โดย : หนุ่มลูกทุ่ง

ฉันได้ยินสาวๆในออฟฟิศเม้าท์มอยกันถึงเรื่องละครโบ๊เบ๊ ที่ออกอากาศทางช่อง 7 ตามประสาคอละครกันอย่างเมามัน ฉันจึงกลับไปดูบ้างตามที่โอกาสอำนวย เลยถือโอกาสนี้ไปเดินลุยกรุง “ย่านโบ๊เบ๊” นี้ซะเลย มาดูว่าปัจจุบันย่านโบ๊เบ๊แห่งนี้เป็นอย่างไร

สำหรับความเป็นมาของโบ๊เบ๊นั้น ผศ.ดร.บุญยง ชื่นสุวิมล ซึ่งทำงานวิจัยเรื่องโบ๊เบ๊ ความเปลี่ยนแปลงของระบบครอบครัวชุมชนชายไทยเชื้อสายจีนกับประวัติศาสตร์ ได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของโบ๊เบ๊ไว้ว่า ชื่อชุมชน “โบ๊เบ๊” เป็นชื่อที่เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า “บ๊งเบ้ง” ชื้อนี้มีที่มาจากอดีตขณะที่ยังเป็นตลาดขายเสื้อผ้าเก่าอยู่ ผู้คนที่มาค้าขายมักจะส่งเสียงดังหนวกหูจนคนแถบนี้เรียกว่า “ตลาดบ๊งเบ้ง”
ตลาดโบ๊เบ๊เริ่มก่อตัวเป็นชุมชนเมื่อประมาณปี พ.ศ.2470 แต่เดิมชาวโบ๊เบ๊ประกอบอาชีพหลากหลาย มีตั้งแต่อาชีพย้อมผ้าที่อาศัยน้ำจากคลองผดุงกรุงเกษม มีการปลูกเพิงขายน้ำชา โอเลี้ยง มะพร้าว เป็นต้น อันเป็นช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

ในระยะนั้นมีพ่อค้าแม่ค้าจำนวนหนึ่งตั้งแผงขายของกันอยู่ในบริเวณตรอกขี้เถ้า (ถนนดำรงรักษ์) โดยนำสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคสารพัดชนิดมาวางขายกันแบบแบกะดิน เมื่อสงครามอุบัติขึ้นมีเครื่องบินมาทิ้งระเบิดในกรุงเทพฯ กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าในละแวกนี้จึงได้ย้ายทำเลมาอาศัยผูกเพิงวางของขายกันในบริเวณลานดินหน้าวัดบรมนิวาสฯ ด้านริมคลองแสนแสบ จนทำให้ลานวัดเกือบจะกลายสภาพเป็นตลาดถาวร

ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2484-2488 เป็นช่วงที่สินค้าอุปโภคบริโภคขาดแคลน เนื่องจากภาวะสงคราม โดยเฉพาะเสื้อผ้าเครื่องนุ่มห่ม จึงมีผู้นำเสื้อผ้าเก่าที่ใช้แล้วยังอยู่ในสภาพดีมาจำหน่าย หรือแลกของใช้หรืออาหารอื่น เช่น ไข่ น้ำตาล การค้าขายอยู่ในลักษณะที่วางขายกับพื้นดิน ยังไม่มีการตั้งร้านค้าที่ถาวร ที่ชุมชนจึงอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมคล้ายแหล่งชุมชนแออัด

เมื่อสงครามสงบ ตลาดแบกะดินซึ่งอาศัยวางแผงขายของในบริเวณลานวัดบรมนิวาสฯ ก็ได้ยกเลิกไปตั้งแต่บัดนั้น และได้จัดให้พ่อค้าแม่ค้าย้ายข้ามฟากทางรถไฟไปตั้งในบริเวณที่ดินของวัด ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดโบ๊เบ๊ในปัจจุบัน ตลาดโบ๊เบ๊จึงถือกำเนิด ณ ที่ตรงจุดนั้นนั่นเอง การค้าขายได้เปลี่ยนจากวางขายกันบนพื้นดินมาตั้งเป็นร้านค้า จากชุมชนขนาดเล็กที่มีร้านค้าเพียงไม่กี่ร้านอยู่อย่างกระจัดกระจายและไม่เป็นระเบียบ ก็กลายเป็นขายในห้องแถวสองชั้นและชั้นเดียวเรียงรายในตรอก ผู้คนที่มาค้าขายมีทั้งชายไทยและชาวจีน มีตรอกเล็กๆซึ่งใช้เป็นทางเดินเรียกว่า ตรอกธรรมา รวมทั้งมีโรงซ่อมเรือ โรงสี โรงปูน โรงทำกระทะ โรงเลื่อย โรงปูน ไปจนถึงซ่องโสเภณี

ต่อมาชุมชนได้ขยายตัวออกไปข้ามคลองผดุงกรุงเกษม และถนนกรุงเกษมไปฝั่งตรงข้าม คือ ถนนกษัตริย์ศึกจนถึงสะพานเจริญราษฎ์ และเมื่อตลาดเจริญเติบโตมากขึ้นก็ได้ขยายต่อไปยังบริเวณที่เรียกว่าโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ ซึ่งแต่เดิมเรียกว่าตลาดผลไม้หลังตลาดมหานาค

ปัจจุบันสถานที่ตั้งอย่างเป็นทางการโบ๊เบ๊คือ ตรอกธรรมา บริเวณดั้งเดิมของโบ๊เบ๊นั้นคือบริเวณที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “ตลาดเก่า” ซึ่งเป็นที่ดินผืนเดียวกับวัด จนมีการสร้างรางรถไฟพาดผ่านระหว่างชุมชนกับวัดในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยตลาดเก่าเป็นตลาดที่ขายผ้าเก่าที่รับมาจากพ่อค้าคนกลางชาวไหหลำ ต่อมาก็จำหน่ายพวกเสื้อผ้าเด็ก คนแก่ ผ้าถุง กางเกงยีนส์ กางเกงขาก๊วย เสื้อผ้านักเรียน จนต่อมาโบ๊เบ๊ได้กลายมาเป็นตลาดจำหน่ายเสื้อผ้าขายส่งแหล่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ และเป็นแหล่งป้อนสินค้าให้กับร้านขายเสื้อผ้าตามต่างจังหวัดด้วย

ในวันนี้ชุมชนโบ๊เบ๊ถือเป็นชุมชนการค้าสำคัญแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ มีตึกแถวมากกว่า 500 คูหา มีแผงประมาณ 1,000 แผง มีแผงเปิดเฉพาะช่วงเช้าอีกประมาณ 100 แผง มีที่อยู่อาศัยเป็นตึกแถวทอดยาวไปจรดทางรถไฟ ด้านตรงข้ามกับคลองผดุงกรุงเกษมเป็นตึกแถวเช่นเดียวกัน ทอดยาวไปตามถนนไปจรดกับอาคารโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ ภายในโบ๊เบ๊ทาวเวอร์แบ่งเป็นห้องให้ซื้อหรือเช่าเพื่อขายสินค้าประเภทเสื้อผ้าดังที่เห็นในปัจจุบัน

ในวันที่ฉันได้ไปเดินเที่ยวโบ๊เบ๊ มีเสื้อผ้าสำเร็จรูปมากมายหลากหลาย ส่วนมากเป็นการขายยกแพ็คยกโหล ซึ่งจะได้ราคาถูกมาก คุ้มค่าจริงๆ แต่ก็มีบางร้านที่ขาย 3 ตัว หรือตัวเดียว ให้ได้แยกซื้อกันด้วย แต่ใครมาช้อปตอนกลางวันก็ต้องทำใจกันสักนิด เพราะด้วยอากาศที่ร้อนอบอ้าว บวกกับความแน่นขนัดของร้านค้า ทำเอาเหงื่อไหลไคลย้อยกันไปตามๆกัน

ถ้าใครอยากช้อปแบบเย็นๆหน่อยละก็ เข้าไปเดินเลือกสินค้าในห้องแอร์กันได้ที่โบ๊เบ๊ทาวเวอร์ หรือจะมาในช่วงตลาดเช้าที่จะมีตั้งแต่ประมาณ 3 ทุ่ม ไปจนถึง 6 โมงเช้าเลยทีเดียว อย่าคิดว่าจะคนน้อยโหรงเหรงเชียว เพราะจะมีร้านค้าส่วนใหญ่จะมารับของไปขายต่อในช่วงนี้ ทำให้คนเยอะสินค้าแยะ จนถนนเหลือให้รถวิ่งได้เพียงเลนเดียวเท่านั้น

และที่ตั้งอยู่ติดๆ กับตลาดโบ๊เบ๊ ก็คือตลาดมหานาค ที่ฉันเคยผ่านไปผ่านมาหลายครั้งและเห็นว่ามีผลไม้นานาชนิดวางขาย โดยเฉพาะผลไม้ตามฤดูกาลจะมีเยอะมากเป็นพิเศษจนได้ชื่อว่าเป็นตลาดผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯเลยก็ว่าได้ ที่ตลาดแห่งนี้มีทั้งขายปลีกและขายส่ง ดังนั้นนอกจากจะได้เลือกซื้อผลไม้หลายชนิดแล้ว ยังได้ในราคาย่อมเยาอีกด้วย

ฉันเองก็ได้เสื้อผ้าติดไม้ติดมือกลับบ้าน ทั้งของตัวเองและของฝากหลานๆ แถมยังได้เลือกซื้อผลไม้สดๆหลายชนิดกลับไปตุนที่บ้าน ให้ได้สุขภาพดีกันไปเลย

ฉันได้ยินสาวๆในออฟฟิศเม้าท์มอยกันถึงเรื่องละครโบ๊เบ๊ ที่ออกอากาศทางช่อง 7 ตามประสาคอละครกันอย่างเมามัน ฉันจึงกลับไปดูบ้างตามที่โอกาสอำนวย เลยถือโอกาสนี้ไปเดินลุยกรุง “ย่านโบ๊เบ๊” นี้ซะเลย มาดูว่าปัจจุบันย่านโบ๊เบ๊แห่งนี้เป็นอย่างไร
สำหรับความเป็นมาของโบ๊เบ๊นั้น ผศ.ดร.บุญยง ชื่นสุวิมล ซึ่งทำงานวิจัยเรื่องโบ๊เบ๊ ความเปลี่ยนแปลงของระบบครอบครัวชุมชนชายไทยเชื้อสายจีนกับประวัติศาสตร์ ได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของโบ๊เบ๊ไว้ว่า ชื่อชุมชน “โบ๊เบ๊” เป็นชื่อที่เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า “บ๊งเบ้ง” ชื้อนี้มีที่มาจากอดีตขณะที่ยังเป็นตลาดขายเสื้อผ้าเก่าอยู่ ผู้คนที่มาค้าขายมักจะส่งเสียงดังหนวกหูจนคนแถบนี้เรียกว่า “ตลาดบ๊งเบ้ง”
ตลาดโบ๊เบ๊เริ่มก่อตัวเป็นชุมชนเมื่อประมาณปี พ.ศ.2470 แต่เดิมชาวโบ๊เบ๊ประกอบอาชีพหลากหลาย มีตั้งแต่อาชีพย้อมผ้าที่อาศัยน้ำจากคลองผดุงกรุงเกษม มีการปลูกเพิงขายน้ำชา โอเลี้ยง มะพร้าว เป็นต้น อันเป็นช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
ในระยะนั้นมีพ่อค้าแม่ค้าจำนวนหนึ่งตั้งแผงขายของกันอยู่ในบริเวณตรอกขี้เถ้า (ถนนดำรงรักษ์) โดยนำสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคสารพัดชนิดมาวางขายกันแบบแบกะดิน เมื่อสงครามอุบัติขึ้นมีเครื่องบินมาทิ้งระเบิดในกรุงเทพฯ กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าในละแวกนี้จึงได้ย้ายทำเลมาอาศัยผูกเพิงวางของขายกันในบริเวณลานดินหน้าวัดบรมนิวาสฯ ด้านริมคลองแสนแสบ จนทำให้ลานวัดเกือบจะกลายสภาพเป็นตลาดถาวร
ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2484-2488 เป็นช่วงที่สินค้าอุปโภคบริโภคขาดแคลน เนื่องจากภาวะสงคราม โดยเฉพาะเสื้อผ้าเครื่องนุ่มห่ม จึงมีผู้นำเสื้อผ้าเก่าที่ใช้แล้วยังอยู่ในสภาพดีมาจำหน่าย หรือแลกของใช้หรืออาหารอื่น เช่น ไข่ น้ำตาล การค้าขายอยู่ในลักษณะที่วางขายกับพื้นดิน ยังไม่มีการตั้งร้านค้าที่ถาวร ที่ชุมชนจึงอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมคล้ายแหล่งชุมชนแออัด
เมื่อสงครามสงบ ตลาดแบกะดินซึ่งอาศัยวางแผงขายของในบริเวณลานวัดบรมนิวาสฯ ก็ได้ยกเลิกไปตั้งแต่บัดนั้น และได้จัดให้พ่อค้าแม่ค้าย้ายข้ามฟากทางรถไฟไปตั้งในบริเวณที่ดินของวัด ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดโบ๊เบ๊ในปัจจุบัน ตลาดโบ๊เบ๊จึงถือกำเนิด ณ ที่ตรงจุดนั้นนั่นเอง การค้าขายได้เปลี่ยนจากวางขายกันบนพื้นดินมาตั้งเป็นร้านค้า จากชุมชนขนาดเล็กที่มีร้านค้าเพียงไม่กี่ร้านอยู่อย่างกระจัดกระจายและไม่เป็นระเบียบ ก็กลายเป็นขายในห้องแถวสองชั้นและชั้นเดียวเรียงรายในตรอก ผู้คนที่มาค้าขายมีทั้งชายไทยและชาวจีน มีตรอกเล็กๆซึ่งใช้เป็นทางเดินเรียกว่า ตรอกธรรมา รวมทั้งมีโรงซ่อมเรือ โรงสี โรงปูน โรงทำกระทะ โรงเลื่อย โรงปูน ไปจนถึงซ่องโสเภณี
ต่อมาชุมชนได้ขยายตัวออกไปข้ามคลองผดุงกรุงเกษม และถนนกรุงเกษมไปฝั่งตรงข้าม คือ ถนนกษัตริย์ศึกจนถึงสะพานเจริญราษฎ์ และเมื่อตลาดเจริญเติบโตมากขึ้นก็ได้ขยายต่อไปยังบริเวณที่เรียกว่าโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ ซึ่งแต่เดิมเรียกว่าตลาดผลไม้หลังตลาดมหานาค
ปัจจุบันสถานที่ตั้งอย่างเป็นทางการโบ๊เบ๊คือ ตรอกธรรมา บริเวณดั้งเดิมของโบ๊เบ๊นั้นคือบริเวณที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “ตลาดเก่า” ซึ่งเป็นที่ดินผืนเดียวกับวัด จนมีการสร้างรางรถไฟพาดผ่านระหว่างชุมชนกับวัดในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยตลาดเก่าเป็นตลาดที่ขายผ้าเก่าที่รับมาจากพ่อค้าคนกลางชาวไหหลำ ต่อมาก็จำหน่ายพวกเสื้อผ้าเด็ก คนแก่ ผ้าถุง กางเกงยีนส์ กางเกงขาก๊วย เสื้อผ้านักเรียน จนต่อมาโบ๊เบ๊ได้กลายมาเป็นตลาดจำหน่ายเสื้อผ้าขายส่งแหล่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ และเป็นแหล่งป้อนสินค้าให้กับร้านขายเสื้อผ้าตามต่างจังหวัดด้วย
ในวันนี้ชุมชนโบ๊เบ๊ถือเป็นชุมชนการค้าสำคัญแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ มีตึกแถวมากกว่า 500 คูหา มีแผงประมาณ 1,000 แผง มีแผงเปิดเฉพาะช่วงเช้าอีกประมาณ 100 แผง มีที่อยู่อาศัยเป็นตึกแถวทอดยาวไปจรดทางรถไฟ ด้านตรงข้ามกับคลองผดุงกรุงเกษมเป็นตึกแถวเช่นเดียวกัน ทอดยาวไปตามถนนไปจรดกับอาคารโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ ภายในโบ๊เบ๊ทาวเวอร์แบ่งเป็นห้องให้ซื้อหรือเช่าเพื่อขายสินค้าประเภทเสื้อผ้าดังที่เห็นในปัจจุบัน
ในวันที่ฉันได้ไปเดินเที่ยวโบ๊เบ๊ มีเสื้อผ้าสำเร็จรูปมากมายหลากหลาย ส่วนมากเป็นการขายยกแพ็คยกโหล ซึ่งจะได้ราคาถูกมาก คุ้มค่าจริงๆ แต่ก็มีบางร้านที่ขาย 3 ตัว หรือตัวเดียว ให้ได้แยกซื้อกันด้วย แต่ใครมาช้อปตอนกลางวันก็ต้องทำใจกันสักนิด เพราะด้วยอากาศที่ร้อนอบอ้าว บวกกับความแน่นขนัดของร้านค้า ทำเอาเหงื่อไหลไคลย้อยกันไปตามๆกัน
ถ้าใครอยากช้อปแบบเย็นๆหน่อยละก็ เข้าไปเดินเลือกสินค้าในห้องแอร์กันได้ที่โบ๊เบ๊ทาวเวอร์ หรือจะมาในช่วงตลาดเช้าที่จะมีตั้งแต่ประมาณ 3 ทุ่ม ไปจนถึง 6 โมงเช้าเลยทีเดียว อย่าคิดว่าจะคนน้อยโหรงเหรงเชียว เพราะจะมีร้านค้าส่วนใหญ่จะมารับของไปขายต่อในช่วงนี้ ทำให้คนเยอะสินค้าแยะ จนถนนเหลือให้รถวิ่งได้เพียงเลนเดียวเท่านั้น
และที่ตั้งอยู่ติดๆ กับตลาดโบ๊เบ๊ ก็คือตลาดมหานาค ที่ฉันเคยผ่านไปผ่านมาหลายครั้งและเห็นว่ามีผลไม้นานาชนิดวางขาย โดยเฉพาะผลไม้ตามฤดูกาลจะมีเยอะมากเป็นพิเศษจนได้ชื่อว่าเป็นตลาดผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯเลยก็ว่าได้ ที่ตลาดแห่งนี้มีทั้งขายปลีกและขายส่ง ดังนั้นนอกจากจะได้เลือกซื้อผลไม้หลายชนิดแล้ว ยังได้ในราคาย่อมเยาอีกด้วย
ฉันเองก็ได้เสื้อผ้าติดไม้ติดมือกลับบ้าน ทั้งของตัวเองและของฝากหลานๆ แถมยังได้เลือกซื้อผลไม้สดๆหลายชนิดกลับไปตุนที่บ้าน ให้ได้สุขภาพดีกันไปเลย