ่แล้ว ฉันว่าจะชวนแม่และคนในครอบครัวมาทำบุญด้วยกัน จะได้มีความสุขกันไปทั้งบ้าน
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร” ตั้งอยู่ภายในซอยอิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กทม. โทร. 0-2465-2552 สำหรับพิพิธภัณฑ์กรรมฐาน เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-17.00 น.
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของผู้จัดการท่องเที่ยว Travel @ Manager on Facebook รับข่าวสารทั้งเรื่องกินเรื่องเที่ยวแบบรวดเร็วทันใจ และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!!
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
พอใกล้ๆ วันสำคัญทางศาสนา ฉันก็เริ่มมองหาวัดที่จะเข้าไปทำบุญใหญ่สักครั้งหนึ่ง นอกเหนือจากวันธรรมดาที่จะตักบาตร ทำบุญ ทำทานอยู่แล้ว ยิ่งเป็นวันพระใหญ่ วันอาสาฬหบูชา ต่อด้วยวันเข้าพรรษา การได้ไปสงบจิตสงบใจให้เป็นกุศลกับตัวเองก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ดี
แต่ถ้าจะให้ไปไกลจากเมืองกรุงก็คงจะไม่สะดวกนัก ฉันเลยขอเลือกที่จะไปทำบุญที่ “วัดราชสิทธาราม” หรือ “วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร” ที่ตั้งอยู่ฝั่งธนบุรี สาเหตุที่เลือกมาที่นี่ก็เนื่องจากวัดนี้มีชื่อเสียงทางด้านกรรมฐาน ที่สอนตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้
ก่อนจะเข้าไปที่วัด ฉันก็ขอศึกษาประวัติความเป็นมาของวัดนี้เสียหน่อย เวลาเดินดูภายในวัดจะได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งขึ้น วัดราชสิทธารามแห่งนี้ แต่เดิมมีชื่อว่า “วัดพลับ” สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ก็ไม่ได้ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อไหร่ แต่ตัววัดเดิมนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดในปัจจุบัน
มาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดใหม่บริเวณที่ติดกัน และให้รวมวัดพลับเดิมเข้าไปอยู่กับเขตวัดที่สร้างขึ้นใหม่ เนื่องจากได้ทรงอาราธนา “พระอาจารย์สุก” (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น พระญาณสังวรเถร และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) มาจำพรรษา ณ วัดในกรุงเทพฯ
พระอาจารย์สุก หรือ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) ทรงเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวักราชสิทธาราม ทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงพระเกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ ทรงเชี่ยวชาญในกัมมัฏฐาน มีเมตตาภาวนาแก่กล้า จนสามารถเลี้ยงไก่ป่าให้เชื่องได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้รับฉายาว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน”
เมื่อเดินเข้ามาถึงตัววัดแล้ว สิ่งแรกที่ฉันเห็นเด่นชัดและสะดุดตาเป็นอย่างมากก็คือ พระอุโบสถ ที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณี หากมองขึ้นไปบริเวณหน้าบันแล้วสังเกตดีๆ จะเห็นลวดลายไม้แกะสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ล้อมรอบด้วยลายก้านขดประดับกระจกสีลงรักปิดทอง ที่ยังคงดูสวยสดงดงามแม้จะผ่านกาลเวลามายาวนานแล้ว
สำหรับพระประทานในโบสถ์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย นามว่า “พระพุทธจุฬารักษ์” ฉันก็ได้ไปกราบสักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนที่จะเดินดูความงดงามของจิตรกรรมฝาผนังภายใน ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ มหาเวสสันดรชาดก ภาพไตรภูมิ และอื่นๆ อีกมากมาย ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของศิลปะแบบไทยๆ ที่น่าชื่นชม และควรอนุรักษ์ให้ลูกหลานเราได้เห็นสืบไป
เมื่อเดินออกมาด้านนอก จะเห็นสิ่งก่อสร้างคล้ายๆ ศาลาหลังเล็กๆ ตั้งเรียงรายกันอยู่รอบโบสถ์ ฉันลองสอบถามคุณลุงที่นั่งอยู่แถวนั้น ท่านก็ตอบว่า สิ่งที่เห็นนี้คือกุฏิวิปัสสนา มีทั้งหมด 24 หลัง สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน และบริเวณหน้าบันก็ยังปั้นปูนเป็นลวดลายสวยงามด้วย นอกจากนี้ ที่ด้านหน้าโบสถ์ยังมีเจดีย์สำคัญอีก 2 องค์ คือ พระสิราศนเจดีย์ และ พระสิรจุมภฏเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบทรงเครื่อง ตั้งอยู่ทางทิศใต้และทิศเหนือของตัวพระอุโบสถ
เนื่องจากเป็นวัดที่สร้างขึ้นมานานแล้ว จึงทำให้ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างและจุดสำคัญๆ อีกหลายจุด อาทิ พระวิหารแดง ศาลาการเปรียญ หอระฆัง และที่สำคัญ คือ พระตำหนักจันทน์ ที่ในอดีตเคยเป็นพระตำหนักจำพรรษาของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งที่ทรงผนวช ส่วน พระตำหนักเก๋งจีน ที่สร้างอยู่คู่กับพระตำหนักจันทน์นั้น แต่เดิมก็ใช้เป็นที่รับรองผู้มาเข้าเฝ้าฯ และในบริเวณเดียวกันนี้ก็ยังมี ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งปลูกไว้ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
อย่างที่บอกมากตั้งแต่ต้นว่า ฉันเลือกมาที่นี่เนื่องจากวัดนี้มีชื่อเสียงทางด้านกรรมฐาน จึงขอแนะนำเสียหน่อยว่า กรรมฐานของวัดราชสิทธาราม เป็นพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ คือการเรียนปฏิบัติไปตามกำลังของจิต เกิดสมาธิเป็นขั้นๆ ไป และถือว่าเป็นกรรมฐานของเก่าที่สืบทอดกันมาช้านานตั้งแต่สมัยพุทธกาล
จนมาถึงในสมัยรัตนโกสินทร์ ก็มีสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) ทรงเป็นพระอาจารย์ใหญ่กรรมฐาน โดยได้มีการสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ เพื่อรักษาไว้ไม่ให้สูญหาย หรือแตกกระจายไป
แต่ในปัจจุบันนั้น กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับได้เสื่อมลงเรื่อยๆ โดยใช้แบบแผนอื่นเข้ามาแทน ซึ่งยังคงเหลือเฉพาะที่วัดราชสิทธารามเพียงแห่งเดียว ที่ยังคงรักษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับเป็นหลักไว้อย่างยาวนานมาจนถึงขณะนี้
ใครที่เพิ่งเริ่มต้นนั่งกรรมฐาน อาจจะมาเริ่มต้นที่วัดแห่งนี้ก็ได้ โดยจะมีการสอนนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนี้ในทุกวัน เวลา 09.00-19.00 น. ซึ่งเมื่อเรียนรู้แล้วก็สามารถนำไปปฏิบัติต่อเองที่บ้านได้
สิ่งที่ไม่ควรพลาดอีกแห่งหนึ่งเมื่อมาถึงที่วัดนี้ก็คือ การขึ้นไปศึกษายัง พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน ที่รวบรวมโบราณวัตถุ และของเก่าหายากต่างๆ มาให้ได้ศึกษากัน ทั้งของใช้ และของที่ได้รับพระราชทานของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) อาทิ ไม้เท้าเบิกไพรไผ่ยอดตาล พระคัมภีร์มูลกัจจายน์ อุณากัณฑ์ ที่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) ทรงคัดลอกด้วยลายพระหัตถ์ บาตรดินเผา ธรรมมาสน์แสดงธรรม เป็นต้น
และยังมีหุ่นขี้ผึ้งของพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) รวมถึงหุ่นขี้ผึ้งของพระอาจารย์วิปัสสนาสายเดียวกันนี้อีกหลายองค์ ที่รวบรวมไว้อยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ให้คนทั่วไปได้เข้าไปกราบไหว้
นอกจากจะไปสงบจิตสงบใจด้วยการเข้าวัดทำบุญ หรือไปนั่งสมาธิที่วัดแล้ว ฉันว่า การที่ทำจิตใจให้สงบ มีสติ รู้จักอยู่กับปัจจุบัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถสงบจิตสงบใจของเราได้เช่นกัน และนอกจากจะได้ทำบุญในช่วงวันพระใหญ่แล้ว ฉันว่าจะชวนแม่และคนในครอบครัวมาทำบุญด้วยกัน จะได้มีความสุขกันไปทั้งบ้าน
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร” ตั้งอยู่ภายในซอยอิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กทม. โทร. 0-2465-2552 สำหรับพิพิธภัณฑ์กรรมฐาน เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-17.00 น.
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของผู้จัดการท่องเที่ยว Travel @ Manager on Facebook รับข่าวสารทั้งเรื่องกินเรื่องเที่ยวแบบรวดเร็วทันใจ และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!!
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com