โดย : หนุ่มลูกทุ่ง

ศาสนาใดที่มีคนนับถือมากที่สุดในโลก?
คำตอบสุดท้ายก็คือ "ศาสนาคริสต์" นั่นเอง
และในช่วงนี้ก็ใกล้จะถึงเทศกาลเฉลิมฉลองของชาวคริสต์ทั่วโลกกว่าพันล้านคน โดยในวันที่ 25 ธันวาคมนี้ ถือเป็นวัน "คริสต์มาส" หรือวันประสูติของพระเยซู ผู้เป็นศาสดาในศาสนาคริสต์ และเนื่องในโอกาสที่ใกล้ถึงเทศกาลคริสต์มาสนี้ ฉันจะพาทุกคนไปรู้จักกับ "โบสถ์คริสต์" 4 แห่ง ที่งดงามและน่าสนใจ และแต่ละแห่งก็ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ แห่งนี้ทั้งสิ้น

เริ่มจาก "โบสถ์ไคร้สต์เชิช" หรือ "คริสตจักรไคร้สต์เชิชกรุงเทพ" บนถนนคอนแวนต์ ย่านสีลม โบสถ์แห่งนี้เป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิกัน ที่เริ่มก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยในปี พ.ศ.2407 โดยโบสถ์หลังเก่าตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นที่ดินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แต่อีก 40 ปีต่อมาสถานที่นมัสการเริ่มไม่เพียงพอ รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระราชทานที่ดินอีกผืนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่บนถนนคอนแวนต์ ให้สร้างเป็นโบสถ์คริสตจักรไคร้สเชิชอย่างที่เห็นอย่างทุกวันนี้
ดูจากภายนอกโบสถ์แล้วให้ความรู้สึกเหมือนกำลังเดินเข้าไปในปราสาทของฝรั่ง เพราะด้านหน้าเป็นหอคอยสูงเชื่อมกับตัวโบสถ์ ส่วนภายในนั้นก็งดงามด้วยภาพกระจกสีเก่าแก่เป็นรูปพระเยซูและนักบุญต่างๆ สวยงามมาก และมีออร์แกนเก่าแก่ที่ยังคงใช้การได้ดี และที่พิเศษก็คือพัดลมเพดานซึ่งเป็นของเก่าแก่ที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 ตัวใบพัดเป็นไม้สัก และดุมพัดลมนั้นมีตรา จปร.ประทับไว้ด้วย

ในย่านสีลมยังมีโบสถ์คริสต์ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง นั่นก็คือ "คริสตจักรสืบสัมพันธวงศ์" ซึ่งตั้งอยู่บนถนนศรีเวียง ใกล้กับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน โบสถ์เก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2445 โดยเริ่มจากแนวคิดของดร.อาเธอร์ เจ. บราวส์ เลขานุการจากอเมริกัน-เพรสไบทีเรียนมิสชั่น ผู้บันทึกแนวความคิดส่วนหนึ่งของท่านไว้ว่า "ในกรุงเทพฯ มีผู้คนพล-เมืองหลายแสน แต่จะหาที่นมัสการพระเจ้าหรือจะหาคนที่เหมาะสำหรับจูงจิตวิญญาณของคนหนุ่มสาวที่กำลังเอาใจใส่ในการของพระเจ้ายาก"
กำลังสำคัญในการสร้างโบสถ์หลังนี้ก็คือ ศจ.บุญต๋วน บุญอิต ที่ ดร.อาเธอร์ กล่าวว่า "ข้าพเจ้าไม่เห็นใครวิเศษและเหมาะกับการนี้เท่ากับบุญอิต" และสำหรับที่ดินและเงินสมทบทุนก่อสร้างส่วนใหญ่นั้น ท่านเจ้าคุณสารสิน สวามิภักดิ์ ได้ยกที่ดินอันเป็นที่ตั้งโบสถ์ในปัจจุบันนี้ให้พร้อมกับเงินทุนจำนวนหนึ่ง ดังนั้นโบสถ์นี้จึงได้ชื่อว่า "สืบสัมพันธวงศ์" อันเป็นชื่อที่ระลึกถึง "นายสืบ" บุตรชายหัวปีของท่านเจ้าคุณสารสิน

ศจ.บุญต๋วน บุญอิต ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการสร้างโบสถ์หลังนี้ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่าท่านได้เสียชีวิตด้วยโรคอหิวาต์ไปก่อนที่โบสถ์จะสร้างเสร็จสมบูรณ์ และต่อมาโบสถ์หลังนี้ก็ได้รับการบูรณะต่อมาอีกหลายๆ ครั้งด้วยกัน โดยในครั้งล่าสุดอีกก็คือการบูรณะพระวิหารและหอระฆังจนในขณะนี้ คริสตจักรสืบสัมพันธวงศ์ก็ดูงดงามเป็นที่ชื่นชมแก่ผู้พบเห็น เป็นความงามที่สงบของศาสนสถานที่ควรค่าแก่การเคารพ

ไปต่อกันที่ "โบสถ์พระมหาไถ่" ในซอยร่วมฤดี ย่านเพลินจิต คณะพระมหาไถ่ได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในประเทศไทยช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยได้ไปเผยแผ่ศาสนาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนที่จะเข้ามาในกรุงเทพฯเมื่อปี พ.ศ.2492 จุดเริ่มต้นของการสร้างวัดพระมหาไถ่ในกรุงเทพฯ เริ่มมาจากการเช่าบ้านในซอยนายเลิศ ซึ่งไม่ไกลจากวัดพระมหาไถ่ในปัจจุบันเท่าใดนัก โดยปรับปรุงโรงรถของบ้านนั้นให้เป็นวัด และเริ่มมีพิธีมิสซาสำหรับสัตบุรุษทันที วัดแห่งแรกนี้ได้รับชื่อว่า "วัดพระมารดาแห่งโรงจอดรถ" หลังจากนั้นไม่นานก็ได้ย้ายมาที่คลีนิกของดร.เลิศ ศรีจันทร์ บนถนนสาธร และทำมิสซาวันอาทิตย์ที่โรงเรียนมาแตร์ เดอีแทน เพราะว่าจำนวนของสัตบุรุษมีมากขึ้น
ตลอดช่วงเวลานี้คณะพระมหาไถ่ก็มองหาที่ดินเพื่อจะได้สร้างโบสถ์และบ้านพักพระสงฆ์เป็นหลักแหล่งแน่นอน โดยจุดประสงค์หลักคืออยากได้แหล่งที่ชาวคาทอลิกที่ใช้ภาษาอังกฤษสามารถติดต่อได้สะดวก เนื่องจาก พณฯ พระสังฆราช หลุยส์ โชแรง ประมุขของพระศาสนจักร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ ขณะนั้นเล็งเห็นว่ากลุ่มชาวคาทอลิกกลุ่มนี้น่าจะได้รับการอภิบาลมากขึ้นกว่าเดิมที่ขาดแคลนพระสงฆ์ที่รู้ภาษาอังกฤษ และในที่สุดก็ได้ที่ดินผืนหนึ่งตรงตามความต้องการ คือตั้งอยู่ในซอยร่วมฤดี ที่ตั้งปัจจุบันของโบสถ์มหาไถ่นั่นเอง

ผู้ที่ได้เคยเห็นโบสถ์พระมหาไถ่นี้แล้วอาจจะแปลกใจ เพราะหน้าตาของตัวโบสถ์ไม่ได้เป็นศิลปะแบบตะวันตกเหมือนอย่างโบสถ์คริสต์ทั่วๆไป แต่ดูแล้วคล้ายกับโบสถ์ของทางพุทธศาสนาเสียมากกว่า นั่นก็เพราะด้วยคำแนะนำของ มองซินยอร์ ฟุลตัน ชีน พระสังฆราชชาวอเมริกัน ในโอกาสที่ท่านมาเยือนประเทศไทย และกล่าวกับคุณพ่อกอดเบ๊าท์ผู้เป็นกำลังหลักในการสร้างโบสถ์ว่า "เมื่อคุณพ่อจะสร้างวัด ทำไมไม่สร้างในแบบสถาปัตยกรรมไทย" โบสถ์พระมหาไถ่จึงมีลักษณะคล้ายกับโบสถ์ของศาสนาพุทธทั้งหลังคา หน้าจั่ว หรือซุ้มประตู แตกต่างแต่เพียงเครื่องหมายกางเขนบนยอดหลังคา และหน้าบันของโบสถ์เท่านั้น จึงนับว่าเป็นโบสถ์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งเลยทีเดียว

โบสถ์ต่อมาก็คือ "วัดแม่พระฟาติมา" ที่ตั้งอยู่ในย่านดินแดง โดยประวัติของโบสถ์หลังนี้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2493 คุณพ่ออาแมสตอยเจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ ได้ขออนุญาตพระสังฆราชหลุยส์โชแรงสร้างวัดโดยในเวลานั้นที่ดินแถบดินแดงนี้ถือว่าอยู่เขตชานเมือง แต่ดูว่ากำลังจะเจริญแม้จะยังไม่มีถนนตัดผ่านก็ตาม ที่ดินบริเวณนี้มีเนื้อที่กว้างพอที่จะสามารถสร้างได้ทั้งวัด โรงเรียน รวมทั้งหมู่บ้านคริสตัง คุณพ่อจึงตัดสินใจซื้อที่แห่งนี้รวมเนื้อที่ทั้งหมด 37 ไร่ 16 วา โดยพระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ และถวายนามว่า "วัดแม่พระฟาติมา"
ภายในโบสถ์แม่พระฟาติมานี้ มีบรรยากาศของความสว่างและสงบ มีรูปปั้นพระเยซูถูกตรึงกางเขนอยู่ตรงกลางของโบสถ์ และรูปพระแม่ฟาติมาที่แห่มาจากวัดกาลหว่าร์อยู่บริเวณด้านซ้ายมือ ภายในโบสถ์ทาด้วยสีขาวและสีครีมทำให้ภายในไม่มืดทึม อีกทั้งยังมีกระจกสีเป็นเรื่องราวในคริสต์ศาสนาและรูปพระแม่ต่างๆ งดงามเป็นอย่างยิ่ง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
โบสถ์ของศาสนาคริสต์ที่น่าสนใจและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ยังมีอีกมากมายหลายโบสถ์ ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาอย่าง "โบสถ์ซางตาครูส" โบสถ์สถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค ตั้งอยู่ใกล้กับวัดกัลยาณมิตร "โบสถ์กาลหว่าร์" หรือ "วัดแม่พระลูกประคำ" สถาปัตยกรรมแบบโกธิคงดงาม ในย่านตลาดน้อย เยาวราช และโบสถ์เก่าแก่สมัยอยุธยาอย่าง "โบสถ์คอนเซ็ปชั่น" ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสะพานกรุงธนฯ ส่วน "โบสถ์อัสสัมชัญ" แม้ไม่ติดแม่น้ำแต่ก็อยู่กลางเมืองย่านบางรัก งดงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบเรอเนสซองส์
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
***ชม 5 โบสถ์คริสต์ งามวิจิตรตระการตา***
ศาสนาใดที่มีคนนับถือมากที่สุดในโลก?
คำตอบสุดท้ายก็คือ "ศาสนาคริสต์" นั่นเอง
และในช่วงนี้ก็ใกล้จะถึงเทศกาลเฉลิมฉลองของชาวคริสต์ทั่วโลกกว่าพันล้านคน โดยในวันที่ 25 ธันวาคมนี้ ถือเป็นวัน "คริสต์มาส" หรือวันประสูติของพระเยซู ผู้เป็นศาสดาในศาสนาคริสต์ และเนื่องในโอกาสที่ใกล้ถึงเทศกาลคริสต์มาสนี้ ฉันจะพาทุกคนไปรู้จักกับ "โบสถ์คริสต์" 4 แห่ง ที่งดงามและน่าสนใจ และแต่ละแห่งก็ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ แห่งนี้ทั้งสิ้น
เริ่มจาก "โบสถ์ไคร้สต์เชิช" หรือ "คริสตจักรไคร้สต์เชิชกรุงเทพ" บนถนนคอนแวนต์ ย่านสีลม โบสถ์แห่งนี้เป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิกัน ที่เริ่มก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยในปี พ.ศ.2407 โดยโบสถ์หลังเก่าตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นที่ดินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แต่อีก 40 ปีต่อมาสถานที่นมัสการเริ่มไม่เพียงพอ รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระราชทานที่ดินอีกผืนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่บนถนนคอนแวนต์ ให้สร้างเป็นโบสถ์คริสตจักรไคร้สเชิชอย่างที่เห็นอย่างทุกวันนี้
ดูจากภายนอกโบสถ์แล้วให้ความรู้สึกเหมือนกำลังเดินเข้าไปในปราสาทของฝรั่ง เพราะด้านหน้าเป็นหอคอยสูงเชื่อมกับตัวโบสถ์ ส่วนภายในนั้นก็งดงามด้วยภาพกระจกสีเก่าแก่เป็นรูปพระเยซูและนักบุญต่างๆ สวยงามมาก และมีออร์แกนเก่าแก่ที่ยังคงใช้การได้ดี และที่พิเศษก็คือพัดลมเพดานซึ่งเป็นของเก่าแก่ที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 ตัวใบพัดเป็นไม้สัก และดุมพัดลมนั้นมีตรา จปร.ประทับไว้ด้วย
ในย่านสีลมยังมีโบสถ์คริสต์ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง นั่นก็คือ "คริสตจักรสืบสัมพันธวงศ์" ซึ่งตั้งอยู่บนถนนศรีเวียง ใกล้กับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน โบสถ์เก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2445 โดยเริ่มจากแนวคิดของดร.อาเธอร์ เจ. บราวส์ เลขานุการจากอเมริกัน-เพรสไบทีเรียนมิสชั่น ผู้บันทึกแนวความคิดส่วนหนึ่งของท่านไว้ว่า "ในกรุงเทพฯ มีผู้คนพล-เมืองหลายแสน แต่จะหาที่นมัสการพระเจ้าหรือจะหาคนที่เหมาะสำหรับจูงจิตวิญญาณของคนหนุ่มสาวที่กำลังเอาใจใส่ในการของพระเจ้ายาก"
กำลังสำคัญในการสร้างโบสถ์หลังนี้ก็คือ ศจ.บุญต๋วน บุญอิต ที่ ดร.อาเธอร์ กล่าวว่า "ข้าพเจ้าไม่เห็นใครวิเศษและเหมาะกับการนี้เท่ากับบุญอิต" และสำหรับที่ดินและเงินสมทบทุนก่อสร้างส่วนใหญ่นั้น ท่านเจ้าคุณสารสิน สวามิภักดิ์ ได้ยกที่ดินอันเป็นที่ตั้งโบสถ์ในปัจจุบันนี้ให้พร้อมกับเงินทุนจำนวนหนึ่ง ดังนั้นโบสถ์นี้จึงได้ชื่อว่า "สืบสัมพันธวงศ์" อันเป็นชื่อที่ระลึกถึง "นายสืบ" บุตรชายหัวปีของท่านเจ้าคุณสารสิน
ศจ.บุญต๋วน บุญอิต ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการสร้างโบสถ์หลังนี้ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่าท่านได้เสียชีวิตด้วยโรคอหิวาต์ไปก่อนที่โบสถ์จะสร้างเสร็จสมบูรณ์ และต่อมาโบสถ์หลังนี้ก็ได้รับการบูรณะต่อมาอีกหลายๆ ครั้งด้วยกัน โดยในครั้งล่าสุดอีกก็คือการบูรณะพระวิหารและหอระฆังจนในขณะนี้ คริสตจักรสืบสัมพันธวงศ์ก็ดูงดงามเป็นที่ชื่นชมแก่ผู้พบเห็น เป็นความงามที่สงบของศาสนสถานที่ควรค่าแก่การเคารพ
ไปต่อกันที่ "โบสถ์พระมหาไถ่" ในซอยร่วมฤดี ย่านเพลินจิต คณะพระมหาไถ่ได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในประเทศไทยช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยได้ไปเผยแผ่ศาสนาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนที่จะเข้ามาในกรุงเทพฯเมื่อปี พ.ศ.2492 จุดเริ่มต้นของการสร้างวัดพระมหาไถ่ในกรุงเทพฯ เริ่มมาจากการเช่าบ้านในซอยนายเลิศ ซึ่งไม่ไกลจากวัดพระมหาไถ่ในปัจจุบันเท่าใดนัก โดยปรับปรุงโรงรถของบ้านนั้นให้เป็นวัด และเริ่มมีพิธีมิสซาสำหรับสัตบุรุษทันที วัดแห่งแรกนี้ได้รับชื่อว่า "วัดพระมารดาแห่งโรงจอดรถ" หลังจากนั้นไม่นานก็ได้ย้ายมาที่คลีนิกของดร.เลิศ ศรีจันทร์ บนถนนสาธร และทำมิสซาวันอาทิตย์ที่โรงเรียนมาแตร์ เดอีแทน เพราะว่าจำนวนของสัตบุรุษมีมากขึ้น
ตลอดช่วงเวลานี้คณะพระมหาไถ่ก็มองหาที่ดินเพื่อจะได้สร้างโบสถ์และบ้านพักพระสงฆ์เป็นหลักแหล่งแน่นอน โดยจุดประสงค์หลักคืออยากได้แหล่งที่ชาวคาทอลิกที่ใช้ภาษาอังกฤษสามารถติดต่อได้สะดวก เนื่องจาก พณฯ พระสังฆราช หลุยส์ โชแรง ประมุขของพระศาสนจักร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ ขณะนั้นเล็งเห็นว่ากลุ่มชาวคาทอลิกกลุ่มนี้น่าจะได้รับการอภิบาลมากขึ้นกว่าเดิมที่ขาดแคลนพระสงฆ์ที่รู้ภาษาอังกฤษ และในที่สุดก็ได้ที่ดินผืนหนึ่งตรงตามความต้องการ คือตั้งอยู่ในซอยร่วมฤดี ที่ตั้งปัจจุบันของโบสถ์มหาไถ่นั่นเอง
ผู้ที่ได้เคยเห็นโบสถ์พระมหาไถ่นี้แล้วอาจจะแปลกใจ เพราะหน้าตาของตัวโบสถ์ไม่ได้เป็นศิลปะแบบตะวันตกเหมือนอย่างโบสถ์คริสต์ทั่วๆไป แต่ดูแล้วคล้ายกับโบสถ์ของทางพุทธศาสนาเสียมากกว่า นั่นก็เพราะด้วยคำแนะนำของ มองซินยอร์ ฟุลตัน ชีน พระสังฆราชชาวอเมริกัน ในโอกาสที่ท่านมาเยือนประเทศไทย และกล่าวกับคุณพ่อกอดเบ๊าท์ผู้เป็นกำลังหลักในการสร้างโบสถ์ว่า "เมื่อคุณพ่อจะสร้างวัด ทำไมไม่สร้างในแบบสถาปัตยกรรมไทย" โบสถ์พระมหาไถ่จึงมีลักษณะคล้ายกับโบสถ์ของศาสนาพุทธทั้งหลังคา หน้าจั่ว หรือซุ้มประตู แตกต่างแต่เพียงเครื่องหมายกางเขนบนยอดหลังคา และหน้าบันของโบสถ์เท่านั้น จึงนับว่าเป็นโบสถ์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งเลยทีเดียว
โบสถ์ต่อมาก็คือ "วัดแม่พระฟาติมา" ที่ตั้งอยู่ในย่านดินแดง โดยประวัติของโบสถ์หลังนี้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2493 คุณพ่ออาแมสตอยเจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ ได้ขออนุญาตพระสังฆราชหลุยส์โชแรงสร้างวัดโดยในเวลานั้นที่ดินแถบดินแดงนี้ถือว่าอยู่เขตชานเมือง แต่ดูว่ากำลังจะเจริญแม้จะยังไม่มีถนนตัดผ่านก็ตาม ที่ดินบริเวณนี้มีเนื้อที่กว้างพอที่จะสามารถสร้างได้ทั้งวัด โรงเรียน รวมทั้งหมู่บ้านคริสตัง คุณพ่อจึงตัดสินใจซื้อที่แห่งนี้รวมเนื้อที่ทั้งหมด 37 ไร่ 16 วา โดยพระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ และถวายนามว่า "วัดแม่พระฟาติมา"
ภายในโบสถ์แม่พระฟาติมานี้ มีบรรยากาศของความสว่างและสงบ มีรูปปั้นพระเยซูถูกตรึงกางเขนอยู่ตรงกลางของโบสถ์ และรูปพระแม่ฟาติมาที่แห่มาจากวัดกาลหว่าร์อยู่บริเวณด้านซ้ายมือ ภายในโบสถ์ทาด้วยสีขาวและสีครีมทำให้ภายในไม่มืดทึม อีกทั้งยังมีกระจกสีเป็นเรื่องราวในคริสต์ศาสนาและรูปพระแม่ต่างๆ งดงามเป็นอย่างยิ่ง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
โบสถ์ของศาสนาคริสต์ที่น่าสนใจและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ยังมีอีกมากมายหลายโบสถ์ ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาอย่าง "โบสถ์ซางตาครูส" โบสถ์สถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค ตั้งอยู่ใกล้กับวัดกัลยาณมิตร "โบสถ์กาลหว่าร์" หรือ "วัดแม่พระลูกประคำ" สถาปัตยกรรมแบบโกธิคงดงาม ในย่านตลาดน้อย เยาวราช และโบสถ์เก่าแก่สมัยอยุธยาอย่าง "โบสถ์คอนเซ็ปชั่น" ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสะพานกรุงธนฯ ส่วน "โบสถ์อัสสัมชัญ" แม้ไม่ติดแม่น้ำแต่ก็อยู่กลางเมืองย่านบางรัก งดงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบเรอเนสซองส์
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
***ชม 5 โบสถ์คริสต์ งามวิจิตรตระการตา***