โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
เราเคยเรียนเคยท่องกันมาตอนเด็กๆใช่ไหมว่าป่าของแต่ละภาคในประเทศไทยเป็นอย่างไร ป่าพรุ ป่าเต็งรัง ป่าชายเลน และอีกหลายๆป่าในประเทศล้วนแล้วแต่มีลักษณะที่ไม่เหมือนกันรวมทั้งสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ก็ไม่เหมือนกันด้วย จำกันได้หรือยัง..ถ้ายังฉันจะพาไปย้อนระลึกนึกถึงสิ่งที่เคยจำๆท่องๆกันมาเมื่อสมัยประถมกันที่ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา กรุงรัตนโกสินทร์”
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ชั้นล่างของตึกเทียมคมกฤส คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โดยในราวปลายปี พ.ศ. 2516 หม่อมเจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในสมัยนั้น มีดำริที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาขึ้น ด้วยได้พิจารณาเห็นว่าประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติประเภทต่าง ๆ เป็นจำนวนมากสมควรที่จะอนุรักษ์ให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป ต่อมาในปี พ.ศ.2525 การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ก็ได้ถูกจัดให้เป็นกิจกรรมหนึ่งในการสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จึงเป็นที่มาของชื่อ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา กรุงรัตนโกสินทร์” นั้นเอง
วัตถุประสงค์ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือเผยแพร่และแสดงตัวอย่างทรัพยากรธรรมชาติให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป คงประโยชน์ในด้านการวิจัยค้นคว้า และเพื่อรักษาตัวอย่างทรัพยากรบางชนิดที่หายาก ทั้งยังเพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศและเพื่อประโยชน์ในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย คณะวนศาสตร์จึงได้จัดทำตู้จำลองสภาพธรรมชาติ พร้อมทั้งได้รวบรวมตัวอย่างพืชและสัตว์ที่มีหลักฐานว่าเคยพบในบริเวณกรุงเทพมหานคร อีกทั้งยังได้รวบรวมสิ่งของบริจาค เช่น เขาสัตว์ กะโหลกสัตว์ หนังสัตว์ที่หายากและสิ่งของธรรมชาติอื่นๆ ไว้จัดแสดงด้วย
ฉันเองก็เป็นคนหนึ่งที่คิดว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ช่างน่าสนใจและน่าเรียนรู้ยิ่งนัก เกี่ยวกับสภาพธรรมชาติของประเทศไทยเราที่เคยอุดมสมบูรณ์ทั้งสัตว์ป่าและพันธุ์พืช แต่ในปัจจุบันกลับวิปริตผิดแปลกไปมาก ไม่ใช่แค่เฉพาะในประเทศไทยแต่เป็นไปทั่วทั้งโลกดังข่าวที่เราได้เห็นกันบ่อยๆ ซึ่งก็ไม่แน่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ประเทศไทยของเราอาจจะมีหิมะตกก็เป็นได้ เฮ้อ...คิดแล้วสงสารโลก
เอาล่ะ มาว่ากันต่อเรื่องของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ฉันเดินเข้ามาทางชั้นล่างของอาคาร ตามทางลาดขึ้นไปจะมีตู้กระจกใสเรียงหลายมากมาย นั้นคือตู้จัดแสดงที่จำลองสภาพป่าลักษณะต่างๆในประเทศของเราไว้และยังมีสัตว์ป่าที่ตายแล้วนำมาสตัฟฟ์ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอยู่ในป่าลักษณะนั้นๆ ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์ก็ได้จัดลักษณะป่าตามสภาพพื้นที่คือป่าที่อยู่ในที่ลุ่มต่ำก็จะอยู่ด้านล่าง ส่วนป่าที่อยู่ในที่ราบสูงก็จะอยู่ด้านบน เป็นการง่ายต่อความเข้าใจของผู้ที่เข้าชมด้วย
ตู้จัดแสดงแรกที่ฉันเจอก็คือ “ป่าพรุ” ซึ่งเป็นผืนป่าประเภทไม่ผลัดใบ เราจะพบป่าแบบนี้ในที่ลุ่มต่ำหรือพื้นที่เป็นแอ่งน้ำมีน้ำขังตลอดปีในภาคใต้ของประเทศไทย พรรณไม้ในป่าประเภทนี้จะเป็นพวกไม้ยืนต้นที่มีขนาดและความสูงต่างๆกัน ส่วนไม้ชั้นล่างจะเป็นพวกไม้พุ่มและปาล์มที่ค่อนข้างหน้าแน่น ปัจจุบันมีการขุดคลองระบายน้ำออกจากพื้นที่ป่าพรุ ทำให้ป่าเสื่อมสภาพลง พื้นดินมีการยุบตัวและเมื่อแห้งแล้วก็จะกลายเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ทำให้บางแห่งมีไฟไหม้บ่อยครั้ง
สัตว์ป่าที่พบได้ทั่วไปในป่าพรุก็เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู กระรอก สัตว์เลื้อยคลานเช่น งู ตะกวด และนกชนิดต่างๆ นอกจากนี้ที่นี่ยังบอกไว้อีกว่า ป่าพรุที่สมบูรณ์แห่งสุดท้ายของประเทศไทยคือ ป่าพรุโต๊ะแดง ในท้องที่อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส
ตู้ต่อไปจัดแสดงประเภท “ทุ่งหญ้า” ซึ่งในประเทศไทยทุ่งหญ้าเหล่านั้นเกิดจากการบุกรุกทำลายป่าในอดีต จนทำให้เกิดเป็นพื้นที่โล่งกว้างแทรกอยู่ในป่าเดิมพบมากในบริเวณภูเขาทางภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และในอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง พืชที่พบก็จำพวกหญ้าและกก และพืชจำพวกไม้ล้มลุกและไม้พุ่ม สำหรับสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่เช่น สัตว์จำพวกฟันแทะ เช่น หนู กระต่ายป่า สัตว์จำพวกล่าหนูเป็นอาหาร เช่น เหยี่ยวขาว พังพอน งู และสัตว์จำพวกนกที่กินเมล็ดหญ้าและนกจับแมลงอีกหลายชนิด
ถัดมาเป็นตู้จัดแสดง “กรุงรัตนโกสินทร์สมัยต้น” คือในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 4 พื้นที่บางแห่งในกำแพงพระนครเองยังเป็นเรือกสวนและที่ทำไร่ทำนาบ้าง ส่วนที่อยู่นอกกำแพงพระนครออกไปก็เป็นพวกสวน และท้องไร่ ท้องนา ที่ไกลพระนครออกไปอีกเช่น แถวบางซื่อ บางเขน บางกะปิ พระโขนง และบางนาในสมัยนั้นยังเป็นป่าและมีสัตว์ป่าชนิดต่างๆอาศัยอยู่ เช่น ช้าง เสือ หมี หมูป่า รวมทั้งเนื้อสมัน ซึ่งเป็นกวางที่มีเขาสวยงามมาก แต่ในปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปเรียบร้อยโรงเรียนไทยแล้ว
เดินต่อไปก็เจอกับตู้ที่จัดแสดง “เขาสัตว์” ที่ใหญ่โตและแตกกิ่งก้านสวยงามมาก ซึ่งเขาสัตว์เหล่านี้เป็นของจริงที่มีผู้มาบริจาคให้กับทางพิพิธภัณฑ์ ใกล้กับตู้เขาสัตว์ เป็นตู้ “ป่าชายเลน” ซึ่งเป็นป่าที่ขึ้นตามชายทะเลที่เป็นเลน ไม้ที่พบได้แก่ ไม้โกงกาง ประสัก แสม ตะบูน ลำพู ลำแพง เหงือกปลาหมอ ปรงทะเล และจาก สัตว์ที่อยู่ตามเลนเช่น ปูแสม ปูก้ามดาบ ปูทะเล และปลาตีน เป็นต้น และยังมีนกอีกหลายชนิดที่อาศัยทำรังในบริเวณนี้ เช่น นกกระยาง เหยี่ยวแดง นกยางทะเล นกกระเต็น เป็นต้น ซึ่งนอกจากนกประจำถิ่นแล้ว ยังมีนกอพยพ
ตู้ “สภาพธรรมชาตินอกกรุงรัตนโกสินทร์” จัดแสดงสภาพความเป็นอยู่และการทำมาหากินของราษฏร์ในกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในสมัยต้นนั้นเป็นไปในลักษณะที่พึ่งตนเอง ปัจจัยที่จำเป็นต่อการยังชีพก็แสวงหามาจากป่าหรือทำขึ้นมาใช้เอง เช่น บ้านที่ทำขึ้นมาจากไม้ในป่าเช่น แฝก หรือจากที่ใช้มุงหลังคาก็ได้จากใบหญ้าคา เครื่องใช้ในครัวเรือนก็ใช้ดินเหนียวปั้นแล้วเอาไปเผาเป็นหม้อ ไห ใช้ไม้ไผ่มาสานเป็นตะกร้า กระบุง ข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักก็ปลูกขึ้นมา และเก็บเกี่ยวไว้ในยุ้งฉาง มีการปลูกฝ้ายเพื่อเอามาปั่นเป็นเส้นด้ายแล้วนำมาถักทอเป็นผ้า เป็นต้น ซึ่งสภาพเหล่านี้เป็นภาพที่ฉันคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสมัยเด็กๆ
ต่อมาเป็นตู้จัดแสดง “นกกาฮัง หรือ นกกก” ซึ่งเป็นนกป่าที่มีขนาดใหญ่ พบได้ตามป่าดงดิบเกือบทุกภาคยกเว้นบริเวณตอนกลางของประเทศ นกชนิดนี้กินลูกไม้ต่างๆเป็นอาหารรวมทั้งสัตว์ขนาดเล็กด้วย นกกาฮังจะสร้างรังและวางไข่อยู่ในโพรงไม้ใหญ่ที่สูงจากพื้นดินประมาณ 12-22 ม. หลังผสมพันธุ์ 2-3 วัน นกตัวเมียจะเข้าไปทำความสะอาด และเริ่มปิดปากโพรงด้วยดินและวัสดุอื่นๆจนเหลือเป็นช่องแคบๆไว้สำหรับรับอาหารจากตัวผู้ ตลอดระยะเวลาที่วางไข่หลังจากนั้นแม่นกจึงจะออกมาช่วยหาอาหาร ฉันดูแล้วรู้สึกประทับใจในความรักใคร่สามัคคีของครอบครัวจริงๆ
นอกจากนี้ยังมีตู้จัดแสดง “หินงอกหินย้อยภายในถ้ำ” ตู้จัดแสดงต่อมาเป็นเรื่องของ “ป่าเบญจพรรณ” ซึ่งมีอยู่ตามภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ พบในที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 ม. สภาพป่าจะแตกต่างกันมากในช่วงฤดูฝนกับฤดูแล้ง โดยในฤดูแล้งไม้ยืนต้นจะผลัดใบและเกิดไฟไหม้ป่าบ่อยครั้ง แต่ในฤดูฝนก็จะผลิใบออกมาใหม่ทำให้ป่าดูทึบและสวยงามไปอีกแบบ ไม้ยืนต้นในป่าเขตนี้ก็มีหลายชนิด เช่น สัก ประดู่ ตะแบก ไผ่ และไม้จำพวกปาล์ม ซึ่งป่าชนิดนี้เหมาะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าชนิดต่างๆ เช่น ช้างป่า กวางป่า กระทิง เก้ง วัวแดง และนกหลากชนิด เป็นต้น
ป่าชนิดต่อไปคือ “ป่าเต็งรัง” ซึ่งจะพบในพื้นที่ทั้งบนเขาและพื้นราบ โดยจะขึ้นปกคลุมเป็นบริเวณกว้างบนเทือกเขาทางทิศตะวันตก ทิศตะวันออก และทิศเหนือของประเทศ ลักษณะเป็นป่าโล่งมีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลางกระจายทั่วพื้นที่ ไม้ยืนต้นที่ขึ้นได้แก่ ยาง มะกอก รัง เต็ง และพวกไม้พุ่มขนาดเล็ก และยังมีไม้ล้มลุกและกล้วยไม้ดิน
“ป่าดิบชื้น” พบในจังหวัดจันทบุรีและทางภาคใต้ในจังหวัดตรัง ยะลา และนราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากมรสุมมีฝนตกมาก พืชที่พบ เช่น ยาง ตะเคียนทอง จำปีป่า มะไฟ ปาล์ม จำพวกไม้ก่อ จะสังเกตว่าไม้เกือบทุกต้นจะมีพวกมอส เฟิน และกล้วยไม้ขึ้นคลุมเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันถูกทำลายลงไปมากเพราะมีไม้เนื้อแข็งหลายชนิดที่มีค่าทางการค้า
จากป่าดิบชื่น เป็น “ป่าดิบเขา” ป่าพวกนี้จะกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ที่มีความสูงเกินกว่า 1,000 ม. จากระดับน้ำทะเล มีความชื้นสูง และมีฝนมาก ป่าแบบนี้ประกอบด้วยพืชพรรณจำพวกต้นก่อ เกาลัด จำปีดง กุหลาบพันปี ขึ้นรวมอยู่กับไม้จำพวกสน เป็นต้น
นอกจากนี้ตรงโถงกลางยังจัดเป็นนิทรรศการชั่วคราวเรื่องของสัตว์ปีจำพวกนกต่างๆ ด้วย แต่ฉันว่าที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังขาดอีกหนึ่งตู้แสดงก็คือ “ตู้ป่าคอนกรีต” ที่มีให้เห็นอยู่มากมายหลากหลายแบบบุกรุกไปทุกพื้นที่ ซึ่งก็น่าเห็นใจลูกหลานในอนาคตที่เมื่อเกิดมาอาจจะมีโอกาสเห็นและศึกษาลักษณะของป่าแบบต่างๆในประเทศไทยของเราได้แค่จากในตู้ภายในพิพิธภัณฑ์ก็เป็นได้ หากคนไทยยังขาดจิตสำนักรักษ์ธรรมชาติอย่างเช่นปัจจุบัน
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา กรุงรัตนโกสินทร์” ตั้งอยู่ที่ชั้นล่างของตึกเทียมคมกฤส คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เข้าชมฟรีทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.00 น. หากเข้าชมเป็นหมู่คณะโปรดติดต่อล่วงหน้าเพื่อเตรียมวิทยากร สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2579-0170
เราเคยเรียนเคยท่องกันมาตอนเด็กๆใช่ไหมว่าป่าของแต่ละภาคในประเทศไทยเป็นอย่างไร ป่าพรุ ป่าเต็งรัง ป่าชายเลน และอีกหลายๆป่าในประเทศล้วนแล้วแต่มีลักษณะที่ไม่เหมือนกันรวมทั้งสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ก็ไม่เหมือนกันด้วย จำกันได้หรือยัง..ถ้ายังฉันจะพาไปย้อนระลึกนึกถึงสิ่งที่เคยจำๆท่องๆกันมาเมื่อสมัยประถมกันที่ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา กรุงรัตนโกสินทร์”
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ชั้นล่างของตึกเทียมคมกฤส คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โดยในราวปลายปี พ.ศ. 2516 หม่อมเจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในสมัยนั้น มีดำริที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาขึ้น ด้วยได้พิจารณาเห็นว่าประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติประเภทต่าง ๆ เป็นจำนวนมากสมควรที่จะอนุรักษ์ให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป ต่อมาในปี พ.ศ.2525 การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ก็ได้ถูกจัดให้เป็นกิจกรรมหนึ่งในการสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จึงเป็นที่มาของชื่อ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา กรุงรัตนโกสินทร์” นั้นเอง
วัตถุประสงค์ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือเผยแพร่และแสดงตัวอย่างทรัพยากรธรรมชาติให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป คงประโยชน์ในด้านการวิจัยค้นคว้า และเพื่อรักษาตัวอย่างทรัพยากรบางชนิดที่หายาก ทั้งยังเพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศและเพื่อประโยชน์ในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย คณะวนศาสตร์จึงได้จัดทำตู้จำลองสภาพธรรมชาติ พร้อมทั้งได้รวบรวมตัวอย่างพืชและสัตว์ที่มีหลักฐานว่าเคยพบในบริเวณกรุงเทพมหานคร อีกทั้งยังได้รวบรวมสิ่งของบริจาค เช่น เขาสัตว์ กะโหลกสัตว์ หนังสัตว์ที่หายากและสิ่งของธรรมชาติอื่นๆ ไว้จัดแสดงด้วย
ฉันเองก็เป็นคนหนึ่งที่คิดว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ช่างน่าสนใจและน่าเรียนรู้ยิ่งนัก เกี่ยวกับสภาพธรรมชาติของประเทศไทยเราที่เคยอุดมสมบูรณ์ทั้งสัตว์ป่าและพันธุ์พืช แต่ในปัจจุบันกลับวิปริตผิดแปลกไปมาก ไม่ใช่แค่เฉพาะในประเทศไทยแต่เป็นไปทั่วทั้งโลกดังข่าวที่เราได้เห็นกันบ่อยๆ ซึ่งก็ไม่แน่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ประเทศไทยของเราอาจจะมีหิมะตกก็เป็นได้ เฮ้อ...คิดแล้วสงสารโลก
เอาล่ะ มาว่ากันต่อเรื่องของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ฉันเดินเข้ามาทางชั้นล่างของอาคาร ตามทางลาดขึ้นไปจะมีตู้กระจกใสเรียงหลายมากมาย นั้นคือตู้จัดแสดงที่จำลองสภาพป่าลักษณะต่างๆในประเทศของเราไว้และยังมีสัตว์ป่าที่ตายแล้วนำมาสตัฟฟ์ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอยู่ในป่าลักษณะนั้นๆ ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์ก็ได้จัดลักษณะป่าตามสภาพพื้นที่คือป่าที่อยู่ในที่ลุ่มต่ำก็จะอยู่ด้านล่าง ส่วนป่าที่อยู่ในที่ราบสูงก็จะอยู่ด้านบน เป็นการง่ายต่อความเข้าใจของผู้ที่เข้าชมด้วย
ตู้จัดแสดงแรกที่ฉันเจอก็คือ “ป่าพรุ” ซึ่งเป็นผืนป่าประเภทไม่ผลัดใบ เราจะพบป่าแบบนี้ในที่ลุ่มต่ำหรือพื้นที่เป็นแอ่งน้ำมีน้ำขังตลอดปีในภาคใต้ของประเทศไทย พรรณไม้ในป่าประเภทนี้จะเป็นพวกไม้ยืนต้นที่มีขนาดและความสูงต่างๆกัน ส่วนไม้ชั้นล่างจะเป็นพวกไม้พุ่มและปาล์มที่ค่อนข้างหน้าแน่น ปัจจุบันมีการขุดคลองระบายน้ำออกจากพื้นที่ป่าพรุ ทำให้ป่าเสื่อมสภาพลง พื้นดินมีการยุบตัวและเมื่อแห้งแล้วก็จะกลายเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ทำให้บางแห่งมีไฟไหม้บ่อยครั้ง
สัตว์ป่าที่พบได้ทั่วไปในป่าพรุก็เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู กระรอก สัตว์เลื้อยคลานเช่น งู ตะกวด และนกชนิดต่างๆ นอกจากนี้ที่นี่ยังบอกไว้อีกว่า ป่าพรุที่สมบูรณ์แห่งสุดท้ายของประเทศไทยคือ ป่าพรุโต๊ะแดง ในท้องที่อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส
ตู้ต่อไปจัดแสดงประเภท “ทุ่งหญ้า” ซึ่งในประเทศไทยทุ่งหญ้าเหล่านั้นเกิดจากการบุกรุกทำลายป่าในอดีต จนทำให้เกิดเป็นพื้นที่โล่งกว้างแทรกอยู่ในป่าเดิมพบมากในบริเวณภูเขาทางภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และในอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง พืชที่พบก็จำพวกหญ้าและกก และพืชจำพวกไม้ล้มลุกและไม้พุ่ม สำหรับสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่เช่น สัตว์จำพวกฟันแทะ เช่น หนู กระต่ายป่า สัตว์จำพวกล่าหนูเป็นอาหาร เช่น เหยี่ยวขาว พังพอน งู และสัตว์จำพวกนกที่กินเมล็ดหญ้าและนกจับแมลงอีกหลายชนิด
ถัดมาเป็นตู้จัดแสดง “กรุงรัตนโกสินทร์สมัยต้น” คือในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 4 พื้นที่บางแห่งในกำแพงพระนครเองยังเป็นเรือกสวนและที่ทำไร่ทำนาบ้าง ส่วนที่อยู่นอกกำแพงพระนครออกไปก็เป็นพวกสวน และท้องไร่ ท้องนา ที่ไกลพระนครออกไปอีกเช่น แถวบางซื่อ บางเขน บางกะปิ พระโขนง และบางนาในสมัยนั้นยังเป็นป่าและมีสัตว์ป่าชนิดต่างๆอาศัยอยู่ เช่น ช้าง เสือ หมี หมูป่า รวมทั้งเนื้อสมัน ซึ่งเป็นกวางที่มีเขาสวยงามมาก แต่ในปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปเรียบร้อยโรงเรียนไทยแล้ว
เดินต่อไปก็เจอกับตู้ที่จัดแสดง “เขาสัตว์” ที่ใหญ่โตและแตกกิ่งก้านสวยงามมาก ซึ่งเขาสัตว์เหล่านี้เป็นของจริงที่มีผู้มาบริจาคให้กับทางพิพิธภัณฑ์ ใกล้กับตู้เขาสัตว์ เป็นตู้ “ป่าชายเลน” ซึ่งเป็นป่าที่ขึ้นตามชายทะเลที่เป็นเลน ไม้ที่พบได้แก่ ไม้โกงกาง ประสัก แสม ตะบูน ลำพู ลำแพง เหงือกปลาหมอ ปรงทะเล และจาก สัตว์ที่อยู่ตามเลนเช่น ปูแสม ปูก้ามดาบ ปูทะเล และปลาตีน เป็นต้น และยังมีนกอีกหลายชนิดที่อาศัยทำรังในบริเวณนี้ เช่น นกกระยาง เหยี่ยวแดง นกยางทะเล นกกระเต็น เป็นต้น ซึ่งนอกจากนกประจำถิ่นแล้ว ยังมีนกอพยพ
ตู้ “สภาพธรรมชาตินอกกรุงรัตนโกสินทร์” จัดแสดงสภาพความเป็นอยู่และการทำมาหากินของราษฏร์ในกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในสมัยต้นนั้นเป็นไปในลักษณะที่พึ่งตนเอง ปัจจัยที่จำเป็นต่อการยังชีพก็แสวงหามาจากป่าหรือทำขึ้นมาใช้เอง เช่น บ้านที่ทำขึ้นมาจากไม้ในป่าเช่น แฝก หรือจากที่ใช้มุงหลังคาก็ได้จากใบหญ้าคา เครื่องใช้ในครัวเรือนก็ใช้ดินเหนียวปั้นแล้วเอาไปเผาเป็นหม้อ ไห ใช้ไม้ไผ่มาสานเป็นตะกร้า กระบุง ข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักก็ปลูกขึ้นมา และเก็บเกี่ยวไว้ในยุ้งฉาง มีการปลูกฝ้ายเพื่อเอามาปั่นเป็นเส้นด้ายแล้วนำมาถักทอเป็นผ้า เป็นต้น ซึ่งสภาพเหล่านี้เป็นภาพที่ฉันคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสมัยเด็กๆ
ต่อมาเป็นตู้จัดแสดง “นกกาฮัง หรือ นกกก” ซึ่งเป็นนกป่าที่มีขนาดใหญ่ พบได้ตามป่าดงดิบเกือบทุกภาคยกเว้นบริเวณตอนกลางของประเทศ นกชนิดนี้กินลูกไม้ต่างๆเป็นอาหารรวมทั้งสัตว์ขนาดเล็กด้วย นกกาฮังจะสร้างรังและวางไข่อยู่ในโพรงไม้ใหญ่ที่สูงจากพื้นดินประมาณ 12-22 ม. หลังผสมพันธุ์ 2-3 วัน นกตัวเมียจะเข้าไปทำความสะอาด และเริ่มปิดปากโพรงด้วยดินและวัสดุอื่นๆจนเหลือเป็นช่องแคบๆไว้สำหรับรับอาหารจากตัวผู้ ตลอดระยะเวลาที่วางไข่หลังจากนั้นแม่นกจึงจะออกมาช่วยหาอาหาร ฉันดูแล้วรู้สึกประทับใจในความรักใคร่สามัคคีของครอบครัวจริงๆ
นอกจากนี้ยังมีตู้จัดแสดง “หินงอกหินย้อยภายในถ้ำ” ตู้จัดแสดงต่อมาเป็นเรื่องของ “ป่าเบญจพรรณ” ซึ่งมีอยู่ตามภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ พบในที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 ม. สภาพป่าจะแตกต่างกันมากในช่วงฤดูฝนกับฤดูแล้ง โดยในฤดูแล้งไม้ยืนต้นจะผลัดใบและเกิดไฟไหม้ป่าบ่อยครั้ง แต่ในฤดูฝนก็จะผลิใบออกมาใหม่ทำให้ป่าดูทึบและสวยงามไปอีกแบบ ไม้ยืนต้นในป่าเขตนี้ก็มีหลายชนิด เช่น สัก ประดู่ ตะแบก ไผ่ และไม้จำพวกปาล์ม ซึ่งป่าชนิดนี้เหมาะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าชนิดต่างๆ เช่น ช้างป่า กวางป่า กระทิง เก้ง วัวแดง และนกหลากชนิด เป็นต้น
ป่าชนิดต่อไปคือ “ป่าเต็งรัง” ซึ่งจะพบในพื้นที่ทั้งบนเขาและพื้นราบ โดยจะขึ้นปกคลุมเป็นบริเวณกว้างบนเทือกเขาทางทิศตะวันตก ทิศตะวันออก และทิศเหนือของประเทศ ลักษณะเป็นป่าโล่งมีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลางกระจายทั่วพื้นที่ ไม้ยืนต้นที่ขึ้นได้แก่ ยาง มะกอก รัง เต็ง และพวกไม้พุ่มขนาดเล็ก และยังมีไม้ล้มลุกและกล้วยไม้ดิน
“ป่าดิบชื้น” พบในจังหวัดจันทบุรีและทางภาคใต้ในจังหวัดตรัง ยะลา และนราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากมรสุมมีฝนตกมาก พืชที่พบ เช่น ยาง ตะเคียนทอง จำปีป่า มะไฟ ปาล์ม จำพวกไม้ก่อ จะสังเกตว่าไม้เกือบทุกต้นจะมีพวกมอส เฟิน และกล้วยไม้ขึ้นคลุมเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันถูกทำลายลงไปมากเพราะมีไม้เนื้อแข็งหลายชนิดที่มีค่าทางการค้า
จากป่าดิบชื่น เป็น “ป่าดิบเขา” ป่าพวกนี้จะกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ที่มีความสูงเกินกว่า 1,000 ม. จากระดับน้ำทะเล มีความชื้นสูง และมีฝนมาก ป่าแบบนี้ประกอบด้วยพืชพรรณจำพวกต้นก่อ เกาลัด จำปีดง กุหลาบพันปี ขึ้นรวมอยู่กับไม้จำพวกสน เป็นต้น
นอกจากนี้ตรงโถงกลางยังจัดเป็นนิทรรศการชั่วคราวเรื่องของสัตว์ปีจำพวกนกต่างๆ ด้วย แต่ฉันว่าที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังขาดอีกหนึ่งตู้แสดงก็คือ “ตู้ป่าคอนกรีต” ที่มีให้เห็นอยู่มากมายหลากหลายแบบบุกรุกไปทุกพื้นที่ ซึ่งก็น่าเห็นใจลูกหลานในอนาคตที่เมื่อเกิดมาอาจจะมีโอกาสเห็นและศึกษาลักษณะของป่าแบบต่างๆในประเทศไทยของเราได้แค่จากในตู้ภายในพิพิธภัณฑ์ก็เป็นได้ หากคนไทยยังขาดจิตสำนักรักษ์ธรรมชาติอย่างเช่นปัจจุบัน
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
“พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา กรุงรัตนโกสินทร์” ตั้งอยู่ที่ชั้นล่างของตึกเทียมคมกฤส คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เข้าชมฟรีทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.00 น. หากเข้าชมเป็นหมู่คณะโปรดติดต่อล่วงหน้าเพื่อเตรียมวิทยากร สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2579-0170