โดย : หนุ่มลูกทุ่ง

บางขุนพรหมถือเป็นย่านที่เก่าแก่อีกย่านหนึ่งของเมืองกรุง มีบ้านเจ้าขุนมูลนายมากมายที่เคยตั้งอยู่ในแถบนี้ ดังจะเห็นได้จากบรรดาบ้านเก่าที่มีอยู่มากมายในบริเวณชุมชน เนื่องด้วยย่านนี้อยู่ใกล้กับพระนคร หรือพระบรมมหาราชวัง ย่านราชการ และย่านค้าขาย เช่น วังบางขุนพรหม และบ้านของจอมพลฯ ประพาส จารุเสถียร
นอกจากนี้ บางขุนพรหมยังเป็นย่านที่มีวัดที่สวยงามและมากด้วยประวัติศาสตร์อีกด้วย แต่ที่เราเรียกบางนี้กันว่า “บางขุนพรหม” รู้หรือไม่ว่าชื่อนี้มีที่มาอย่างไร วันนี้ฉันจะพามาหาคำตอบกันที่ “วัดสามพระยา”

ในซอยสามเสน 5 เป็นที่ตั้งของ “วัดสามพระยาวรวิหาร” ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ โดยหลวงวิสุทธิ์ โยธามาตย์ (ตรุษ) ขุนนางเชื้อสายมอญ พร้อมด้วยวงศาคณาญาติได้ร่วมใจกันยกที่ดินพร้อมทั้งบ้านเรือน บริเวณเหนือปากคลองบางลำพูของขุนพรหม (สารท) ผู้เป็นน้องชาย ซึ่งเคยเป็นนายช่างร่วมควบคุมการก่อสร้างพระมณฑปพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ตามพระบรมราชโองการในรัชกาลที่ ๑ และได้เสียชีวิตลงด้วยไข้ป่า อุทิศถวายเป็นวัดเพื่อเป็นผลบุญและเป็นอนุสรณ์แก่ขุนพรหม (สารท) แล้วตั้งชื่อว่า “วัดบางขุนพรหม” และบริเวณที่ตั้งนั้นเดิมที่เรียกว่า "บ้านลาน" เพราะตระกูลนี้ผูกขาดการค้าใบลานมาแต่เดิม จึงได้ถูกเปลี่ยนมาเรียกเป็น "บางขุนพรหม" ในเวลาต่อมา

จนมาในรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ วัดบางขุนพรหมแห่งนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก ด้วยสร้างมาเป็นระยะเวลายาวนาน กอรปด้วยขุนพรหม (สารท) ไม่มีทายาทสืบสกุล
พระยาราชสุภาวดี (ขุนทอง), พระยาราชนิกุล (ทองคำ) และพระยาเทพอรชุน (ทองห่อ) ซึ่งเป็นบุตรของนางพวา น้องสาวคนสุดท้องของหลวงวิสุทธิโยธามาตย์ (ตรุษ) และขุนพรหม (สารท) หลานทั้ง 3 คน จึงพร้อมใจกันปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหมจนสำเร็จบริบูรณ์ แล้วน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตร เห็นว่าวัดบางขุนพรหมที่ปฏิสังขรณ์ใหม่ ก่อสร้างได้อย่างแข็งแรงงดงาม จึงโปรดเกล้าฯ รับขึ้นไว้ให้อยู่ในบัญชีรายชื่อพระอารามหลวงในปี พ.ศ.2366 พร้อมทั้งพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดสามพระยาวรวิหาร"
เมื่อรู้ความเป็นมาแล้ว เราเข้าไปชมภายในวัดสามพระยาแห่งนี้กันเลย เริ่มจาก “พระอุโบสถ” เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบจีน ไม่มีช่อฟ้าใบระกา เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาลดหลั่ง 2 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องลอนเคลือบสีแบบจีน

กรอบหน้าบันฝังกระเบื้องเคลือบเป็นระยะๆ ลวดลายกลางหน้าบันเป็นรูปแจกันดอกไม้ พานผลไม้ คอสองของหลังคาเขียนภาพจิตรกรรมแบบจีน ตอนบนประดับลายปูนปั้นติดถ้วยกระเบื้องเคลือบ เชิงชายลาดหลังคาฝังถ้วยเบญจรงค์สลับกับถ้วยลายคราม ลักษณะเช่นนี้เป็นแบบที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓
ด้านซุ้มประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นดอกพุดตาน ใต้กรอบล่างของหน้าต่างทำเป็นฐานสิงห์ บานประตูหน้าต่างเขียนลายลดน้ำ ลายพันธุ์พฤกษาแบบจีน มีระเบียงยกพื้นล้อมรอบ เสาใหญ่ทรงสี่เหลี่ยมตอนบน ปลายสอบเข้า มีบันไดเล็กด้านข้างทั้ง 4 ด้าน เชิงราวบันไดบันไดตั้งตุ๊กตาหินรูปสิงโตแบบจีน

เมื่อเข้าไปภายในพระอุโบสถ จะเห็นสีภาพจิตกรรมฝาผนังที่สะดุดตาด้วยสีที่ฉูดฉาดสวยงาม ผนังระหว่างช่องหน้าต่างเขียนลายโต๊ะเครื่องบูชา ผนังส่วนที่หักมุมน้อยเป็นกรอบหน้าต่างเขียนสีรูปดอกและใบบัว บนหน้าต่างด้านใกล้พระประธานมีภาพเขียนสีลายดอกพุดตานและผีเสื้อ ช่วงกลางเป็นลายดอกพุดตานและค้างคาว ช่วงสุดท้ายใกล้ประตูเป็นลายนก ดอกไม้ และมังกร ส่วนที่บานประตูเขียนเป็นรูปเสี้ยวกาง
ส่วนพระประธานภายในพระอุโบสถมีนามว่า “พระพุทธเกสร” เป็นพระพุทธรูปปิดทองปางมารวิชัย พระพักตร์ค่อนข้างรี ขมวดพระเกศาเป็นปุ่มแหลม มีพระเกตุและพระรัศมี ชุกชีและชั้นเบญจาเป็นฐานสิงห์ ผู้คนนิยมมากราบไหว้สักการะเพื่อความเป็นมงคล ด้านเมตตามหานิยมและความรัก ด้านข้างทั้งสองขนาบด้วยพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรมีฉัตร 5 ชั้น

เมื่อกราบไหว้ขอพรแล้ว เรามาชมเหล่าเจดีย์ที่ตั้งอยู่ด้านข้างพระอุโบสถกันต่อ พระเจดีย์มีลักษณะก่ออิฐถือปูนมี 2 แบบด้วยกันคือ “พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา” จำนวน 2 องค์ และ “พระเจดีย์ทรงเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง” มีทั้งหมด 25 องค์ ทั้งภายในเขตพุทธาวาสและภายนอกกำแพงข้างพระอุโบสถ
ด้านข้างออกปถัดจากหมู่พระเจดีย์คือ “พระวิหาร” เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาลดหลั่น 2 ชั้น มุงด้วยกระเบื้อง เช่นเดียวกับพระอุโบสถ หน้าบันทรงจีนไม่มีช่อฟ้าใบระกา ลวดลายเป็นลายปูนปั้นเถาไม้ลายช่อดอกพุดตานและนก ประดับด้วยจานกระเบื้อง คอสองทำเป็นรูปฐานบัวหงาย ท้องไม้และเชิงชายลาดหลังคาติดถ้วยเบญจรงค์และถ้วยลายคราม

ซุ้มประตูหน้าต่างเหมือนพระอุโบสถแต่ผูกลายต่างกันเล็กน้อย บานประตูหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำ มีระเบียงรอบ บานประตูหน้าต่างภายในทาสีชาด ขื่อเขียนลายทอง ภายในประดิษฐานพระประธานลักษณะเดียวกันกับพระพุทธเกสร ฐานชุกชีปิดทองล่องชาดเช่นกัน ด้านข้างขนาบด้วยพระพุทธรูปางห้ามสมุทรสร้างเลียนแบบเทวรูปขอม ผนังด้านหน้าพระประธานก่อเป็นฐานประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ด้วยกัน เช่น พระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย พระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรมีฉัตร 5 ชั้น พระพุทธรูปประจำวัน เป็นต้น
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัดสามพระยาแห่งนี้ยังมีพระพุทธรูปนั่ง และพระพุทธรูปนอนองค์ใหญ่ให้เราได้กราบไหว้กันด้วย โดย “หลวงพ่อนอน” นั้น ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาพระนอนเป็นพระพุทธรูปไสยาสน์ปางโปรดอสุรินทราหู พระอิริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายแนบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย(หมอน)รองรับ เมื่อกราบไหว้แล้วฉันรู้สึกสงบและสบายใจเพราะพระพักตร์ของท่านที่มีพระโอษฐ์ยิ้มดูเปี่ยมสุข

และทางด้านหลังของศาลาหลวงพ่อนอน ก็คือศาลาพระนั่ง โดย “หลวงพ่อนั่ง” นี้ คล้ายพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ คือ พระอิริยาบถประทับนั่งบนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางอยู่บนดอกบัว แต่แทนที่พระหัตถ์ซ้ายจะวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า)แสดงการรับกระบอกน้ำจากช้างที่หมอบ และพระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุแสดงการไม่รับรวงผึ้งจากลิง แต่มีลักษณะเป็นพระหัตถ์ทั้งสองโอบอุ้มบาตรที่วางอยู่บนพระเพลา(ตัก) คนส่วนใหญ่จึงนิยมเรียกท่านว่า พระนั่งอุ้มบาตร

ซึ่งทั้งหลวงพ่อนั่งและหลวงพ่อนอน ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านในย่านนี้และละแวกใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีตำนานเล่าไว้ว่า ลูกระเบิดได้ตกลงที่แม่น้ำเจ้าพระยาโดยไม่ทำให้วัดเสียหาย แต่ปรากฏว่าพระหัตถ์ของพระพุทธรูปทั้งสองเกิดการแตกร้าว จึงเชื่อว่าเพราะท่านได้ปัดระเบิดเหล่านั้น ทำให้วัดนี้ปลอดภัย

นอกจากนี้ภายในวัดยังมีหอระฆังที่ดูสวยงามด้วยหลังคาทรงจัตุรมุขและเครื่องยอดด้านบน และพระปรางค์ลักษณะทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบ 5 องค์ ตั้งอยู่รอบบริเวณพระวิหารด้วย ทั้งยังมีอาคารแบบเก่าทรงปั้นหยาที่เคยใช้เป็นโรงพยาบาลเก่าและพุทธมหาสมาคม ซึ่งในปัจจุบันถูกใช้เป็นโรงเรียนนักธรรม
มา “วัดสามพระยา” แห่งนี้ทั้งรู้ประวัติศาสตร์และที่มาของชื่อบางขุนพรหม ชมสถาปัตยกรรมที่สวยงามสมัยรัชกาลที่ 3 แล้วยังได้อิ่มบุญสุขใจกับการไหว้พระขอพรพระนั่งและพระนอนอันศักดิ์สิทธิ์ของวัดแห่งนี้ด้วย ทริปนี้ช่างคุ้มค่าจริงๆ

บางขุนพรหมถือเป็นย่านที่เก่าแก่อีกย่านหนึ่งของเมืองกรุง มีบ้านเจ้าขุนมูลนายมากมายที่เคยตั้งอยู่ในแถบนี้ ดังจะเห็นได้จากบรรดาบ้านเก่าที่มีอยู่มากมายในบริเวณชุมชน เนื่องด้วยย่านนี้อยู่ใกล้กับพระนคร หรือพระบรมมหาราชวัง ย่านราชการ และย่านค้าขาย เช่น วังบางขุนพรหม และบ้านของจอมพลฯ ประพาส จารุเสถียร
นอกจากนี้ บางขุนพรหมยังเป็นย่านที่มีวัดที่สวยงามและมากด้วยประวัติศาสตร์อีกด้วย แต่ที่เราเรียกบางนี้กันว่า “บางขุนพรหม” รู้หรือไม่ว่าชื่อนี้มีที่มาอย่างไร วันนี้ฉันจะพามาหาคำตอบกันที่ “วัดสามพระยา”
ในซอยสามเสน 5 เป็นที่ตั้งของ “วัดสามพระยาวรวิหาร” ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ โดยหลวงวิสุทธิ์ โยธามาตย์ (ตรุษ) ขุนนางเชื้อสายมอญ พร้อมด้วยวงศาคณาญาติได้ร่วมใจกันยกที่ดินพร้อมทั้งบ้านเรือน บริเวณเหนือปากคลองบางลำพูของขุนพรหม (สารท) ผู้เป็นน้องชาย ซึ่งเคยเป็นนายช่างร่วมควบคุมการก่อสร้างพระมณฑปพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ตามพระบรมราชโองการในรัชกาลที่ ๑ และได้เสียชีวิตลงด้วยไข้ป่า อุทิศถวายเป็นวัดเพื่อเป็นผลบุญและเป็นอนุสรณ์แก่ขุนพรหม (สารท) แล้วตั้งชื่อว่า “วัดบางขุนพรหม” และบริเวณที่ตั้งนั้นเดิมที่เรียกว่า "บ้านลาน" เพราะตระกูลนี้ผูกขาดการค้าใบลานมาแต่เดิม จึงได้ถูกเปลี่ยนมาเรียกเป็น "บางขุนพรหม" ในเวลาต่อมา
จนมาในรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ วัดบางขุนพรหมแห่งนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก ด้วยสร้างมาเป็นระยะเวลายาวนาน กอรปด้วยขุนพรหม (สารท) ไม่มีทายาทสืบสกุล
พระยาราชสุภาวดี (ขุนทอง), พระยาราชนิกุล (ทองคำ) และพระยาเทพอรชุน (ทองห่อ) ซึ่งเป็นบุตรของนางพวา น้องสาวคนสุดท้องของหลวงวิสุทธิโยธามาตย์ (ตรุษ) และขุนพรหม (สารท) หลานทั้ง 3 คน จึงพร้อมใจกันปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหมจนสำเร็จบริบูรณ์ แล้วน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตร เห็นว่าวัดบางขุนพรหมที่ปฏิสังขรณ์ใหม่ ก่อสร้างได้อย่างแข็งแรงงดงาม จึงโปรดเกล้าฯ รับขึ้นไว้ให้อยู่ในบัญชีรายชื่อพระอารามหลวงในปี พ.ศ.2366 พร้อมทั้งพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดสามพระยาวรวิหาร"
เมื่อรู้ความเป็นมาแล้ว เราเข้าไปชมภายในวัดสามพระยาแห่งนี้กันเลย เริ่มจาก “พระอุโบสถ” เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบจีน ไม่มีช่อฟ้าใบระกา เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาลดหลั่ง 2 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องลอนเคลือบสีแบบจีน
กรอบหน้าบันฝังกระเบื้องเคลือบเป็นระยะๆ ลวดลายกลางหน้าบันเป็นรูปแจกันดอกไม้ พานผลไม้ คอสองของหลังคาเขียนภาพจิตรกรรมแบบจีน ตอนบนประดับลายปูนปั้นติดถ้วยกระเบื้องเคลือบ เชิงชายลาดหลังคาฝังถ้วยเบญจรงค์สลับกับถ้วยลายคราม ลักษณะเช่นนี้เป็นแบบที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓
ด้านซุ้มประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นดอกพุดตาน ใต้กรอบล่างของหน้าต่างทำเป็นฐานสิงห์ บานประตูหน้าต่างเขียนลายลดน้ำ ลายพันธุ์พฤกษาแบบจีน มีระเบียงยกพื้นล้อมรอบ เสาใหญ่ทรงสี่เหลี่ยมตอนบน ปลายสอบเข้า มีบันไดเล็กด้านข้างทั้ง 4 ด้าน เชิงราวบันไดบันไดตั้งตุ๊กตาหินรูปสิงโตแบบจีน
เมื่อเข้าไปภายในพระอุโบสถ จะเห็นสีภาพจิตกรรมฝาผนังที่สะดุดตาด้วยสีที่ฉูดฉาดสวยงาม ผนังระหว่างช่องหน้าต่างเขียนลายโต๊ะเครื่องบูชา ผนังส่วนที่หักมุมน้อยเป็นกรอบหน้าต่างเขียนสีรูปดอกและใบบัว บนหน้าต่างด้านใกล้พระประธานมีภาพเขียนสีลายดอกพุดตานและผีเสื้อ ช่วงกลางเป็นลายดอกพุดตานและค้างคาว ช่วงสุดท้ายใกล้ประตูเป็นลายนก ดอกไม้ และมังกร ส่วนที่บานประตูเขียนเป็นรูปเสี้ยวกาง
ส่วนพระประธานภายในพระอุโบสถมีนามว่า “พระพุทธเกสร” เป็นพระพุทธรูปปิดทองปางมารวิชัย พระพักตร์ค่อนข้างรี ขมวดพระเกศาเป็นปุ่มแหลม มีพระเกตุและพระรัศมี ชุกชีและชั้นเบญจาเป็นฐานสิงห์ ผู้คนนิยมมากราบไหว้สักการะเพื่อความเป็นมงคล ด้านเมตตามหานิยมและความรัก ด้านข้างทั้งสองขนาบด้วยพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรมีฉัตร 5 ชั้น
เมื่อกราบไหว้ขอพรแล้ว เรามาชมเหล่าเจดีย์ที่ตั้งอยู่ด้านข้างพระอุโบสถกันต่อ พระเจดีย์มีลักษณะก่ออิฐถือปูนมี 2 แบบด้วยกันคือ “พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา” จำนวน 2 องค์ และ “พระเจดีย์ทรงเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง” มีทั้งหมด 25 องค์ ทั้งภายในเขตพุทธาวาสและภายนอกกำแพงข้างพระอุโบสถ
ด้านข้างออกปถัดจากหมู่พระเจดีย์คือ “พระวิหาร” เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาลดหลั่น 2 ชั้น มุงด้วยกระเบื้อง เช่นเดียวกับพระอุโบสถ หน้าบันทรงจีนไม่มีช่อฟ้าใบระกา ลวดลายเป็นลายปูนปั้นเถาไม้ลายช่อดอกพุดตานและนก ประดับด้วยจานกระเบื้อง คอสองทำเป็นรูปฐานบัวหงาย ท้องไม้และเชิงชายลาดหลังคาติดถ้วยเบญจรงค์และถ้วยลายคราม
ซุ้มประตูหน้าต่างเหมือนพระอุโบสถแต่ผูกลายต่างกันเล็กน้อย บานประตูหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำ มีระเบียงรอบ บานประตูหน้าต่างภายในทาสีชาด ขื่อเขียนลายทอง ภายในประดิษฐานพระประธานลักษณะเดียวกันกับพระพุทธเกสร ฐานชุกชีปิดทองล่องชาดเช่นกัน ด้านข้างขนาบด้วยพระพุทธรูปางห้ามสมุทรสร้างเลียนแบบเทวรูปขอม ผนังด้านหน้าพระประธานก่อเป็นฐานประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ด้วยกัน เช่น พระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย พระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรมีฉัตร 5 ชั้น พระพุทธรูปประจำวัน เป็นต้น
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัดสามพระยาแห่งนี้ยังมีพระพุทธรูปนั่ง และพระพุทธรูปนอนองค์ใหญ่ให้เราได้กราบไหว้กันด้วย โดย “หลวงพ่อนอน” นั้น ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาพระนอนเป็นพระพุทธรูปไสยาสน์ปางโปรดอสุรินทราหู พระอิริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายแนบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย(หมอน)รองรับ เมื่อกราบไหว้แล้วฉันรู้สึกสงบและสบายใจเพราะพระพักตร์ของท่านที่มีพระโอษฐ์ยิ้มดูเปี่ยมสุข
และทางด้านหลังของศาลาหลวงพ่อนอน ก็คือศาลาพระนั่ง โดย “หลวงพ่อนั่ง” นี้ คล้ายพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ คือ พระอิริยาบถประทับนั่งบนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางอยู่บนดอกบัว แต่แทนที่พระหัตถ์ซ้ายจะวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า)แสดงการรับกระบอกน้ำจากช้างที่หมอบ และพระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุแสดงการไม่รับรวงผึ้งจากลิง แต่มีลักษณะเป็นพระหัตถ์ทั้งสองโอบอุ้มบาตรที่วางอยู่บนพระเพลา(ตัก) คนส่วนใหญ่จึงนิยมเรียกท่านว่า พระนั่งอุ้มบาตร
ซึ่งทั้งหลวงพ่อนั่งและหลวงพ่อนอน ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านในย่านนี้และละแวกใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีตำนานเล่าไว้ว่า ลูกระเบิดได้ตกลงที่แม่น้ำเจ้าพระยาโดยไม่ทำให้วัดเสียหาย แต่ปรากฏว่าพระหัตถ์ของพระพุทธรูปทั้งสองเกิดการแตกร้าว จึงเชื่อว่าเพราะท่านได้ปัดระเบิดเหล่านั้น ทำให้วัดนี้ปลอดภัย
นอกจากนี้ภายในวัดยังมีหอระฆังที่ดูสวยงามด้วยหลังคาทรงจัตุรมุขและเครื่องยอดด้านบน และพระปรางค์ลักษณะทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบ 5 องค์ ตั้งอยู่รอบบริเวณพระวิหารด้วย ทั้งยังมีอาคารแบบเก่าทรงปั้นหยาที่เคยใช้เป็นโรงพยาบาลเก่าและพุทธมหาสมาคม ซึ่งในปัจจุบันถูกใช้เป็นโรงเรียนนักธรรม
มา “วัดสามพระยา” แห่งนี้ทั้งรู้ประวัติศาสตร์และที่มาของชื่อบางขุนพรหม ชมสถาปัตยกรรมที่สวยงามสมัยรัชกาลที่ 3 แล้วยังได้อิ่มบุญสุขใจกับการไหว้พระขอพรพระนั่งและพระนอนอันศักดิ์สิทธิ์ของวัดแห่งนี้ด้วย ทริปนี้ช่างคุ้มค่าจริงๆ