โดย : ปิ่น บุตรี
ทุกปีๆช่วงคืนวันออกพรรษา ในแม่น้ำโขงจังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะที่ อ.โพนพิสัย จะมีปรากฏการณ์ “บั้งไฟพญานาค”เป็นลูกไฟประหลาดพวยพุ่งขึ้นมาจากใต้ลำน้ำโขง
บ้างก็ว่าบั้งไฟพญานาค เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ บ้างก็ว่าเกิดจากน้ำมือมนุษย์ และบ้างก็(เชื่อ)ว่าเกิดจากการกระทำของพญานาค เพราะจังหวัดหนองคายได้ชื่อว่าเป็น“เมืองพญานาค”
นอกจากบั้งไฟพญานาคแล้ว ในจังหวัดหนองคายยังมีความเชื่อ(ส่วนบุคคล)เกี่ยวกับพญานาคอีกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ความเชื่อว่า มีเมืองมีวังพญานาคอยู่ที่นี่ มีถ้ำประหลาดที่เชื่อกันว่าเป็นถ้ำพญานาค มีคนเคยเห็นสัตว์ตัวยาวในแม่น้ำโขงที่เชื่อกันว่าเป็นพญานาค มีร่องรอยที่ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นรอยพญานาค มีวัดที่เกี่ยวพันกับพญานาค รวมไปถึงมีพระธาตุที่มีความเกี่ยวโยงกับพญานาค อย่าง “พระธาตุบังพวน” ประดิษฐานอยู่
พระธาตุบังพวน เป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองหนองคาย ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุบังพวน ต.พระธาตุบังพวน อ.เมือง ตามตำนานอุรังคธาตุกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาลพื้นที่แห่งนี้คือ“ภูเขาลวง”ริมน้ำบางพวน(หรือภูลวง)เป็นที่อยู่อาศัยของพญานาค ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับยังดินแดนแถบลุ่มน้ำโขง พญานาคได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ทำให้ดินแดนแห่งนี้ถูกยกให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
จากนั้นในสมัยของพระเจ้าจันทน์บุรี เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์(ตามตำนานกล่าวไว้อย่างนั้น แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าคือพระองค์ใด ยุคสมัยใด) ได้มีพระอรหันต์ 5 องค์ เดินทางไปยังเมืองราชคฤห์ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุกระดูกหัวเหน่ากลับมา แล้วจึงสร้างพระธาตุขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ภูลวง
ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่ามาจากตำนานอุรังคธาตุเหมือนกัน แต่ที่มาของการกำเนิดพระธาตุไม่เหมือนกัน คือ เชื่อว่า หลังการก่อสร้างพระธาตุพนมเสร็จสิ้น เหล่าพระอรหันต์ 500 องค์ที่ทำการสร้างพระธาตุพนมได้เดินทางไปอินเดีย อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า นำมาประดิษฐานไว้ยังสถานที่ 4 แห่ง ในเมืองหนองคายและเมืองเวียงจันทน์ โดยหนึ่งในนั้นก็คือ พระธาตุบังพวนนั่นเอง
นั่นเป็นที่มาคร่าวๆจากตำนานอุรังคธาตุ ซึ่งแตกต่างไปจากตำนานความเชื่อพื้นบ้านที่แม้จะไม่ได้ระบุยุคสมัยการสร้างพระธาตุบังพวน แต่ได้ระบุว่าคำว่า“บังพวน” แผลงมาจากคำว่า“บังคน” (หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า“ขี้โผ่น”)ที่แปลว่ากระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเชื่อว่าพระธาตุองค์นี้ภายในบรรจุพระบังคนหนักของพระพุทธเจ้าเอาไว้
ในขณะที่หลักฐานทางโบราณคดีไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่าพระธาตุบังพวนสร้างขึ้นในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าอย่างน้อยน่าจะสร้างขั้นก่อนสมัยพระเจ้าโพธิสาลราช(กษัตริย์ล้านช้าง) แล้วมีการบูรณะครั้งสำคัญในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งอาณาจักรล้านช้าง โดยทำการก่อพระธาตุองค์ใหญ่ครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ ซึ่งสันนิษฐานว่าพระธาตุองค์เดิมเป็นสถูปแบบอินเดีย
กระทั่ง ปี พ.ศ. 2513 เกิดภัยธรรมชาติจนพระธาตุบังพวนพังทลายลงมา จากนั้นในปี พ.ศ. 2520 ทางกรมศิลปากร ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุขึ้นมาใหม่ตามแบบรูปทรงเดิม และทางวัดจัดให้มีการเฉลิมฉลองสมโภชองค์พระธาตุกันทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
พระธาตุบังพวนมีรูปแบบงานศิลปกรรมเป็นธาตุเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมแบ่งเป็นช่วงๆซ้อนชั้น ลดขนาดเรียวแหลมขึ้นไป ดูสวยงามสมส่วน
ในวัดพระธาตุบังพวนนอกจากจะมีพระธาตุบังพวนเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นเจดีย์ประธานแล้ว ยังมีสิ่งน่าสนใจอีกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สถูปเจดีย์เก่าแก่ พระพุทธรูปโบราณศิลปะล้านช้างที่น่าสนใจยิ่ง โบสถ์โบราณที่เหลือเพียงซากอิฐก่อระดับเอว รวมถึงสถานที่เกี่ยวกับพญานาคอีกแห่งหนึ่ง นั่นก็คือ “สระมุจลินท์” หรือ “สระพญานาค” สระน้ำเก่าแก่สุดคลาสสิค ที่มีตำนานเล่าว่า หลังอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ ได้เกิดปรากฏการณ์ประหลาด มีสายน้ำพวยพุ่งออกมาจากพื้นดินซึ่งเชื่อว่านี่คือปากปล่องภูพญานาคที่เฝ้าปกปักรักษาพระธาตุบังพวน จึงมีการขุดเป็นสระน้ำขึ้นตามมาในภายหลัง
สระพญานาค มีการสร้างรูปปั้นพญานาค 7 เศียรอันขรึมขลังสวยงามคลาสสิคไว้กลางสระ สระแห่งนี้ถือเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัด สมัยโบราณเมื่อมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองก็จะมีการนำน้ำจากสระนี้ไปสรงเพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนในปัจจุบันน้ำในสระแห่งนี้ถูกนำไปใช้ในพิธีสรงมูรธราชาภิเษก พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา และพิธีศักดิ์สิทธิ์สำคัญๆในรัชกาลปัจจุบันเป็นประจำ
ของดีในวัดพระธาตุบังพวนยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะในวันที่ผมเข้าไปเที่ยวชมวัด ท่านเจ้าอาวาสแนะนำว่า เมื่อมาที่นี่แล้วต้องอย่าพลาดการชม “สัตตมหาสถาน”โบราณ ที่เป็นของดีระดับโลก หลงเหลือในโลกนี้อยู่เพียงไม่กี่แห่ง ในเมืองไทยมีที่วัดเจดีย์เจ็ดยอด เชียงใหม่ และที่วัดสุทัศน์ กทม.
สัตตมหาสถาน เป็นการจำลองสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 7 แห่ง(7 สิ่ง) ได้แก่
โพธิบัลลังก์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์เป็นเวลา 7 วัน ภายหลังการตรัสรู้ในช่วงสัปดาห์แรก จากนั้นจึงเสด็จลงจากวัชรอาสน์
อนิมมิสเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับยืนทอดพระเนตรโพธิบัลลังก์ในสัปดาห์ที่ 2 เป็นเวลา 7 วันโดยมิได้กะพริบพระเนตร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโพธิบัลลังก์
รัตนจงกรมเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมในสัปดาห์ที่ 3 อยู่ 7 วัน เพื่อแสดงปาฏิหาริย์ และบรรเทาความกังขาของเทวดา
รัตนฆรเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกในสัปดาห์ที่ 4 เป็นเวลา 7 วัน ในเรือนแก้วที่เทพยดานิมิตถวาย
อชาปาลนิโครธเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับได้ต้นไทรซึ่งเป็นที่พักของคนเลี้ยงแพะ เป็นเวลา 7 วัน เพื่อเสวยวิมุตติผลสมาบัติในสัปดาห์ที่ 5 โดยทรงมีพุทธฎีกาต่อนางมารว่า พระองค์ทรงละซึ่งกิเลสหมดสิ้นแล้ว
มุจลินทเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นจิกเสวยวิมุตติผลเป็นเวลา 7 วัน ในสัปดาห์ที่ 6 ใกล้สระน้ำ โดยมีพญานาคนาม “มุจจลินท์” ขึ้นมาแผ่พังพานป้องกันลมฝนให้พระพุทธองค์
ราชายตนะเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นเกดเสวยวิมุติผลสมาบัติเป็นเวลา 7 วัน โดยมีพระอินทร์ถวายผลสมอทิพย์ และมี 2 พาณิชย์หนุ่มถวายข้าวสัตตุ จึงเกิดปฐมอุบาสกในพุทธศาสนาขึ้น
และนั่นก็เป็นสัตตมหาสถาน 7 แห่งในวัดพระธาตุบังพวนที่ชวนยลด้วยความที่เป็นของดีหายากมีไม่กี่แห่งในโลก ซึ่งท่านเจ้าอาวาสกระซิบบอกกับผมว่า
“สัตตมหาสถานที่ยังหลงเหลือซากโบราณมาตั้งแต่ยุคอดีตถึงปัจจุบันครบ 7 สิ่ง มีที่นี่แห่งเดียวในโลกเท่านั้น”
ทุกปีๆช่วงคืนวันออกพรรษา ในแม่น้ำโขงจังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะที่ อ.โพนพิสัย จะมีปรากฏการณ์ “บั้งไฟพญานาค”เป็นลูกไฟประหลาดพวยพุ่งขึ้นมาจากใต้ลำน้ำโขง
บ้างก็ว่าบั้งไฟพญานาค เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ บ้างก็ว่าเกิดจากน้ำมือมนุษย์ และบ้างก็(เชื่อ)ว่าเกิดจากการกระทำของพญานาค เพราะจังหวัดหนองคายได้ชื่อว่าเป็น“เมืองพญานาค”
นอกจากบั้งไฟพญานาคแล้ว ในจังหวัดหนองคายยังมีความเชื่อ(ส่วนบุคคล)เกี่ยวกับพญานาคอีกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ความเชื่อว่า มีเมืองมีวังพญานาคอยู่ที่นี่ มีถ้ำประหลาดที่เชื่อกันว่าเป็นถ้ำพญานาค มีคนเคยเห็นสัตว์ตัวยาวในแม่น้ำโขงที่เชื่อกันว่าเป็นพญานาค มีร่องรอยที่ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นรอยพญานาค มีวัดที่เกี่ยวพันกับพญานาค รวมไปถึงมีพระธาตุที่มีความเกี่ยวโยงกับพญานาค อย่าง “พระธาตุบังพวน” ประดิษฐานอยู่
พระธาตุบังพวน เป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองหนองคาย ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุบังพวน ต.พระธาตุบังพวน อ.เมือง ตามตำนานอุรังคธาตุกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาลพื้นที่แห่งนี้คือ“ภูเขาลวง”ริมน้ำบางพวน(หรือภูลวง)เป็นที่อยู่อาศัยของพญานาค ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับยังดินแดนแถบลุ่มน้ำโขง พญานาคได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ทำให้ดินแดนแห่งนี้ถูกยกให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
จากนั้นในสมัยของพระเจ้าจันทน์บุรี เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์(ตามตำนานกล่าวไว้อย่างนั้น แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าคือพระองค์ใด ยุคสมัยใด) ได้มีพระอรหันต์ 5 องค์ เดินทางไปยังเมืองราชคฤห์ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุกระดูกหัวเหน่ากลับมา แล้วจึงสร้างพระธาตุขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ภูลวง
ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่ามาจากตำนานอุรังคธาตุเหมือนกัน แต่ที่มาของการกำเนิดพระธาตุไม่เหมือนกัน คือ เชื่อว่า หลังการก่อสร้างพระธาตุพนมเสร็จสิ้น เหล่าพระอรหันต์ 500 องค์ที่ทำการสร้างพระธาตุพนมได้เดินทางไปอินเดีย อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า นำมาประดิษฐานไว้ยังสถานที่ 4 แห่ง ในเมืองหนองคายและเมืองเวียงจันทน์ โดยหนึ่งในนั้นก็คือ พระธาตุบังพวนนั่นเอง
นั่นเป็นที่มาคร่าวๆจากตำนานอุรังคธาตุ ซึ่งแตกต่างไปจากตำนานความเชื่อพื้นบ้านที่แม้จะไม่ได้ระบุยุคสมัยการสร้างพระธาตุบังพวน แต่ได้ระบุว่าคำว่า“บังพวน” แผลงมาจากคำว่า“บังคน” (หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า“ขี้โผ่น”)ที่แปลว่ากระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเชื่อว่าพระธาตุองค์นี้ภายในบรรจุพระบังคนหนักของพระพุทธเจ้าเอาไว้
ในขณะที่หลักฐานทางโบราณคดีไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่าพระธาตุบังพวนสร้างขึ้นในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าอย่างน้อยน่าจะสร้างขั้นก่อนสมัยพระเจ้าโพธิสาลราช(กษัตริย์ล้านช้าง) แล้วมีการบูรณะครั้งสำคัญในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งอาณาจักรล้านช้าง โดยทำการก่อพระธาตุองค์ใหญ่ครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ ซึ่งสันนิษฐานว่าพระธาตุองค์เดิมเป็นสถูปแบบอินเดีย
กระทั่ง ปี พ.ศ. 2513 เกิดภัยธรรมชาติจนพระธาตุบังพวนพังทลายลงมา จากนั้นในปี พ.ศ. 2520 ทางกรมศิลปากร ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุขึ้นมาใหม่ตามแบบรูปทรงเดิม และทางวัดจัดให้มีการเฉลิมฉลองสมโภชองค์พระธาตุกันทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
พระธาตุบังพวนมีรูปแบบงานศิลปกรรมเป็นธาตุเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมแบ่งเป็นช่วงๆซ้อนชั้น ลดขนาดเรียวแหลมขึ้นไป ดูสวยงามสมส่วน
ในวัดพระธาตุบังพวนนอกจากจะมีพระธาตุบังพวนเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นเจดีย์ประธานแล้ว ยังมีสิ่งน่าสนใจอีกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สถูปเจดีย์เก่าแก่ พระพุทธรูปโบราณศิลปะล้านช้างที่น่าสนใจยิ่ง โบสถ์โบราณที่เหลือเพียงซากอิฐก่อระดับเอว รวมถึงสถานที่เกี่ยวกับพญานาคอีกแห่งหนึ่ง นั่นก็คือ “สระมุจลินท์” หรือ “สระพญานาค” สระน้ำเก่าแก่สุดคลาสสิค ที่มีตำนานเล่าว่า หลังอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ ได้เกิดปรากฏการณ์ประหลาด มีสายน้ำพวยพุ่งออกมาจากพื้นดินซึ่งเชื่อว่านี่คือปากปล่องภูพญานาคที่เฝ้าปกปักรักษาพระธาตุบังพวน จึงมีการขุดเป็นสระน้ำขึ้นตามมาในภายหลัง
สระพญานาค มีการสร้างรูปปั้นพญานาค 7 เศียรอันขรึมขลังสวยงามคลาสสิคไว้กลางสระ สระแห่งนี้ถือเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัด สมัยโบราณเมื่อมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองก็จะมีการนำน้ำจากสระนี้ไปสรงเพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนในปัจจุบันน้ำในสระแห่งนี้ถูกนำไปใช้ในพิธีสรงมูรธราชาภิเษก พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา และพิธีศักดิ์สิทธิ์สำคัญๆในรัชกาลปัจจุบันเป็นประจำ
ของดีในวัดพระธาตุบังพวนยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะในวันที่ผมเข้าไปเที่ยวชมวัด ท่านเจ้าอาวาสแนะนำว่า เมื่อมาที่นี่แล้วต้องอย่าพลาดการชม “สัตตมหาสถาน”โบราณ ที่เป็นของดีระดับโลก หลงเหลือในโลกนี้อยู่เพียงไม่กี่แห่ง ในเมืองไทยมีที่วัดเจดีย์เจ็ดยอด เชียงใหม่ และที่วัดสุทัศน์ กทม.
สัตตมหาสถาน เป็นการจำลองสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 7 แห่ง(7 สิ่ง) ได้แก่
โพธิบัลลังก์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์เป็นเวลา 7 วัน ภายหลังการตรัสรู้ในช่วงสัปดาห์แรก จากนั้นจึงเสด็จลงจากวัชรอาสน์
อนิมมิสเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับยืนทอดพระเนตรโพธิบัลลังก์ในสัปดาห์ที่ 2 เป็นเวลา 7 วันโดยมิได้กะพริบพระเนตร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโพธิบัลลังก์
รัตนจงกรมเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมในสัปดาห์ที่ 3 อยู่ 7 วัน เพื่อแสดงปาฏิหาริย์ และบรรเทาความกังขาของเทวดา
รัตนฆรเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกในสัปดาห์ที่ 4 เป็นเวลา 7 วัน ในเรือนแก้วที่เทพยดานิมิตถวาย
อชาปาลนิโครธเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับได้ต้นไทรซึ่งเป็นที่พักของคนเลี้ยงแพะ เป็นเวลา 7 วัน เพื่อเสวยวิมุตติผลสมาบัติในสัปดาห์ที่ 5 โดยทรงมีพุทธฎีกาต่อนางมารว่า พระองค์ทรงละซึ่งกิเลสหมดสิ้นแล้ว
มุจลินทเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นจิกเสวยวิมุตติผลเป็นเวลา 7 วัน ในสัปดาห์ที่ 6 ใกล้สระน้ำ โดยมีพญานาคนาม “มุจจลินท์” ขึ้นมาแผ่พังพานป้องกันลมฝนให้พระพุทธองค์
ราชายตนะเจดีย์ : สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นเกดเสวยวิมุติผลสมาบัติเป็นเวลา 7 วัน โดยมีพระอินทร์ถวายผลสมอทิพย์ และมี 2 พาณิชย์หนุ่มถวายข้าวสัตตุ จึงเกิดปฐมอุบาสกในพุทธศาสนาขึ้น
และนั่นก็เป็นสัตตมหาสถาน 7 แห่งในวัดพระธาตุบังพวนที่ชวนยลด้วยความที่เป็นของดีหายากมีไม่กี่แห่งในโลก ซึ่งท่านเจ้าอาวาสกระซิบบอกกับผมว่า
“สัตตมหาสถานที่ยังหลงเหลือซากโบราณมาตั้งแต่ยุคอดีตถึงปัจจุบันครบ 7 สิ่ง มีที่นี่แห่งเดียวในโลกเท่านั้น”