โดย : ปิ่น บุตรี
“ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์”
ประโยคนี้ไม่รู้ใครคือต้นตำรับรู้แต่ว่าเป็นวาจาอมตะที่หลายคนยอมรับ
แต่หากมองกลับกัน “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีสุข” มันก็จริงแท้แน่นอนเหมือนกัน
ถ้าไม่มีสุขมนุษย์คงไม่เสาะแสวงหาความรักกันถ้วนทั่วหน้าหรอกหรือ
รักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
บ้านอีต่อง ต.ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
ความเป็นอดีตเมืองเหมือง(ปิล๊อก)อันลือลั่นบวกกับความสงบงามในปัจจุบัน ทำให้ผมดั้นด้นมา ณ ที่แห่งนี้ และจะดั้นด้นลึกเข้าไปในหุบเขาผ่านเส้นทางถนนลูกรังคดเคี้ยวสมบุกสมบันสู่ รีสอร์ท“เหมืองแร่สมศักดิ์ บ้านเล็กในป่าใหญ่” ดินแดนที่มีตำนานแห่งรักแท้รอคอยอยู่
พลันที่ผมมาถึงยังที่แห่งนี้ ความประทับใจแรกพบจาก“รอยยิ้ม”อันอบอุ่นเปี่ยมมิตรไมตรีของ “ป้าเกล็น”(เกล็นนิส เสตะพันธุ)เจ้าของรีสอร์ทที่ออกมาต้อนรับพร้อมเชื้อเชิญให้เข้าไปนั่งพักในโถงเรือนรับแขก(บ้านของคุณป้า)ก็พุ่งเข้าจับหมับในดวงใจทันที
“สวัสดีค่ะ เชิญค่ะ เพิ่งมาถึงเหนื่อยๆ เดี๋ยวค่อยคุยกัน ดื่มชา กาแฟร้อนๆก่อน โน่นเค้กป้าทำเอง ตักทานได้ตามสบาย”
ปกติผมเป็นผู้ไม่พิสมัยในรสชาติเค้ก หากแต่ชอบกินขนมไทยๆมากกว่า แต่นี่เมื่อมาเห็นบรรยากาศในมุมกาแฟที่ตกแต่งอย่างน่ารัก เป็นระเบียบ พร้อมกับเค้ก 4 รส หน้าตาชวนกินที่ได้ยินคำร่ำลือมาว่า เค้กที่นี่อร่อยนัก ผมจึงอดใจไม่ไหวเดินไปเปิดฝาครอบดูหน้าตาและสัมผัสกลิ่นกันแบบใกล้ๆ
“นี่เค้กช็อกโกแลต แครอทเค้กหน้ามะนาว เค้กส้ม และเค้กกล้วยน้ำว้า” ป้าเกล็นรีบบอกเมื่อเห็นผมทำหน้าสงสัย
เค้กโฮมเมดฝีมือป้าเกล็นทั้งหมด ถ้าถามว่ารสไหนอร่อยสุด ผมว่าอร่อยทั้งหมด แต่ที่ผมหม่ำมากเป็นพิเศษเบิ้ลอยู่หลายชิ้นก็เห็นจะเป็นเค้กกล้วยน้ำว้า เพราะว่าไม่เคยกินที่ไหนมาก่อน
หลังมื้อเค้กผ่านพ้น คนขี้สงสัยอย่างผมก็ถือโอกาสเดินชมโน่นชมนี่ในโถงเรือนรับแขกที่ตกแต่งอย่างเป็นระเบียบ มีรสนิยม โดยเฉพาะบรรดาของเล็กๆน้อยๆกระจุกกระจิกที่ป้าแกแต่งได้อย่างกิ๊บเก๋น่ารักสวยงาม
ไม่น่าเชื่อว่านี่คือโถงรับแขกของคุณป้าวัย 70 ปี เพราะดูจากลักษณะการตกแต่งแล้วมันเหมือนกับห้องของสาวแรกรุ่นผู้เปี่ยมไปด้วยความฝันมากกว่า แต่เหตุที่บ้านนี้ดูสดใสชวนฝันปานนี้ คงเป็นเพราะบ้านนี้มี“รัก”อบอวลอยู่ทุกหนแห่ง
เป็นความรักของป้าเกล็นที่มีต่อลุงสมศักดิ์สามี ที่แม้เวลาจะผ่านมาหลายสิบปีแล้ว แต่ความรักของป้าเกล็นยังคงเป็นอมตะไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
รักข้ามขอบฟ้า
นอกจากบรรยากาศรีสอร์ทอันเรียบง่ายแต่ชวนฝันแล้ว สิ่งหนึ่งที่หลายคนใฝ่ฝันอยากมีเหมือนป้าเกล็นก็คือวิถีในรักแท้ที่มั่นคงมิเคยเสื่อมคลาย เป็นรักไม่มีวันตายที่ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว ซึ่งป้าเกล็นได้ย้อนความทรงจำกลับไปว่า เธอพบกับลุงสมศักดิ์(สมศักดิ์ เสตะพันธุ)ครั้งแรกเมื่อครั้งที่เขาเดินทางไปเรียนปริญญาโทด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ที่เมืองแคลคูรี ประเทศออสเตรเลีย
ในปี พ.ศ. 2502
“พี่ศักดิ์เป็นเพื่อนพี่ชายฉัน ตอนที่พบกันเขามาเป็นโค้ชแบดให้ทีมน้องชาย” ป้าเกล็นรำลึกความหลังที่แม้จะผ่านมายาวนาน แต่เท่าที่ฟังจากคำบอกเล่าของป้าเกล็นนั้นมันยังคงแจ่มชัดเหมือนเพิ่งผ่านมาไม่กี่วัน
ไม่ว่าจะด้วยฟ้าลิขิต พรหมลิขิต หรือคนลิขิต หลังจากทั้ง 2 คน คบหาดูใจบ่มเพาะความรักจนสุกงอม จนในที่สุดลุงสมศักดิ์ตัดสินใจขอป้าเกล็นแต่งงาน
“เราคบกันอยู่ 4 ปี พี่ศักดิ์เขามาขอฉันแต่งงาน เรามาแต่งกันที่กรุงเทพฯ ที่โบสถ์วัดเสมียน”
สำหรับการตัดสินใจจากออสเตรเลียบ้านเกิดเมืองนอนมาอยู่ต่างที่ต่างถิ่นต่างวัฒนธรรมอย่างเมืองไทยนั้น ป้าเกล็นบอกผมว่าตัดสินใจไม่นานเลย
“เพราะความรักน่ะ ฉันจึงตัดสินใจได้ไม่ยากต่อการมาอยู่เมืองไทย”
รักฉันนั้นเพื่อเธอ
ป้าเกล็นมาถึงเมืองไทยได้แค่วันเดียว ลุงสมศักดิ์ก็มารับพาเข้าสู่ปิล๊อกที่เหมืองสมศักดิ์ที่เพิ่งบุกเบิกใหม่เลย ซึ่งป้าเกล็นเล่าว่า ช่วงนั้นนั่งรถเข้าปิล๊อกดูน่ากลัวมาก เพราะทางเพิ่งตัด รอบข้างมีแต่ป่า แต่เขา แล้วก็เหว
“ฉันกลัวมากจับมือพี่ศักดิ์ไว้แน่นเลย แต่นายเหมืองคนอื่นๆเขากลับดูสนุกเฮฮากัน”
จากนั้นลุงสมศักดิ์ได้เดินตามความฝันของตนด้วยการพัฒนาเหมืองสมศักดิ์ให้เจริญรุ่งเรือง ส่วนป้าเกล็นนั้นช่วงแรกหลังมาอยู่เมืองไทยได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ แต่จะเข้ามาเป็นแม่บ้านที่เหมืองสมศักดิ์ดินแดนดงดิบในช่วงปิดเทอมทั้ง 2 ภาค
“พี่ศักดิ์เขาพัฒนาเหมืองนี้ทุกอย่าง ทั้งตัดทางรถเข้ามา พัฒนาคุณภาพคนงาน เพิ่มการผลิต เพิ่มลูกน้องจากช่วงแรก 200 คน เป็น 600 คน พี่ศักดิ์เป็นใจดี มีเมตตา ดูแลลูกน้องอย่างดี ผูกพันกับลูกน้อง เขารักที่นี่มากเพราะมันเป็นความฝันของเขา”
แต่บางครั้งความฝันก็แพ้พ่ายความจริงเมื่อในปี พ.ศ. 2527 สถานการณ์ตลาดแร่โลกตกต่ำ ส่งผลให้บรรดาเหมืองต่างๆในปิล๊อกทยอยปิดตัวลง ไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่เหมืองสมศักดิ์ที่พยายามยื้อต่อลมหายใจอย่างสุดความสามารถ แต่สุดท้ายก็ต้านไม่ไหวต้องปิดตัวลงใน ปี พ.ศ. 2531
เมื่อความฝันที่เป็นดังชีวิตล่มสลายทำให้ลุงสมศักดิ์ใจสลายและล้มป่วยเป็นโรคหัวใจเจ็บออดๆแอดๆ ส่วนป้าเกล็นนั้นเพื่อสามีอันเป็นที่รักเธอตัดสินใจลาออกจากงาน ทิ้งสังคมเมืองกรุงฯและเพื่อนฝูงไว้ข้างหลัง เดินทางมาอยู่เคียงข้างกับสามีที่เหมืองสมศักดิ์อย่างไม่ลังเล
แม้จะเจ็บป่วยแค่ไหนแต่เมื่อเหมืองสมศักดิ์คือผลงานจากความฝันอันยิ่งใหญ่ของลุงสมศักดิ์ เขาจึงขออยู่ที่นี่โดยฟังเสียงทัดทานของญาติพี่น้อง ส่วนป้าเกล็นนั้นกลับไม่ปฏิเสธ เพราะเธอรู้ว่านี่คือชีวิตของเขา
ป้าเกล็นปรนนิบัติสามีอย่างสุดความสามารถ กระทั่ง 2 เดือนสุดท้าย หมอบอกว่าหมดหนทางเยียวยา ต้องทำใจสถานเดียว
ถึงตอนนี้ป้าเกล็นเล่าด้วยเสียงสั่นเครือว่า ช่วงนี้เธอจะมองหน้าเขาตลอดไม่ว่ายามหลับหรือตื่นเพื่อเก็บความทรงจำเอาไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
แล้ววันที่เจ็บปวดรวดร้าวมากที่สุดวันหนึ่งในชีวิตของป้าเกล็นก็มาถึง เมื่อลุงสมศักดิ์อำลาจากโลกนี้ไป เธอร่ำไห้น้ำตาแทบเป็นสายเลือด ก่อนจะรวบรวมพลังที่หลงเหลือเดินทางกลับไปยังเหมืองสมศักดิ์ ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่กับความทรงจำแห่งรักที่ยังคงอบอุ่นนุ่มนวลอยู่ตลอดกาล
รักไม่รู้ดับ
หลังกลับมาอยู่ที่เหมืองสมศักดิ์ ป้าเกล็นสานต่อความฝันของสามีด้วยการทำปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่จากเหมืองแร่ให้เป็นรีสอร์ทเล็กๆอันเรียบง่าย ในสโลแกนบ้านเล็กกลางป่าใหญ่ เป็นรีสอร์ทในเหมืองเก่าที่แม้จะร้างแร่ แต่ไม่ร้างรัก ซึ่งนอกจากจะอิงแอบธรรมชาติอยู่กับธรรมชาติอันพิสุทธิ์กลางขุนเขาแล้ว รีสอร์ทแห่งนี้ยังอิงแอบอยู่กับความรักอมตะของป้าเกล็นที่ต่อลุงสมศักดิ์สามีของเธออย่างไม่มีเสื่อมคลาย
เป็นรักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง รักไม่มีวันตาย ซึ่งป้าเกล็นบอกว่า อยู่ที่นี่ไม่เหงาเพราะได้อยู่กับความทรงจำแห่งรัก อยู่กับอดีตรักอันอบอุ่นที่เหมือนกับว่าลุงสมศักดิ์ยังอยู่เคียงคู่กับป้าเกล็นตลอดไป และป้าเกล็นจะอยู่ด้วยหัวใจเปี่ยมรักไปตาบจนลมหายใจสุดท้ายแห่งชีวิต เพราะสำหรับคุณป้าแล้วความรักคือของขวัญอันล้ำค่า การได้รักทำให้รู้สึกว่าเหมือนได้รับของขวัญอันล้ำค่าในทุกๆวัน
“ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์”
ประโยคนี้ไม่รู้ใครคือต้นตำรับรู้แต่ว่าเป็นวาจาอมตะที่หลายคนยอมรับ
แต่หากมองกลับกัน “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีสุข” มันก็จริงแท้แน่นอนเหมือนกัน
ถ้าไม่มีสุขมนุษย์คงไม่เสาะแสวงหาความรักกันถ้วนทั่วหน้าหรอกหรือ
รักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
บ้านอีต่อง ต.ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
ความเป็นอดีตเมืองเหมือง(ปิล๊อก)อันลือลั่นบวกกับความสงบงามในปัจจุบัน ทำให้ผมดั้นด้นมา ณ ที่แห่งนี้ และจะดั้นด้นลึกเข้าไปในหุบเขาผ่านเส้นทางถนนลูกรังคดเคี้ยวสมบุกสมบันสู่ รีสอร์ท“เหมืองแร่สมศักดิ์ บ้านเล็กในป่าใหญ่” ดินแดนที่มีตำนานแห่งรักแท้รอคอยอยู่
พลันที่ผมมาถึงยังที่แห่งนี้ ความประทับใจแรกพบจาก“รอยยิ้ม”อันอบอุ่นเปี่ยมมิตรไมตรีของ “ป้าเกล็น”(เกล็นนิส เสตะพันธุ)เจ้าของรีสอร์ทที่ออกมาต้อนรับพร้อมเชื้อเชิญให้เข้าไปนั่งพักในโถงเรือนรับแขก(บ้านของคุณป้า)ก็พุ่งเข้าจับหมับในดวงใจทันที
“สวัสดีค่ะ เชิญค่ะ เพิ่งมาถึงเหนื่อยๆ เดี๋ยวค่อยคุยกัน ดื่มชา กาแฟร้อนๆก่อน โน่นเค้กป้าทำเอง ตักทานได้ตามสบาย”
ปกติผมเป็นผู้ไม่พิสมัยในรสชาติเค้ก หากแต่ชอบกินขนมไทยๆมากกว่า แต่นี่เมื่อมาเห็นบรรยากาศในมุมกาแฟที่ตกแต่งอย่างน่ารัก เป็นระเบียบ พร้อมกับเค้ก 4 รส หน้าตาชวนกินที่ได้ยินคำร่ำลือมาว่า เค้กที่นี่อร่อยนัก ผมจึงอดใจไม่ไหวเดินไปเปิดฝาครอบดูหน้าตาและสัมผัสกลิ่นกันแบบใกล้ๆ
“นี่เค้กช็อกโกแลต แครอทเค้กหน้ามะนาว เค้กส้ม และเค้กกล้วยน้ำว้า” ป้าเกล็นรีบบอกเมื่อเห็นผมทำหน้าสงสัย
เค้กโฮมเมดฝีมือป้าเกล็นทั้งหมด ถ้าถามว่ารสไหนอร่อยสุด ผมว่าอร่อยทั้งหมด แต่ที่ผมหม่ำมากเป็นพิเศษเบิ้ลอยู่หลายชิ้นก็เห็นจะเป็นเค้กกล้วยน้ำว้า เพราะว่าไม่เคยกินที่ไหนมาก่อน
หลังมื้อเค้กผ่านพ้น คนขี้สงสัยอย่างผมก็ถือโอกาสเดินชมโน่นชมนี่ในโถงเรือนรับแขกที่ตกแต่งอย่างเป็นระเบียบ มีรสนิยม โดยเฉพาะบรรดาของเล็กๆน้อยๆกระจุกกระจิกที่ป้าแกแต่งได้อย่างกิ๊บเก๋น่ารักสวยงาม
ไม่น่าเชื่อว่านี่คือโถงรับแขกของคุณป้าวัย 70 ปี เพราะดูจากลักษณะการตกแต่งแล้วมันเหมือนกับห้องของสาวแรกรุ่นผู้เปี่ยมไปด้วยความฝันมากกว่า แต่เหตุที่บ้านนี้ดูสดใสชวนฝันปานนี้ คงเป็นเพราะบ้านนี้มี“รัก”อบอวลอยู่ทุกหนแห่ง
เป็นความรักของป้าเกล็นที่มีต่อลุงสมศักดิ์สามี ที่แม้เวลาจะผ่านมาหลายสิบปีแล้ว แต่ความรักของป้าเกล็นยังคงเป็นอมตะไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
รักข้ามขอบฟ้า
นอกจากบรรยากาศรีสอร์ทอันเรียบง่ายแต่ชวนฝันแล้ว สิ่งหนึ่งที่หลายคนใฝ่ฝันอยากมีเหมือนป้าเกล็นก็คือวิถีในรักแท้ที่มั่นคงมิเคยเสื่อมคลาย เป็นรักไม่มีวันตายที่ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว ซึ่งป้าเกล็นได้ย้อนความทรงจำกลับไปว่า เธอพบกับลุงสมศักดิ์(สมศักดิ์ เสตะพันธุ)ครั้งแรกเมื่อครั้งที่เขาเดินทางไปเรียนปริญญาโทด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ที่เมืองแคลคูรี ประเทศออสเตรเลีย
ในปี พ.ศ. 2502
“พี่ศักดิ์เป็นเพื่อนพี่ชายฉัน ตอนที่พบกันเขามาเป็นโค้ชแบดให้ทีมน้องชาย” ป้าเกล็นรำลึกความหลังที่แม้จะผ่านมายาวนาน แต่เท่าที่ฟังจากคำบอกเล่าของป้าเกล็นนั้นมันยังคงแจ่มชัดเหมือนเพิ่งผ่านมาไม่กี่วัน
ไม่ว่าจะด้วยฟ้าลิขิต พรหมลิขิต หรือคนลิขิต หลังจากทั้ง 2 คน คบหาดูใจบ่มเพาะความรักจนสุกงอม จนในที่สุดลุงสมศักดิ์ตัดสินใจขอป้าเกล็นแต่งงาน
“เราคบกันอยู่ 4 ปี พี่ศักดิ์เขามาขอฉันแต่งงาน เรามาแต่งกันที่กรุงเทพฯ ที่โบสถ์วัดเสมียน”
สำหรับการตัดสินใจจากออสเตรเลียบ้านเกิดเมืองนอนมาอยู่ต่างที่ต่างถิ่นต่างวัฒนธรรมอย่างเมืองไทยนั้น ป้าเกล็นบอกผมว่าตัดสินใจไม่นานเลย
“เพราะความรักน่ะ ฉันจึงตัดสินใจได้ไม่ยากต่อการมาอยู่เมืองไทย”
รักฉันนั้นเพื่อเธอ
ป้าเกล็นมาถึงเมืองไทยได้แค่วันเดียว ลุงสมศักดิ์ก็มารับพาเข้าสู่ปิล๊อกที่เหมืองสมศักดิ์ที่เพิ่งบุกเบิกใหม่เลย ซึ่งป้าเกล็นเล่าว่า ช่วงนั้นนั่งรถเข้าปิล๊อกดูน่ากลัวมาก เพราะทางเพิ่งตัด รอบข้างมีแต่ป่า แต่เขา แล้วก็เหว
“ฉันกลัวมากจับมือพี่ศักดิ์ไว้แน่นเลย แต่นายเหมืองคนอื่นๆเขากลับดูสนุกเฮฮากัน”
จากนั้นลุงสมศักดิ์ได้เดินตามความฝันของตนด้วยการพัฒนาเหมืองสมศักดิ์ให้เจริญรุ่งเรือง ส่วนป้าเกล็นนั้นช่วงแรกหลังมาอยู่เมืองไทยได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ แต่จะเข้ามาเป็นแม่บ้านที่เหมืองสมศักดิ์ดินแดนดงดิบในช่วงปิดเทอมทั้ง 2 ภาค
“พี่ศักดิ์เขาพัฒนาเหมืองนี้ทุกอย่าง ทั้งตัดทางรถเข้ามา พัฒนาคุณภาพคนงาน เพิ่มการผลิต เพิ่มลูกน้องจากช่วงแรก 200 คน เป็น 600 คน พี่ศักดิ์เป็นใจดี มีเมตตา ดูแลลูกน้องอย่างดี ผูกพันกับลูกน้อง เขารักที่นี่มากเพราะมันเป็นความฝันของเขา”
แต่บางครั้งความฝันก็แพ้พ่ายความจริงเมื่อในปี พ.ศ. 2527 สถานการณ์ตลาดแร่โลกตกต่ำ ส่งผลให้บรรดาเหมืองต่างๆในปิล๊อกทยอยปิดตัวลง ไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่เหมืองสมศักดิ์ที่พยายามยื้อต่อลมหายใจอย่างสุดความสามารถ แต่สุดท้ายก็ต้านไม่ไหวต้องปิดตัวลงใน ปี พ.ศ. 2531
เมื่อความฝันที่เป็นดังชีวิตล่มสลายทำให้ลุงสมศักดิ์ใจสลายและล้มป่วยเป็นโรคหัวใจเจ็บออดๆแอดๆ ส่วนป้าเกล็นนั้นเพื่อสามีอันเป็นที่รักเธอตัดสินใจลาออกจากงาน ทิ้งสังคมเมืองกรุงฯและเพื่อนฝูงไว้ข้างหลัง เดินทางมาอยู่เคียงข้างกับสามีที่เหมืองสมศักดิ์อย่างไม่ลังเล
แม้จะเจ็บป่วยแค่ไหนแต่เมื่อเหมืองสมศักดิ์คือผลงานจากความฝันอันยิ่งใหญ่ของลุงสมศักดิ์ เขาจึงขออยู่ที่นี่โดยฟังเสียงทัดทานของญาติพี่น้อง ส่วนป้าเกล็นนั้นกลับไม่ปฏิเสธ เพราะเธอรู้ว่านี่คือชีวิตของเขา
ป้าเกล็นปรนนิบัติสามีอย่างสุดความสามารถ กระทั่ง 2 เดือนสุดท้าย หมอบอกว่าหมดหนทางเยียวยา ต้องทำใจสถานเดียว
ถึงตอนนี้ป้าเกล็นเล่าด้วยเสียงสั่นเครือว่า ช่วงนี้เธอจะมองหน้าเขาตลอดไม่ว่ายามหลับหรือตื่นเพื่อเก็บความทรงจำเอาไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
แล้ววันที่เจ็บปวดรวดร้าวมากที่สุดวันหนึ่งในชีวิตของป้าเกล็นก็มาถึง เมื่อลุงสมศักดิ์อำลาจากโลกนี้ไป เธอร่ำไห้น้ำตาแทบเป็นสายเลือด ก่อนจะรวบรวมพลังที่หลงเหลือเดินทางกลับไปยังเหมืองสมศักดิ์ ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่กับความทรงจำแห่งรักที่ยังคงอบอุ่นนุ่มนวลอยู่ตลอดกาล
รักไม่รู้ดับ
หลังกลับมาอยู่ที่เหมืองสมศักดิ์ ป้าเกล็นสานต่อความฝันของสามีด้วยการทำปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่จากเหมืองแร่ให้เป็นรีสอร์ทเล็กๆอันเรียบง่าย ในสโลแกนบ้านเล็กกลางป่าใหญ่ เป็นรีสอร์ทในเหมืองเก่าที่แม้จะร้างแร่ แต่ไม่ร้างรัก ซึ่งนอกจากจะอิงแอบธรรมชาติอยู่กับธรรมชาติอันพิสุทธิ์กลางขุนเขาแล้ว รีสอร์ทแห่งนี้ยังอิงแอบอยู่กับความรักอมตะของป้าเกล็นที่ต่อลุงสมศักดิ์สามีของเธออย่างไม่มีเสื่อมคลาย
เป็นรักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง รักไม่มีวันตาย ซึ่งป้าเกล็นบอกว่า อยู่ที่นี่ไม่เหงาเพราะได้อยู่กับความทรงจำแห่งรัก อยู่กับอดีตรักอันอบอุ่นที่เหมือนกับว่าลุงสมศักดิ์ยังอยู่เคียงคู่กับป้าเกล็นตลอดไป และป้าเกล็นจะอยู่ด้วยหัวใจเปี่ยมรักไปตาบจนลมหายใจสุดท้ายแห่งชีวิต เพราะสำหรับคุณป้าแล้วความรักคือของขวัญอันล้ำค่า การได้รักทำให้รู้สึกว่าเหมือนได้รับของขวัญอันล้ำค่าในทุกๆวัน