โดย : The Mouse
อย่างที่ฉันทิ้งท้ายไว้เมื่อตอนก่อนว่า กรุงเบอร์ลินมีพิพิธภัณฑ์มากถึง 170 แห่ง (ตามที่การท่องเที่ยวเยอรมันโม้ไว้) ถ้าเดินชมสถานที่สำคัญ หรือย่านไหนๆ เราก็จะได้พบเห็นพิพิธภัณฑ์น้อยใหญ่เรียงรายอยู่ทั่วเมือง
ถ้าไม่จำเป็นต้องเที่ยวแบบชะโงกทัวร์หรือเหมากรุ๊ป การใช้เวลาในพิพิธภัณฑ์ของแต่ประเทศ แต่ละเมือง ถือเป็นความปรารถนาของฉันอย่างยิ่ง เพราะพิพิธภัณฑ์ไม่ว่าจะกว้างหรือแคบแค่ไหน ล้วนให้ความรู้ และบอกเล่าเรื่องราวของผู้คนแถวนั้นได้เป็นอย่างดี
เรียกได้ว่า “เป็นทางลัดสู่การทำความรู้จักดินแดนนั้นๆ”
ทว่าท่ามกลางหมู่มวลพิพิธภัณฑ์อันมากมาย ณ เมืองหลวงแห่งเยอรมนี ฉันกลับอยากจะพบโฉมหน้าของหญิงคนหนึ่งที่มาไกลจากอียิปต์ ใน “พิพิธภัณฑ์เก่า” ที่จงใจสร้างประหนึ่งวิหารพาเทนอน มีเสายักษ์เรียงราย ตั้งตระหง่านอยู่หน้า “ลูสต์การ์เทน” (Lustgarten)
ฉันรีบข้ามถนนจากเบเบลพลัตซ์มุ่งหน้าสู่ “ลูสต์การ์เทน” สวนสาธารณะที่มีลานสนามหญ้าขนาดใหญ่ อยู่เบื้องหน้าของหมู่พิพิธภัณฑ์ รวมทั้งแเบร์ลิเนอร์ดอม (Berliner Dom) โบสถ์น้อยในวัง ที่สร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14
สถานที่แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของเกาะพิพิธภัณฑ์ ที่ทำให้ฉันต้องเดินอ้อมขึ้นไปทางด้านเหนือของเกาะระยะทางพอเหนื่อย เพื่อซื้อตั๋วที่ “เพอร์กามอน” พิพิธภัณฑ์หลัก ก่อนจะไปยังที่หมาย
สนนราคาค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์เดียว 10 ยูโร ถ้าเหมาทั้งเกาะ 14 ยูโร ช่วงนี้ลด 50% อีก หรือถ้าใครอยู่นานและชอบพิพิธภัณฑ์ ก็มีตั๋วแบบเหมา เข้าพิพิธภัณฑ์เบอร์ลินให้หนำใจภายใน 3 วัน ราคา 19 ยูโร ฉันตาวาวกับตั๋ว 3 วัน แต่นึกถึงสถานภาพวีซ่าที่กำลังจะหมดในวันรุ่งขึ้น ก็ตัดใจซื้อตั๋วเหมาทั้งเกาะแทนก็แล้วกัน
ก่อนหน้านี้ ฉันเคยมาปรากฎตัวขอซื้อตั๋วเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในช่วง 2 ชั่วโมงสุดท้ายก่อนเวลาปิด คุณป้าขายตั๋วแนะนำว่า สำหรับการชมครั้งแรกนั้นควรจะมาแต่เช้าแล้วซื้อตั๋วแบบเหมาน่าจะคุ้มกว่า ฉันก็บอกความจำนงไปว่าอยากจะขอพบ “เธอคนนั้น” ที่พิพิธภัณฑ์เก่าเพียงเท่านั้น แต่คุณป้าก็ยืนยันว่า แค่ 2 ชั่วโมงไม่พอหรอก ฉันจึงได้มาแก้ตัวใหม่ในคราวนี้
เมื่อได้ตั๋วแล้วฉันปรี่ไปยังพิพิธภัณฑ์เก่าที่มีแค่ 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นคอลเล็กชันกรีกโบรณายุคคลาสสิก ส่วนชั้นบนจัดแสดงคอลเล็กชันไอยคุปต์และพาไพรัส พร้อมทั้ง “เธอคนนั้น” ที่ใครๆ ต่างตั้งใจไปหา
เธอคนนั้น คือ “รูปปั้นท่อนบนของเนเฟอร์ติติ” รูปปั้นชิ้นนี้ถูกทำเลียนแบบซ้ำมากที่สุดในบรรดาศิลปวัตถุของไอยคุปต์ และโด่งดังกว่ารูปปั้นชิ้นใดๆ ในยุคสมัยเดียวกัน
ศิลปะอียิปต์ในช่วงของพระนางเนเฟอร์ติตินั้น ถือเป็นรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “ศิลปะแบบอมาร์นา” จึงแตกต่างออกไปจากอียิปต์ยุคอื่นๆ รูปปั้นชิ้นนี้จึงขึ้นชื่อว่า “เป็นศิลปะที่งดงามที่สุดแห่งอียิปต์โบราณ”
ฉันยืนจังงังจ้องอยู่ที่ใบหน้าของพระนางที่คมสวยได้รูป พิศดูใบหน้างามเรียวกว่าคลีโอพัตรา (นึกถึงคลีโอพัตราที่เป็นรูปปั้นในสไตล์อียิปต์ ไม่ใช่ตัวแสดงในภาพยนตร์)
เดิมทีรูปท่อนบนของเนเฟอร์ติติไม่ได้สมบูรณ์อย่างที่เห็น แต่ด้วยความพยายามทางวิทยาศาสตร์ ปะติดปะต่อจนก่อร่างออกมาได้ขนาดนี้ ซึ่งเบื้องหลังของการต่อเติมโบราณวัตถุก่อนนำโชว์สู่สาธารณะ ก็มีจัดแสดงที่ห้องก่อนหน้าเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ก่อนเดินถึงรูปปั้นของเนเฟอร์ติติ
เรียกได้ว่าฉันโชคดีที่ได้เห็นเบื้องหลังของศาสตร์ทางด้านพิพิธภัณฑ์ ที่ช่างซับซ้อน ละเอียดอ่อน และใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่คิด ถ้าใครได้มีโอกาสมาเห็นส่วนจัดแสดงเบื้องหลังพวกนี้ รับรองเราจะเห็นความหมายของพิพิธภัณฑ์ขึ้นมากมาย กว่าการเป็นแค่แหล่งรวมของเก่าคร่ำครึ
คุณป้าขายตั๋วพูดถูก แค่ 2 ชั้นในพิพิธภัณฑ์เก่า ฉันใช้เวลาไปเกือบ 3 ชั่วโมงกว่าจะซึมซับอารายธรรมกรีกและอียิปต์ได้ครบถ้วน
เมื่อหลุดจากมนต์ราชินีแห่งฟาโรห์แล้ว ฉันเดินกลับไปที่ “เพอร์กามอน” ซึ่งเป็นสถานที่แรกที่ทุกคนควรไปเยี่ยมในการเที่ยวชมเกาะพิพิธภัณฑ์
“แม่เจ้า” ฉันอุทานขึ้นในใจ (ถ้าส่งเสียงดังคงโดนหิ้วปีกออกไป) ทันทีที่ก้าวเข้าสู่ห้องแรก ก็ได้พบ “เพอร์กามอน อัลตาร์” (Pergamon Altar) วิหารบูชาเทพขนาดยักษ์ยุคศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลที่ขุดพบ ณ เมืองเพอร
์กามอน ตุรกี ซึ่งมีนักโบราณคดีของเยอรมันร่วมด้วย จึงได้นำส่วนหนึ่งมาบูรณะและปะติดปะต่อเสมือนจิกซอว์
ใช้เวลากว่า 20 ปีจนในที่สุดได้เพอร์กามอน อัลตาร์ ขนาดเท่าของจริงมาจัดแสดงอยู่ที่นี่ พร้อมด้วยผนังห้องรายล้อมด้วยประติมากรรมนูนสูง ที่ต่อขึ้นจากเศษซากปรักหักพังที่ขุดพบ เล่าเรื่องสงครามระหว่างเทพและยักษ์ ถือว่าเป็นศิลปะชิ้นโบว์แดงของกรีก
ละลานตระการตากับสถาปัตยกรรมกรีกโบราณขนาดเท่าของจริง ชิ้นไหนทำจริงไม่ได้ก็ฉายภาพกันให้ดู ฉันชมเพลินจนพลัดหลงเดินลอด “ประตูอิชสตาร์” (Ishstar Gate) เข้าสู่ “เส้นทางบูชาเทพเจ้า” (Processional Way) ของชาวบาบิโลน ระหว่างทางเรียงรายไปด้วยปฏิมากรรม จากเศษกระเบื้องที่ขุดพบผสานกับจินตานการทางเทคโนโลยี
ฉันว่าการได้พบเนเฟอร์ติติถือเป็นไฮไลต์ แต่การได้เข้ามาที่พิพิธภัณฑ์เพอร์กามอนถือเป็นไฮไลต์ยิ่งกว่า ไม่ใช่เพราะเหล่าของโบราณนับหมื่นๆ ชิ้นเบื้องหน้า แต่ฉันทึ่งในความมุ่งมั่นของนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามจะย้อนเวลา นำเศษอิฐ เศษกระเบื้องมาก่อคืนรูปเป็นสถาปัตยกรรม ให้คนรุ่นหลังได้ร่องรอยแห่งอารยธรรมที่บรรบุรุษของเราได้ทำไว้ เผื่อจะได้รู้จักรักษาสมบัติที่บ่งบอกถึงความเป็นชาติ อย่าให้ต้องมาขุดหาและอาลัยกันในภายหลัง
เพอร์การมอนถือเป็น 1 ใน 10 พิพิธภัณฑ์ที่ยอดที่สุดในโลก และหมู่พิพิธภัณฑ์บนเกาะแห่งนี้ก็ได้เป็นมรดกโลก จะไม่ให้สำคัญได้อย่างไร ก็เล่นเอาข้าวของจากทุกมุมโลกมารวมกันไว้มากมายเสียขนาดนี้ และการจัดแสดงก็ทำให้เราหลงใหลอยู่ที่นั่นได้เป็นวันๆ
ฉันออกจากพิพิธภัณฑ์ด้วยความอ่อนล้า พร้อมๆ กับพบว่า “ลูสต์การเทน” สนามหญ้าใหญ่หน้าเกาะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จงใจจัดวางเพื่อให้เราๆ ได้นั่งพักเท้า ที่เดินวนเวียนอยู่ในพิพิธภัณฑ์นานหลายชั่วโมง “ลูสต์” แปลว่า “อารมณ์” มันคือ “สวนทอดอารมณ์” นี่เอง !!
กว่าจะพาตัวเองออกจากอาณาจักรกรีก โรมัน ไบเซนไทน์ ก็เหลือเวลาอีกแค่ 2 ชั่วโมงที่ต้องไปให้ถึงสนามบิน ยังมีพิพิธภัณฑ์อีกแห่งที่ “อยาก” เข้าไปเหลือเกิน นั่นก็คือ “เดเดอาร์” (DDR Museum) ที่แห่งนี้จำลองสภาพความเป็นอยู่ของชาวเยอรมันตะวันออกเอาไว้ เราสามารถเข้าไปทำตัวเป็นชาวตะวันออกเพื่อซึมซับบรรยกาศได้เลย
พิพิธภัณฑ์เดเดอาร์อยู่ติดกับแบร์ลิเนอร์โดม ใกล้เพียงแค่เดินลัดสนาม สายตาฉันมองทอดทะลุผ่านไปถึงแล้ว แต่กำลังขาและเวลาหมดลงตรงสวนผ่อนคลายอารมณ์แห่งนี้.
*****************************************
“เกาะแห่งพิพิธภัณฑ์” หรือเรียกตามภาษาเยอรมันว่า “มูเซอุม อินเซล” (Museuminsel) ตั้งอยู่บนเกาะน้อยๆ บนแม่น้ำสปรีที่ไหลทอดผ่านกลางเบอร์ลิน
ภายในเกาะแห่งนี้ประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์ย่อย (ที่ใหญ่) ถึง 5 แห่ง แต่ละอาคารล้วนมีจุดเด่นแตกต่างกันไป โดยทางตอนใต้เกาะคือ “อัลเทส มูเซอุม” (Altes Museum : Old Museum) ซึ่งเป็นส่วนที่เก่าแก่ที่สุด
ถัดมาเป็น “อัลเทอ นาชิโอนาลกาเลรี” (Alte Nationalgalerie : Old National Gallery) ที่เก็บรวบรวมศิลปะยุคศตวรรษที่ 19 จากทั่วยุโรป และ “นอยเอส มูเซอุม” (Neues Museum : New Museum) ที่เพิ่งเปิดใหม่อีกครั้งเมื่อเดือนก่อน ซึ่งเนฟอร์ติติและคอลเล็กชันไอยคุปต์ถูกย้ายมาจัดแสดงที่นี่
ส่วนอีก 2 อาคารอยู่ทางด้านเหนือ คือ “บอเดอ มูเซอุม” (Bode-Museum) และ “เพอร์กามอน มูเซอุม” (Pergamon Museum) ซึ่งพระเจ้าเฟรเดริก วิลเลียม ที่ 4 แห่งปรัสเซียได้อุทิศพื้นที่ส่วนนี้ให้แก่ “ศิลปะและวิทยาศาสตร์” ในปี 184
เกาะแห่งพิพิธภัณฑ์นี้ใช้เวลาก่อสร้างและสะสมโบราณวัตถุกันมาหลายช่วงกษัตริย์ กระทั่งส่งต่อเป็นมูลนิธิมรดกทางวัฒนธรรมของปรัสเซียในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 พร้อมๆ กับเพอร์กามอนที่สร้างเสร็จในปี 1930 แต่แล้วก็ถูกทำลายลงเมื่อกรุงเบอร์ลินถูกโจมตีในช่วงสงครามโลก
ส่วนโบราณวัตถุที่สะสมกันมานาน ก็ถูกจับแยกแจกกระจายออกไป ในช่วงที่เบอร์ลินถูกแบ่งออกเป็น 2 ครั้นเมื่อรวมประเทศกลับมาดั่งเดิม ฝ่ายต่างๆ ก็ถูกส่งคืนไม่ครบถ้วน
ตอนนี้ทั้งตัวพิพิธภัณฑ์และคอลเล็กชันต่างๆ กำลังได้รับการปรับปรุงและจัดเรียงใหม่ แม้ได้บูรณะหลังสงครามไปแล้ว อาคารต่างๆ ก็ยังทรุดลงเรื่อยๆ หมู่เกาะพิพิธภัณฑ์โฉมใหม่จะเสร็จสิ้นภายในปี 2015.
อย่างที่ฉันทิ้งท้ายไว้เมื่อตอนก่อนว่า กรุงเบอร์ลินมีพิพิธภัณฑ์มากถึง 170 แห่ง (ตามที่การท่องเที่ยวเยอรมันโม้ไว้) ถ้าเดินชมสถานที่สำคัญ หรือย่านไหนๆ เราก็จะได้พบเห็นพิพิธภัณฑ์น้อยใหญ่เรียงรายอยู่ทั่วเมือง
ถ้าไม่จำเป็นต้องเที่ยวแบบชะโงกทัวร์หรือเหมากรุ๊ป การใช้เวลาในพิพิธภัณฑ์ของแต่ประเทศ แต่ละเมือง ถือเป็นความปรารถนาของฉันอย่างยิ่ง เพราะพิพิธภัณฑ์ไม่ว่าจะกว้างหรือแคบแค่ไหน ล้วนให้ความรู้ และบอกเล่าเรื่องราวของผู้คนแถวนั้นได้เป็นอย่างดี
เรียกได้ว่า “เป็นทางลัดสู่การทำความรู้จักดินแดนนั้นๆ”
ทว่าท่ามกลางหมู่มวลพิพิธภัณฑ์อันมากมาย ณ เมืองหลวงแห่งเยอรมนี ฉันกลับอยากจะพบโฉมหน้าของหญิงคนหนึ่งที่มาไกลจากอียิปต์ ใน “พิพิธภัณฑ์เก่า” ที่จงใจสร้างประหนึ่งวิหารพาเทนอน มีเสายักษ์เรียงราย ตั้งตระหง่านอยู่หน้า “ลูสต์การ์เทน” (Lustgarten)
ฉันรีบข้ามถนนจากเบเบลพลัตซ์มุ่งหน้าสู่ “ลูสต์การ์เทน” สวนสาธารณะที่มีลานสนามหญ้าขนาดใหญ่ อยู่เบื้องหน้าของหมู่พิพิธภัณฑ์ รวมทั้งแเบร์ลิเนอร์ดอม (Berliner Dom) โบสถ์น้อยในวัง ที่สร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14
สถานที่แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของเกาะพิพิธภัณฑ์ ที่ทำให้ฉันต้องเดินอ้อมขึ้นไปทางด้านเหนือของเกาะระยะทางพอเหนื่อย เพื่อซื้อตั๋วที่ “เพอร์กามอน” พิพิธภัณฑ์หลัก ก่อนจะไปยังที่หมาย
สนนราคาค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์เดียว 10 ยูโร ถ้าเหมาทั้งเกาะ 14 ยูโร ช่วงนี้ลด 50% อีก หรือถ้าใครอยู่นานและชอบพิพิธภัณฑ์ ก็มีตั๋วแบบเหมา เข้าพิพิธภัณฑ์เบอร์ลินให้หนำใจภายใน 3 วัน ราคา 19 ยูโร ฉันตาวาวกับตั๋ว 3 วัน แต่นึกถึงสถานภาพวีซ่าที่กำลังจะหมดในวันรุ่งขึ้น ก็ตัดใจซื้อตั๋วเหมาทั้งเกาะแทนก็แล้วกัน
ก่อนหน้านี้ ฉันเคยมาปรากฎตัวขอซื้อตั๋วเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในช่วง 2 ชั่วโมงสุดท้ายก่อนเวลาปิด คุณป้าขายตั๋วแนะนำว่า สำหรับการชมครั้งแรกนั้นควรจะมาแต่เช้าแล้วซื้อตั๋วแบบเหมาน่าจะคุ้มกว่า ฉันก็บอกความจำนงไปว่าอยากจะขอพบ “เธอคนนั้น” ที่พิพิธภัณฑ์เก่าเพียงเท่านั้น แต่คุณป้าก็ยืนยันว่า แค่ 2 ชั่วโมงไม่พอหรอก ฉันจึงได้มาแก้ตัวใหม่ในคราวนี้
เมื่อได้ตั๋วแล้วฉันปรี่ไปยังพิพิธภัณฑ์เก่าที่มีแค่ 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นคอลเล็กชันกรีกโบรณายุคคลาสสิก ส่วนชั้นบนจัดแสดงคอลเล็กชันไอยคุปต์และพาไพรัส พร้อมทั้ง “เธอคนนั้น” ที่ใครๆ ต่างตั้งใจไปหา
เธอคนนั้น คือ “รูปปั้นท่อนบนของเนเฟอร์ติติ” รูปปั้นชิ้นนี้ถูกทำเลียนแบบซ้ำมากที่สุดในบรรดาศิลปวัตถุของไอยคุปต์ และโด่งดังกว่ารูปปั้นชิ้นใดๆ ในยุคสมัยเดียวกัน
ศิลปะอียิปต์ในช่วงของพระนางเนเฟอร์ติตินั้น ถือเป็นรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “ศิลปะแบบอมาร์นา” จึงแตกต่างออกไปจากอียิปต์ยุคอื่นๆ รูปปั้นชิ้นนี้จึงขึ้นชื่อว่า “เป็นศิลปะที่งดงามที่สุดแห่งอียิปต์โบราณ”
ฉันยืนจังงังจ้องอยู่ที่ใบหน้าของพระนางที่คมสวยได้รูป พิศดูใบหน้างามเรียวกว่าคลีโอพัตรา (นึกถึงคลีโอพัตราที่เป็นรูปปั้นในสไตล์อียิปต์ ไม่ใช่ตัวแสดงในภาพยนตร์)
เดิมทีรูปท่อนบนของเนเฟอร์ติติไม่ได้สมบูรณ์อย่างที่เห็น แต่ด้วยความพยายามทางวิทยาศาสตร์ ปะติดปะต่อจนก่อร่างออกมาได้ขนาดนี้ ซึ่งเบื้องหลังของการต่อเติมโบราณวัตถุก่อนนำโชว์สู่สาธารณะ ก็มีจัดแสดงที่ห้องก่อนหน้าเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ก่อนเดินถึงรูปปั้นของเนเฟอร์ติติ
เรียกได้ว่าฉันโชคดีที่ได้เห็นเบื้องหลังของศาสตร์ทางด้านพิพิธภัณฑ์ ที่ช่างซับซ้อน ละเอียดอ่อน และใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่คิด ถ้าใครได้มีโอกาสมาเห็นส่วนจัดแสดงเบื้องหลังพวกนี้ รับรองเราจะเห็นความหมายของพิพิธภัณฑ์ขึ้นมากมาย กว่าการเป็นแค่แหล่งรวมของเก่าคร่ำครึ
คุณป้าขายตั๋วพูดถูก แค่ 2 ชั้นในพิพิธภัณฑ์เก่า ฉันใช้เวลาไปเกือบ 3 ชั่วโมงกว่าจะซึมซับอารายธรรมกรีกและอียิปต์ได้ครบถ้วน
เมื่อหลุดจากมนต์ราชินีแห่งฟาโรห์แล้ว ฉันเดินกลับไปที่ “เพอร์กามอน” ซึ่งเป็นสถานที่แรกที่ทุกคนควรไปเยี่ยมในการเที่ยวชมเกาะพิพิธภัณฑ์
“แม่เจ้า” ฉันอุทานขึ้นในใจ (ถ้าส่งเสียงดังคงโดนหิ้วปีกออกไป) ทันทีที่ก้าวเข้าสู่ห้องแรก ก็ได้พบ “เพอร์กามอน อัลตาร์” (Pergamon Altar) วิหารบูชาเทพขนาดยักษ์ยุคศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลที่ขุดพบ ณ เมืองเพอร
์กามอน ตุรกี ซึ่งมีนักโบราณคดีของเยอรมันร่วมด้วย จึงได้นำส่วนหนึ่งมาบูรณะและปะติดปะต่อเสมือนจิกซอว์
ใช้เวลากว่า 20 ปีจนในที่สุดได้เพอร์กามอน อัลตาร์ ขนาดเท่าของจริงมาจัดแสดงอยู่ที่นี่ พร้อมด้วยผนังห้องรายล้อมด้วยประติมากรรมนูนสูง ที่ต่อขึ้นจากเศษซากปรักหักพังที่ขุดพบ เล่าเรื่องสงครามระหว่างเทพและยักษ์ ถือว่าเป็นศิลปะชิ้นโบว์แดงของกรีก
ละลานตระการตากับสถาปัตยกรรมกรีกโบราณขนาดเท่าของจริง ชิ้นไหนทำจริงไม่ได้ก็ฉายภาพกันให้ดู ฉันชมเพลินจนพลัดหลงเดินลอด “ประตูอิชสตาร์” (Ishstar Gate) เข้าสู่ “เส้นทางบูชาเทพเจ้า” (Processional Way) ของชาวบาบิโลน ระหว่างทางเรียงรายไปด้วยปฏิมากรรม จากเศษกระเบื้องที่ขุดพบผสานกับจินตานการทางเทคโนโลยี
ฉันว่าการได้พบเนเฟอร์ติติถือเป็นไฮไลต์ แต่การได้เข้ามาที่พิพิธภัณฑ์เพอร์กามอนถือเป็นไฮไลต์ยิ่งกว่า ไม่ใช่เพราะเหล่าของโบราณนับหมื่นๆ ชิ้นเบื้องหน้า แต่ฉันทึ่งในความมุ่งมั่นของนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามจะย้อนเวลา นำเศษอิฐ เศษกระเบื้องมาก่อคืนรูปเป็นสถาปัตยกรรม ให้คนรุ่นหลังได้ร่องรอยแห่งอารยธรรมที่บรรบุรุษของเราได้ทำไว้ เผื่อจะได้รู้จักรักษาสมบัติที่บ่งบอกถึงความเป็นชาติ อย่าให้ต้องมาขุดหาและอาลัยกันในภายหลัง
เพอร์การมอนถือเป็น 1 ใน 10 พิพิธภัณฑ์ที่ยอดที่สุดในโลก และหมู่พิพิธภัณฑ์บนเกาะแห่งนี้ก็ได้เป็นมรดกโลก จะไม่ให้สำคัญได้อย่างไร ก็เล่นเอาข้าวของจากทุกมุมโลกมารวมกันไว้มากมายเสียขนาดนี้ และการจัดแสดงก็ทำให้เราหลงใหลอยู่ที่นั่นได้เป็นวันๆ
ฉันออกจากพิพิธภัณฑ์ด้วยความอ่อนล้า พร้อมๆ กับพบว่า “ลูสต์การเทน” สนามหญ้าใหญ่หน้าเกาะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จงใจจัดวางเพื่อให้เราๆ ได้นั่งพักเท้า ที่เดินวนเวียนอยู่ในพิพิธภัณฑ์นานหลายชั่วโมง “ลูสต์” แปลว่า “อารมณ์” มันคือ “สวนทอดอารมณ์” นี่เอง !!
กว่าจะพาตัวเองออกจากอาณาจักรกรีก โรมัน ไบเซนไทน์ ก็เหลือเวลาอีกแค่ 2 ชั่วโมงที่ต้องไปให้ถึงสนามบิน ยังมีพิพิธภัณฑ์อีกแห่งที่ “อยาก” เข้าไปเหลือเกิน นั่นก็คือ “เดเดอาร์” (DDR Museum) ที่แห่งนี้จำลองสภาพความเป็นอยู่ของชาวเยอรมันตะวันออกเอาไว้ เราสามารถเข้าไปทำตัวเป็นชาวตะวันออกเพื่อซึมซับบรรยกาศได้เลย
พิพิธภัณฑ์เดเดอาร์อยู่ติดกับแบร์ลิเนอร์โดม ใกล้เพียงแค่เดินลัดสนาม สายตาฉันมองทอดทะลุผ่านไปถึงแล้ว แต่กำลังขาและเวลาหมดลงตรงสวนผ่อนคลายอารมณ์แห่งนี้.
*****************************************
“เกาะแห่งพิพิธภัณฑ์” หรือเรียกตามภาษาเยอรมันว่า “มูเซอุม อินเซล” (Museuminsel) ตั้งอยู่บนเกาะน้อยๆ บนแม่น้ำสปรีที่ไหลทอดผ่านกลางเบอร์ลิน
ภายในเกาะแห่งนี้ประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์ย่อย (ที่ใหญ่) ถึง 5 แห่ง แต่ละอาคารล้วนมีจุดเด่นแตกต่างกันไป โดยทางตอนใต้เกาะคือ “อัลเทส มูเซอุม” (Altes Museum : Old Museum) ซึ่งเป็นส่วนที่เก่าแก่ที่สุด
ถัดมาเป็น “อัลเทอ นาชิโอนาลกาเลรี” (Alte Nationalgalerie : Old National Gallery) ที่เก็บรวบรวมศิลปะยุคศตวรรษที่ 19 จากทั่วยุโรป และ “นอยเอส มูเซอุม” (Neues Museum : New Museum) ที่เพิ่งเปิดใหม่อีกครั้งเมื่อเดือนก่อน ซึ่งเนฟอร์ติติและคอลเล็กชันไอยคุปต์ถูกย้ายมาจัดแสดงที่นี่
ส่วนอีก 2 อาคารอยู่ทางด้านเหนือ คือ “บอเดอ มูเซอุม” (Bode-Museum) และ “เพอร์กามอน มูเซอุม” (Pergamon Museum) ซึ่งพระเจ้าเฟรเดริก วิลเลียม ที่ 4 แห่งปรัสเซียได้อุทิศพื้นที่ส่วนนี้ให้แก่ “ศิลปะและวิทยาศาสตร์” ในปี 184
เกาะแห่งพิพิธภัณฑ์นี้ใช้เวลาก่อสร้างและสะสมโบราณวัตถุกันมาหลายช่วงกษัตริย์ กระทั่งส่งต่อเป็นมูลนิธิมรดกทางวัฒนธรรมของปรัสเซียในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 พร้อมๆ กับเพอร์กามอนที่สร้างเสร็จในปี 1930 แต่แล้วก็ถูกทำลายลงเมื่อกรุงเบอร์ลินถูกโจมตีในช่วงสงครามโลก
ส่วนโบราณวัตถุที่สะสมกันมานาน ก็ถูกจับแยกแจกกระจายออกไป ในช่วงที่เบอร์ลินถูกแบ่งออกเป็น 2 ครั้นเมื่อรวมประเทศกลับมาดั่งเดิม ฝ่ายต่างๆ ก็ถูกส่งคืนไม่ครบถ้วน
ตอนนี้ทั้งตัวพิพิธภัณฑ์และคอลเล็กชันต่างๆ กำลังได้รับการปรับปรุงและจัดเรียงใหม่ แม้ได้บูรณะหลังสงครามไปแล้ว อาคารต่างๆ ก็ยังทรุดลงเรื่อยๆ หมู่เกาะพิพิธภัณฑ์โฉมใหม่จะเสร็จสิ้นภายในปี 2015.