xs
xsm
sm
md
lg

รู้ไว้ใช่ว่า...10 อันดับตึกสูงเมืองไทย ใบหยก 2 จะถูกโค่นแชมป์ในไม่นาน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 อดีตตึก 7 ชั้นที่เคยสูงที่สุดในไทยปัจจุบันเป็นโรงแรมในย่านเยาวราช
หลังตึก"เบิร์จดูไบ"(หรือชื่อใหม่"เบิร์จคาลิฟา" ตั้งตามนามของประธานาธิบดีของ UAE) ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เปิดตัวตึกสูงที่สุดในโลกในปัจจุบันอย่างเป็นทางการด้วยความสูง 818 เมตร จำนวน 162 ชั้น จนเกิดกระแสเป็นข่าวครึกโครม ก็เลยอยากที่จะมาย้อนดูตึกสูงๆของเมืองไทยกันบ้าง

แน่นอนว่าตึกที่สูงที่สุดในประเทศขณะนี้ก็คือ "ใบหยก(ทาวเวอร์) 2" แต่อีกไม่นานตึกใบหยก 2 จะถูกล้มแชมป์ โดยตึกใหม่ที่กำลังจะก่อสร้างแล้วเสร็จในไม่นานนี้

ย้อนตำนานตึกสูงแห่งสยามประเทศ

อย่างไรก็ตามก่อนที่เมืองไทยจะมาถึงยุคของตึกสูงอย่างในปัจจุบัน บ้านเราได้มีวิวัฒนาการทางการก่อสร้างอาคาร(ตึก)สูงมาร่วม 100 กว่าปีแล้ว ซึ่งหากย้อนกลับไปในอดีตในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ได้มีการตัดถนนเยาวราชขึ้นในย่านคนจีนที่อพยพมาจากโพ้นทะเล ทำให้ย่านแห่งนี้คึกคักและเจริญรุ่งเรืองทางด้านธุรกิจเป็นอย่างมาก จนมีการสร้างตึกถึง 6 ชั้นขึ้น ถือเป็นตึกแรกและตึกที่สูงที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์(สมัยนั้น)เลยก็ว่าได้
โรงแรมดุสิตธานี อดีตตึกที่เคยสูงที่สุดในประเทศ
โดย "ตึก 6 ชั้น" นี้เป็นตึกเป็นของ พระยาสารสิน สวามิภักดิ์ (หมอเทียนอี้ ต้นตระกูลสารสิน) หมอหลวงของ ร.5 โดยในปัจจุบันตึก 6 ชั้นนี้คือ "เซี่ยงไฮ้ แมนชั่น บูติค โฮเต็ล" ได้ถูกตกแต่งใหม่โดยยังคงเอกลักษณ์ของศิลปะ วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ในเขตการค้า การพาณิชย์ที่เก่าแก่ของคนจีนร่วมสมัย ผสมผสานกับการตกแต่งภายในอาคารในรูปแบบจีนเซี่ยงไฮ้สมัยใหม่

ในขณะที่ฝั่งตรงข้ามของ เซี่ยงไฮ้ แมนชั่น บูติค โฮเต็ล ก็คือ "โรงแรมไชน่า ทาวน์" ของอมร อภิธนาคุณ นายกสมาคมชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งแต่เดิมตึกแห่งก็เคยเป็นตึกที่สูงที่สุดคือตึก 7 ชั้น ที่มีชื่อเสียงบนถนนเยาวราช และอีกหนึ่งตึกในย่านเยาวราชที่เคยได้ชื่อว่าเป็นตึกที่สูงที่สุดอีกเช่นกันก็คือ ตึก 9 ชั้น หรือปัจจุบันคือ ห้างทองชื่อดังในเยาวราชนั่นเอง

ทั้งตึก 6 ชั้น 7 ชั้น และ 9 ชั้น เคยเป็นแหล่งบันเทิงที่ทันสมัยที่สุดของกรุงเทพฯ สะท้อนถึงความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจของย่านเยาวราชในสมัยนั้น ต่อมาประเทศเริ่มก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ จากตึก 9 ชั้นที่เคยสูงที่สุดในประเทศไทยก็ได้ถูกทำลายสถิติลงในปี พ.ศ.2507 ด้วยตึกของ "อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล" หรือ "ตึกเอไอบี" ถนนสุรวงศ์ ซึ่งมีความสูง 11 ชั้น ถือเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศในยุคนั้น

ต่อมาในปี พ.ศ.2511 ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุยก็ได้ก่อตั้ง "โรงแรมดุสิตธานี" ขึ้นด้วยความสูง 23 ชั้น ถือเป็นตึกสูงที่มาโค่นแชมป์ตึกเอไอบีลง และในปี 2521 ก็ได้มีการสร้างตึกโชคชัย ที่มีความสูง 26 ชั้น ถือเป็นตึกที่สูงที่สุดไทย และสูงที่สุดในเอเซียในยุคนั้นด้วย โดยให้ ซีไอเอแห่งรัฐบาลสหรัฐเช่า 24 ชั้น อีก 2 ชั้นให้เจ้าของคือ โชคชัย บูลกุล ได้ใช้สอย ซึ่งในปัจจุบันตึกโชคชัยได้กลายมาเป็นที่ตั้งของธนาคารยูโอบีรัตนสิน
คิว เฮาส์ ลุมพินี
และในสมัยต่อมาตึกโชคชัยก็ได้ถูกคว่ำแชมป์ เมื่อพ.ศ.2524 อาคารสำนักงานใหญ่แบงค์กรุงเทพฯ ถนนสีลม ได้สร้างเสร็จโยมีความสูง 33 ชั้น จากนั้นเทคโนโลยีและการรับวัฒนธรรมสมัยใหม่ก็ยังคงหลั่งใหลเข้ามาในประเทศไทย ความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ทำให้กรุงเทพฯเมืองหลวงของไทยมีตึกที่สูงหลายสิบชั้นมากมาย

รู้จัก 10 อันดับตึกสูงที่สุดในเมืองไทย

วงการก่อสร้างตึกสูงบ้านเรามีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มาจนถึงปัจจุบันได้มีตึกสูงผุดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในเมืองหลวงกรุงเทพมหานคร ซึ่งเว็บไซต์ วิกิพีเดีย ได้รวบรวมตำแหน่ง 10 อันดับตึกสูงของบ้านเราไว้เป็นวิทยาทานดังนี้

อันดับ 10 ตึก"คิว เฮาส์ ลุมพินี"อาคารสำนักงานที่สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2549 ด้วยความสูง 202.5 เมตร 39 ชั้น
อาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารกสิกรไทย
อันดับ 9 ตึก"ดิ ออฟฟิศเซส แอท เซ็นทรัลเวิลด์” บริเวณสี่แยกราชประสงค์ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2547ตัวอาคารมีความสูง 45 ชั้น สูง 204 เมตร เป็นอาคารอัจฉริยะอาคารแรกในประเทศไทย มีระบบการจัดการการจราจรในแนวตั้งด้วยลิฟท์โดยสารความเร็วสูงและระบบคีย์การ์ดที่ลิฟท์

อันดับ 8 ตึก"สำนักงานใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย" ถ.ราษฎร์บูรณะ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2538สูง 207.6 เมตร มีจำนวนชั้น 42 ชั้น ซึ่งใครที่ผ่านไปผ่านมาแถวนั้นหรือจะนั่งเรือดินเนอร์ก็จะเห็นตึกแห่งนี้ตั้งอยู่เชิงสะพานพระราม 9 ฝั่งธนบุรี อย่างโดดเด่นเป็นสง่า
ตึกจิวเวอร์รี่เทรดเซ็นเตอร์
อันดับ 7 ตึก"ไชน่า รีซอร์สเซส ทาวเวอร์" อาคารสำนักงานที่อยู่ที่เขตปทุมวัน สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2545ในระดับความสูง 210 เมตร จำนวน 53 ชั้น

อันดับ 6 ตึก"จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์" สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2539ด้วยความสูง 220.7 เมตร ขนาด 59 ชั้น ใช้เป็นอาคารสำนักงาน
 เอ็มไพรทาวเวอร์1 อาคารสำนักงานที่ถนนสาทรใต้
อันดับ 5 ตึก "เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ 1" อาคารสำนักงานที่ถนนสาทรใต้เช่นกัน สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2542 ด้วยความสูง 227 เมตร 62 ชั้น
เดอะเม็ท คอนโดมิเดียมสูงกลางเมือง
อันดับ 4 ตึก"เดอะ เม็ท" คอนโดมิเดียมกลางเมืองที่ถนนสาทรใต้ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2552มีสุง 228 เมตร จำนวนชั้นทั้งหมด69 ชั้น

อันดับ 3 ตึก"เซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์" ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2551ด้วยความสูง 235 เมตร 57 ชั้น โดยโรงแรมแห่งนี้อยู่รวมกับศูนย์กลารค้าเซ็นทรัลเวิลด์
 เซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
อันดับ 2 ตึก"สเตท ทาวเวอร์" เขตบางรัก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2544 ด้วยความสูง 247 เมตร 68 ชั้น แต่เดิมตึกแห่งนี้ชื่อว่าสีลม พรีเชียส ทาวเวอร์ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็น รอยัล เจริญกรุง ทาวเวอร์ แล้วจึงปลี่ยนเป็นสเตท ทาวเวอร์อย่างในปัจจุบัน
 เสตททาวเวอร์ ตึกสูงอันดับที่ 2 ของไทย
และสำหรับตึกสูงอับดับ 1 คงจะเป็นตึกไหนไปไม่ได้นอกจากตึก"ใบหยก 2" ซึ่งหลายๆคนรู้จักกันเป็นอย่างดี

สำหรับการถือกำเนิดของตึกใบหยก 2 ต้องขอย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว ที่ได้มีการสร้างตึก"ใบหยก 1" ขึ้นต่อจากนั้นอีกไม่นานก็ได้มีการสร้างตึกใบหยก 2ขึ้น บนถนนราชปรารถ(ใกล้กับตึกใบหยก 1) ซึ่งแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2540 (เริ่มตอกเสาเข็มปี พ.ศ. 2533)ด้วยจำนวนชั้นรวมชั้นใต้ดิน 88 ชั้น มีความสูงถึง 304 เมตร(ไม่รวมเสาอากาศ) ถือเป็นตึกที่สูงที่สุดในเมืองไทยและเป็นตึกสูงอันดับที่ 47ของโลกในยุคปัจจุบัน
ตึกใบหยก 2(ขวา)ตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทยตั้งเคียงคู่กับตึกใบหยก 1 (ซ้าย)
ตึกโอเชี่ยนวัน นอกจากจะเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยแล้วเป็นที่พักอาศัยที่สูงที่สุดในโลกอีกด้วย ซึ่งหลังตึกแห่งนี้สร้างแล้วเสร็จตำแหน่งตึกสูงอย่างเป็นทางการในบ้านเราคงจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง
กำลังโหลดความคิดเห็น