โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
“เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม”
แม้จะไม่ได้ถูกบรรจุเข้าไว้ในทำเนียบคำขวัญจังหวัดสมุทรสงคราม แต่ปลาทูของจังหวัดนี้หรือที่รู้จักกันดีในนาม“ปลาทูแม่กลอง”นั้น ถือเป็นของดีประจำจังหวัดที่ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งปลาทูเมืองไทย ที่มีเอกลักษณ์ตรง “หน้างอ คอหัก” และมีศักดิ์ศรีสมฐานะยอดปลาทูด้วยรสชาติความอร่อยที่ยากจะหาปลาทูจากแหล่งอื่น(ในเมืองไทย)มาเทียบเคียงกันได้
จากสุราษฎร์เธอมาโตเป็นสาวที่แม่กลอง
ผมชอบกินปลาทูมาตั้งแต่เด็กแล้ว โดยเฉพาะข้าวคลุกปลาทูทอดที่แม่ชอบคลุกให้แมวกินนั้น มักจะถูกผมไปแย่งมากินอยู่บ่อยครั้ง เพราะมันอร่อยแถมกินง่ายไม่ต้องแกะเนื้อ เพราะแม่แกะให้เรียบร้อยแล้ว
สมัยนั้นผมยังไม่รู้หลอกว่าปลาทูที่ไหนอร่อย จนเมื่อโตขึ้นนั่นแหละถึงได้รู้ว่าปลาทูแม่กลองนั้นคือสุดยอด ซึ่งกว่าจะมาเป็นปลาทูแม่กลองที่มีเอกลักษณ์“หน้างอ คอหัก”นั้น ทั้งปลาทูและคนแม่กลองได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้สั่งสมภูมิปัญญากันมาอย่างยาวนาน
แต่ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับชีวิตของปลาทูแม่กลอง เรามาทำความรู้จักกับปลาทูในบ้านเรากันสักหน่อย ปลาทูในบ้านเราแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ปลาทูสั้น กับ ปลาทูยาว
ปลาทูสั้น (หรือปลาทูแม่กลอง) เป็นปลาน้ำตื้น มีตัวอ้วนสั้น แบน เนื้อเยอะ เนื้อนุ่มแต่แน่น หวาน มัน หนังบาง
ส่วนปลาทูยาว หรือที่มีชื่อเรียกกันหลากหลาย เช่น ปลารัง ปลายาว ปลาอินโด เป็นปลาน้ำลึก ตัวใหญ่ ยาว เนื้อแข็ง มันน้อย หนังหนา กินไม่อร่อยเท่าปลาทูสั้น
นอกจากนี้ปลาทูในฝั่งอ่าวไทยบ้านเรา ยังมีการแบ่งออกเป็น 3 วงหรือ 3 กลุ่ม ตามเส้นทางการว่ายใช้ชีวิตของมัน
วงแรก จากหมู่เกาะอ่างทองสุราษฎร์ธานี ขึ้นเหนือมาชุมพร ประจวบ เพชรบุรี แม่กลอง(อ่าว ก.ไก่) แล้ววนกลับลงไป
วงที่สอง จากสุราษฎร์ ลงไปนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี แล้วผ่านตม.ออกไปยังมาเลเซีย
วงที่สาม เริ่มจากอ่าว ก.ไก่ ผ่านทะเลตะวันออกไปไปเขมร และต่อไปยังปลาแหลมญวน
สำหรับปลาทูแม่กลองเป็นปลาทูในวงแรกที่อร่อยที่สุดและถูกจับมากที่สุด ปลาทูกลุ่มนี้จะลืมตาดูโลกบริเวณหมู่เกาะอ่างทอง
จากนั้นพอเริ่มโตในช่วงปลายฝนจะว่ายเลาะเลียบชายฝั่งทวนลมขึ้นเหนือ ผ่านสุราษฎร์ฯ ชุมพร ประจวบฯ เมืองเพชร ขึ้นมาโตเป็นปลาทูสาวที่อ่าวก.ไก่(อ่าวชั้นใน) บริเวณปากน้ำแม่กลอง ซึ่งเป็นทะเลตม มีน้ำตื้น มากไปด้วยตะกอน สารอาหาร แพลงตอน จนปลาทูที่นี่อิ่มหมีอุดมสมบูรณ์ จากนั้นพอโตเป็นสาวเต็มตัวถึงวัยผสมพันธุ์ ตั้งท้อง มีไข่ ปลาทูกลุ่มนี้ก็ว่ายย้อนกลับไปวางไข่ที่หมู่เกาะอ่างทองอีกครั้ง เป็นวงจรชีวิตสืบมา
ปลาทูสาวไม่เครียด กินอร่อย
เมื่อว่ายน้ำมาโตเป็นสาวที่ปากแม่น้ำแม่กลอง พวกเธอก็จะถูกชาวประมงไล่จับ โดยสมัยก่อนนั้นจะใช้วิธีจับให้ตายโดยละม่อมด้วยการใช้ “โป๊ะ” ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ทำจากไม้ไผ่ล้อมเป็นวงกลมตั้งอยู่กับที่ขนาดใหญ่(ประมาณสนามฟุตบอล) มีแนวปีกเป็นช่องทางล่อให้ปลาทูว่ายเข้าไป เมื่อปลาทูว่ายเข้ามาอยู่ในโป๊ะ ชาวประมงก็จะจับมันขึ้นมา การจับปลาด้วยโป๊ะแบบนี้ทำให้ปลาไม่ตกใจ เครียด เนื้อของปลาจึงสด หวาน มัน คงเดิม
ทว่าการจับปลาด้วยโป๊ะนั้นปัจจุบันเหลือน้อยเต็มที เนื่องจากชาวประมงหันมาใช้วิธีการจับปลาที่สะดวกรวดเร็วกว่า ด้วยการใช้“อวนติด” “อวนดำ”และ“อวนลาก”แทน ซึ่งปลาทูที่ถูกจับด้วยอวนติดกับอวนลากนั้น รสชาติสู้ปลาทูที่จับด้วยโป๊ะไม่ได้ โดยชาวประมงเขามีการจัดอันดับรสชาติปลาทูที่จับด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
อันดับหนึ่ง ปลาทูโป๊ะหรือจับด้วยโป๊ะ อันดับสองคือ ปลาอวนดำ อวนติด และอันดับสาม คือปลาอวนลาก ที่มีความรุนแรงเวลาจับ และจับปลาไปเบียดอัดกันทำให้ปลาตกใจ เครียด รสชาติจึงเพียงเหรียญทองแดงเท่านั้น
อย่างไรก็ดีงานนี้ถ้าหากไม่ใช่คนแม่กลองหรือไม่ใช่คนที่เป็นเซียนกินปลาทูตัวยง อาจยากในการจำแนกแยกแยะรสชาติ เพราะขนาดคนแม่กลองเองเดี๋ยวนี้เองยังหาปลาทูโป๊ะกินได้ยากเลย
หน้างอ คอหัก เอกลักษณ์ปลาทูแม่กลอง
เมื่อชาวประมงจับปลาทูสาวมาแล้ว เขาจะนำมาเทียบท่าในทุกเช้าแบบสดใหม่ ไม่ค้างคืน ให้แม่ค้าพ่อค้ามารับช่วงต่อ นำไปขายแบบสดๆ หรือนำไปทำปลาทูนึ่งส่งขายที่นับเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาปลาทูอันโดดเด่นของคนแม่กลอง
ปลาทูนึ่งอันที่จริงมันไม่ใช่ปลาทูนึ่ง หากแต่เป็น “ปลาทูต้ม” ที่ก่อนต้มได้มีการหักคอปลาทูให้งอลง เพื่อความสะดวกในการใส่ลงเข่งให้ได้พอดี และเพื่อให้ดูสวยงาม ก่อนนำไปวางในเข่ง แล้วส่งขึ้น “เต๊า”(อุปกรณ์สำหรับต้ม) เพื่อยกขึ้นเตาต้มกันต่อไป
สำหรับการหักคอปลาของคนสมัยก่อนนั้น ใครจะไปคาดคิดว่ามันจะพัฒนามาเป็นปลาทู “หน้างอ คอหัก” ที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของปลาทูแม่กลองมาจนถึงทุกวันนี้
และด้วยลายเซ็นหน้างอคอหักนี้เอง ทำให้พ่อค้าแม่ค้าหัวใสจำนวนหนึ่ง นำปลาทูจากที่อื่นมาหักคอแล้วหลอกขายว่าเป็นปลาทูแม่กลอง นับเป็นการย้อมปลาทูขายที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาแบบไทยๆในอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในบ้านนี้เมืองนี้
ปัญหา ปลาทู
ความที่ปลาทูแม่กลองเป็นสุดยอดปลาทู เป็นราชาปลาทู ทำให้เป็นที่ต้องการของท้องตลาดอย่างมาก จนเกิดการจับปลากันแบบชนิดโตไม่ทัน รวมถึงการใช้เครื่องจับปลาที่ไม่เหมาะสม ใช้อวนตาถี่ ใช้อุปกรณ์ที่ส่งผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ใช้อุปกรณ์ผิดกฎหมาย ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อวิถีของปลาทูไม่น้อย
นอกจากนี้ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป จากสังคมเกษตรพึ่งพาธรรมชาติมีภูมิปัญญาบรรพบุรุษที่สั่งสมมา เปลี่ยนมาเป็นสังคมที่หลงลืมรากเหง้าของตัวเอง มุ่งเน้นไปทางภาคอุตสาหกรรมจนเกิดพื้นที่อุตสาหกรรมขึ้นมาอย่างมากหลายในพื้นที่อ่าว ก.ไก่ ที่ภาครัฐควรสงวนไว้เป็นพื้นที่ประมงชายฝั่งและพื้นที่การเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน รวมถึงการทำการเกษตรสมัยใหม่ในเชิงปริมาณ เน้นการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเป็นหลัก ที่เมื่อมันไหลลงแม่น้ำไปสะสมยังบริเวณอ่าว ก.ไก่ (ส่วนปีนี้ที่เกิดวิกฤติน้ำท่วม พัดพาขยะ สารเคมี น้ำเน่าเสียออกไปยังทะเล จนเกิดปรากฏการณ์น้ำเบียดที่ผิดธรรมชาตินั้น จะส่งผลกระทบต่อวิถีปลาทูเช่นไรคงต้องเฝ้าติดตามกันต่อไป)
สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อระบบนิเวศบริเวณนี้ ที่สะเทือนไปถึงวิถีชีวิตของปลาทูแม่กลองด้วย ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าโดยภาพรวมปลาทูแม่กลองมีขนาดเล็กลงอย่างสังเกตเห็นได้
เมื่อวิถีปลาทูสะเทือน มันก็ย่อมส่งผลสะเทือนต่อวิถีคนแม่กลองกับสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนไป และมันก็ย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีคนไทยด้วย เพราะปลาทูนั้นเป็นอาหารที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีและเป็นเมนูสำหรับคนไทยทุกชนชั้น
อย่างไรก็ดีบนความเป็นเลิศของปลาทูแม่กลอง มันก็ทำให้ผมอดที่จะคิดเล่นๆไม่ได้ว่า
งานนี้น่าจะเพิ่มปลาทูเข้าไปในคำขวัญจังหวัดด้วยก็น่าจะดีไม่น้อย เป็นคำขวัญจังหวัดสมุทรสงครามใหม่ดังนี้
“ปลาทูลือเลื่อง เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม”
*****************************************
สำหรับผู้สนใจอยากลองลิ้มชิมรสปลาทูแม่กลองของแท้ ในช่วงวันที่ 16-25 ธ.ค. นี้ จังหวัดสมุทรสงคราม มีการจัดงาน “เทศกาลกินปลาทู และของดีเมืองแม่กลอง ครั้งที่ 14”ขึ้น ผู้สนใจสามารถไปพิสูจน์รสชาติกันได้ ซึ่งงานนี้อาจจะมีปลาทูโป๊ะสดๆให้ลิ้มรสกันด้วย
หมายเหตุ : ข้อมูลส่วนหนึ่งอ้างอิงจากหนังสือ “ฅนแม่กลอง” โดย สุรจิต ชิรเวทย์
“เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม”
แม้จะไม่ได้ถูกบรรจุเข้าไว้ในทำเนียบคำขวัญจังหวัดสมุทรสงคราม แต่ปลาทูของจังหวัดนี้หรือที่รู้จักกันดีในนาม“ปลาทูแม่กลอง”นั้น ถือเป็นของดีประจำจังหวัดที่ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งปลาทูเมืองไทย ที่มีเอกลักษณ์ตรง “หน้างอ คอหัก” และมีศักดิ์ศรีสมฐานะยอดปลาทูด้วยรสชาติความอร่อยที่ยากจะหาปลาทูจากแหล่งอื่น(ในเมืองไทย)มาเทียบเคียงกันได้
จากสุราษฎร์เธอมาโตเป็นสาวที่แม่กลอง
ผมชอบกินปลาทูมาตั้งแต่เด็กแล้ว โดยเฉพาะข้าวคลุกปลาทูทอดที่แม่ชอบคลุกให้แมวกินนั้น มักจะถูกผมไปแย่งมากินอยู่บ่อยครั้ง เพราะมันอร่อยแถมกินง่ายไม่ต้องแกะเนื้อ เพราะแม่แกะให้เรียบร้อยแล้ว
สมัยนั้นผมยังไม่รู้หลอกว่าปลาทูที่ไหนอร่อย จนเมื่อโตขึ้นนั่นแหละถึงได้รู้ว่าปลาทูแม่กลองนั้นคือสุดยอด ซึ่งกว่าจะมาเป็นปลาทูแม่กลองที่มีเอกลักษณ์“หน้างอ คอหัก”นั้น ทั้งปลาทูและคนแม่กลองได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้สั่งสมภูมิปัญญากันมาอย่างยาวนาน
แต่ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับชีวิตของปลาทูแม่กลอง เรามาทำความรู้จักกับปลาทูในบ้านเรากันสักหน่อย ปลาทูในบ้านเราแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ปลาทูสั้น กับ ปลาทูยาว
ปลาทูสั้น (หรือปลาทูแม่กลอง) เป็นปลาน้ำตื้น มีตัวอ้วนสั้น แบน เนื้อเยอะ เนื้อนุ่มแต่แน่น หวาน มัน หนังบาง
ส่วนปลาทูยาว หรือที่มีชื่อเรียกกันหลากหลาย เช่น ปลารัง ปลายาว ปลาอินโด เป็นปลาน้ำลึก ตัวใหญ่ ยาว เนื้อแข็ง มันน้อย หนังหนา กินไม่อร่อยเท่าปลาทูสั้น
นอกจากนี้ปลาทูในฝั่งอ่าวไทยบ้านเรา ยังมีการแบ่งออกเป็น 3 วงหรือ 3 กลุ่ม ตามเส้นทางการว่ายใช้ชีวิตของมัน
วงแรก จากหมู่เกาะอ่างทองสุราษฎร์ธานี ขึ้นเหนือมาชุมพร ประจวบ เพชรบุรี แม่กลอง(อ่าว ก.ไก่) แล้ววนกลับลงไป
วงที่สอง จากสุราษฎร์ ลงไปนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี แล้วผ่านตม.ออกไปยังมาเลเซีย
วงที่สาม เริ่มจากอ่าว ก.ไก่ ผ่านทะเลตะวันออกไปไปเขมร และต่อไปยังปลาแหลมญวน
สำหรับปลาทูแม่กลองเป็นปลาทูในวงแรกที่อร่อยที่สุดและถูกจับมากที่สุด ปลาทูกลุ่มนี้จะลืมตาดูโลกบริเวณหมู่เกาะอ่างทอง
จากนั้นพอเริ่มโตในช่วงปลายฝนจะว่ายเลาะเลียบชายฝั่งทวนลมขึ้นเหนือ ผ่านสุราษฎร์ฯ ชุมพร ประจวบฯ เมืองเพชร ขึ้นมาโตเป็นปลาทูสาวที่อ่าวก.ไก่(อ่าวชั้นใน) บริเวณปากน้ำแม่กลอง ซึ่งเป็นทะเลตม มีน้ำตื้น มากไปด้วยตะกอน สารอาหาร แพลงตอน จนปลาทูที่นี่อิ่มหมีอุดมสมบูรณ์ จากนั้นพอโตเป็นสาวเต็มตัวถึงวัยผสมพันธุ์ ตั้งท้อง มีไข่ ปลาทูกลุ่มนี้ก็ว่ายย้อนกลับไปวางไข่ที่หมู่เกาะอ่างทองอีกครั้ง เป็นวงจรชีวิตสืบมา
ปลาทูสาวไม่เครียด กินอร่อย
เมื่อว่ายน้ำมาโตเป็นสาวที่ปากแม่น้ำแม่กลอง พวกเธอก็จะถูกชาวประมงไล่จับ โดยสมัยก่อนนั้นจะใช้วิธีจับให้ตายโดยละม่อมด้วยการใช้ “โป๊ะ” ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ทำจากไม้ไผ่ล้อมเป็นวงกลมตั้งอยู่กับที่ขนาดใหญ่(ประมาณสนามฟุตบอล) มีแนวปีกเป็นช่องทางล่อให้ปลาทูว่ายเข้าไป เมื่อปลาทูว่ายเข้ามาอยู่ในโป๊ะ ชาวประมงก็จะจับมันขึ้นมา การจับปลาด้วยโป๊ะแบบนี้ทำให้ปลาไม่ตกใจ เครียด เนื้อของปลาจึงสด หวาน มัน คงเดิม
ทว่าการจับปลาด้วยโป๊ะนั้นปัจจุบันเหลือน้อยเต็มที เนื่องจากชาวประมงหันมาใช้วิธีการจับปลาที่สะดวกรวดเร็วกว่า ด้วยการใช้“อวนติด” “อวนดำ”และ“อวนลาก”แทน ซึ่งปลาทูที่ถูกจับด้วยอวนติดกับอวนลากนั้น รสชาติสู้ปลาทูที่จับด้วยโป๊ะไม่ได้ โดยชาวประมงเขามีการจัดอันดับรสชาติปลาทูที่จับด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
อันดับหนึ่ง ปลาทูโป๊ะหรือจับด้วยโป๊ะ อันดับสองคือ ปลาอวนดำ อวนติด และอันดับสาม คือปลาอวนลาก ที่มีความรุนแรงเวลาจับ และจับปลาไปเบียดอัดกันทำให้ปลาตกใจ เครียด รสชาติจึงเพียงเหรียญทองแดงเท่านั้น
อย่างไรก็ดีงานนี้ถ้าหากไม่ใช่คนแม่กลองหรือไม่ใช่คนที่เป็นเซียนกินปลาทูตัวยง อาจยากในการจำแนกแยกแยะรสชาติ เพราะขนาดคนแม่กลองเองเดี๋ยวนี้เองยังหาปลาทูโป๊ะกินได้ยากเลย
หน้างอ คอหัก เอกลักษณ์ปลาทูแม่กลอง
เมื่อชาวประมงจับปลาทูสาวมาแล้ว เขาจะนำมาเทียบท่าในทุกเช้าแบบสดใหม่ ไม่ค้างคืน ให้แม่ค้าพ่อค้ามารับช่วงต่อ นำไปขายแบบสดๆ หรือนำไปทำปลาทูนึ่งส่งขายที่นับเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาปลาทูอันโดดเด่นของคนแม่กลอง
ปลาทูนึ่งอันที่จริงมันไม่ใช่ปลาทูนึ่ง หากแต่เป็น “ปลาทูต้ม” ที่ก่อนต้มได้มีการหักคอปลาทูให้งอลง เพื่อความสะดวกในการใส่ลงเข่งให้ได้พอดี และเพื่อให้ดูสวยงาม ก่อนนำไปวางในเข่ง แล้วส่งขึ้น “เต๊า”(อุปกรณ์สำหรับต้ม) เพื่อยกขึ้นเตาต้มกันต่อไป
สำหรับการหักคอปลาของคนสมัยก่อนนั้น ใครจะไปคาดคิดว่ามันจะพัฒนามาเป็นปลาทู “หน้างอ คอหัก” ที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของปลาทูแม่กลองมาจนถึงทุกวันนี้
และด้วยลายเซ็นหน้างอคอหักนี้เอง ทำให้พ่อค้าแม่ค้าหัวใสจำนวนหนึ่ง นำปลาทูจากที่อื่นมาหักคอแล้วหลอกขายว่าเป็นปลาทูแม่กลอง นับเป็นการย้อมปลาทูขายที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาแบบไทยๆในอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในบ้านนี้เมืองนี้
ปัญหา ปลาทู
ความที่ปลาทูแม่กลองเป็นสุดยอดปลาทู เป็นราชาปลาทู ทำให้เป็นที่ต้องการของท้องตลาดอย่างมาก จนเกิดการจับปลากันแบบชนิดโตไม่ทัน รวมถึงการใช้เครื่องจับปลาที่ไม่เหมาะสม ใช้อวนตาถี่ ใช้อุปกรณ์ที่ส่งผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ใช้อุปกรณ์ผิดกฎหมาย ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อวิถีของปลาทูไม่น้อย
นอกจากนี้ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป จากสังคมเกษตรพึ่งพาธรรมชาติมีภูมิปัญญาบรรพบุรุษที่สั่งสมมา เปลี่ยนมาเป็นสังคมที่หลงลืมรากเหง้าของตัวเอง มุ่งเน้นไปทางภาคอุตสาหกรรมจนเกิดพื้นที่อุตสาหกรรมขึ้นมาอย่างมากหลายในพื้นที่อ่าว ก.ไก่ ที่ภาครัฐควรสงวนไว้เป็นพื้นที่ประมงชายฝั่งและพื้นที่การเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน รวมถึงการทำการเกษตรสมัยใหม่ในเชิงปริมาณ เน้นการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเป็นหลัก ที่เมื่อมันไหลลงแม่น้ำไปสะสมยังบริเวณอ่าว ก.ไก่ (ส่วนปีนี้ที่เกิดวิกฤติน้ำท่วม พัดพาขยะ สารเคมี น้ำเน่าเสียออกไปยังทะเล จนเกิดปรากฏการณ์น้ำเบียดที่ผิดธรรมชาตินั้น จะส่งผลกระทบต่อวิถีปลาทูเช่นไรคงต้องเฝ้าติดตามกันต่อไป)
สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อระบบนิเวศบริเวณนี้ ที่สะเทือนไปถึงวิถีชีวิตของปลาทูแม่กลองด้วย ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าโดยภาพรวมปลาทูแม่กลองมีขนาดเล็กลงอย่างสังเกตเห็นได้
เมื่อวิถีปลาทูสะเทือน มันก็ย่อมส่งผลสะเทือนต่อวิถีคนแม่กลองกับสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนไป และมันก็ย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีคนไทยด้วย เพราะปลาทูนั้นเป็นอาหารที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีและเป็นเมนูสำหรับคนไทยทุกชนชั้น
อย่างไรก็ดีบนความเป็นเลิศของปลาทูแม่กลอง มันก็ทำให้ผมอดที่จะคิดเล่นๆไม่ได้ว่า
งานนี้น่าจะเพิ่มปลาทูเข้าไปในคำขวัญจังหวัดด้วยก็น่าจะดีไม่น้อย เป็นคำขวัญจังหวัดสมุทรสงครามใหม่ดังนี้
“ปลาทูลือเลื่อง เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม”
*****************************************
สำหรับผู้สนใจอยากลองลิ้มชิมรสปลาทูแม่กลองของแท้ ในช่วงวันที่ 16-25 ธ.ค. นี้ จังหวัดสมุทรสงคราม มีการจัดงาน “เทศกาลกินปลาทู และของดีเมืองแม่กลอง ครั้งที่ 14”ขึ้น ผู้สนใจสามารถไปพิสูจน์รสชาติกันได้ ซึ่งงานนี้อาจจะมีปลาทูโป๊ะสดๆให้ลิ้มรสกันด้วย
หมายเหตุ : ข้อมูลส่วนหนึ่งอ้างอิงจากหนังสือ “ฅนแม่กลอง” โดย สุรจิต ชิรเวทย์