โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อนนั้น มากมายไปด้วยโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ ที่เป็นร่องรอยอารยธรรมที่เคยเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ใครที่มาเยือนยังอยุธยาก็จะต้องมาชมซากโบราณต่างๆที่ยังคงเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
หนึ่งในสถานที่ที่จัดเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่มากที่สุดในพระนครศรีอยุธยาก็คือที่ “วัดราชบูรณะ” ตำบลท่าวาสุกรี จ.พระนครศรีอยุธยา
วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ. 1967 ในบริเวณพื้นที่และตำแหน่งเดิมที่พระองค์ได้ทรงถวายพระเพลิงศพให้กับเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา พระเชษฐาทั้งสองพระองค์ที่สิ้นพระชมน์ภายในหลังจากการกระทำยุทธหัตถี เพื่อแย่งชิงราชสมบัติของสมเด็จพระนครอินทราธิราชพระราชบิดาที่เสด็จสวรรคตลง
ภายในพระปรางค์วัดราชบูรณะมีกรุใหญ่และลึก กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะมีทั้งหมด 4 ห้องใหญ่ๆ เรียงกันลงไปแนวดิ่ง โดยชั้นล่างสุดอยู่ในแนวระดับพื้นดิน แต่เมื่อปี พ.ศ. 2499 ถูกกลุ่มคนร้ายจำนวนหนึ่งลักลอบขุดกรุภายในพระปรางค์ประธาน พบเครื่องทองและอัญมณีจำนวนมหาศาล แต่ทว่าฝนตกหนักและรับเร่ง กลุ่มขโมยจึงขนของไปไม่หมด เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เวลาไม่กี่วันก็จับและยึดของกลางได้บางส่วน
หลังจากนั้น ในปีพ.ศ.2500 กรมศิลปากรได้เข้าทำการบูรณะขุดแต่งต่อภายหลัง พบทรัพย์สมบัติที่หลงเหลือและเครื่องทองจำนวนมากมาย ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะ
ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชปรารภว่า “โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรนำไปเก็บรักษา และตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่”
กรมศิลปากรจึงได้สร้าง “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” ขึ้น เพื่อเก็บรักษาจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ และโบราณวัตถุพบในจังหวัดนี้ โดยใช้เงินเงินบริจาคจากประชาชน และผู้บริจาคได้รับพระพิมพ์ที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นการสมนาคุณ
และในการนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ผู้ทรงสร้างพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นนามพิพิธภัณฑ์ว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา” และทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2504
ภายในพิพิธภัณฑ์ฯเจ้าสามพระยานี้ จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจากการขุดแต่งบูรณะโบราณสถาน โดยจัดแสดงเป็น 3 อาคาร “อาคารจัดแสดง 1” แบ่งเป็น 2 ชั้น ในชั้นแรก จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่พบจากที่พบจากการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.2499-2500 ได้แก่ เศียรพระพุทธรูป พระพุทธรูปสมัยทวารวดี สุโขทัย อยุธยา อู่ทอง ที่สำคัญมีคุณค่าทางศิลปะที่มีความงดงาม เครื่องไม้จำหลักฝีมือช่างสมัยอยุธยา และเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องถ้วย
ชั้นบนจัดแสดงเป็นห้องวัดมหาธาตุเป็นห้องประดิษฐานพระบรมสาริกธาตุ ซึ่งขุดพบในพระปรางค์วัดมหาธาตุ ห้องวัดราชบูรณะ จัดแสดงเครื่องทองซึ่งค้นพบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ห้องโถงกลาง จัดแสดงพระพิมพ์สมัยลพบุรี สุโขทัย อยุธยาที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ เครื่องแก้วผลึก เครื่องถ้วยเล็กๆ ได้จากวัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ ภาพพระบฏสมัยรัตนโกสินทร์ ทวยเทพพากันมาบูชาพระธาตุจุฬามณี ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ส่วน “อาคารจัดแสดง 2” จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่พบในประเทศไทยตั้งแต่สมัยทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา รัตนโกสินทร์ เพื่อใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบ และ “อาคารจัดแสดง 3” เป็นอาคารเรือนไทยที่ปรับปรุงใหม่เพื่อใช้เป็น “เรือนที่ระลึกพระยาโบราณราชธานินทร์”
ภายในอาคารเรือนไทยแบ่งเป็น 2 หลัง ได้แก่ “ห้องเจ้าคุณโบราณ” จัดแสดงประวัติชีวิตส่วนตัวของพระยาโบราณราชธานินทร์ผ่านของใช้ในชีวิตประจำวัน โดยพระยาโบราณราชธานินทร์ หรือพร เดชะคุปต์ เป็นผู้บุกเบิกองค์ความรู้ในเรื่องอยุธยาศึกษา เนื่องจากท่านได้รับราชการเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เป็นระยะเวลานานกว่า 30 ปี
และได้ตั้งใจสืบสวนข้อมูลเกี่ยวกับพระราชวังและวัดโบราณในพระนครศรีอยุธยาไว้มาก รวมทั้งได้เดินทางตรวจราชการในบริเวณต่างๆ จึงทำให้มีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ตั้ง ลำน้ำ ชุมชน การประกอบอาชีพของคนไทยในสมัยก่อนด้วย
โดยโบราณวัตถุที่จัดแสดงในห้องนี้ได้รับบริจาคจากบุตรหลานของพระยาโบราณราชธานินทร์ สิ่งของที่จัดแสดงประกอบด้วย โต๊ะทำงาน เตียง อุปกรณ์ในการอาบน้ำ หีบเสื้อผ้า ตู้หนังสือ อุปกรณ์ในการรับประทานอาหารและปิ่นโตที่ใช้ในการตามเสด็จ ร.5 ในการเสด็จประพาสตามสถานที่ต่างๆ และแผนที่อยุธยาที่ท่านเจ้าคุณฯได้ตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งวัด เครื่องเล่นแผ่นเสียง หีบใส่เอกสาร อุปกรณ์เครื่องเขียนต่างๆ เก้าอี้บุนวม ภาพถ่ายสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระฉายาสาทิสลักษณ์ในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ที่มีลายพระราชหัตถ์
อีกหนึ่งเรือนคือ “เรือนเจ้าคุณเทศาฯ” เป็นอาคารเรือนไทยที่จัดแสดงประวัติการปกครองแบบเทศาภิบาล และประวัติการเทศาภิบาลในมณฑลอยุธยา มีโต๊ะทำงาน ชั้นหนังสือส่วนตัวพระยาโบราณราชธานินทร์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สากล
ใครที่ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนยังจังหวัดกรุงเก่าล่ะก็ สามารถไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ครั้งกรุงศรีอยุธยา รวมถึงโบราณวัตถุและบุคคลที่สำคัญๆกันได้ แล้วเราจะรู้จักและรักประเทศไทยมากขึ้น
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา” ตั้งอยู่ที่ ถ.ปรีดีพนมยงค์ ต.ประตูชัย จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 9.00 - 16.00 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 0-3524-1587
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อนนั้น มากมายไปด้วยโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ ที่เป็นร่องรอยอารยธรรมที่เคยเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ใครที่มาเยือนยังอยุธยาก็จะต้องมาชมซากโบราณต่างๆที่ยังคงเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
หนึ่งในสถานที่ที่จัดเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่มากที่สุดในพระนครศรีอยุธยาก็คือที่ “วัดราชบูรณะ” ตำบลท่าวาสุกรี จ.พระนครศรีอยุธยา
วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ. 1967 ในบริเวณพื้นที่และตำแหน่งเดิมที่พระองค์ได้ทรงถวายพระเพลิงศพให้กับเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา พระเชษฐาทั้งสองพระองค์ที่สิ้นพระชมน์ภายในหลังจากการกระทำยุทธหัตถี เพื่อแย่งชิงราชสมบัติของสมเด็จพระนครอินทราธิราชพระราชบิดาที่เสด็จสวรรคตลง
ภายในพระปรางค์วัดราชบูรณะมีกรุใหญ่และลึก กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะมีทั้งหมด 4 ห้องใหญ่ๆ เรียงกันลงไปแนวดิ่ง โดยชั้นล่างสุดอยู่ในแนวระดับพื้นดิน แต่เมื่อปี พ.ศ. 2499 ถูกกลุ่มคนร้ายจำนวนหนึ่งลักลอบขุดกรุภายในพระปรางค์ประธาน พบเครื่องทองและอัญมณีจำนวนมหาศาล แต่ทว่าฝนตกหนักและรับเร่ง กลุ่มขโมยจึงขนของไปไม่หมด เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เวลาไม่กี่วันก็จับและยึดของกลางได้บางส่วน
หลังจากนั้น ในปีพ.ศ.2500 กรมศิลปากรได้เข้าทำการบูรณะขุดแต่งต่อภายหลัง พบทรัพย์สมบัติที่หลงเหลือและเครื่องทองจำนวนมากมาย ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะ
ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชปรารภว่า “โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรนำไปเก็บรักษา และตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่”
กรมศิลปากรจึงได้สร้าง “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” ขึ้น เพื่อเก็บรักษาจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ และโบราณวัตถุพบในจังหวัดนี้ โดยใช้เงินเงินบริจาคจากประชาชน และผู้บริจาคได้รับพระพิมพ์ที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นการสมนาคุณ
และในการนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ผู้ทรงสร้างพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นนามพิพิธภัณฑ์ว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา” และทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2504
ภายในพิพิธภัณฑ์ฯเจ้าสามพระยานี้ จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจากการขุดแต่งบูรณะโบราณสถาน โดยจัดแสดงเป็น 3 อาคาร “อาคารจัดแสดง 1” แบ่งเป็น 2 ชั้น ในชั้นแรก จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่พบจากที่พบจากการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.2499-2500 ได้แก่ เศียรพระพุทธรูป พระพุทธรูปสมัยทวารวดี สุโขทัย อยุธยา อู่ทอง ที่สำคัญมีคุณค่าทางศิลปะที่มีความงดงาม เครื่องไม้จำหลักฝีมือช่างสมัยอยุธยา และเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องถ้วย
ชั้นบนจัดแสดงเป็นห้องวัดมหาธาตุเป็นห้องประดิษฐานพระบรมสาริกธาตุ ซึ่งขุดพบในพระปรางค์วัดมหาธาตุ ห้องวัดราชบูรณะ จัดแสดงเครื่องทองซึ่งค้นพบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ห้องโถงกลาง จัดแสดงพระพิมพ์สมัยลพบุรี สุโขทัย อยุธยาที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ เครื่องแก้วผลึก เครื่องถ้วยเล็กๆ ได้จากวัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ ภาพพระบฏสมัยรัตนโกสินทร์ ทวยเทพพากันมาบูชาพระธาตุจุฬามณี ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ส่วน “อาคารจัดแสดง 2” จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่พบในประเทศไทยตั้งแต่สมัยทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา รัตนโกสินทร์ เพื่อใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบ และ “อาคารจัดแสดง 3” เป็นอาคารเรือนไทยที่ปรับปรุงใหม่เพื่อใช้เป็น “เรือนที่ระลึกพระยาโบราณราชธานินทร์”
ภายในอาคารเรือนไทยแบ่งเป็น 2 หลัง ได้แก่ “ห้องเจ้าคุณโบราณ” จัดแสดงประวัติชีวิตส่วนตัวของพระยาโบราณราชธานินทร์ผ่านของใช้ในชีวิตประจำวัน โดยพระยาโบราณราชธานินทร์ หรือพร เดชะคุปต์ เป็นผู้บุกเบิกองค์ความรู้ในเรื่องอยุธยาศึกษา เนื่องจากท่านได้รับราชการเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เป็นระยะเวลานานกว่า 30 ปี
และได้ตั้งใจสืบสวนข้อมูลเกี่ยวกับพระราชวังและวัดโบราณในพระนครศรีอยุธยาไว้มาก รวมทั้งได้เดินทางตรวจราชการในบริเวณต่างๆ จึงทำให้มีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ตั้ง ลำน้ำ ชุมชน การประกอบอาชีพของคนไทยในสมัยก่อนด้วย
โดยโบราณวัตถุที่จัดแสดงในห้องนี้ได้รับบริจาคจากบุตรหลานของพระยาโบราณราชธานินทร์ สิ่งของที่จัดแสดงประกอบด้วย โต๊ะทำงาน เตียง อุปกรณ์ในการอาบน้ำ หีบเสื้อผ้า ตู้หนังสือ อุปกรณ์ในการรับประทานอาหารและปิ่นโตที่ใช้ในการตามเสด็จ ร.5 ในการเสด็จประพาสตามสถานที่ต่างๆ และแผนที่อยุธยาที่ท่านเจ้าคุณฯได้ตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งวัด เครื่องเล่นแผ่นเสียง หีบใส่เอกสาร อุปกรณ์เครื่องเขียนต่างๆ เก้าอี้บุนวม ภาพถ่ายสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระฉายาสาทิสลักษณ์ในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ที่มีลายพระราชหัตถ์
อีกหนึ่งเรือนคือ “เรือนเจ้าคุณเทศาฯ” เป็นอาคารเรือนไทยที่จัดแสดงประวัติการปกครองแบบเทศาภิบาล และประวัติการเทศาภิบาลในมณฑลอยุธยา มีโต๊ะทำงาน ชั้นหนังสือส่วนตัวพระยาโบราณราชธานินทร์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สากล
ใครที่ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนยังจังหวัดกรุงเก่าล่ะก็ สามารถไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ครั้งกรุงศรีอยุธยา รวมถึงโบราณวัตถุและบุคคลที่สำคัญๆกันได้ แล้วเราจะรู้จักและรักประเทศไทยมากขึ้น
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา” ตั้งอยู่ที่ ถ.ปรีดีพนมยงค์ ต.ประตูชัย จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 9.00 - 16.00 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 0-3524-1587