โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
อัมพวา จ.สมุทรสงคราม หรือเมืองแม่กลอง คือที่เที่ยวใกล้กรุงที่ฮอตฮิตติดลมบนมานานหลายปี จนบัดนี้ก็ยังคงความนิยมไม่จืดจาง ไม่ว่าฉันจะไปอัมพวาครั้งใดก็ยังคงเห็นถึงความคึกคักมีชีวิตชีวาของอัมพวาเมืองแห่งความคลาสสิค มาวันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งครั้งที่ฉันอยากจะหลบหลีกความวุ่นวายในเมืองมาพักผ่อนหย่อนใจให้สบายอารมณ์กันที่ "อัมพวา"
โดยฉันเริ่มต้นด้วยการเข้าวัดทำบุญไหว้พระ พร้อมทั้งขอพรให้แก่ตนเองและผู้อื่น วัดแรกในอำเภออัมพวาที่ฉันมุ่งหน้าไปก็คือ "วัดบางกะพ้อม" เห็นชื่อวัดแบบนี้ก็ย่อมมีที่มาที่ไปโดยประวัติเล่าว่า ในสมัยอยุธยาตอนปลายมีศึกสงครามทั่งประเทศ ขณะนั้นพม่าได้บุกเข้ามาในบ้านของเศรษฐีตายายที่กำลังนั่งสานกะพ้อม หรือที่สำหรับใส่ข้าวเปลือกใช้ไม้ไผ่สาน ตายายตกใจไม่รู้จะไปหลบที่ไหนจึงพากันไปหลบในกะพ้อม พร้อมทั้งอธิฐานว่าหากหลบพม่าได้จะขอสร้างวัดถวาย แล้วก็เป็นจริงดังที่ขอ ตากับยายคู่นี้จึงได้สร้างวัดบางกะพ้อมขึ้น
ภายในวัดบางกะพ้อมมีหัวใจหลวงปู่คงดวงใหญ่ ที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องของความอยู่ยงคงกระพัน ด้านข้างของหลวงปู่คงมีรูปหล่อพระ 5 พี่น้อง และใกล้ๆกันนั้นก็มีวิหารหลวงพ่อดำ หากเดินเข้าไปด้านในอีกนิดหนึ่งจะเจอกับวิหารพระพุทธบาทที่สร้างขึ้นในสมัย ร.ที่ 3 ก่อนที่ฉันจะเข้าไปด้านในวิหารต้องลอดประตูซึ่งทำเป็นรูปวงกลม ตามความเชื่อของคนจีนที่เชื่อกันว่าวงกลมหมายถึงท้องฟ้า หรือสวรรค์
ในสรวงสวรรค์หรือในวิหารแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท บนผนังจะมีภาพปูนปั้นนูนสูงเขียนสี เรื่องตำนานรอยพระพุทธบาท 4 รอยคือที่สะดือทะเล จ.นครศรีธรรมราช, ที่เขาชินจุกุ, ที่ภูเขาสุวรณบรรพต จ.สระบุรี และที่สุวัณณมาลิก นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปที่หล่อเป็นเณรอีกด้วย
จากวัดบางกะพ้อม ฉันเดินทางต่อไปยัง "วัดจุฬามณี" วัดที่มีวิหารทรงจัตุรมุขที่ภายในสวยงามมาก พื้นที่ปูด้วยหินอ่อนสีเขียวจากประเทศปากีสถาน นั่งแล้วให้ความรู้สึกเย็นสบายขึ้นมากเลยทีเดียว หลังจากที่กราบไหว้ พระพุทธโสรถมณี พระประธานภายในวิหารแล้วฉันก็นั่งมองรอบๆ ตามผนังมีรูปเทวดาแต่ละชั้นตั้งแต่ชั้นล่างสุดคือยักษ์ไปจนถึงชั้นบนสุดคือพรหม
ส่วนบานหน้าต่างแต่ละบานในวัดนี้ก็เป็นลายฝังมุกและมีเรื่องราวต่างๆกันไปในแต่ละบาน เช่น ตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของพระบรมวงศานุวงศ์ในปัจจุบัน ตราสัญลักษณ์ของ ร.1-ร.7 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ เป็นต้น และหากเดินออกไปไม่ไกลจะเจอกับกุฏิหลวงปู่เนื่องที่ภายในมีร่างละสังขารของหลวงปู่เนื่องนอนอยู่ในโลงแก้ว อีกทั้งยังมีพระบรมสารีริกธาตุให้ผู้ที่มาเยือนได้สักการะและเดินวนทักษิณา 3 รอบก่อนที่จะขอพรให้สมหวัง
จากนั้นฉันมุ่งหน้าเก็บบุญอย่างต่อเนื่องไปที่ "วัดบางแคใหญ่" ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2ท่านเจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์(แสง วงศาโรจน์) ได้มาบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ให้กับภรรยาหลวง พร้อมกับตั้งชื่อใหม่ว่า"วัดบางแคใหญ่" ส่วนวัดที่ท่านสร้างให้กับภรรยาน้อย ท่านก็ตั้งชื่อว่า"วัดบางแคน้อย" ตามฐานะบรรดาศักดิ์กันไป
สำหรับที่วัดบางแคใหญ่ มีจิตกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อายุราว 150-200 ปี ที่เขียนขึ้นด้วยสีฝุ่นจากธรรมชาติผสมกาวเขียนลงบนแผ่นไม้สัก แม้จะเลือนลางไปเหลือเพียงบางส่วนให้เห็นอยู่ด้านในของกุฏิสงฆ์ แต่ก็ทำให้ทราบถึงเรื่องราวการยกทัพในสมัยของ ร. 2 และแฝงไปด้วยเรื่องราวลักษณะชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งกายในสมัยนั้น และอีกหนึ่งแห่งที่ปรากฏร่องรอยจิตกรรมฝาผนังกึ่งจีนผสมไทยได้แก่ที่ หอพระไตรปิฎกที่เก่าแก่เช่นกัน เมื่อชมจิตกรรมอันเป็นดั่งมรดกไทยแล้วฉันก็ไปกราบไหว้พระศรีสมุทรพุทธโคดม พระประธานในพระอุโบสถ
จากวัดของภรรยาหลวง ฉันไปต่อที่วัดของภรรยาน้อย หรือ "วัดบางแคน้อย" ที่อยู่ไม่ไกลกัน ที่วัดแห่งนี้ก็มีความพิเศษเช่นกัน โดยไฮไลท์อยู่ที่อุโบสถของวัดที่แม้จะสร้างขึ้นใหม่ในปีพ.ศ.2539 แต่เป็นพื้นไม้ที่ใช้ไม้ตะเคียนเรียงกัน 7 แผ่น นอกจากนี้ตามผนังและเพดานยังกรุด้วยไม้สักที่ได้รับการแกะสลักนูนสูงอย่างวิจิตรบรรจง เกี่ยวกับเรื่องราวของพระพุทธประวัติ พระพุทธชาดก 10 ชาติอย่างสวยงามวิจิตร
ถัดมาอีกหนึ่งวัดคือ "วัดภุมรินทร์กุฎีทอง" ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ของนางสั้นมารดาของพระราชินีใน ร.1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในวัดมีกุฏิไม้สักทองตั้งอยู่ริมน้ำ ผนังด้านในเขียนลายรดน้ำปิดทองอันเป็นที่มาของชื่อกุฎีทอง นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์วัดภุมรินทร์ที่เก็บของสำคัญของร.ที่ 1 ซึ่งก็คือตราประทับพระราชลัญจกรหรือตราประทับประจำพระองค์ของ ร.1 ทำจากงาช้าง และยังมีพวกโบราณวัตถุประเภทต่างๆ อีกด้วย
ภายในบริเวณวัดยังเป็นที่ตั้งของ "บ้านดนตรีไทย" ที่เป็นอาคารไม้ของโรงเรียนเป็นที่ทำการสอนดนตรีไทย เพื่อเป็นการอนุรักษ์คุณค่าของวัฒนธรรมของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ชาวสมุทรสงครามภาคภูมิใจ จึงได้รวบรวมนักดนตรีไทยรุ่นเก่าๆที่สมัครใจมาอบรมเด็กๆรุ่นใหม่ ด้านหน้ายังมีรูปปั้นทูล ทองใจ แม่ไม้เพลงไทยที่มีขนาดเท่าตัวจริง ไว้เป็นอนุสรณ์ด้วย
ผ่านไป 5 วัดก็ทำเอาเวลาล่วงเลยไปมาก สุดท้ายฉันจึงมาจบการไหว้พระสะสมบุญกันที่ "วัดอัมพวันเจติยาราม" วัดสำคัญในประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ เนื่องจากวัดนี้เป็นนิวาสสถานเดิมของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินีใน ร.1 และยังเป็นสถานที่ประสูติของ ร. 2 ด้วย
ภายในวัดมีพระปรางค์ซึ่ง ร. 3 ทรงสร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระสรีรังคารของ ร. 2 ส่วนพระอุโบสถด้านในมีจิตรกรรมฝาผนังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โปรดเกล้าฯ ให้เขียนขึ้น เพื่อแสดงเรื่องราวพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของ ร. 2 และเรื่องราวในวรรณคดีที่ท่านทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น ซึ่งสมเด็จพระเทพฯ ก็ได้ทรงลงมือวาดด้วยพระองค์เองด้วย รูปที่ท่านทรงวาดนั้นก็คือกลอง 1 ใบ ต้นไม้ 1 ต้น และใบหน้าคนอีก 3 หน้า
ส่วนอีกหนึ่งรูปที่หากมาถึงแล้วก็ต้องยลให้ได้ก็คือ เจ้ามดผูกคอตาย ฟังแล้วก็สงสัยว่าทำไมเจ้ามดมันต้องคิดสั้นเช่นนี้ ก็มีเรื่องเล่ากันมาเล่นๆว่า มันคงจะน้อยใจที่ต้นมะม่วงถูกตัดไปเยอะเมื่อตอนที่สร้างวัด จนถึงกับไปผูกคอตาย แต่จริงๆ แล้วก็คงเป็นอารมณ์ขันกับความใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของช่างเขียนเสียมากกว่า
เอาล่ะ...เข้าวัดเข้าวาไหว้พระรับพรจนอิ่มบุญแล้ว ฉันขอไปอิ่มท้องที่ "ตลาดน้ำอัมพวา" ที่อยู่ใกล้กับวัดอัมพวันเจติยารามกันเสียหน่อย ตลอดทางก่อนจะถึงริมน้ำมีร้านค้ามากมายเรียงรายกันอยู่ ทั้งขายขนมไทยๆ เช่น ฝอยทอง ทองหยอด ร้านขายอาหาร น้ำดื่มสมุนไพรชื่นใจ ของที่ระลึกต่างๆ เสื้อผ้า หรือเสื้ออัมพวาก็มีให้เลือกซื้อหากันมากมาย เดินมาจนเจอสะพานข้ามคลอง แต่ฉันยังไม่ข้าม ฉันเบี่ยงขวาเดินเลาะริมน้ำผ่านบ้านเรือนเก่าแก่ริมน้ำที่ยังคงอนุรักษ์รักษาไว้เป็นอย่างดี แต่ละบ้านล้วนเปิดหน้าร้านขายของต่างๆนาๆ ด้านริมน้ำก็มีเรือพายเรือเครื่องขายอาหารและขนมต่างๆ เช่น อาหารทะเล อาทิ กุ้ง หอยเซลล์ ปลาหมึก เผา ก๋วยเตี๋ยว ข้าวราดแกง เป็นต้น หากเดินไปจนสุดทางจะเจอกับโค้งน้ำใหญ่ที่มีวิวที่กว้างสวยงาม พร้อมรับลมเย็นๆ ก็เพลินใจไม่น้อย
และหากเดินข้ามสะพานข้ามคลองไปแล้ว ก็จะเจอกับร้านรวงขายอาหาร ขนม และของที่ระลึกอีกมากมาย เรียกได้ว่าคึกคักรอบด้านเลยก็ว่าได้ แล้วก็มีข่าวใหม่จะมาบอกว่าเดี๋ยวนี้ทางอัมพวาเขามีโครงการท่องเที่ยวประสบการณ์ใหม่ ลดภาวะโลกร้อน ด้วยกิจกรรมถีบจักรยาน "ไทยถีบ" ใครที่อยากจะเปิดประสบการณ์แนวใหม่ที่อัมพวาแห่งนี้ก็มาลองกันได้
ปิดท้ายในช่วงเย็นย่ำค่ำมืดด้วยอีกหนึ่งกิจกรรมคู่อัมพวาก็คือ "ดูหิ่งห้อย" ที่จะมีเรือคอยให้บริการออกสำรวจเจ้าแมลงเรืองแสงมากมายหลายเจ้า เรือจะพาแล่นลัดเลาะไปตามริมฝั่งแม่น้ำที่เต็มไปด้วยต้นไม้ต้นน้อยใหญ่ บางต้นก็มีหิ่งห้อยเกาะอยู่ไม่กี่ตัว บางต้นก็มีเกาะอยู่มากหน่อย ดูคล้ายต้นไม้ประดับไฟคริสต์มาสระยิบระยับ
เอาเป็นว่ามาอัมพวาเที่ยวได้หลายรูปแบบหลากรสชาติตั้งแต่เช้ายันค่ำมืดเลยเชียวหล่ะ และหากจะมาตลาดก็ต้องมาให้ถูกวันด้วย เพราะตลาดน้ำอัมพวาจะเปิดเฉพาะในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์เท่านั้น มาผิดวันไม่เจอตลาดจะโทษฉันไม่ได้นะ..ขอบอก
อัมพวา จ.สมุทรสงคราม หรือเมืองแม่กลอง คือที่เที่ยวใกล้กรุงที่ฮอตฮิตติดลมบนมานานหลายปี จนบัดนี้ก็ยังคงความนิยมไม่จืดจาง ไม่ว่าฉันจะไปอัมพวาครั้งใดก็ยังคงเห็นถึงความคึกคักมีชีวิตชีวาของอัมพวาเมืองแห่งความคลาสสิค มาวันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งครั้งที่ฉันอยากจะหลบหลีกความวุ่นวายในเมืองมาพักผ่อนหย่อนใจให้สบายอารมณ์กันที่ "อัมพวา"
โดยฉันเริ่มต้นด้วยการเข้าวัดทำบุญไหว้พระ พร้อมทั้งขอพรให้แก่ตนเองและผู้อื่น วัดแรกในอำเภออัมพวาที่ฉันมุ่งหน้าไปก็คือ "วัดบางกะพ้อม" เห็นชื่อวัดแบบนี้ก็ย่อมมีที่มาที่ไปโดยประวัติเล่าว่า ในสมัยอยุธยาตอนปลายมีศึกสงครามทั่งประเทศ ขณะนั้นพม่าได้บุกเข้ามาในบ้านของเศรษฐีตายายที่กำลังนั่งสานกะพ้อม หรือที่สำหรับใส่ข้าวเปลือกใช้ไม้ไผ่สาน ตายายตกใจไม่รู้จะไปหลบที่ไหนจึงพากันไปหลบในกะพ้อม พร้อมทั้งอธิฐานว่าหากหลบพม่าได้จะขอสร้างวัดถวาย แล้วก็เป็นจริงดังที่ขอ ตากับยายคู่นี้จึงได้สร้างวัดบางกะพ้อมขึ้น
ภายในวัดบางกะพ้อมมีหัวใจหลวงปู่คงดวงใหญ่ ที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องของความอยู่ยงคงกระพัน ด้านข้างของหลวงปู่คงมีรูปหล่อพระ 5 พี่น้อง และใกล้ๆกันนั้นก็มีวิหารหลวงพ่อดำ หากเดินเข้าไปด้านในอีกนิดหนึ่งจะเจอกับวิหารพระพุทธบาทที่สร้างขึ้นในสมัย ร.ที่ 3 ก่อนที่ฉันจะเข้าไปด้านในวิหารต้องลอดประตูซึ่งทำเป็นรูปวงกลม ตามความเชื่อของคนจีนที่เชื่อกันว่าวงกลมหมายถึงท้องฟ้า หรือสวรรค์
ในสรวงสวรรค์หรือในวิหารแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท บนผนังจะมีภาพปูนปั้นนูนสูงเขียนสี เรื่องตำนานรอยพระพุทธบาท 4 รอยคือที่สะดือทะเล จ.นครศรีธรรมราช, ที่เขาชินจุกุ, ที่ภูเขาสุวรณบรรพต จ.สระบุรี และที่สุวัณณมาลิก นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปที่หล่อเป็นเณรอีกด้วย
จากวัดบางกะพ้อม ฉันเดินทางต่อไปยัง "วัดจุฬามณี" วัดที่มีวิหารทรงจัตุรมุขที่ภายในสวยงามมาก พื้นที่ปูด้วยหินอ่อนสีเขียวจากประเทศปากีสถาน นั่งแล้วให้ความรู้สึกเย็นสบายขึ้นมากเลยทีเดียว หลังจากที่กราบไหว้ พระพุทธโสรถมณี พระประธานภายในวิหารแล้วฉันก็นั่งมองรอบๆ ตามผนังมีรูปเทวดาแต่ละชั้นตั้งแต่ชั้นล่างสุดคือยักษ์ไปจนถึงชั้นบนสุดคือพรหม
ส่วนบานหน้าต่างแต่ละบานในวัดนี้ก็เป็นลายฝังมุกและมีเรื่องราวต่างๆกันไปในแต่ละบาน เช่น ตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของพระบรมวงศานุวงศ์ในปัจจุบัน ตราสัญลักษณ์ของ ร.1-ร.7 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ เป็นต้น และหากเดินออกไปไม่ไกลจะเจอกับกุฏิหลวงปู่เนื่องที่ภายในมีร่างละสังขารของหลวงปู่เนื่องนอนอยู่ในโลงแก้ว อีกทั้งยังมีพระบรมสารีริกธาตุให้ผู้ที่มาเยือนได้สักการะและเดินวนทักษิณา 3 รอบก่อนที่จะขอพรให้สมหวัง
จากนั้นฉันมุ่งหน้าเก็บบุญอย่างต่อเนื่องไปที่ "วัดบางแคใหญ่" ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2ท่านเจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ์(แสง วงศาโรจน์) ได้มาบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ให้กับภรรยาหลวง พร้อมกับตั้งชื่อใหม่ว่า"วัดบางแคใหญ่" ส่วนวัดที่ท่านสร้างให้กับภรรยาน้อย ท่านก็ตั้งชื่อว่า"วัดบางแคน้อย" ตามฐานะบรรดาศักดิ์กันไป
สำหรับที่วัดบางแคใหญ่ มีจิตกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อายุราว 150-200 ปี ที่เขียนขึ้นด้วยสีฝุ่นจากธรรมชาติผสมกาวเขียนลงบนแผ่นไม้สัก แม้จะเลือนลางไปเหลือเพียงบางส่วนให้เห็นอยู่ด้านในของกุฏิสงฆ์ แต่ก็ทำให้ทราบถึงเรื่องราวการยกทัพในสมัยของ ร. 2 และแฝงไปด้วยเรื่องราวลักษณะชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งกายในสมัยนั้น และอีกหนึ่งแห่งที่ปรากฏร่องรอยจิตกรรมฝาผนังกึ่งจีนผสมไทยได้แก่ที่ หอพระไตรปิฎกที่เก่าแก่เช่นกัน เมื่อชมจิตกรรมอันเป็นดั่งมรดกไทยแล้วฉันก็ไปกราบไหว้พระศรีสมุทรพุทธโคดม พระประธานในพระอุโบสถ
จากวัดของภรรยาหลวง ฉันไปต่อที่วัดของภรรยาน้อย หรือ "วัดบางแคน้อย" ที่อยู่ไม่ไกลกัน ที่วัดแห่งนี้ก็มีความพิเศษเช่นกัน โดยไฮไลท์อยู่ที่อุโบสถของวัดที่แม้จะสร้างขึ้นใหม่ในปีพ.ศ.2539 แต่เป็นพื้นไม้ที่ใช้ไม้ตะเคียนเรียงกัน 7 แผ่น นอกจากนี้ตามผนังและเพดานยังกรุด้วยไม้สักที่ได้รับการแกะสลักนูนสูงอย่างวิจิตรบรรจง เกี่ยวกับเรื่องราวของพระพุทธประวัติ พระพุทธชาดก 10 ชาติอย่างสวยงามวิจิตร
ถัดมาอีกหนึ่งวัดคือ "วัดภุมรินทร์กุฎีทอง" ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ของนางสั้นมารดาของพระราชินีใน ร.1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในวัดมีกุฏิไม้สักทองตั้งอยู่ริมน้ำ ผนังด้านในเขียนลายรดน้ำปิดทองอันเป็นที่มาของชื่อกุฎีทอง นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์วัดภุมรินทร์ที่เก็บของสำคัญของร.ที่ 1 ซึ่งก็คือตราประทับพระราชลัญจกรหรือตราประทับประจำพระองค์ของ ร.1 ทำจากงาช้าง และยังมีพวกโบราณวัตถุประเภทต่างๆ อีกด้วย
ภายในบริเวณวัดยังเป็นที่ตั้งของ "บ้านดนตรีไทย" ที่เป็นอาคารไม้ของโรงเรียนเป็นที่ทำการสอนดนตรีไทย เพื่อเป็นการอนุรักษ์คุณค่าของวัฒนธรรมของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ชาวสมุทรสงครามภาคภูมิใจ จึงได้รวบรวมนักดนตรีไทยรุ่นเก่าๆที่สมัครใจมาอบรมเด็กๆรุ่นใหม่ ด้านหน้ายังมีรูปปั้นทูล ทองใจ แม่ไม้เพลงไทยที่มีขนาดเท่าตัวจริง ไว้เป็นอนุสรณ์ด้วย
ผ่านไป 5 วัดก็ทำเอาเวลาล่วงเลยไปมาก สุดท้ายฉันจึงมาจบการไหว้พระสะสมบุญกันที่ "วัดอัมพวันเจติยาราม" วัดสำคัญในประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ เนื่องจากวัดนี้เป็นนิวาสสถานเดิมของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินีใน ร.1 และยังเป็นสถานที่ประสูติของ ร. 2 ด้วย
ภายในวัดมีพระปรางค์ซึ่ง ร. 3 ทรงสร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระสรีรังคารของ ร. 2 ส่วนพระอุโบสถด้านในมีจิตรกรรมฝาผนังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โปรดเกล้าฯ ให้เขียนขึ้น เพื่อแสดงเรื่องราวพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของ ร. 2 และเรื่องราวในวรรณคดีที่ท่านทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น ซึ่งสมเด็จพระเทพฯ ก็ได้ทรงลงมือวาดด้วยพระองค์เองด้วย รูปที่ท่านทรงวาดนั้นก็คือกลอง 1 ใบ ต้นไม้ 1 ต้น และใบหน้าคนอีก 3 หน้า
ส่วนอีกหนึ่งรูปที่หากมาถึงแล้วก็ต้องยลให้ได้ก็คือ เจ้ามดผูกคอตาย ฟังแล้วก็สงสัยว่าทำไมเจ้ามดมันต้องคิดสั้นเช่นนี้ ก็มีเรื่องเล่ากันมาเล่นๆว่า มันคงจะน้อยใจที่ต้นมะม่วงถูกตัดไปเยอะเมื่อตอนที่สร้างวัด จนถึงกับไปผูกคอตาย แต่จริงๆ แล้วก็คงเป็นอารมณ์ขันกับความใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของช่างเขียนเสียมากกว่า
เอาล่ะ...เข้าวัดเข้าวาไหว้พระรับพรจนอิ่มบุญแล้ว ฉันขอไปอิ่มท้องที่ "ตลาดน้ำอัมพวา" ที่อยู่ใกล้กับวัดอัมพวันเจติยารามกันเสียหน่อย ตลอดทางก่อนจะถึงริมน้ำมีร้านค้ามากมายเรียงรายกันอยู่ ทั้งขายขนมไทยๆ เช่น ฝอยทอง ทองหยอด ร้านขายอาหาร น้ำดื่มสมุนไพรชื่นใจ ของที่ระลึกต่างๆ เสื้อผ้า หรือเสื้ออัมพวาก็มีให้เลือกซื้อหากันมากมาย เดินมาจนเจอสะพานข้ามคลอง แต่ฉันยังไม่ข้าม ฉันเบี่ยงขวาเดินเลาะริมน้ำผ่านบ้านเรือนเก่าแก่ริมน้ำที่ยังคงอนุรักษ์รักษาไว้เป็นอย่างดี แต่ละบ้านล้วนเปิดหน้าร้านขายของต่างๆนาๆ ด้านริมน้ำก็มีเรือพายเรือเครื่องขายอาหารและขนมต่างๆ เช่น อาหารทะเล อาทิ กุ้ง หอยเซลล์ ปลาหมึก เผา ก๋วยเตี๋ยว ข้าวราดแกง เป็นต้น หากเดินไปจนสุดทางจะเจอกับโค้งน้ำใหญ่ที่มีวิวที่กว้างสวยงาม พร้อมรับลมเย็นๆ ก็เพลินใจไม่น้อย
และหากเดินข้ามสะพานข้ามคลองไปแล้ว ก็จะเจอกับร้านรวงขายอาหาร ขนม และของที่ระลึกอีกมากมาย เรียกได้ว่าคึกคักรอบด้านเลยก็ว่าได้ แล้วก็มีข่าวใหม่จะมาบอกว่าเดี๋ยวนี้ทางอัมพวาเขามีโครงการท่องเที่ยวประสบการณ์ใหม่ ลดภาวะโลกร้อน ด้วยกิจกรรมถีบจักรยาน "ไทยถีบ" ใครที่อยากจะเปิดประสบการณ์แนวใหม่ที่อัมพวาแห่งนี้ก็มาลองกันได้
ปิดท้ายในช่วงเย็นย่ำค่ำมืดด้วยอีกหนึ่งกิจกรรมคู่อัมพวาก็คือ "ดูหิ่งห้อย" ที่จะมีเรือคอยให้บริการออกสำรวจเจ้าแมลงเรืองแสงมากมายหลายเจ้า เรือจะพาแล่นลัดเลาะไปตามริมฝั่งแม่น้ำที่เต็มไปด้วยต้นไม้ต้นน้อยใหญ่ บางต้นก็มีหิ่งห้อยเกาะอยู่ไม่กี่ตัว บางต้นก็มีเกาะอยู่มากหน่อย ดูคล้ายต้นไม้ประดับไฟคริสต์มาสระยิบระยับ
เอาเป็นว่ามาอัมพวาเที่ยวได้หลายรูปแบบหลากรสชาติตั้งแต่เช้ายันค่ำมืดเลยเชียวหล่ะ และหากจะมาตลาดก็ต้องมาให้ถูกวันด้วย เพราะตลาดน้ำอัมพวาจะเปิดเฉพาะในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์เท่านั้น มาผิดวันไม่เจอตลาดจะโทษฉันไม่ได้นะ..ขอบอก