โดย : ปิ่น บุตรี
“ขอเพียงสัจจะวาจา
แม่ม่ายเมืองลับแล
หญิงที่ควรยกย่อง เชิดชูยึดมั่นในคุณความดี
ยอมเสียสละความรักเพื่อธำรงจารีตประเพณี
ของการรักษาวาจาสัตย์ไว้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติ
ของชาวเมืองลับแล ทุกคน”
ลับแลเมืองแม่ม่าย
ถ้าพูดถึงเพลง“รักแม่ม่าย” ต้องนึกถึง“ยอดรัก สลักใจ” ผู้ล่วงลับ
แต่ถ้าพูดถึงเมืองแม่ม่าย ก็ต้องนี่ “เมืองลับแล”(อ.ลับแล) แห่งจังหวัดอุตรดิตถ์
ทำไมลับแลถึงได้ชื่อว่าเมืองแม่ม่าย?
เรื่องนี้มีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า
...กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว หนุ่มชาวทุ่งยั้งคนหนึ่งเกิดพลัดหลงเข้าไปยังเมืองลับแลอันลึกลับ ไม่สามารถหาทางเข้าออกอย่างทั่วไปได้
ลับแลเป็นเมืองที่ยึดถือเรื่องสัจจะวาจาเป็นสำคัญ ใครที่มีพฤติกรรมโกหกไม่อาจที่จะอยู่เมืองนี้ได้ (หากเป็นจริงดังตำนาน เมืองนี้นักการเมืองไทยอยู่ไม่ได้แน่นอน)
หนุ่มทุ่งยั้งคนนั้นเมื่อเข้ามาอยู่ในลับแล เขาได้ไปผูกสัมพันธ์รักกับสาวลับแลนางหนึ่ง จนแต่งงานอยู่กินกันฉันท์ภรรยา-สามี มีลูกน้อยเป็นพยานรัก 1 คน
ทั้งคู่อยู่กันอย่างมีความสุข ผัวทำไร่ เมียเป็นแม่บ้าน
แต่มาวันหนึ่งผัวไม่สบาย เมียจึงออกไปทำงานแทน ทิ้งลูกน้อยไว้ในผัวดูแล
ความที่ผัวไม่สันทัดในการเลี้ยงลูก ทารกน้อยจึงร้องไห้กวนอยู่ตลอด ฝ่ายพ่อปลอบเท่าไหร่ก็ไม่หยุด สุดท้ายจึงโกหกหลอกลูกน้อยไปว่า “แม่ของลูกกลับมาแล้ว หยุดร้องเถิด”
เหมือนฟ้าลิขิต ฝ่ายเมียกลับมาถึงบ้านได้ยินพอดี ทำให้ฝ่ายผัวไม่สามารถอยู่เมืองนี้ต่อไปได้ เพราะผิดต่อหลักการของชาวลับแล เขาจึงต้องจำใจจำจากเมืองลับแลไป
ในวันจากลา เมื่อเมียมาส่งบอกเส้นทางออกจากหมู่บ้าน เธอได้มอบถุงย่ามให้สามีหนึ่งใบ พร้อมกำชับว่าห้ามเปิดย่ามจนกว่าจะพ้นหมู่บ้านไปจึงสามารถเปิดได้ แต่หนุ่มทุ่งยั้งเมื่อเดินทางมาถึงกลางทางทางรู้สึกว่าย่ามหนักขึ้นเรื่อยๆ จึงเปิดย่ามดู เห็นมีหัวขมิ้นอยู่เต็มจึงโยนทิ้งไป เหลือเพียงเศษติดไว้(โดยไม่รู้ตัว)
ครั้นเมื่อออกพ้นหมู่บ้านออกมา ชายหนุ่มเปิดถุงย่ามดูอีกครั้งพบว่า เศษขมิ้นกลายเป็นทองคำเหลืองอร่าม แต่...อนิจจาช่างน่าเสียดายยิ่ง ไอ้ครั้นจะกลับเข้าไปหาขมิ้นที่โยนทิ้งไป ก็ไม่สามารถหาเส้นทางที่จากมาได้ถูกแล้ว
ขณะที่สาวชาวลับแลคนนั้นก็ต้องประสบชะตากรรมกลายเป็นแม่ม่ายลูกติด เกิดเป็นตำนานลับแลเมืองแม่ม่ายเล่าขานสืบต่อกันเรื่อยมา
ลับแลเมืองผลไม้
“ลับแล” ชื่อนี้จากเอกสารของทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ระบุว่าน่าจะมาจากคำว่า “ลับแลง” ซึ่งเป็นภาษาล้านนาเรียกขานบริเวณทางด้านเหนือของเมืองกัมโภช ที่มีภูมิประเทศสลับซับซ้อน
ลับแลวันนี้ ถือเป็นในเมืองท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนที่มีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจ อาทิ “วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง” “วัดพระแท่นศิลาอาสน์” “วัดเจดีย์คีรีวิหาร”(วัดป่าแก้ว) และ “น้ำตกแม่พูล”
นอกจากนี้ลับแล ยังเป็นเมืองที่เด่นในด้านอาหารการกิน มีของกินพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ อย่าง ข้าวแคบ หมี่พัน ข้าวพันผัก ลอดช่องเค็ม อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเมืองผลไม้ ที่มีการทำสวนแบบธรรมชาติบนภูเขา ซึ่งมองผ่านๆแล้วมองแทบไม่ออกว่านั่นมันสวนผลไม้หรือป่ากันแน่
ชาวสวนเมืองลับแลเขามีภูมิปัญญาการเสียบยอดอันน่าทึ่ง โดยสามารถนำยอดลองกองมาเสียบยอดบนต้นลางสาด เกิดเป็นผลไม้พันธุ์ใหม่ในชื่อ “ลางกอง” ขึ้นมา ซึ่งเป็นการนำคุณสมบัติเด่นของทั้งคู่มาผสมกัน ให้รสชาติอร่อย ยางน้อยมาก สามารถขายได้ราคาดีกว่า
ขณะที่ทุเรียนนั้น ชาวลับแลเขานิยมปลูกกันมากถึงกว่า 90 % ถือเป็นผลไม้ยอดนิยมที่มีภูมิปัญญาในการทำสวนทุเรียนบนเขาที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะวิธีการเก็บทุเรียนลับแลนั้นถือเป็นความอะเมซิ่งที่ชวนทึ่งทุกครั้งยามที่ผมได้เห็น
เรื่องของเรื่องมันมาจากการปลูกทุเรียนบนเขา ชาวบ้านที่นี่จึงคิดค้นวิธีที่ย่นระยะทางและระยะเวลาในการขนส่งทุเรียนข้ามภูเขา ด้วยการโยงลวดสลิงข้ามเขา และใช้วิธีชักรอกตะกร้าบรรทุกทุเรียนจากเขาลูกหนึ่งข้ามมายังเขาอีกลูกหนึ่งได้อย่างสะดวกโยธิน แต่ประทานโทษเห็นชาวบ้านเขาทำกันง่ายๆ แต่ถ้าไม่ชำนาญรับรองทำไม่ได้แน่
ครั้นเมื่อชักรอกเก็บผลทุเรียนได้มาแล้วยังไม่จบเพียงเท่านั้น มันยังมีขึ้นตอนการนำผลทุเรียนลงมาจากภูเขาด้วยการใช้มอเตอร์ไซค์ติดตะกร้าไว้ที่เบาะหลัง แล้วใส่ทุเรียนหรือผลไม้อื่นๆมาจนแน่นเอียด ก่อนขี่มอเตอร์ไซค์ลงมาจากภูเขาที่สูงชันเหมือนไม่มีอะไร เรื่องนี้ถือเป็นความสามารถเฉพาะตัวอันเกิดจากความชำนาญที่แม้แต่นักมอเตอร์ไซค์วิบากก็มิอาจลอกเลียนแบบได้
นอกจากภูมิปัญญาในการปลูก การเก็บ และการขนส่งแล้ว ชาวลับแลเขายังมีทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองอย่าง “หลงลับแล” กับ“หลินลับแล” เป็น 2 ยอดทุเรียนขึ้นชื่อที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวลับแลไม่น้อยเลย
ทุเรียนพื้นเมืองทั้งสองพันธุ์ ที่หลายๆคนมักเรียกคู่กันไปว่าทุเรียน“หลง-หลิน ลับแล” ได้ชื่อพันธุ์มาจากผู้ปลูกชาวสวนลับแล คือ “หลงลับแล” มาจากชื่อของ “นางหลง อุประ” ผู้คว้ารางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดทุเรียนของจังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อปี 2520 และได้รับการรับรองพันธุ์ในปี 2521 ก่อนที่จะนำยอดทุเรียนหลงลับแลจากต้นเดิมมาเสียบยอด ทาบกิ่ง ขยายพันธุ์ต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนหลินลับแลมาจากชื่อของ “นายหลิน ปันลาด” ที่นำเมล็ดทุเรียนพื้นเมืองมาปลูกแล้วเกิดการกลายพันธุ์เป็นทุเรียนพันธุ์ใหม่ที่ให้รสชาติดีกว่าเดิม นายหลินจึงส่งทุเรียนพันธุ์นี้เข้าร่วมประกวดในปี 2520 ด้วยเช่นกัน ซึ่งแม้เขาจะพลาดรางวัล แต่ด้วยความอร่อยของมันจึงมีผู้นิยมปลูกกลายเป็นทุเรียนพันธุ์ “หลินลับแล”ขึ้นมา
หลงลับแลกับหลินลับแลต่างกันตรงไหน แรกๆผมก็ไม่รู้หรอกจนเมื่อมีโอกาสไปลับแลได้กินทุเรียนทั้งสองพันธุ์พูดคุยกับชาวสวนทุเรียน จึงได้รู้ว่าในความเหมือนของทุเรียนทั้ง 2 พันธุ์มันมีรายละเอียดที่แตกต่างให้สังเกตง่ายๆดังนี้
หลงลับแล มีลักษณะของผลค่อนข้างกลม พูจะเต็มใหญ่ไม่เว้า ร่องพูไม่ลึก หนามเล็กแหลม ส่วนหลินลับแล ผลมีลักษณะเป็นร่องพลูลึกชัดเจน ทรงคล้ายมะเฟือง ลูกขนาดไล่เลี่ยกับหลงลับแลแต่มีลักษณะเรียวยาวกว่า
ทุเรียนทั้ง 2 พันธุ์มีจุดเด่นคล้ายกันคือ เนื้อหนา เม็ดเล็กมาก(เม็ดตาย) รสชาติหอมหวานมัน ส่วนข้อแตกต่างในเรื่องรสชาติคือ หลงรสจะหวานแหลมนำ ส่วนหลินรสหวานกลมกล่อม(หวานไม่มาก)
วันนี้ความนิยมของตลาด เท่าที่ผมสอบถามจากแม่ค้าพ่อค้าทุเรียนที่วางแผงขายอยู่ในเมืองลับแล ได้ความว่าหลินขายได้ราคาดีกว่า ตกอยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ 300 บาท ส่วนหลงอยู่ที่กิโลกรัมละ 150-200 บาท
ได้ยินแล้วผมถึงกับอึ้ง เพราะเมื่อ 6-7 ปีที่แล้วไปลับแล ราคาของทุเรียนทั้งคู่ตกอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 50-80 บาท มาปีนี้ราคาพุ่งพรวด แต่ถึงพรวดยังไงเราก็ยอมเสียเงินซื้อกิน เพราะนานๆกินที
อย่างไรก็ดีแม้หลง-หลินลับแลจะเป็นยอดทุเรียนขายได้ราคาดีมาก แต่วันนี้ชาวสวนทุเรียนลับแลกลับต้องประสบปัญหา หนอนเจาะเข้าไปกินเนื้อและเมล็ดของทุเรียนทั้งสองพันธุ์จนกระทบต่อการส่งออก จนนายฟื้น โชวันดี ประธานเครือข่ายเกษตรทางเลือกจังหวัดอุตรดิตถ์ต้องออกมาร้องเรียนว่า ปัญหาเรื่องหนอนเจาะเจาะเนื้อทุเรียนหลง-หลิน ที่ผ่านมาทางภาครัฐไม่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจัง แม้จะมีงบโครงการช่วยเหลือเกษตรกรของจังหวัดอุตรดิตถ์อยู่ 26.9 ล้านบาท แต่ก็ปรากฏว่างบนี้ถูกนำไปใช้แบบไม่เกิดประโยชน์ ซึ่งเขาได้ขอให้ทางจังหวัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเพราะไม่อยากให้งบประมาณถูกละลายไปโดยสูญเปล่า
สำหรับเรื่องนี้คงต้องติดตามดูกันต่อไป
เพราะหนอนกินเนื้อทุเรียนอย่างไรก็เทียบไม่ได้กับหนอนกินงบประมาณ
“ขอเพียงสัจจะวาจา
แม่ม่ายเมืองลับแล
หญิงที่ควรยกย่อง เชิดชูยึดมั่นในคุณความดี
ยอมเสียสละความรักเพื่อธำรงจารีตประเพณี
ของการรักษาวาจาสัตย์ไว้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติ
ของชาวเมืองลับแล ทุกคน”
ลับแลเมืองแม่ม่าย
ถ้าพูดถึงเพลง“รักแม่ม่าย” ต้องนึกถึง“ยอดรัก สลักใจ” ผู้ล่วงลับ
แต่ถ้าพูดถึงเมืองแม่ม่าย ก็ต้องนี่ “เมืองลับแล”(อ.ลับแล) แห่งจังหวัดอุตรดิตถ์
ทำไมลับแลถึงได้ชื่อว่าเมืองแม่ม่าย?
เรื่องนี้มีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า
...กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว หนุ่มชาวทุ่งยั้งคนหนึ่งเกิดพลัดหลงเข้าไปยังเมืองลับแลอันลึกลับ ไม่สามารถหาทางเข้าออกอย่างทั่วไปได้
ลับแลเป็นเมืองที่ยึดถือเรื่องสัจจะวาจาเป็นสำคัญ ใครที่มีพฤติกรรมโกหกไม่อาจที่จะอยู่เมืองนี้ได้ (หากเป็นจริงดังตำนาน เมืองนี้นักการเมืองไทยอยู่ไม่ได้แน่นอน)
หนุ่มทุ่งยั้งคนนั้นเมื่อเข้ามาอยู่ในลับแล เขาได้ไปผูกสัมพันธ์รักกับสาวลับแลนางหนึ่ง จนแต่งงานอยู่กินกันฉันท์ภรรยา-สามี มีลูกน้อยเป็นพยานรัก 1 คน
ทั้งคู่อยู่กันอย่างมีความสุข ผัวทำไร่ เมียเป็นแม่บ้าน
แต่มาวันหนึ่งผัวไม่สบาย เมียจึงออกไปทำงานแทน ทิ้งลูกน้อยไว้ในผัวดูแล
ความที่ผัวไม่สันทัดในการเลี้ยงลูก ทารกน้อยจึงร้องไห้กวนอยู่ตลอด ฝ่ายพ่อปลอบเท่าไหร่ก็ไม่หยุด สุดท้ายจึงโกหกหลอกลูกน้อยไปว่า “แม่ของลูกกลับมาแล้ว หยุดร้องเถิด”
เหมือนฟ้าลิขิต ฝ่ายเมียกลับมาถึงบ้านได้ยินพอดี ทำให้ฝ่ายผัวไม่สามารถอยู่เมืองนี้ต่อไปได้ เพราะผิดต่อหลักการของชาวลับแล เขาจึงต้องจำใจจำจากเมืองลับแลไป
ในวันจากลา เมื่อเมียมาส่งบอกเส้นทางออกจากหมู่บ้าน เธอได้มอบถุงย่ามให้สามีหนึ่งใบ พร้อมกำชับว่าห้ามเปิดย่ามจนกว่าจะพ้นหมู่บ้านไปจึงสามารถเปิดได้ แต่หนุ่มทุ่งยั้งเมื่อเดินทางมาถึงกลางทางทางรู้สึกว่าย่ามหนักขึ้นเรื่อยๆ จึงเปิดย่ามดู เห็นมีหัวขมิ้นอยู่เต็มจึงโยนทิ้งไป เหลือเพียงเศษติดไว้(โดยไม่รู้ตัว)
ครั้นเมื่อออกพ้นหมู่บ้านออกมา ชายหนุ่มเปิดถุงย่ามดูอีกครั้งพบว่า เศษขมิ้นกลายเป็นทองคำเหลืองอร่าม แต่...อนิจจาช่างน่าเสียดายยิ่ง ไอ้ครั้นจะกลับเข้าไปหาขมิ้นที่โยนทิ้งไป ก็ไม่สามารถหาเส้นทางที่จากมาได้ถูกแล้ว
ขณะที่สาวชาวลับแลคนนั้นก็ต้องประสบชะตากรรมกลายเป็นแม่ม่ายลูกติด เกิดเป็นตำนานลับแลเมืองแม่ม่ายเล่าขานสืบต่อกันเรื่อยมา
ลับแลเมืองผลไม้
“ลับแล” ชื่อนี้จากเอกสารของทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ระบุว่าน่าจะมาจากคำว่า “ลับแลง” ซึ่งเป็นภาษาล้านนาเรียกขานบริเวณทางด้านเหนือของเมืองกัมโภช ที่มีภูมิประเทศสลับซับซ้อน
ลับแลวันนี้ ถือเป็นในเมืองท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนที่มีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจ อาทิ “วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง” “วัดพระแท่นศิลาอาสน์” “วัดเจดีย์คีรีวิหาร”(วัดป่าแก้ว) และ “น้ำตกแม่พูล”
นอกจากนี้ลับแล ยังเป็นเมืองที่เด่นในด้านอาหารการกิน มีของกินพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ อย่าง ข้าวแคบ หมี่พัน ข้าวพันผัก ลอดช่องเค็ม อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเมืองผลไม้ ที่มีการทำสวนแบบธรรมชาติบนภูเขา ซึ่งมองผ่านๆแล้วมองแทบไม่ออกว่านั่นมันสวนผลไม้หรือป่ากันแน่
ชาวสวนเมืองลับแลเขามีภูมิปัญญาการเสียบยอดอันน่าทึ่ง โดยสามารถนำยอดลองกองมาเสียบยอดบนต้นลางสาด เกิดเป็นผลไม้พันธุ์ใหม่ในชื่อ “ลางกอง” ขึ้นมา ซึ่งเป็นการนำคุณสมบัติเด่นของทั้งคู่มาผสมกัน ให้รสชาติอร่อย ยางน้อยมาก สามารถขายได้ราคาดีกว่า
ขณะที่ทุเรียนนั้น ชาวลับแลเขานิยมปลูกกันมากถึงกว่า 90 % ถือเป็นผลไม้ยอดนิยมที่มีภูมิปัญญาในการทำสวนทุเรียนบนเขาที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะวิธีการเก็บทุเรียนลับแลนั้นถือเป็นความอะเมซิ่งที่ชวนทึ่งทุกครั้งยามที่ผมได้เห็น
เรื่องของเรื่องมันมาจากการปลูกทุเรียนบนเขา ชาวบ้านที่นี่จึงคิดค้นวิธีที่ย่นระยะทางและระยะเวลาในการขนส่งทุเรียนข้ามภูเขา ด้วยการโยงลวดสลิงข้ามเขา และใช้วิธีชักรอกตะกร้าบรรทุกทุเรียนจากเขาลูกหนึ่งข้ามมายังเขาอีกลูกหนึ่งได้อย่างสะดวกโยธิน แต่ประทานโทษเห็นชาวบ้านเขาทำกันง่ายๆ แต่ถ้าไม่ชำนาญรับรองทำไม่ได้แน่
ครั้นเมื่อชักรอกเก็บผลทุเรียนได้มาแล้วยังไม่จบเพียงเท่านั้น มันยังมีขึ้นตอนการนำผลทุเรียนลงมาจากภูเขาด้วยการใช้มอเตอร์ไซค์ติดตะกร้าไว้ที่เบาะหลัง แล้วใส่ทุเรียนหรือผลไม้อื่นๆมาจนแน่นเอียด ก่อนขี่มอเตอร์ไซค์ลงมาจากภูเขาที่สูงชันเหมือนไม่มีอะไร เรื่องนี้ถือเป็นความสามารถเฉพาะตัวอันเกิดจากความชำนาญที่แม้แต่นักมอเตอร์ไซค์วิบากก็มิอาจลอกเลียนแบบได้
นอกจากภูมิปัญญาในการปลูก การเก็บ และการขนส่งแล้ว ชาวลับแลเขายังมีทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองอย่าง “หลงลับแล” กับ“หลินลับแล” เป็น 2 ยอดทุเรียนขึ้นชื่อที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวลับแลไม่น้อยเลย
ทุเรียนพื้นเมืองทั้งสองพันธุ์ ที่หลายๆคนมักเรียกคู่กันไปว่าทุเรียน“หลง-หลิน ลับแล” ได้ชื่อพันธุ์มาจากผู้ปลูกชาวสวนลับแล คือ “หลงลับแล” มาจากชื่อของ “นางหลง อุประ” ผู้คว้ารางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดทุเรียนของจังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อปี 2520 และได้รับการรับรองพันธุ์ในปี 2521 ก่อนที่จะนำยอดทุเรียนหลงลับแลจากต้นเดิมมาเสียบยอด ทาบกิ่ง ขยายพันธุ์ต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนหลินลับแลมาจากชื่อของ “นายหลิน ปันลาด” ที่นำเมล็ดทุเรียนพื้นเมืองมาปลูกแล้วเกิดการกลายพันธุ์เป็นทุเรียนพันธุ์ใหม่ที่ให้รสชาติดีกว่าเดิม นายหลินจึงส่งทุเรียนพันธุ์นี้เข้าร่วมประกวดในปี 2520 ด้วยเช่นกัน ซึ่งแม้เขาจะพลาดรางวัล แต่ด้วยความอร่อยของมันจึงมีผู้นิยมปลูกกลายเป็นทุเรียนพันธุ์ “หลินลับแล”ขึ้นมา
หลงลับแลกับหลินลับแลต่างกันตรงไหน แรกๆผมก็ไม่รู้หรอกจนเมื่อมีโอกาสไปลับแลได้กินทุเรียนทั้งสองพันธุ์พูดคุยกับชาวสวนทุเรียน จึงได้รู้ว่าในความเหมือนของทุเรียนทั้ง 2 พันธุ์มันมีรายละเอียดที่แตกต่างให้สังเกตง่ายๆดังนี้
หลงลับแล มีลักษณะของผลค่อนข้างกลม พูจะเต็มใหญ่ไม่เว้า ร่องพูไม่ลึก หนามเล็กแหลม ส่วนหลินลับแล ผลมีลักษณะเป็นร่องพลูลึกชัดเจน ทรงคล้ายมะเฟือง ลูกขนาดไล่เลี่ยกับหลงลับแลแต่มีลักษณะเรียวยาวกว่า
ทุเรียนทั้ง 2 พันธุ์มีจุดเด่นคล้ายกันคือ เนื้อหนา เม็ดเล็กมาก(เม็ดตาย) รสชาติหอมหวานมัน ส่วนข้อแตกต่างในเรื่องรสชาติคือ หลงรสจะหวานแหลมนำ ส่วนหลินรสหวานกลมกล่อม(หวานไม่มาก)
วันนี้ความนิยมของตลาด เท่าที่ผมสอบถามจากแม่ค้าพ่อค้าทุเรียนที่วางแผงขายอยู่ในเมืองลับแล ได้ความว่าหลินขายได้ราคาดีกว่า ตกอยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ 300 บาท ส่วนหลงอยู่ที่กิโลกรัมละ 150-200 บาท
ได้ยินแล้วผมถึงกับอึ้ง เพราะเมื่อ 6-7 ปีที่แล้วไปลับแล ราคาของทุเรียนทั้งคู่ตกอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 50-80 บาท มาปีนี้ราคาพุ่งพรวด แต่ถึงพรวดยังไงเราก็ยอมเสียเงินซื้อกิน เพราะนานๆกินที
อย่างไรก็ดีแม้หลง-หลินลับแลจะเป็นยอดทุเรียนขายได้ราคาดีมาก แต่วันนี้ชาวสวนทุเรียนลับแลกลับต้องประสบปัญหา หนอนเจาะเข้าไปกินเนื้อและเมล็ดของทุเรียนทั้งสองพันธุ์จนกระทบต่อการส่งออก จนนายฟื้น โชวันดี ประธานเครือข่ายเกษตรทางเลือกจังหวัดอุตรดิตถ์ต้องออกมาร้องเรียนว่า ปัญหาเรื่องหนอนเจาะเจาะเนื้อทุเรียนหลง-หลิน ที่ผ่านมาทางภาครัฐไม่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจัง แม้จะมีงบโครงการช่วยเหลือเกษตรกรของจังหวัดอุตรดิตถ์อยู่ 26.9 ล้านบาท แต่ก็ปรากฏว่างบนี้ถูกนำไปใช้แบบไม่เกิดประโยชน์ ซึ่งเขาได้ขอให้ทางจังหวัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเพราะไม่อยากให้งบประมาณถูกละลายไปโดยสูญเปล่า
สำหรับเรื่องนี้คงต้องติดตามดูกันต่อไป
เพราะหนอนกินเนื้อทุเรียนอย่างไรก็เทียบไม่ได้กับหนอนกินงบประมาณ