โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
กว่า 10 ปีมาแล้วที่พอถึงฤดูท่องเที่ยวทะเลอันดามัน ทางจังหวัดสตูลจะจัดให้มีกิจกรรมเก็บขยะทั้งบนบกและใต้น้ำตามเกาะต่างๆในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตาขึ้น
กิจกรรมดังกล่าวปัจจุบันจัดขึ้นในชื่อโครงการ“รักษ์เล ป่า ฟ้า สตูล” โดยปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 11 ควบคู่ไปกับงาน “เปิดฟ้าอันดามันสวรรค์สตูล” ในระหว่างวันที่ 18-21 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณให้รู้ว่าฤดูกาลท่องเที่ยวทะเล(อันดามัน)ของจังหวัดสตูลมาถึงแล้ว (ตั้งแต่ช่วงพ.ย.ปีนี้ ไปถึง พ.ค. ปีหน้า)
สำหรับจุดเริ่มต้นของโครงการนี้ สุเมธ หมันเหตุ รองนายกสมาคมธุรกิจสตูล และประธานสมาคมมัคคุเทศก์สตูล เล่าให้ผมฟังว่ามันมีที่มาจาก 2 ประเด็นหลักด้วยกัน
ประเด็นแรก มาจากการที่ทุกๆปีในช่วงมรสุม จะมี “ลมบันดาหยา” หรือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้ามายังฝั่งทะเลอันดามัน ลมบันดาหยาไม่ได้พัดพาคลื่นมาเปล่าๆ หากแต่ยังหอบเอาขยะจำนวนมหาศาลจากท้องทะเลของประเทศเพื่อนบ้าน(มาเลเซีย,อินโดนีเซีย)มาด้วย เมื่อขยะเหล่านั้นมาสมทบกับขยะที่ถูกทิ้งจากน้ำมือของนักท่องเที่ยว ทำให้เกิดการสะสมของปริมาณขยะจำนวนมากขึ้นในบริเวณต่างๆของหมู่เกาะตะรุเตาทั้งบนฝั่งและใต้น้ำ
ประเด็นที่สอง มาจากการที่คนสตูลจำนวนมากโดยเฉพาะบรรดาเหล่าเยาวชนแม้จะรับรู้ถึงความงดงามของเกาะหลีเป๊ะเป็นอย่างดี แต่ว่าโอกาสที่จะมาเที่ยวยังเกาะแห่งนี้มีน้อยมาก เพราะพวกเขาไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอ เนื่องจากหลีเป๊ะเป็นเกาะท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง จึงมีที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นค่าเรือ ค่าที่พัก
ด้วยเหตุนี้ในปี พ.ศ. 2543 สุเมธในฐานะไกด์นำเที่ยวจึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกที่มีแนวคิดเดียวกัน ลงขันจัดจัดทัวร์สิ่งแวดล้อมราคาประหยัดขึ้น(คนละ 500 บาท ต่อทริป 3 วัน 2 คืน)ในชื่อ “รักษ์เล รักษ์ป่า รักษาสิ่งแวดล้อม”เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนในจังหวัดสตูลได้มาท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับการออกค่ายสิ่งแวดล้อม เก็บขยะ ทำความสะอาดหาดทรายชายทะเล ในบริเวณเกาะหลีเป๊ะและเกาะต่างๆในอุทยานฯตะรุเตา
หลังจากนั้นโครงการนี้ก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจนต้องขยายกลุ่มผู้เข้าร่วมทริป จากตอนแรกที่รับเฉพาะคนในสตูลมาเป็นเปิดรับจากทั่วประเทศ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อมาเป็นโครงการ “รักษ์เล ป่า ฟ้า สตูล”ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น โดยยังคงแนวคิดของการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการบำเพ็ญประโยชน์ ที่เดี๋ยวนี้เขามีศัพท์ใหม่เรียกรูปแบบการท่องเที่ยวแนวนี้ว่า “การท่องเที่ยวเชิงจิตอาสา” ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและการคืนกำไรให้สังคม สอดคล้องกับแนวคิด “เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน” ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ซึ่ง ปรเมศวร์ อมาตยกุล เปิดเผยว่า โครงการนี้จะสามารถขยายการรับรู้ไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีใจอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวที่สามารถจะนำกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวไปต่อยอดในการจัดกิจกรรมในโอกาสต่อไปได้อย่างกล้างขวางมากขึ้น
โครงการรักษ์เลฯปีนี้เปิดรับอาสาสมัครหรือที่ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า “จิตอาสา” จำนวน 800 คน(ในราคา 500 บาทเท่าเดิม ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน เหมือนเดิม) แบ่งเป็นจากสตูล 400 คน และจากจังหวัดอื่นๆอีก 400 คน พร้อมด้วยทีมนักดำน้ำที่จะมาเก็บขยะใต้น้ำอีกประมาณ 50 คน และเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น สตาฟฟ์ เจ้าหน้าที่พยาบาล วิทยุสมัครเล่น อีกร่วม 100 คน
โดยเหล่ากลุ่มจิตอาสาที่เป็นดังผู้ปิดทองหลังพระให้หาดทราย สายน้ำ แห่งตะรุเตา ดูสวยสะอาดน่าเที่ยวชม ได้แบ่งกลุ่มกันทำกิจกรรมและเดินทางไปเก็บขยะตามจุดต่างๆ อาทิ เกาะไข่ เกาะหินงาม เกาะราวี เกาะอาดัง และเกาะหลีเป๊ะ ในบรรยากาศคึกคักและเปี่ยมไปด้วยความอิ่มเอิบใจของเหล่าจิตอาสา
สุไลมาน สมวงค์ หนุ่มชาวสตูล(อ.ควนโดน) บอกกับผมว่า เขาเพิ่งมาเก็บปีนี้เป็นปีแรก มาด้วยความรู้สึกอยากช่วยพัฒนาตะรุเตา ทำแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดตัวเองให้สะอาด
ส่วนนิศากร บุญช่วย สาวชาว อ.เมือง สตูล แต่ไปทำงานอยู่ในภูเก็ต ที่มาร่วมเป็นจิตอาสาเก็บขยะเป็นครั้งที่ 2 แล้ว เล่าให้ฟังว่า ด้วยความอยากให้ท้องทะเลสะอาดเธอจึงมาเข้าร่วมโครงการนี้ พร้อมกับมีข้อเสนอว่า
“อยากให้ภูเก็ตมีการจัดกิจกรรมแบบนี้บ้าง เพราะทะเลภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวดัง มีนักท่องเที่ยวมาก จึงมีขยะมากตามไปด้วย”
ด้านนิภาพรรณ หวันสู จากระงู สตูล เล่าความรู้สึกว่า เพิ่งมาเข้าร่วมโครงการนี้เป็นปีแรก รู้สึกยินดีมากที่ได้มาร่วมทำประโยชน์ ซึ่งมันให้ความรู้สึกภูมิใจต่างไปจากการมาท่องเที่ยวเอง เล่นน้ำ ดูโน่น ดูนี่เป็นอย่างมาก
“ที่สำคัญคือหนูได้รู้จักกับเพื่อนใหม่ๆอีกหลายคนด้วยกัน” นิภาพรรณกล่าว
สอดคล้องกับรัชนก กลิ่นฟุ้ง สาวชาวภูเก็ตที่เพื่อนชาวสตูลชักชวนมาก เล่าว่า นอกจากจะได้ทำประโยชน์แล้ว ยังได้รู้จักกับเพื่อนใหม่อีกหลายคน และในปีหน้าเธอก็จะไปชวนเพื่อนให้มาร่วมในโครงการนี้กันมากๆ
ขณะที่วิภารัตน์ ล่องเพ็ง สาวชาวพัทลุง ที่รวมกลุ่มกับเพื่อนลางานมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ บอกกับผมว่า นี่คือประสบการณ์ตรงที่ต้องมาเห็นด้วยตาตัวเองว่ายังมีคนทิ้งขยะตามแหล่งท่องเที่ยวอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเธอก็ได้ขอร้องให้นักท่องเที่ยวทั้งหลายไม่ว่าจะไปที่ไหน อย่าทิ้งขยะเรี่ยราดไม่เป็นที่เป็นทาง และถ้ามาเที่ยวตามเกาะต่างๆควรนำขยะกลับไปทิ้งที่ฝั่งเป็นดีที่สุด
สำหรับการเก็บขยะบนบกครั้งนี้ มีหลักการง่ายๆคือ ขยะทั่วไปเช่น โฟม พลาสติก ให้เก็บใส่ถุงดำ ขวดแก้ว หลอดไฟ ให้เก็บใส่กระสอบ(ถุงปุ๋ย)ที่มีความเหนียวทนทานกว่า ส่วนเศษไม้ให้เก็บรวมรวมไว้ตามจุดต่างๆตาม เพื่อดำเนินการขนย้ายต่อไป โดยจะมีการจัดแบ่งหน้าที่กันเก็บขยะอย่างชัดเจนว่าใครเก็บแก้ว เก็บขยะทั่วไป หรือเก็บไม้ไปกองไว้ตามจุดต่างๆ ซึ่งจุดที่มีขยะบกเป็นจำนวนมากนั้นมีอยู่ 2 จุดหลักด้วยกัน
จุดหนึ่งคือที่เกาะหลีเป๊ะ เนื่องจากมากไปด้วยที่พัก ร้านอาหาร และนักท่องเที่ยว ขยะจึงเยอะเป็นเงาตามตัว ส่วนอีกจุดหนึ่งได้แก่ที่เกาะหินงาม(หาดหินงาม) เนื่องมีลมพัดประดังเข้ามาทั้ง 2 ด้านของหาด จึงมีขยะลอยน้ำมาติดฝั่งเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะขยะที่พัดพามาจากทางอินโด-มาเลย์นั้น ผมสังเกตเห็นว่ามีปริมาณขยะที่เยอะเอาเรื่อง
นอกจากการเก็บขยะบนบกแล้ว โครงการนี้ยังมีการเก็บขยะใต้ทะเลควบคู่กันไป โดยในปีนี้มีความพิเศษตรงที่เป็นปีแรกที่ก่อนการลงมือดำน้ำเก็บขยะ เหล่าทีมนักดำน้ำจิตอาสาได้ร่วมกันจัดกิจกรรมต่อตัวดำน้ำเป็นวงกลมจำนวน 28 คน ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์โครงการนี้ให้เป็นที่รับรู้กว้างขวางขึ้น
ภัทรพงศ์ ตันพานิช หัวหน้าทีมดำน้ำเก็บขยะในโครงการนี้ เล่าให้ผมฟังว่า การดำน้ำเก็บขยะต่างจากการดำน้ำทั่วไป การดำน้ำทั่วไปแค่ลงไปโฉบผ่านมองวัตถุ แต่การดำน้ำเก็บขยะต้องใช้ทักษะ ลอยตัว ทรงตัวใต้น้ำ และการเข้าไปสัมผัสวัตถุ(ขยะ) อีกทั้งยังต้องมีวิจารญาณในการเก็บขยะขึ้น เพราะถ้าไปเจอแหหรือตาข่ายที่ขึ้นปกคลุมปะการัง ถ้าฉุดหรือดึงขึ้นก็จะทำให้แนวปะการังเสียหาย ดังนั้นจึงต้องใช้มีดค่อยๆตัดและดึงส่วนที่นำขึ้นไปได้ขึ้นไป หรือถ้าเกิดเจอยางรถยนต์ที่เป็นขยะมานานจนปะการังขึ้นเต็มเป็นแหล่งอาหารของปลาก็ควรปล่อยไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะนำขึ้นมา
อนึ่งในการดำน้ำเก็บขยะปีนี้ ภัทรพงศ์บอกกับผมว่าพวกเขาเก็บขยะได้น้อยกว่าปีที่ผ่านๆมา
เรื่องนี้แรกที่ฟัง ผมอดดีใจเล็กๆไม่ได้ว่านี่เป็นสัญญาณดีของตะรุเตาว่าปริมาณขยะที่นี่ลดจำนวนลง แต่เปล่าเลยเหตุที่ปีนี้ทีมดำน้ำจิตอาสาเก็บขยะได้น้อย เนื่องจากพวกเขาขาดแคลนถังดำน้ำ เพราะเดิมจะใช้วิธีเช่าถังประมาณ 150 ถัง แต่ปีนี้ต้องการให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีขอความร่วมมือแทน โดยตั้งเป้าไว้ที่ 100 ถัง แต่พอวันดำน้ำเก็บขยะจริงได้ถังแค่ 40 ถังเท่านั้น เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องกันถังส่วนใหญ่ไปให้กับลูกค้าที่มาดำน้ำ เนื่องจากช่วงนั้นมีคนมาดำน้ำกันเยอะ ถังดำน้ำจึงได้ต่ำกว่าเป้าไปกว่าครึ่ง
“ขยะใต้น้ำมีทั้งขยะจากต่างประเทศที่มากับลมบันดาหยา และขยะที่มาจากพวกเรือประมง และนักท่องเที่ยว”
ภัทรพงศ์บอกกับผม พร้อมให้ข้อมูลว่าปีนี้มีปริมาณขยะบกค่อนข้างมาก คะเนจากสายตา(ของเขา)น่าจะราวๆ 3 ตันกว่า ส่วนขยะใต้น้ำอยู่ที่ประมาณตันกว่าๆ เมื่อเก็บขยะทั้งบนบกและใต้น้ำมาแล้ว ทางเทศบาลตำบลกำแพงจะนำไปจัดการต่อ อันไหนขายได้ขาย ขายไม่ได้ก็จัดการเผา ทำลาย
“จุดที่มีขยะใต้น้ำเยอะที่สุด ปีนี้อยู่แถวเกาะราวี ทีมงานเจอพวกขวด พลาสติก แก้ว ที่มาจากการทิ้งของนักท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่”
ภัทรพงศ์เปิดเผยกับผมภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจ พร้อมกับให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า แม้ที่หมู่เกาะตะรุเตาจะมีการเก็บขยะกันมาถึง 11 ปีแล้ว แต่สถานการณ์ขยะที่ตะรุเตากับคงที่ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด เพราะการเก็บขยะเป็นการไล่แก้ปัญหาที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ที่ถือเป็นปัจจัยหลักในการก่อให้เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งเขาอยากให้ภาครัฐหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมาเป็นเจ้าภาพแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ไม่ว่าจะเป็น การรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้กับนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และคนในพื้นที่ ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการกับปัญหาขยะ น้ำเสีย และมลพิษบนเกาะต่างๆ โดยเฉพาะที่เกาะหลีเป๊ะอย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยลดปัญหาเรื่องขยะและมลภาวะที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ดีสำหรับเรื่องปัญหาขยะในบ้านเรานั้น พูดถึงทีไร ผมเป็นต้องอดสะทกสะท้อนใจไม่ได้ เนื่องจากเป็นที่รู้กันดีว่าคนส่วนหนึ่งยังขาดจิตสำนึกในเรื่องนี้ ทำให้ที่ผ่านมาแม้จะมีความพยายามแก้ปัญหากันมาอย่างยาวนาน แต่ดูเหมือนว่าขยะก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่แก้ไม่ตกสำหรับบ้านเราอยู่ดี ไม่เฉพาะขยะตามแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น หากแต่ในทุกพื้นที่ก็ของบ้านเรานั้นได้ถูกปัญหาขยะคุกคามไปทั่วแบบไม่มีทีท่าว่าจะลดปริมาณลงแต่อย่างใด
เพราะตราบใดที่คนเก็บก็เก็บไป คนทิ้งก็ทิ้งไป ชาตินี้เก็บยังไงก็ไม่มีหมด เนื่องจากคนที่ทิ้งนั้นมันมีมากกว่าคนที่เก็บแบบเทียบปริมาณแล้ว ทิ้งกันไม่เป็นฝุ่นเลยทีเดียว
กว่า 10 ปีมาแล้วที่พอถึงฤดูท่องเที่ยวทะเลอันดามัน ทางจังหวัดสตูลจะจัดให้มีกิจกรรมเก็บขยะทั้งบนบกและใต้น้ำตามเกาะต่างๆในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตาขึ้น
กิจกรรมดังกล่าวปัจจุบันจัดขึ้นในชื่อโครงการ“รักษ์เล ป่า ฟ้า สตูล” โดยปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 11 ควบคู่ไปกับงาน “เปิดฟ้าอันดามันสวรรค์สตูล” ในระหว่างวันที่ 18-21 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณให้รู้ว่าฤดูกาลท่องเที่ยวทะเล(อันดามัน)ของจังหวัดสตูลมาถึงแล้ว (ตั้งแต่ช่วงพ.ย.ปีนี้ ไปถึง พ.ค. ปีหน้า)
สำหรับจุดเริ่มต้นของโครงการนี้ สุเมธ หมันเหตุ รองนายกสมาคมธุรกิจสตูล และประธานสมาคมมัคคุเทศก์สตูล เล่าให้ผมฟังว่ามันมีที่มาจาก 2 ประเด็นหลักด้วยกัน
ประเด็นแรก มาจากการที่ทุกๆปีในช่วงมรสุม จะมี “ลมบันดาหยา” หรือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้ามายังฝั่งทะเลอันดามัน ลมบันดาหยาไม่ได้พัดพาคลื่นมาเปล่าๆ หากแต่ยังหอบเอาขยะจำนวนมหาศาลจากท้องทะเลของประเทศเพื่อนบ้าน(มาเลเซีย,อินโดนีเซีย)มาด้วย เมื่อขยะเหล่านั้นมาสมทบกับขยะที่ถูกทิ้งจากน้ำมือของนักท่องเที่ยว ทำให้เกิดการสะสมของปริมาณขยะจำนวนมากขึ้นในบริเวณต่างๆของหมู่เกาะตะรุเตาทั้งบนฝั่งและใต้น้ำ
ประเด็นที่สอง มาจากการที่คนสตูลจำนวนมากโดยเฉพาะบรรดาเหล่าเยาวชนแม้จะรับรู้ถึงความงดงามของเกาะหลีเป๊ะเป็นอย่างดี แต่ว่าโอกาสที่จะมาเที่ยวยังเกาะแห่งนี้มีน้อยมาก เพราะพวกเขาไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอ เนื่องจากหลีเป๊ะเป็นเกาะท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง จึงมีที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นค่าเรือ ค่าที่พัก
ด้วยเหตุนี้ในปี พ.ศ. 2543 สุเมธในฐานะไกด์นำเที่ยวจึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกที่มีแนวคิดเดียวกัน ลงขันจัดจัดทัวร์สิ่งแวดล้อมราคาประหยัดขึ้น(คนละ 500 บาท ต่อทริป 3 วัน 2 คืน)ในชื่อ “รักษ์เล รักษ์ป่า รักษาสิ่งแวดล้อม”เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนในจังหวัดสตูลได้มาท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับการออกค่ายสิ่งแวดล้อม เก็บขยะ ทำความสะอาดหาดทรายชายทะเล ในบริเวณเกาะหลีเป๊ะและเกาะต่างๆในอุทยานฯตะรุเตา
หลังจากนั้นโครงการนี้ก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจนต้องขยายกลุ่มผู้เข้าร่วมทริป จากตอนแรกที่รับเฉพาะคนในสตูลมาเป็นเปิดรับจากทั่วประเทศ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อมาเป็นโครงการ “รักษ์เล ป่า ฟ้า สตูล”ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น โดยยังคงแนวคิดของการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการบำเพ็ญประโยชน์ ที่เดี๋ยวนี้เขามีศัพท์ใหม่เรียกรูปแบบการท่องเที่ยวแนวนี้ว่า “การท่องเที่ยวเชิงจิตอาสา” ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและการคืนกำไรให้สังคม สอดคล้องกับแนวคิด “เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน” ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ซึ่ง ปรเมศวร์ อมาตยกุล เปิดเผยว่า โครงการนี้จะสามารถขยายการรับรู้ไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีใจอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวที่สามารถจะนำกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวไปต่อยอดในการจัดกิจกรรมในโอกาสต่อไปได้อย่างกล้างขวางมากขึ้น
โครงการรักษ์เลฯปีนี้เปิดรับอาสาสมัครหรือที่ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า “จิตอาสา” จำนวน 800 คน(ในราคา 500 บาทเท่าเดิม ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน เหมือนเดิม) แบ่งเป็นจากสตูล 400 คน และจากจังหวัดอื่นๆอีก 400 คน พร้อมด้วยทีมนักดำน้ำที่จะมาเก็บขยะใต้น้ำอีกประมาณ 50 คน และเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น สตาฟฟ์ เจ้าหน้าที่พยาบาล วิทยุสมัครเล่น อีกร่วม 100 คน
โดยเหล่ากลุ่มจิตอาสาที่เป็นดังผู้ปิดทองหลังพระให้หาดทราย สายน้ำ แห่งตะรุเตา ดูสวยสะอาดน่าเที่ยวชม ได้แบ่งกลุ่มกันทำกิจกรรมและเดินทางไปเก็บขยะตามจุดต่างๆ อาทิ เกาะไข่ เกาะหินงาม เกาะราวี เกาะอาดัง และเกาะหลีเป๊ะ ในบรรยากาศคึกคักและเปี่ยมไปด้วยความอิ่มเอิบใจของเหล่าจิตอาสา
สุไลมาน สมวงค์ หนุ่มชาวสตูล(อ.ควนโดน) บอกกับผมว่า เขาเพิ่งมาเก็บปีนี้เป็นปีแรก มาด้วยความรู้สึกอยากช่วยพัฒนาตะรุเตา ทำแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดตัวเองให้สะอาด
ส่วนนิศากร บุญช่วย สาวชาว อ.เมือง สตูล แต่ไปทำงานอยู่ในภูเก็ต ที่มาร่วมเป็นจิตอาสาเก็บขยะเป็นครั้งที่ 2 แล้ว เล่าให้ฟังว่า ด้วยความอยากให้ท้องทะเลสะอาดเธอจึงมาเข้าร่วมโครงการนี้ พร้อมกับมีข้อเสนอว่า
“อยากให้ภูเก็ตมีการจัดกิจกรรมแบบนี้บ้าง เพราะทะเลภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวดัง มีนักท่องเที่ยวมาก จึงมีขยะมากตามไปด้วย”
ด้านนิภาพรรณ หวันสู จากระงู สตูล เล่าความรู้สึกว่า เพิ่งมาเข้าร่วมโครงการนี้เป็นปีแรก รู้สึกยินดีมากที่ได้มาร่วมทำประโยชน์ ซึ่งมันให้ความรู้สึกภูมิใจต่างไปจากการมาท่องเที่ยวเอง เล่นน้ำ ดูโน่น ดูนี่เป็นอย่างมาก
“ที่สำคัญคือหนูได้รู้จักกับเพื่อนใหม่ๆอีกหลายคนด้วยกัน” นิภาพรรณกล่าว
สอดคล้องกับรัชนก กลิ่นฟุ้ง สาวชาวภูเก็ตที่เพื่อนชาวสตูลชักชวนมาก เล่าว่า นอกจากจะได้ทำประโยชน์แล้ว ยังได้รู้จักกับเพื่อนใหม่อีกหลายคน และในปีหน้าเธอก็จะไปชวนเพื่อนให้มาร่วมในโครงการนี้กันมากๆ
ขณะที่วิภารัตน์ ล่องเพ็ง สาวชาวพัทลุง ที่รวมกลุ่มกับเพื่อนลางานมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ บอกกับผมว่า นี่คือประสบการณ์ตรงที่ต้องมาเห็นด้วยตาตัวเองว่ายังมีคนทิ้งขยะตามแหล่งท่องเที่ยวอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเธอก็ได้ขอร้องให้นักท่องเที่ยวทั้งหลายไม่ว่าจะไปที่ไหน อย่าทิ้งขยะเรี่ยราดไม่เป็นที่เป็นทาง และถ้ามาเที่ยวตามเกาะต่างๆควรนำขยะกลับไปทิ้งที่ฝั่งเป็นดีที่สุด
สำหรับการเก็บขยะบนบกครั้งนี้ มีหลักการง่ายๆคือ ขยะทั่วไปเช่น โฟม พลาสติก ให้เก็บใส่ถุงดำ ขวดแก้ว หลอดไฟ ให้เก็บใส่กระสอบ(ถุงปุ๋ย)ที่มีความเหนียวทนทานกว่า ส่วนเศษไม้ให้เก็บรวมรวมไว้ตามจุดต่างๆตาม เพื่อดำเนินการขนย้ายต่อไป โดยจะมีการจัดแบ่งหน้าที่กันเก็บขยะอย่างชัดเจนว่าใครเก็บแก้ว เก็บขยะทั่วไป หรือเก็บไม้ไปกองไว้ตามจุดต่างๆ ซึ่งจุดที่มีขยะบกเป็นจำนวนมากนั้นมีอยู่ 2 จุดหลักด้วยกัน
จุดหนึ่งคือที่เกาะหลีเป๊ะ เนื่องจากมากไปด้วยที่พัก ร้านอาหาร และนักท่องเที่ยว ขยะจึงเยอะเป็นเงาตามตัว ส่วนอีกจุดหนึ่งได้แก่ที่เกาะหินงาม(หาดหินงาม) เนื่องมีลมพัดประดังเข้ามาทั้ง 2 ด้านของหาด จึงมีขยะลอยน้ำมาติดฝั่งเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะขยะที่พัดพามาจากทางอินโด-มาเลย์นั้น ผมสังเกตเห็นว่ามีปริมาณขยะที่เยอะเอาเรื่อง
นอกจากการเก็บขยะบนบกแล้ว โครงการนี้ยังมีการเก็บขยะใต้ทะเลควบคู่กันไป โดยในปีนี้มีความพิเศษตรงที่เป็นปีแรกที่ก่อนการลงมือดำน้ำเก็บขยะ เหล่าทีมนักดำน้ำจิตอาสาได้ร่วมกันจัดกิจกรรมต่อตัวดำน้ำเป็นวงกลมจำนวน 28 คน ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์โครงการนี้ให้เป็นที่รับรู้กว้างขวางขึ้น
ภัทรพงศ์ ตันพานิช หัวหน้าทีมดำน้ำเก็บขยะในโครงการนี้ เล่าให้ผมฟังว่า การดำน้ำเก็บขยะต่างจากการดำน้ำทั่วไป การดำน้ำทั่วไปแค่ลงไปโฉบผ่านมองวัตถุ แต่การดำน้ำเก็บขยะต้องใช้ทักษะ ลอยตัว ทรงตัวใต้น้ำ และการเข้าไปสัมผัสวัตถุ(ขยะ) อีกทั้งยังต้องมีวิจารญาณในการเก็บขยะขึ้น เพราะถ้าไปเจอแหหรือตาข่ายที่ขึ้นปกคลุมปะการัง ถ้าฉุดหรือดึงขึ้นก็จะทำให้แนวปะการังเสียหาย ดังนั้นจึงต้องใช้มีดค่อยๆตัดและดึงส่วนที่นำขึ้นไปได้ขึ้นไป หรือถ้าเกิดเจอยางรถยนต์ที่เป็นขยะมานานจนปะการังขึ้นเต็มเป็นแหล่งอาหารของปลาก็ควรปล่อยไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะนำขึ้นมา
อนึ่งในการดำน้ำเก็บขยะปีนี้ ภัทรพงศ์บอกกับผมว่าพวกเขาเก็บขยะได้น้อยกว่าปีที่ผ่านๆมา
เรื่องนี้แรกที่ฟัง ผมอดดีใจเล็กๆไม่ได้ว่านี่เป็นสัญญาณดีของตะรุเตาว่าปริมาณขยะที่นี่ลดจำนวนลง แต่เปล่าเลยเหตุที่ปีนี้ทีมดำน้ำจิตอาสาเก็บขยะได้น้อย เนื่องจากพวกเขาขาดแคลนถังดำน้ำ เพราะเดิมจะใช้วิธีเช่าถังประมาณ 150 ถัง แต่ปีนี้ต้องการให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีขอความร่วมมือแทน โดยตั้งเป้าไว้ที่ 100 ถัง แต่พอวันดำน้ำเก็บขยะจริงได้ถังแค่ 40 ถังเท่านั้น เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องกันถังส่วนใหญ่ไปให้กับลูกค้าที่มาดำน้ำ เนื่องจากช่วงนั้นมีคนมาดำน้ำกันเยอะ ถังดำน้ำจึงได้ต่ำกว่าเป้าไปกว่าครึ่ง
“ขยะใต้น้ำมีทั้งขยะจากต่างประเทศที่มากับลมบันดาหยา และขยะที่มาจากพวกเรือประมง และนักท่องเที่ยว”
ภัทรพงศ์บอกกับผม พร้อมให้ข้อมูลว่าปีนี้มีปริมาณขยะบกค่อนข้างมาก คะเนจากสายตา(ของเขา)น่าจะราวๆ 3 ตันกว่า ส่วนขยะใต้น้ำอยู่ที่ประมาณตันกว่าๆ เมื่อเก็บขยะทั้งบนบกและใต้น้ำมาแล้ว ทางเทศบาลตำบลกำแพงจะนำไปจัดการต่อ อันไหนขายได้ขาย ขายไม่ได้ก็จัดการเผา ทำลาย
“จุดที่มีขยะใต้น้ำเยอะที่สุด ปีนี้อยู่แถวเกาะราวี ทีมงานเจอพวกขวด พลาสติก แก้ว ที่มาจากการทิ้งของนักท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่”
ภัทรพงศ์เปิดเผยกับผมภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจ พร้อมกับให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า แม้ที่หมู่เกาะตะรุเตาจะมีการเก็บขยะกันมาถึง 11 ปีแล้ว แต่สถานการณ์ขยะที่ตะรุเตากับคงที่ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด เพราะการเก็บขยะเป็นการไล่แก้ปัญหาที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ที่ถือเป็นปัจจัยหลักในการก่อให้เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งเขาอยากให้ภาครัฐหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมาเป็นเจ้าภาพแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ไม่ว่าจะเป็น การรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้กับนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และคนในพื้นที่ ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการกับปัญหาขยะ น้ำเสีย และมลพิษบนเกาะต่างๆ โดยเฉพาะที่เกาะหลีเป๊ะอย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยลดปัญหาเรื่องขยะและมลภาวะที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ดีสำหรับเรื่องปัญหาขยะในบ้านเรานั้น พูดถึงทีไร ผมเป็นต้องอดสะทกสะท้อนใจไม่ได้ เนื่องจากเป็นที่รู้กันดีว่าคนส่วนหนึ่งยังขาดจิตสำนึกในเรื่องนี้ ทำให้ที่ผ่านมาแม้จะมีความพยายามแก้ปัญหากันมาอย่างยาวนาน แต่ดูเหมือนว่าขยะก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่แก้ไม่ตกสำหรับบ้านเราอยู่ดี ไม่เฉพาะขยะตามแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น หากแต่ในทุกพื้นที่ก็ของบ้านเรานั้นได้ถูกปัญหาขยะคุกคามไปทั่วแบบไม่มีทีท่าว่าจะลดปริมาณลงแต่อย่างใด
เพราะตราบใดที่คนเก็บก็เก็บไป คนทิ้งก็ทิ้งไป ชาตินี้เก็บยังไงก็ไม่มีหมด เนื่องจากคนที่ทิ้งนั้นมันมีมากกว่าคนที่เก็บแบบเทียบปริมาณแล้ว ทิ้งกันไม่เป็นฝุ่นเลยทีเดียว