โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
วันที่ 25 พ.ค. 55 นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปยัง “ทุ่งมะขามหย่อง” จ.พระนครศรีอยุธยา โดยจะทรงงานตามพระราชอัธยาศัย และรับการถวายรายงานโครงการพระราชดำริแก้มลิง รวมถึงเสด็จทอดพระเนตรการแสดงเทิดพระเกียรติ พักผ่อนพระอิริยาบถ และเสวยพระกระยาหารว่าง ก่อนจะเสด็จพระราชดำเนินกลับ
การเสด็จฯครั้งนี้ สร้างความปลาบปลื้มต่อชาวเมืองกรุงเก่าอยุธยาเป็นล้นพ้น
สำหรับทุ่งมะขามหย่อง ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านใหม่ อ.พระนครศรีอยุธยา ที่นี่นับเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ชาติไทย นับจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยในสมัย“สมเด็จพระมหาจักพรรดิ” แห่งกรุงศรีอยุธยา หลังพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ประมาณ 7 เดือน พม่าได้ยกทัพนำโดยพระเจ้าหงสาวีตะเบงชะเวตี้เข้ามารุกราน
การศึกครั้งนั้น “สมเด็จพระสุริโยทัย” พระอัครมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้แต่งพระองค์อย่างมหาอุปราช ทรงช้างออกมาทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร แต่ความที่เป็นสตรีทำให้พระองค์พลาดท่าเสียที ต้องพระแสงของ้าวของพระเจ้าแปรสิ้นพระชนม์บนคอช้าง แต่การศึกครั้งนั้นไม่ปรากฏผลแพ้-ชนะกัน
ด้วยวีรกรรมในครั้งนั้น ครั้นเมื่อเวลาผ่านเลยมาจนถึงสมัยรัชกาลปัจจุบัน แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้าง “พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย” ขึ้น ณ บริเวณทุ่งมะขามหย่อง เพื่อเฉลิมพระเกียรติมาวีรกษัตริย์ไทย และเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ในปี พ.ศ. 2535
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 31 ส.ค. 2534 ครั้นเมื่อพระราชานุสาวรีย์เสร็จสมบูรณ์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระสุริโยทัยในวันที่ 3 ก.ค. 2538
เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ทางการสู้รบอีกเหตุการณ์หนึ่ง คือ เหตุการณ์หลังจาก “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ทรงประกาศอิสรภาพได้ 2 ปี พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงได้ให้มังมอดราชบุตรยกทัพมาตั้งที่ทุ่งมะขามหย่อง และทัพพระเจ้าหงสาวดีตั้งค่ายหลวงบริเวณขนอนปากคู่ซึ่งอยู่ถัดจากทุ่งมะขามหย่องลงมาทางใต้
การศึกครั้งนี้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำไพร่พลปล้นค่ายหลายครั้งหลายครา โดยทรงคาบพระแสงดาบ ปีนเสาระเนียดเข้าค่ายพม่า และได้รับชัยชนะทุกครั้งไป จนพระแสงดาบนั้นได้รับการเรียกขานว่า "พระแสงดาบคาบค่าย"
นอกจากจะเป็นพื้นที่ในการรบทัพจับศึกแล้ว ด้วยชัยภูมิที่ตั้งของทุ่งมะขามหย่องและ“ทุ่งภูเขาทอง” ที่เป็นท้องทุ่งขนาดใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานแนวพระราชดำริ ให้พัฒนาพื้นที่ทุ่งทั้งสองเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำหรือ “แก้มลิง”เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียง
โดยเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จฯมาที่แปลงนาสาธิต ทางทิศเหนือของทุ่งมะขามหย่อง ซึ่งทั้งสองพระองค์นอกจากเสด็จมาทรงงานแล้ว ยังทรงเกี่ยวข้าวในแปลงนาสาธิต ยังความปลายปลื้มแก่พสกนิกรจำนวนมากหลายหมื่นคนที่มาเฝ้ารอรับเสด็จ
สำหรับทุ่งมะขามหย่อง ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งหมด 250 ไร่ มีการจัดทำเป็นอ่างเก็บน้ำ(แก้มลิง)จำนวน 180 ไร่ สามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 2,100,000 ล้านลูกบาศก์เมตร(2.1 ล้านลบ.ม.) ซึ่งเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำยามน้ำหลาก ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม ส่วนยามหน้าแล้งก็ได้น้ำจากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ไปในการเกษตร
นอกจากนี้ด้วยความที่ทุ่งมะขามหย่อง มีสภาพพื้นที่สวยงาม มีอ่างเก็บน้ำ มีพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยและกลุ่มประติมากรรมประกอบ และมีสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ทำให้พื้นที่แห่งนี้ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจของอยุธยา ซึ่งชาวกรุงเก่าได้พร้อมใจกันขนานนามท้องทุ่งทั้งสอง คือ ทุ่งมะขามหย่องและทุ่งภูเขาทองว่าเป็น “ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ”
นับเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ใต้พระบารมี ใต้พระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่แม้จะทรงเหน็ดเหนื่อยตรากตรำแค่ไหน แต่พระมหากษัตริย์และพระราชินีทั้งสองก็ไม่เคยทอดทิ้งประชาชนของพระองค์
*****************************************
การเสด็จพระราชดำเนิน “ทุ่งมะขามหย่อง” ในวันที่ 25 พ.ค. 55 นี้ ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ทำการจัดเตรียมสถานที่ต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ มีการสร้างทางลาดพระบาทตลอดเส้นทางเสด็จจากพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย มายังพลับพลาที่ประทับกลางน้ำ เพื่อชมการแสดงแสง สี เสียง เรื่อง “ทุ่งมะขามหย่อง ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ” ซึ่งจะมีเกาะกลางน้ำเป็นฉากหลังอย่างสวยงาม ในฉากการแสดงถวายจะมีผู้แสดงรำถวายเดินบนผิวน้ำ
นอกจากนี้ยังการจัดแสดง ร้องเพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าวถวาย ได้เตรียมเรือพื้นบ้านโบราณ จำนวนกว่า 30 ลำ แสดงถวาย ในที่ประชุมได้จำลองภาพกราฟฟิกเพื่อมองให้เห็นภาพที่สวยงามอย่างสมพระเกียรติที่ จัดแสดงถวายในวันเสด็จฯ
วันที่ 25 พ.ค. 55 นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปยัง “ทุ่งมะขามหย่อง” จ.พระนครศรีอยุธยา โดยจะทรงงานตามพระราชอัธยาศัย และรับการถวายรายงานโครงการพระราชดำริแก้มลิง รวมถึงเสด็จทอดพระเนตรการแสดงเทิดพระเกียรติ พักผ่อนพระอิริยาบถ และเสวยพระกระยาหารว่าง ก่อนจะเสด็จพระราชดำเนินกลับ
การเสด็จฯครั้งนี้ สร้างความปลาบปลื้มต่อชาวเมืองกรุงเก่าอยุธยาเป็นล้นพ้น
สำหรับทุ่งมะขามหย่อง ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านใหม่ อ.พระนครศรีอยุธยา ที่นี่นับเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ชาติไทย นับจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยในสมัย“สมเด็จพระมหาจักพรรดิ” แห่งกรุงศรีอยุธยา หลังพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ประมาณ 7 เดือน พม่าได้ยกทัพนำโดยพระเจ้าหงสาวีตะเบงชะเวตี้เข้ามารุกราน
การศึกครั้งนั้น “สมเด็จพระสุริโยทัย” พระอัครมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้แต่งพระองค์อย่างมหาอุปราช ทรงช้างออกมาทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร แต่ความที่เป็นสตรีทำให้พระองค์พลาดท่าเสียที ต้องพระแสงของ้าวของพระเจ้าแปรสิ้นพระชนม์บนคอช้าง แต่การศึกครั้งนั้นไม่ปรากฏผลแพ้-ชนะกัน
ด้วยวีรกรรมในครั้งนั้น ครั้นเมื่อเวลาผ่านเลยมาจนถึงสมัยรัชกาลปัจจุบัน แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้าง “พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย” ขึ้น ณ บริเวณทุ่งมะขามหย่อง เพื่อเฉลิมพระเกียรติมาวีรกษัตริย์ไทย และเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ในปี พ.ศ. 2535
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 31 ส.ค. 2534 ครั้นเมื่อพระราชานุสาวรีย์เสร็จสมบูรณ์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระสุริโยทัยในวันที่ 3 ก.ค. 2538
เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ทางการสู้รบอีกเหตุการณ์หนึ่ง คือ เหตุการณ์หลังจาก “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ทรงประกาศอิสรภาพได้ 2 ปี พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงได้ให้มังมอดราชบุตรยกทัพมาตั้งที่ทุ่งมะขามหย่อง และทัพพระเจ้าหงสาวดีตั้งค่ายหลวงบริเวณขนอนปากคู่ซึ่งอยู่ถัดจากทุ่งมะขามหย่องลงมาทางใต้
การศึกครั้งนี้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำไพร่พลปล้นค่ายหลายครั้งหลายครา โดยทรงคาบพระแสงดาบ ปีนเสาระเนียดเข้าค่ายพม่า และได้รับชัยชนะทุกครั้งไป จนพระแสงดาบนั้นได้รับการเรียกขานว่า "พระแสงดาบคาบค่าย"
นอกจากจะเป็นพื้นที่ในการรบทัพจับศึกแล้ว ด้วยชัยภูมิที่ตั้งของทุ่งมะขามหย่องและ“ทุ่งภูเขาทอง” ที่เป็นท้องทุ่งขนาดใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานแนวพระราชดำริ ให้พัฒนาพื้นที่ทุ่งทั้งสองเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำหรือ “แก้มลิง”เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียง
โดยเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จฯมาที่แปลงนาสาธิต ทางทิศเหนือของทุ่งมะขามหย่อง ซึ่งทั้งสองพระองค์นอกจากเสด็จมาทรงงานแล้ว ยังทรงเกี่ยวข้าวในแปลงนาสาธิต ยังความปลายปลื้มแก่พสกนิกรจำนวนมากหลายหมื่นคนที่มาเฝ้ารอรับเสด็จ
สำหรับทุ่งมะขามหย่อง ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งหมด 250 ไร่ มีการจัดทำเป็นอ่างเก็บน้ำ(แก้มลิง)จำนวน 180 ไร่ สามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 2,100,000 ล้านลูกบาศก์เมตร(2.1 ล้านลบ.ม.) ซึ่งเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำยามน้ำหลาก ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม ส่วนยามหน้าแล้งก็ได้น้ำจากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ไปในการเกษตร
นอกจากนี้ด้วยความที่ทุ่งมะขามหย่อง มีสภาพพื้นที่สวยงาม มีอ่างเก็บน้ำ มีพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยและกลุ่มประติมากรรมประกอบ และมีสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ทำให้พื้นที่แห่งนี้ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจของอยุธยา ซึ่งชาวกรุงเก่าได้พร้อมใจกันขนานนามท้องทุ่งทั้งสอง คือ ทุ่งมะขามหย่องและทุ่งภูเขาทองว่าเป็น “ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ”
นับเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ใต้พระบารมี ใต้พระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่แม้จะทรงเหน็ดเหนื่อยตรากตรำแค่ไหน แต่พระมหากษัตริย์และพระราชินีทั้งสองก็ไม่เคยทอดทิ้งประชาชนของพระองค์
*****************************************
การเสด็จพระราชดำเนิน “ทุ่งมะขามหย่อง” ในวันที่ 25 พ.ค. 55 นี้ ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ทำการจัดเตรียมสถานที่ต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ มีการสร้างทางลาดพระบาทตลอดเส้นทางเสด็จจากพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย มายังพลับพลาที่ประทับกลางน้ำ เพื่อชมการแสดงแสง สี เสียง เรื่อง “ทุ่งมะขามหย่อง ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ” ซึ่งจะมีเกาะกลางน้ำเป็นฉากหลังอย่างสวยงาม ในฉากการแสดงถวายจะมีผู้แสดงรำถวายเดินบนผิวน้ำ
นอกจากนี้ยังการจัดแสดง ร้องเพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าวถวาย ได้เตรียมเรือพื้นบ้านโบราณ จำนวนกว่า 30 ลำ แสดงถวาย ในที่ประชุมได้จำลองภาพกราฟฟิกเพื่อมองให้เห็นภาพที่สวยงามอย่างสมพระเกียรติที่ จัดแสดงถวายในวันเสด็จฯ