กรมทรัพย์สินฯ หนุนผู้ประกอบการขึ้นทะเบียน GI ป้องกันการสวมสิทธิ์ผู้ค้าต่างประเทศ เผยมีผลิตภัณฑ์รอขึ้นทะเบียน อาทิ มะนาว ชมพู่ ขนมหม้อแกง น้ำตาลโตนด ของดีเมืองเพชร และทุเรียนนนท์ เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด ฯลฯ ตั้งแต่ปี 2547 มีสินค้าจดทะเบียน GI 35 รายการ เป็นสินค้าไทย 29 รายการ มีผู้ยื่นขอทั้งหมด 75 ราย
นายชุมพล ศิริวรรณบุศย์ ประธาน“โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์และการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย" เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ มีแผนเพิ่มรายการผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาสู่การรับรองการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ GI ในสินค้าอีกหลายรายการ โดยอยู่ระหว่างการตรวจสอบและยื่นขอจดทะเบียน GI อาทิ มะนาวเพชรบุรี ชมพู่เพชรบุรี ขนมหม้อแกงเพชรบุรี น้ำตาลโตนดเพชรบุรี ทุเรียนเมืองนนท์ เครื่องปั้นดินเผาเกราะเกร็ด ปลาทูแม่กลอง ส้มโอปากพนัง สับปะรดศรีราชา เครื่องจักรสานพนัสนิคม ครกหินอ่างศิลา สับปะรดสีทอง กะปิเกาะช้าง ไข่เค็มไชยา ฯลฯ เป็นต้น
“สินค้าที่สามารถขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ GI ของกรมทรัพย์สินฯนั้น จะต้องผ่านการตรวจรับรองอย่างเป็นระบบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในรูปแบบคู่มือซึ่งแสดงรายละเอียดตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก การใส่ปุ๋ย ไปจนถึงการกระจายสินค้า และจะต้องมีการต่ออายุในทุกๆปี ซึ่งการที่ผลิตภัณฑ์หรือพืชผลทางการเกษตรของเกษตรกรได้รับการขึ้นทะเบียน GI จะทำให้สามารถเป็นผู้กำหนดราคาขายได้เอง ทั้งยังได้ราคาสูง และป้องกันการใช้แบรนด์สวมสิทธิ์จากผู้ค้าในต่างประเทศ เนื่องจากตราสัญลักษณ์ดังกล่าวถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่ปัจจุบันต่างประเทศให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก”นายชุมพล กล่าว
ทั้งนี้ จากการให้บริการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันมีผู้ยื่นคำขอจดทะเบียน GI 75 ราย ในจำนวนดังกล่าวเป็นคนไทย 63 ราย และชาวต่างประเทศ 12 ราย และมีผู้ยื่นถอนจดทะเบียนออกไป 3 ราย สำหรับสินค้าได้มีการจดทะเบียนไปแล้ว 35 รายการ แบ่งเป็น สินค้าไทย 29 รายการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าพืชผลทางการเกษตร อาทิ มะขามหวานเพชรบูรณ์ ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ไข่เค็มไชยา หอยนางรมสุราษฎ์ธานี เป็นต้น และสินค้าต่างประเทศ 6 รายการ อาทิ ไวน์บอร์โดซ์ เตอกิลา ฯลฯ เป็นต้น
เป้าหมายต่อไป กรมทรัพย์สินฯ ยังมีแผนการเผยแพร่ข่าวสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน GI ส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนดังกล่าว และกระตุ้นให้เกษตรกรหันมาขึ้นทะเบียน GI เพิ่มมากขึ้นในอนาคต เพื่อป้องกันการถูกสวมสิทธิ์หากสินค้ามีการส่งออกไปทำตลาดยังต่างประเทศ รวมทั้งมีแผนนำคณะผู้ประกอบการและกลุ่มเกษตรกรเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการขึ้นทะเบียน GI แล้ว
อาทิ มะขามหวานเพชรบูรณ์ ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ และกาแฟดอยช้าง ไปโรดโชว์ในงาน Food Expo เดือนสิงหาคม ณ ประเทศฮ่องกง และงานแสดงสินค้า อาหาร THAIFEX ซึ่งจัดขึ้นในไทย เดือนพฤษภาคม 2554 นี้
นายชุมพล ศิริวรรณบุศย์ ประธาน“โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์และการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย" เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ มีแผนเพิ่มรายการผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาสู่การรับรองการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ GI ในสินค้าอีกหลายรายการ โดยอยู่ระหว่างการตรวจสอบและยื่นขอจดทะเบียน GI อาทิ มะนาวเพชรบุรี ชมพู่เพชรบุรี ขนมหม้อแกงเพชรบุรี น้ำตาลโตนดเพชรบุรี ทุเรียนเมืองนนท์ เครื่องปั้นดินเผาเกราะเกร็ด ปลาทูแม่กลอง ส้มโอปากพนัง สับปะรดศรีราชา เครื่องจักรสานพนัสนิคม ครกหินอ่างศิลา สับปะรดสีทอง กะปิเกาะช้าง ไข่เค็มไชยา ฯลฯ เป็นต้น
“สินค้าที่สามารถขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ GI ของกรมทรัพย์สินฯนั้น จะต้องผ่านการตรวจรับรองอย่างเป็นระบบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในรูปแบบคู่มือซึ่งแสดงรายละเอียดตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก การใส่ปุ๋ย ไปจนถึงการกระจายสินค้า และจะต้องมีการต่ออายุในทุกๆปี ซึ่งการที่ผลิตภัณฑ์หรือพืชผลทางการเกษตรของเกษตรกรได้รับการขึ้นทะเบียน GI จะทำให้สามารถเป็นผู้กำหนดราคาขายได้เอง ทั้งยังได้ราคาสูง และป้องกันการใช้แบรนด์สวมสิทธิ์จากผู้ค้าในต่างประเทศ เนื่องจากตราสัญลักษณ์ดังกล่าวถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่ปัจจุบันต่างประเทศให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก”นายชุมพล กล่าว
ทั้งนี้ จากการให้บริการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันมีผู้ยื่นคำขอจดทะเบียน GI 75 ราย ในจำนวนดังกล่าวเป็นคนไทย 63 ราย และชาวต่างประเทศ 12 ราย และมีผู้ยื่นถอนจดทะเบียนออกไป 3 ราย สำหรับสินค้าได้มีการจดทะเบียนไปแล้ว 35 รายการ แบ่งเป็น สินค้าไทย 29 รายการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าพืชผลทางการเกษตร อาทิ มะขามหวานเพชรบูรณ์ ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ไข่เค็มไชยา หอยนางรมสุราษฎ์ธานี เป็นต้น และสินค้าต่างประเทศ 6 รายการ อาทิ ไวน์บอร์โดซ์ เตอกิลา ฯลฯ เป็นต้น
เป้าหมายต่อไป กรมทรัพย์สินฯ ยังมีแผนการเผยแพร่ข่าวสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน GI ส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนดังกล่าว และกระตุ้นให้เกษตรกรหันมาขึ้นทะเบียน GI เพิ่มมากขึ้นในอนาคต เพื่อป้องกันการถูกสวมสิทธิ์หากสินค้ามีการส่งออกไปทำตลาดยังต่างประเทศ รวมทั้งมีแผนนำคณะผู้ประกอบการและกลุ่มเกษตรกรเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการขึ้นทะเบียน GI แล้ว
อาทิ มะขามหวานเพชรบูรณ์ ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ และกาแฟดอยช้าง ไปโรดโชว์ในงาน Food Expo เดือนสิงหาคม ณ ประเทศฮ่องกง และงานแสดงสินค้า อาหาร THAIFEX ซึ่งจัดขึ้นในไทย เดือนพฤษภาคม 2554 นี้