โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
เมื่อวันหยุดที่ผ่านมา ฉันมีโอกาสได้ไปร่วมทริปเดินเที่ยวย่านสามเสน-เทเวศร์ กับคุณจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ และประธานชมรมสยามทัศน์ มาเป็นผู้บรรยายเรื่องราวต่างๆของสถานที่แต่ละแห่งที่เราจะเดินเท้าเที่ยวในครั้งนี้
สำหรับสถานที่แรก เราออกประเดิมที่ “วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร” ถ.สามเสน วัดเก่าแก่ที่เชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยละโว้ เดิมชื่อวัด “สมอราย” สันนิษฐานว่ามาจากภาษาเขมรว่าถมอราย แปลว่าหินเรียงราย ตามหลักฐานปรากฏว่าได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาถ
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการบูรณะอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งที่วัดแห่งนี้ได้ถือเป็นจุดกำเนิดของคณะธรรมยุตินิกาย ที่พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎทรงริเริ่มขึ้น จนในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดราชาธิวาสวิหาร”
ครั้งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 สภาพวัดทรุดโทรมลงมาก พระองค์จึงมีพระราชดำริให้รื้อแล้วสร้างใหม่ขึ้นมาหมดทั้งวัดในปี พ.ศ.2451 โดยมีสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ นายช่างใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงออกแบบและเป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง
พระอุโบสถที่ไม่ได้ออกแบบตามประเพณีนิยม แต่มีการประยุกต์แนวคิดสมัยใหม่ที่เน้นความงามทางทรวดทรงเรขาคณิตมาประกอบกับโครงสร้างแบบเดิม เป็นอาคารทรงขอม หน้าบันประยุกต์แบบศิลปะลพบุรี มีการตกแต่งลวดลายของอาคารโดยใช้เทคนิคการปั้นและถอดพิมพ์ปั้นหล่อ
ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของพระสัมพุทธพรรณีจำลอง ซึ่งรัชกาลที่ 5 โปรดให้หล่อเพื่อเป็นการอุทิศพระราชกุศลถวายแด่รัชกาลที่ 4 บริเวณรอบองค์พระประธานมีซุ้มเรือนแก้วขนาดใหญ่เป็นภาพตราพระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 1-5 และมีภาพเทวดาและภาพจิตกรรมพระเวสสันดรชาดกที่ผนังพระอุโบสถ ซึ่งเขียนและลงสีด้วยเทคนิคแบบตะวันตกที่เรียกว่าเฟรสโก โดยท่านศาสตราจารย์ ริโกลี นายช่างใหญ่ชาวอิตาเลียนในสมัยรัชกาลที่ 6
ภายในห้องด้านหลังของพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของพระสัมพุทธวัฒโนภาส พระประธานองค์เดิมของวัด ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบอู่ทอง นอกจากนี้ภายในวัดยังมีศาลาการเปรียญแบบไทยประเพณีที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ สร้างขึ้นด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ภายในมีบุษบกและยานมาสน์ที่ใช้สำหรับแสดงธรรมและเก็บวัตถุโบราณ
ชมวัดราชาธิวาสกันแล้วก็เดินเท้าข้ามฝั่งไปยัง “วังสวนสุนันทา” สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2450 ภายหลังจากที่รัชกาลที่ 5 เสด็จกลับจากการปะพาสยุโรปครั้งที่ 2 เนื่องด้วยมีพระราชดำริว่าบริเวณพระที่นั่งอัมพรสถานนั้นมีความพลุกพล่านขาดความเป็นส่วนตัว ทรงนึกถึงบริเวณสวนแห่งใหม่ที่อยู่ท้ายวังสวนดุสิต จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักแบบ “บ้านนอกในวัง” ตามที่ทรงถอดแบบมาจากพระราชวังเบรินสตอฟในเดนมาร์ค
ทรงวางแบบแผนผัง ควบคุมการก่อสร้าง และคัดเลือกพันธุ์ไม้มาปลูกให้เป็นอุทยานด้วยพระองค์เอง พร้อมทั้งได้พระราชทานนามว่า “สวนสุนันทา” เพื่อเป็นพระราชานุสรณ์แห่งความรักในสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ หรือที่รู้จักในนามพระนางเรือล่มนั้นเอง
แต่การก่อสร้างยังไม่เสร็จพระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารต่างๆจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2462 ประกอบไปด้วย 32 ตำหนัก บรรดาเจ้านายฝ่ายใน 24 พระองค์ และเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 จำนวน13ท่าน ได้เสร็จมาประทับ จึงถือได้ว่าในช่วงรัชกาลที่ 6-7 วังสวนสุนันทาเป็นศูนย์กลางของราชสำนักฝ่ายในที่ใหญ่ที่สุด โดยมีสมเด็จพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏฯ เป็นร่มโพธิ์ทองของชาววังในสมัยนั้น
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 วังสวนสุนันทาได้กลายมาเป็นวังร้าง จนเมื่อปี พ.ศ.2480 จึงได้ตั้งเป็นสถานศึกษาสำหรับสตรี จนกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และเหลือตำหนักอยู่ 6 หลังในปัจจุบัน
ปัจจุบันหนึ่งในตำหนัก 6 หลังที่เหลืออยู่ ได้จัดให้เป็นสำนักศิลปะและวัฒนธรรม จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆที่เคยใช้ในสมัยก่อน อาทิ ห้องนอนของเจ้านายฝ่ายใน รูปถ่ายเก่า ภาพเขียนดอกไม้ภายในวังสวนสุนันทาที่เป็นฝีมือของข้าหลวงภายในวัง หุ่นละครต่างๆ เป็นต้น
จากนั้นพวกเราเดินเท้ากันมายังแยกสี่เสาเทเวศร์ เพื่อไปยัง “วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร”เรียกอีกชื่อว่า “วัดสมอแครง” อันแปลว่าหินแกร่ง สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่บ้างก็เชื่อว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยละโว้ ครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 กรมพระพิทักษ์เทเวศรได้บูรณปฏิสังขรณ์ รัชกาลที่ 4 จึงทรงรับวัดแห่งนี้เป็นพระอารามหลวง และพระราชทานนานว่า “วัดเทวราชกุญชร”
สถานที่สำคัญภายในวัดนี้คือพระอุโบสถขนาดใหญ่ ภายในมีภาพจิตกรรมที่งดงามเป็นหมู่เทวดาชุมนุมขณะที่พระพุทธองค์ทรงโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และยังมีภาพภิกษุปลงอสุกรรมฐานซึ่งหาชมได้ยาก ส่วนพระประธานภายในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ฝีมือช่างสมัยทวารวดี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานนามว่า พระพุทธเทวราชปฏิมากร
นอกจากพระอุโบสถแล้วยังมีวิหารจัตุรมุขที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กุฏิสงฆ์ทรงปั้นหยา อีกทั้งยังมี “พิพิธภัณฑ์สักทอง” ที่เป็นอาคารทรงปั้นหยาสร้างด้วยไม้สักทองหลังใหญ่ ภายในจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม และยังบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระสยามเทวาธิราช พระพุทธรูปหลากสมัย และพระสังฆราชในสมัยต่างๆ
จากนั้นสุดท้ายคุณจุลภัสสรพาพวกเราเดินข้ามคลองผดุงกรุงเกษมไปยัง “วัดนรนาถสุนทริการาม” หรือ “วัดเทพยพลี” บางคนก็เรียกเพี้ยนไปเป็น “วัดฉิมพลี” สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นระหว่างปลายรัชกาลที่ 2 ต่อมาในต้นรัชกาลที่ 5 พระยาโชฏึกราชเศรษฐี ครั้งยังเป็นพระยานรนาถภักดี กับภรรยา มีจิตศรัทธาสละทรัพย์ทำการปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งหมด
เมื่อปฏิสังขรณ์เสร็จจึงได้น้อมถวายแด่รัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ก็ได้รับไว้เป็นพระอารามหลวงและพระราชทานนามใหม่เมื่อปี พ.ศ.2418 ว่า “วัดนรนาถสุนทริการาม” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ทรงเห็นความทรุดโทรมของวัดจึงทรงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอู่ทองเขตขัติยนารี พระราชธิดาในสมเด็จพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏฯช่วยบูรณะอีกครั้งหนึ่ง
สิ่งสำคัญภายในวัดแห่งนี้คือพระอุโบสถลักษณะทรงไทยก่ออิฐถือปูน ซุ้มประตูหน้าต่างด้านนอกเป็นปูนปั้นลายดอกไม้ บานหน้าต่างด้านในเขียนภาพพุทธประวัติด้วยสีน้ำมัน หน้าบันใช้ปูนปั้นเป็นลายเถาเปลว ตรงกลางหน้าบันมีรูปปูนปั้นพระอินทร์ประทับนั่งบนแท่นลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี
ใกล้ๆกันคือพระวิหารก่ออิฐถือปูนแบบจีน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี มีลายปูนปั้นสิงโตคู่ที่หน้าบัน ภายในวิหารประดิษฐานพระประธาน เมื่อพวกเรากราบไหว้แล้วก็ถือเป็นอันจบทริปวันนี้ ที่ทั้งสนุกกับเรื่องราวประวัติศาสตร์พร้อมทั้งอิ่มบุญกันไปอย่างถ้วนหน้ากันเลยทีเดียว
เมื่อวันหยุดที่ผ่านมา ฉันมีโอกาสได้ไปร่วมทริปเดินเที่ยวย่านสามเสน-เทเวศร์ กับคุณจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ และประธานชมรมสยามทัศน์ มาเป็นผู้บรรยายเรื่องราวต่างๆของสถานที่แต่ละแห่งที่เราจะเดินเท้าเที่ยวในครั้งนี้
สำหรับสถานที่แรก เราออกประเดิมที่ “วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร” ถ.สามเสน วัดเก่าแก่ที่เชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยละโว้ เดิมชื่อวัด “สมอราย” สันนิษฐานว่ามาจากภาษาเขมรว่าถมอราย แปลว่าหินเรียงราย ตามหลักฐานปรากฏว่าได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาถ
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการบูรณะอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งที่วัดแห่งนี้ได้ถือเป็นจุดกำเนิดของคณะธรรมยุตินิกาย ที่พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎทรงริเริ่มขึ้น จนในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดราชาธิวาสวิหาร”
ครั้งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 สภาพวัดทรุดโทรมลงมาก พระองค์จึงมีพระราชดำริให้รื้อแล้วสร้างใหม่ขึ้นมาหมดทั้งวัดในปี พ.ศ.2451 โดยมีสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ นายช่างใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงออกแบบและเป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง
พระอุโบสถที่ไม่ได้ออกแบบตามประเพณีนิยม แต่มีการประยุกต์แนวคิดสมัยใหม่ที่เน้นความงามทางทรวดทรงเรขาคณิตมาประกอบกับโครงสร้างแบบเดิม เป็นอาคารทรงขอม หน้าบันประยุกต์แบบศิลปะลพบุรี มีการตกแต่งลวดลายของอาคารโดยใช้เทคนิคการปั้นและถอดพิมพ์ปั้นหล่อ
ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของพระสัมพุทธพรรณีจำลอง ซึ่งรัชกาลที่ 5 โปรดให้หล่อเพื่อเป็นการอุทิศพระราชกุศลถวายแด่รัชกาลที่ 4 บริเวณรอบองค์พระประธานมีซุ้มเรือนแก้วขนาดใหญ่เป็นภาพตราพระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 1-5 และมีภาพเทวดาและภาพจิตกรรมพระเวสสันดรชาดกที่ผนังพระอุโบสถ ซึ่งเขียนและลงสีด้วยเทคนิคแบบตะวันตกที่เรียกว่าเฟรสโก โดยท่านศาสตราจารย์ ริโกลี นายช่างใหญ่ชาวอิตาเลียนในสมัยรัชกาลที่ 6
ภายในห้องด้านหลังของพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของพระสัมพุทธวัฒโนภาส พระประธานองค์เดิมของวัด ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบอู่ทอง นอกจากนี้ภายในวัดยังมีศาลาการเปรียญแบบไทยประเพณีที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ สร้างขึ้นด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ภายในมีบุษบกและยานมาสน์ที่ใช้สำหรับแสดงธรรมและเก็บวัตถุโบราณ
ชมวัดราชาธิวาสกันแล้วก็เดินเท้าข้ามฝั่งไปยัง “วังสวนสุนันทา” สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2450 ภายหลังจากที่รัชกาลที่ 5 เสด็จกลับจากการปะพาสยุโรปครั้งที่ 2 เนื่องด้วยมีพระราชดำริว่าบริเวณพระที่นั่งอัมพรสถานนั้นมีความพลุกพล่านขาดความเป็นส่วนตัว ทรงนึกถึงบริเวณสวนแห่งใหม่ที่อยู่ท้ายวังสวนดุสิต จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักแบบ “บ้านนอกในวัง” ตามที่ทรงถอดแบบมาจากพระราชวังเบรินสตอฟในเดนมาร์ค
ทรงวางแบบแผนผัง ควบคุมการก่อสร้าง และคัดเลือกพันธุ์ไม้มาปลูกให้เป็นอุทยานด้วยพระองค์เอง พร้อมทั้งได้พระราชทานนามว่า “สวนสุนันทา” เพื่อเป็นพระราชานุสรณ์แห่งความรักในสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ หรือที่รู้จักในนามพระนางเรือล่มนั้นเอง
แต่การก่อสร้างยังไม่เสร็จพระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารต่างๆจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2462 ประกอบไปด้วย 32 ตำหนัก บรรดาเจ้านายฝ่ายใน 24 พระองค์ และเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 จำนวน13ท่าน ได้เสร็จมาประทับ จึงถือได้ว่าในช่วงรัชกาลที่ 6-7 วังสวนสุนันทาเป็นศูนย์กลางของราชสำนักฝ่ายในที่ใหญ่ที่สุด โดยมีสมเด็จพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏฯ เป็นร่มโพธิ์ทองของชาววังในสมัยนั้น
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 วังสวนสุนันทาได้กลายมาเป็นวังร้าง จนเมื่อปี พ.ศ.2480 จึงได้ตั้งเป็นสถานศึกษาสำหรับสตรี จนกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และเหลือตำหนักอยู่ 6 หลังในปัจจุบัน
ปัจจุบันหนึ่งในตำหนัก 6 หลังที่เหลืออยู่ ได้จัดให้เป็นสำนักศิลปะและวัฒนธรรม จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆที่เคยใช้ในสมัยก่อน อาทิ ห้องนอนของเจ้านายฝ่ายใน รูปถ่ายเก่า ภาพเขียนดอกไม้ภายในวังสวนสุนันทาที่เป็นฝีมือของข้าหลวงภายในวัง หุ่นละครต่างๆ เป็นต้น
จากนั้นพวกเราเดินเท้ากันมายังแยกสี่เสาเทเวศร์ เพื่อไปยัง “วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร”เรียกอีกชื่อว่า “วัดสมอแครง” อันแปลว่าหินแกร่ง สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่บ้างก็เชื่อว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยละโว้ ครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 กรมพระพิทักษ์เทเวศรได้บูรณปฏิสังขรณ์ รัชกาลที่ 4 จึงทรงรับวัดแห่งนี้เป็นพระอารามหลวง และพระราชทานนานว่า “วัดเทวราชกุญชร”
สถานที่สำคัญภายในวัดนี้คือพระอุโบสถขนาดใหญ่ ภายในมีภาพจิตกรรมที่งดงามเป็นหมู่เทวดาชุมนุมขณะที่พระพุทธองค์ทรงโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และยังมีภาพภิกษุปลงอสุกรรมฐานซึ่งหาชมได้ยาก ส่วนพระประธานภายในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ฝีมือช่างสมัยทวารวดี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานนามว่า พระพุทธเทวราชปฏิมากร
นอกจากพระอุโบสถแล้วยังมีวิหารจัตุรมุขที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กุฏิสงฆ์ทรงปั้นหยา อีกทั้งยังมี “พิพิธภัณฑ์สักทอง” ที่เป็นอาคารทรงปั้นหยาสร้างด้วยไม้สักทองหลังใหญ่ ภายในจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม และยังบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระสยามเทวาธิราช พระพุทธรูปหลากสมัย และพระสังฆราชในสมัยต่างๆ
จากนั้นสุดท้ายคุณจุลภัสสรพาพวกเราเดินข้ามคลองผดุงกรุงเกษมไปยัง “วัดนรนาถสุนทริการาม” หรือ “วัดเทพยพลี” บางคนก็เรียกเพี้ยนไปเป็น “วัดฉิมพลี” สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นระหว่างปลายรัชกาลที่ 2 ต่อมาในต้นรัชกาลที่ 5 พระยาโชฏึกราชเศรษฐี ครั้งยังเป็นพระยานรนาถภักดี กับภรรยา มีจิตศรัทธาสละทรัพย์ทำการปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งหมด
เมื่อปฏิสังขรณ์เสร็จจึงได้น้อมถวายแด่รัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ก็ได้รับไว้เป็นพระอารามหลวงและพระราชทานนามใหม่เมื่อปี พ.ศ.2418 ว่า “วัดนรนาถสุนทริการาม” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ทรงเห็นความทรุดโทรมของวัดจึงทรงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอู่ทองเขตขัติยนารี พระราชธิดาในสมเด็จพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏฯช่วยบูรณะอีกครั้งหนึ่ง
สิ่งสำคัญภายในวัดแห่งนี้คือพระอุโบสถลักษณะทรงไทยก่ออิฐถือปูน ซุ้มประตูหน้าต่างด้านนอกเป็นปูนปั้นลายดอกไม้ บานหน้าต่างด้านในเขียนภาพพุทธประวัติด้วยสีน้ำมัน หน้าบันใช้ปูนปั้นเป็นลายเถาเปลว ตรงกลางหน้าบันมีรูปปูนปั้นพระอินทร์ประทับนั่งบนแท่นลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี
ใกล้ๆกันคือพระวิหารก่ออิฐถือปูนแบบจีน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี มีลายปูนปั้นสิงโตคู่ที่หน้าบัน ภายในวิหารประดิษฐานพระประธาน เมื่อพวกเรากราบไหว้แล้วก็ถือเป็นอันจบทริปวันนี้ ที่ทั้งสนุกกับเรื่องราวประวัติศาสตร์พร้อมทั้งอิ่มบุญกันไปอย่างถ้วนหน้ากันเลยทีเดียว