โดย : ปิ่น บุตรี
“...ฟ้าสวย ทะเลใส โรงแรมใหญ่ สรรพอาหาร สถานบันเทิง สำหรับเมืองท่องเที่ยวที่โลกคุ้นเคยแห่งนี้คงจะไม่พอเสียแล้ว การที่ภูเก็ตจะเป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติ เป็นเมืองนานาชาติ หรือกระทั่งเป็นเมืองสามัญที่มีความปกติสุขโดยไม่ต้องยึดโยงขึ้นกับนานาชาติอย่างมากนั้น เราต้องเร่งสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นรากเหง้าที่มีคุณค่าของเราเองให้ปรากฏ จำเป็นต้องกลับไปเรียนรู้จากอดีตก็ต้องทำพร้อมไปกับแสดงให้อาคันตุกะที่มาจากต่างแดนได้รู้จักเนื้อหาสาระของความเป็นภูเก็ต
ในส่วนของแหล่งการเรียนรู้และสถานที่แสดงกิจกรรมของท้องถิ่นที่มีคุณค่านั้น นิมิตหมายก็คือ ภูเก็ตกำลังสร้างพิพิธภัณฑ์ใหม่ๆขึ้น มีการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เดิม เริ่มมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย รวมไปถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมหรือข้อมูลความรู้ประกอบ ทั้งภาครัฐและเอกชน นั่นก็คือ ภูเก็ตกำลังขยับตัวไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้และการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยมีพิพิธภัณฑ์เป็นทัพหน้า...”
ข้อความข้างต้น ผมคัดมาจาก คอลัมน์ทอดสมอ Drop Anchor หนังสือ ภูเก็ตภูมิ Phuket Scape ที่ร่ายบรรเลงเพลงอักษรโดย บรรณาธิการบริหาร
โดยส่วนตัวผมไม่รู้จักเขาหรอก รู้แต่ว่าข้อความนั้นโดนใจและเข้ากันอย่างดีกับสิ่งที่ผมไปประสบพบเจอมา เพราะการไปภูเก็ตหนล่าสุดผมไปเจอกับพิพิธภัณฑ์ใหม่ในภูเก็ตเข้า(อันที่จริงสร้างมาได้สักพักแล้วล่ะ แต่มันถือว่าใหม่สำหรับผมเพาะเพิ่งเคยมาเที่ยวเป็นครั้งแรก)
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ คือ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ สร้างอย่างสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส บนพื้นที่ทำเหมืองเก่า มีเนื้อที่กว้างขวาง ตัวอาคารมีขนาดใหญ่โตเอาการ
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ สร้างขึ้นในปี 2549 ปัจจุบันยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เหลืออีกประมาณ 20 % แต่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้แล้ว
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ จัดแสดงในคอนเซ็ปต์ เปิดลับแลม่านฟ้า เกาะพญามังกรทอง แบ่งส่วนจัดแสดงหลักออกเป็นภายนอกและภายใน ภายนอก ในอนาคตจะทำเป็นเหมืองแร่จำลอง มีเรือ ขุด รางแร่ ฯลฯ มาจัดแสดงให้ชม ส่วนภายใน(อาคาร) แบ่งเป็นส่วนต่างๆ อาทิ โปท้องหง่อก่ากี่ แสดงรูปแบบของอาคารชิโน-โปรตุกีส พร้อมด้วยรถสองแถวไม้แบบภูเก็ต(รถโปท้อง) ชินวิถี จัดเป็นส่วนรับแขกของบ้านเศรษฐีนายเหมืองในอดีต ตกแต่งอย่างหรูหรา อัญมณีนายหัวเหมือง แสดงข้าวของมีค่าหายาก สิ่งละอันพันละน้อยที่เกี่ยวข้องกับ“แร่”
ครับ นั่นเป็นตัวอย่างน้ำจิ้มแบบเบาะๆของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งหากที่นี่มีเพียงแค่นี้ ผมเดินเที่ยวแบบผ่านๆเพียงแค่นั้น บอกตามตรงว่ามันสุดจืดชืดชาแถมแทบไม่ได้อะไรติดหัวกลับไปนอกจากภาพถ่าย
แต่ประทานโทษ!?! พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มันมีชีวิต เพราะมีคนไปเติมชีวิตให้กับมัน ซึ่งเขาคนนั้นก็คือ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ปราชญ์พื้นเมืองผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของภูเก็ตชนิดหาตัวจับยากคนหนึ่งของเมืองไทย
แต่ประทานโทษอีกครั้ง!?! วันนี้มีคนจับตัวเป็นๆของอาจารย์สมหมายได้ ด้วยการโทร.ไปเรียกอาจารย์ในวันหยุดพักผ่อนให้รีบขับรถออกจากบ้านมาทำหน้าที่ไกด์กิตติมศักดิ์ นำชมพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่แบบฟรีๆไม่มีชาร์จ(แต่อาจารย์ต้องเสียทั้งค่าน้ำมัน เสียเวลา) หะแรก ผมรู้สึกเกรงใจอย่างมากเพราะนี่มันเป็นการรบกวนอาจารย์มากเกินไป
แต่ประทานโทษครั้งที่สาม!?! เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ผู้โทร.ตามบอกว่า ถ้าอาจารย์ไม่ติดธุระสำคัญที่ไหนเรื่องแบบนี้แกยินดีมาก เพราะทุกวันนี้เรื่องราวน่าสนใจในวิถีดั้งเดิมของภูเก็ตมันถูกโลกทุนนิยมกลืนกินหายไปเรื่อยๆ จนอาจารย์อดเป็นห่วงไม่ได้ว่าถ้าไม่ร่วมกันอนุรักษ์ดูแลมันอาจจะสูญสลายไปในวันเวลาอันใกล้นี้
อีกอย่างหนึ่งพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่แห่งนี้ อาจารย์เป็นผู้ออกแบบจัดแสดงชนิดเข้าเนื้อ คือนอกจากไม่ได้เงินแล้วยังต้องบริจาคข้าวของสะสมอีกมากมายให้กับพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นวิทยาทาน แต่เพราะนี่มันคือ“ความสุข” ของชายคนหนึ่ง ที่รัฐมนตรีขี้ฉ้อเศรษฐีขี้โกงรวยระดับหมื่นล้านแสนล้านมิอาจสัมผัสได้
แถมความสุขของอาจารย์จากการนี้เมื่อมาถ่ายทอดให้ผมกับเพื่อนๆฟัง พลอยทำให้เราสมสุขสนุกเพลิดเพลินตามไปด้วย
งานนี้พออาจารย์มาถึง แกก็ขอตัวแป๊บ ไปเปลี่ยนเสื้อพื้นเมืองแบบจีนสีแดงสดพร้อมลวดลายมาสวมใส่เพื่อให้พวกเราอินกับบรรยากาศ ก่อนจะเรียกเสียงฮาด้วยการเชิญผู้สาวหนึ่งนางให้เป็นเจ้าหญิงขึ้นไปนั่งรถลากหรือรถเจ๊ก โดยมีอาจารย์ทำหน้าที่เป็นสารถีลากรถเจ๊กพาผู้สาวไปส่งยังห้องแรกของพิพิธภัณฑ์ พร้อมอธิบายความไป ด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม ทำให้รถเจ๊กที่จอดทิ้งไว้เฉยๆมีชีวิตขึ้นมาทันที เพราะถูกนั่งได้จริง ลากได้จริง และคนลากก็เหนื่อยจริงด้วย
ฉากต่อมาอาจารย์สมหมายพาเข้าไปรู้จักความเป็นชิโน-โปรตุกีส ซึ่งคนภูเก็ตเรียกว่า “อังมอเหลา” อันหมายถึงบ้านเรือนแบบฝรั่งของบรรดาเศรษฐีหรือนายเหมืองในอดีต แล้วต่อด้วยรู้จักวิธีแบบจีนด้วยการทำให้ชุดรับแขกที่ตั้งไว้ตายๆนั่นมีชีวิตมีเรื่องราวด้วยการเชิญสาวเจ้าคนใหม่ไปนั่งจิบน้ำชาร้อนๆของจริงในฐานะอาคันตุกะโดยมีอาจารย์เป็นเจ้าบ้าน
ต่อจากนั้นอาจารย์ก็พาไปให้ข้อมูลอย่างรอบด้าน เรียบง่าย แต่สนุก เพลิดเพลิน เติมชีวิตให้กับห้องอื่นๆในพิพิธภัณฑ์อีก ไม่ว่าจะเป็น
พาไปรู้จักเงินโบราณ จากหอยเบี้ย มาถึงเงินปึก เงินเหรียญ เงินแบ๊งก์ พร้อมให้ลองจับเงินปึกดีบุกทรงขนมครกดู เพื่อให้รู้กันว่ามันหนักประมาณไหน
การให้ความรู้เรื่องชื่อของภูเก็ตในอดีตว่า เดิมนั้นใช้ชื่อ“ภูเก็จ” อันหมายถึงภูเขาแก้วมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีเอกสารและงาช้างตราประทับมณฑลภูเก็จเป็นเครื่องยืนยัน
ส่วนห้องจัดแสดงเกี่ยวกับเหมืองแร่อันเป็นธีมสำคัญของพิพิธภัณฑ์ อาจารย์นอกจากให้ข้อมูลเหมืองประเภทต่างๆที่ประกอบด้วย เหมืองแล่น เหมืองรู(เหมืองปล่อง) เหมืองหาบ เหมืองฉีด เหมืองสูบ เหมืองเรือขุดแล้ว ยังให้อาสาสมัครลงไปทดลองร่อนแร่ของจริงชนิดเปียกจริง ได้ผงแร่ออกมาจริงๆให้จับต้องกัน หรืออย่างที่ห้องมีเวทีงิ้ว ก็ชวนคนขึ้นไปเล่นงิ้วบนเวทีกันเป็นที่สนุกสนาน
เรียกได้ว่าเมื่ออาจารย์สมหมายไปยังห้องไหน นอกจากจะอธิบายความได้อย่างกระจ่างแจ้งสนุกสนานแล้ว แกยังดึงความโดดเด่นของสิ่งของ ข้าวของเครื่องใช้ และสิ่งจัดแสดงต่างๆออกมาอย่างเด่นชัด มีชีวิตชีวา จนผมพลอยอินไปกับสิ่งนั้นๆด้วย ซึ่งที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีชีวิตชีวาขึ้นมามากโข ส่วนสำคัญก็มาจาก อ.สมหมายนี่แหละ
อย่างไรก็ตามหากผมจบบทความตอนนี้แบบนี้มันก็ดูจะแฮปปี้เอนดิ้งแบบละครไทยน้ำเน่าหลังข่าวเกินไป เพราะก่อนล่ำลาจากพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ อ.สมหมาย พูดเหมือนตัดพ้อว่า
“ทุกวันนี้ผมเป็นแค่อาสาสมัครของพิพิธภัณฑ์คนหนึ่ง เป็นคนเล็กๆที่มาช่วยด้วยใจเท่าที่จะทำได้ เพราะอยากให้คนไทยได้เรียนรู้ถึงรากเหง้าของตัวเอง”
คำพูดของอาจารย์เล่นเอาผมจุกเหมือนกัน เพราะทุกวันนี้สภาพการณ์ของพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ในประเทศคือ ไม่ค่อยมีคนสนใจเข้าชมทั้งๆที่เป็นแหล่งความรู้ชั้นดี ส่วนภาครัฐก็ไม่เหลียวแลหรือช่วยเหลือบ้านตามอัตภาพในกรณีมีคนร้องขอ
พิพิธภัณฑ์ไหนถ้าได้บุคลากรดีมีใจมุ่งมั่น ได้คนช่วยสนับสนุน มีทุนรอนพอเลี้ยงตัว ก็ดีหน่อย ส่วนพิพิธภัณฑ์ไหนขาดแคลนทุนทรัพย์ ขาดบุคลากร ก็คงต้องๆอยู่ไปวันๆตามยถากรรม ซึ่งถ้าภาครัฐและคนในสังคมกระแสหลักหันมาให้ความสำคัญกับแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ประเภทพิพิธภัณฑ์มากขึ้นกว่านี้ แม้เพียงแค่ 1 ใน 5 ของความใส่ใจที่มีต่อหมีแพนด้า
ประเทศนี้คงมีพิพิธภัณฑ์ดีๆเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย
*****************************************
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 ถนนสายกะทู้-นาเกาะ ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต เดิมเปิดให้เข้าชมฟรี แต่ปัจจุบันจำเป็นต้องเก็บค่าเข้าชมเพื่อมาบำรุงพิพิธภัณฑ์ดังนี้ ผู้ใหญ่ 50 บาท นักศึกษา 20 บาท เด็ก 10 บาทคนพิการชมฟรี พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ เปิดวันเวลาราชการ 8.30-16.30 น.
“...ฟ้าสวย ทะเลใส โรงแรมใหญ่ สรรพอาหาร สถานบันเทิง สำหรับเมืองท่องเที่ยวที่โลกคุ้นเคยแห่งนี้คงจะไม่พอเสียแล้ว การที่ภูเก็ตจะเป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติ เป็นเมืองนานาชาติ หรือกระทั่งเป็นเมืองสามัญที่มีความปกติสุขโดยไม่ต้องยึดโยงขึ้นกับนานาชาติอย่างมากนั้น เราต้องเร่งสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นรากเหง้าที่มีคุณค่าของเราเองให้ปรากฏ จำเป็นต้องกลับไปเรียนรู้จากอดีตก็ต้องทำพร้อมไปกับแสดงให้อาคันตุกะที่มาจากต่างแดนได้รู้จักเนื้อหาสาระของความเป็นภูเก็ต
ในส่วนของแหล่งการเรียนรู้และสถานที่แสดงกิจกรรมของท้องถิ่นที่มีคุณค่านั้น นิมิตหมายก็คือ ภูเก็ตกำลังสร้างพิพิธภัณฑ์ใหม่ๆขึ้น มีการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เดิม เริ่มมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย รวมไปถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมหรือข้อมูลความรู้ประกอบ ทั้งภาครัฐและเอกชน นั่นก็คือ ภูเก็ตกำลังขยับตัวไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้และการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยมีพิพิธภัณฑ์เป็นทัพหน้า...”
ข้อความข้างต้น ผมคัดมาจาก คอลัมน์ทอดสมอ Drop Anchor หนังสือ ภูเก็ตภูมิ Phuket Scape ที่ร่ายบรรเลงเพลงอักษรโดย บรรณาธิการบริหาร
โดยส่วนตัวผมไม่รู้จักเขาหรอก รู้แต่ว่าข้อความนั้นโดนใจและเข้ากันอย่างดีกับสิ่งที่ผมไปประสบพบเจอมา เพราะการไปภูเก็ตหนล่าสุดผมไปเจอกับพิพิธภัณฑ์ใหม่ในภูเก็ตเข้า(อันที่จริงสร้างมาได้สักพักแล้วล่ะ แต่มันถือว่าใหม่สำหรับผมเพาะเพิ่งเคยมาเที่ยวเป็นครั้งแรก)
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ คือ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ สร้างอย่างสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส บนพื้นที่ทำเหมืองเก่า มีเนื้อที่กว้างขวาง ตัวอาคารมีขนาดใหญ่โตเอาการ
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ สร้างขึ้นในปี 2549 ปัจจุบันยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เหลืออีกประมาณ 20 % แต่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้แล้ว
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ จัดแสดงในคอนเซ็ปต์ เปิดลับแลม่านฟ้า เกาะพญามังกรทอง แบ่งส่วนจัดแสดงหลักออกเป็นภายนอกและภายใน ภายนอก ในอนาคตจะทำเป็นเหมืองแร่จำลอง มีเรือ ขุด รางแร่ ฯลฯ มาจัดแสดงให้ชม ส่วนภายใน(อาคาร) แบ่งเป็นส่วนต่างๆ อาทิ โปท้องหง่อก่ากี่ แสดงรูปแบบของอาคารชิโน-โปรตุกีส พร้อมด้วยรถสองแถวไม้แบบภูเก็ต(รถโปท้อง) ชินวิถี จัดเป็นส่วนรับแขกของบ้านเศรษฐีนายเหมืองในอดีต ตกแต่งอย่างหรูหรา อัญมณีนายหัวเหมือง แสดงข้าวของมีค่าหายาก สิ่งละอันพันละน้อยที่เกี่ยวข้องกับ“แร่”
ครับ นั่นเป็นตัวอย่างน้ำจิ้มแบบเบาะๆของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งหากที่นี่มีเพียงแค่นี้ ผมเดินเที่ยวแบบผ่านๆเพียงแค่นั้น บอกตามตรงว่ามันสุดจืดชืดชาแถมแทบไม่ได้อะไรติดหัวกลับไปนอกจากภาพถ่าย
แต่ประทานโทษ!?! พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มันมีชีวิต เพราะมีคนไปเติมชีวิตให้กับมัน ซึ่งเขาคนนั้นก็คือ ผศ.สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ ปราชญ์พื้นเมืองผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของภูเก็ตชนิดหาตัวจับยากคนหนึ่งของเมืองไทย
แต่ประทานโทษอีกครั้ง!?! วันนี้มีคนจับตัวเป็นๆของอาจารย์สมหมายได้ ด้วยการโทร.ไปเรียกอาจารย์ในวันหยุดพักผ่อนให้รีบขับรถออกจากบ้านมาทำหน้าที่ไกด์กิตติมศักดิ์ นำชมพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่แบบฟรีๆไม่มีชาร์จ(แต่อาจารย์ต้องเสียทั้งค่าน้ำมัน เสียเวลา) หะแรก ผมรู้สึกเกรงใจอย่างมากเพราะนี่มันเป็นการรบกวนอาจารย์มากเกินไป
แต่ประทานโทษครั้งที่สาม!?! เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ผู้โทร.ตามบอกว่า ถ้าอาจารย์ไม่ติดธุระสำคัญที่ไหนเรื่องแบบนี้แกยินดีมาก เพราะทุกวันนี้เรื่องราวน่าสนใจในวิถีดั้งเดิมของภูเก็ตมันถูกโลกทุนนิยมกลืนกินหายไปเรื่อยๆ จนอาจารย์อดเป็นห่วงไม่ได้ว่าถ้าไม่ร่วมกันอนุรักษ์ดูแลมันอาจจะสูญสลายไปในวันเวลาอันใกล้นี้
อีกอย่างหนึ่งพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่แห่งนี้ อาจารย์เป็นผู้ออกแบบจัดแสดงชนิดเข้าเนื้อ คือนอกจากไม่ได้เงินแล้วยังต้องบริจาคข้าวของสะสมอีกมากมายให้กับพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นวิทยาทาน แต่เพราะนี่มันคือ“ความสุข” ของชายคนหนึ่ง ที่รัฐมนตรีขี้ฉ้อเศรษฐีขี้โกงรวยระดับหมื่นล้านแสนล้านมิอาจสัมผัสได้
แถมความสุขของอาจารย์จากการนี้เมื่อมาถ่ายทอดให้ผมกับเพื่อนๆฟัง พลอยทำให้เราสมสุขสนุกเพลิดเพลินตามไปด้วย
งานนี้พออาจารย์มาถึง แกก็ขอตัวแป๊บ ไปเปลี่ยนเสื้อพื้นเมืองแบบจีนสีแดงสดพร้อมลวดลายมาสวมใส่เพื่อให้พวกเราอินกับบรรยากาศ ก่อนจะเรียกเสียงฮาด้วยการเชิญผู้สาวหนึ่งนางให้เป็นเจ้าหญิงขึ้นไปนั่งรถลากหรือรถเจ๊ก โดยมีอาจารย์ทำหน้าที่เป็นสารถีลากรถเจ๊กพาผู้สาวไปส่งยังห้องแรกของพิพิธภัณฑ์ พร้อมอธิบายความไป ด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม ทำให้รถเจ๊กที่จอดทิ้งไว้เฉยๆมีชีวิตขึ้นมาทันที เพราะถูกนั่งได้จริง ลากได้จริง และคนลากก็เหนื่อยจริงด้วย
ฉากต่อมาอาจารย์สมหมายพาเข้าไปรู้จักความเป็นชิโน-โปรตุกีส ซึ่งคนภูเก็ตเรียกว่า “อังมอเหลา” อันหมายถึงบ้านเรือนแบบฝรั่งของบรรดาเศรษฐีหรือนายเหมืองในอดีต แล้วต่อด้วยรู้จักวิธีแบบจีนด้วยการทำให้ชุดรับแขกที่ตั้งไว้ตายๆนั่นมีชีวิตมีเรื่องราวด้วยการเชิญสาวเจ้าคนใหม่ไปนั่งจิบน้ำชาร้อนๆของจริงในฐานะอาคันตุกะโดยมีอาจารย์เป็นเจ้าบ้าน
ต่อจากนั้นอาจารย์ก็พาไปให้ข้อมูลอย่างรอบด้าน เรียบง่าย แต่สนุก เพลิดเพลิน เติมชีวิตให้กับห้องอื่นๆในพิพิธภัณฑ์อีก ไม่ว่าจะเป็น
พาไปรู้จักเงินโบราณ จากหอยเบี้ย มาถึงเงินปึก เงินเหรียญ เงินแบ๊งก์ พร้อมให้ลองจับเงินปึกดีบุกทรงขนมครกดู เพื่อให้รู้กันว่ามันหนักประมาณไหน
การให้ความรู้เรื่องชื่อของภูเก็ตในอดีตว่า เดิมนั้นใช้ชื่อ“ภูเก็จ” อันหมายถึงภูเขาแก้วมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีเอกสารและงาช้างตราประทับมณฑลภูเก็จเป็นเครื่องยืนยัน
ส่วนห้องจัดแสดงเกี่ยวกับเหมืองแร่อันเป็นธีมสำคัญของพิพิธภัณฑ์ อาจารย์นอกจากให้ข้อมูลเหมืองประเภทต่างๆที่ประกอบด้วย เหมืองแล่น เหมืองรู(เหมืองปล่อง) เหมืองหาบ เหมืองฉีด เหมืองสูบ เหมืองเรือขุดแล้ว ยังให้อาสาสมัครลงไปทดลองร่อนแร่ของจริงชนิดเปียกจริง ได้ผงแร่ออกมาจริงๆให้จับต้องกัน หรืออย่างที่ห้องมีเวทีงิ้ว ก็ชวนคนขึ้นไปเล่นงิ้วบนเวทีกันเป็นที่สนุกสนาน
เรียกได้ว่าเมื่ออาจารย์สมหมายไปยังห้องไหน นอกจากจะอธิบายความได้อย่างกระจ่างแจ้งสนุกสนานแล้ว แกยังดึงความโดดเด่นของสิ่งของ ข้าวของเครื่องใช้ และสิ่งจัดแสดงต่างๆออกมาอย่างเด่นชัด มีชีวิตชีวา จนผมพลอยอินไปกับสิ่งนั้นๆด้วย ซึ่งที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีชีวิตชีวาขึ้นมามากโข ส่วนสำคัญก็มาจาก อ.สมหมายนี่แหละ
อย่างไรก็ตามหากผมจบบทความตอนนี้แบบนี้มันก็ดูจะแฮปปี้เอนดิ้งแบบละครไทยน้ำเน่าหลังข่าวเกินไป เพราะก่อนล่ำลาจากพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ อ.สมหมาย พูดเหมือนตัดพ้อว่า
“ทุกวันนี้ผมเป็นแค่อาสาสมัครของพิพิธภัณฑ์คนหนึ่ง เป็นคนเล็กๆที่มาช่วยด้วยใจเท่าที่จะทำได้ เพราะอยากให้คนไทยได้เรียนรู้ถึงรากเหง้าของตัวเอง”
คำพูดของอาจารย์เล่นเอาผมจุกเหมือนกัน เพราะทุกวันนี้สภาพการณ์ของพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ในประเทศคือ ไม่ค่อยมีคนสนใจเข้าชมทั้งๆที่เป็นแหล่งความรู้ชั้นดี ส่วนภาครัฐก็ไม่เหลียวแลหรือช่วยเหลือบ้านตามอัตภาพในกรณีมีคนร้องขอ
พิพิธภัณฑ์ไหนถ้าได้บุคลากรดีมีใจมุ่งมั่น ได้คนช่วยสนับสนุน มีทุนรอนพอเลี้ยงตัว ก็ดีหน่อย ส่วนพิพิธภัณฑ์ไหนขาดแคลนทุนทรัพย์ ขาดบุคลากร ก็คงต้องๆอยู่ไปวันๆตามยถากรรม ซึ่งถ้าภาครัฐและคนในสังคมกระแสหลักหันมาให้ความสำคัญกับแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ประเภทพิพิธภัณฑ์มากขึ้นกว่านี้ แม้เพียงแค่ 1 ใน 5 ของความใส่ใจที่มีต่อหมีแพนด้า
ประเทศนี้คงมีพิพิธภัณฑ์ดีๆเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย
*****************************************
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 ถนนสายกะทู้-นาเกาะ ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต เดิมเปิดให้เข้าชมฟรี แต่ปัจจุบันจำเป็นต้องเก็บค่าเข้าชมเพื่อมาบำรุงพิพิธภัณฑ์ดังนี้ ผู้ใหญ่ 50 บาท นักศึกษา 20 บาท เด็ก 10 บาทคนพิการชมฟรี พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ เปิดวันเวลาราชการ 8.30-16.30 น.