โดย : ปิ่น บุตรี

บ้านสบมาง ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน
จุดเริ่มต้นล่องแก่ง...ณ ลำห้วยสบมาง
เบื้องบนเป็นแผ่นฟ้ากว้าง เบื้องหน้าเป็นธารน้ำใสไหลเอื่อย
หากเป็นปกติ ยามได้เห็นธารน้ำอันชุมฉ่ำนุ่มนวลเช่นนี้ จิตใจผมมักจะเกิดอารมณ์ร่วมพลอยให้รู้สึกเบิกบานชุ่มชื่นตามไปด้วย
แต่ประทานโทษครั้งนี้กลับแตกต่างออกไป ธารน้ำแม้ชุ่มฉ่ำ จิตใจแม้เบิกบาน แต่หัวใจกลับเริ่มเต้นไม่เป็นส่ำ เนื่องเพราะนี่ไม่ใช่ลำน้ำธรรมดา หากแต่เป็น“ลำน้ำว้า”อันถือเป็นสุดยอดแห่งการล่องแก่งในเมืองไทยและในอันดับต้นๆของเอเชีย
“น้ำว้า” ชื่อนี้ ปกติผมจะคุ้นเคยกับ“กล้วยน้ำว้า”มากกว่า“ลำน้ำว้า” แต่นับจากนี้ไป ผมกำลังจะไปทำความคุ้นเคยกับลำน้ำว้าที่แม้ว่าจะมาผิดฤดูไปหน่อย เพราะฤดูล่องแก่งลำน้ำว้าที่เหมาะสมนั้นอยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ราวเดือน ต.ค.-ม.ค.เนื่องจากมีปริมาณน้ำกำลังดี ไม่มากไปน้อยไป
ส่วนในช่วงปลายหนาวอย่างนี้ สายน้ำว้าแม้จะงวดลงไปมาก แต่สิ่งที่ผมได้ทดแทนมาก็ความเหน็บหนาวที่ปีนี้มีให้สัมผัสกันอย่างเหลือเฟือ
1...
สายน้ำไม่คอยท่า เวลาไม่คอยใคร
หลังจากสวมชูชีพ หมวกกันน็อค และฟังทีมสตาฟฟ์จากน่านทัวร์ริ่งอธิบายวิธีการพายเรือ การนั่งเรือ การช่วยกันบังคับเรือ และการช่วยเหลือตัวเองหากพลั้งพลาดตกน้ำแล้ว(แก่งน้ำว้าโหดและยากกว่าที่อื่น ฉะนั้นเวลาสตาฟฟ์อธิบายจึงเน้นเป็นพิเศษ) คณะเราก็ไม่รีรอ เข็นเรือออกไปคอยท่าริมธารน้ำกันในทันที
ทริปนี้คณะเรามีเรือยางผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกันทั้งสิ้น 7 ลำด้วยกัน สำหรับเรือลำผมรวมฝีพาย นายท้าย-นายหัวมีสมาชิกทั้งหมด 5 คนด้วยกัน เมื่อเรือพร้อม ฝีพายพร้อม ทุกคนในเรือก็ช่วยกันพายเรือออกจากฝั่งไปตามสายน้ำที่ไหลเอื่อย จิตใจผมยามนี้ดูจะเต้นไม่เป็นส่ำมากขึ้น แต่ประทานโทษงานนี้ไม่มีใครรู้หรอก เพราะผมช่ำชองในด้านการเก็บอาการเป็นเลิศ
หลังจากเรือยางลอยล่องไปสักพัก ผมเริ่มคุ้นชิน จิตใจกลับมาเป็นปกติ จึงถือโอกาสถ่ายรูปวิวทิวทัศน์ 2 ฟากฝั่งไปในตัว เพราะการล่องแก่งลำน้ำว้า เมื่อมีโอกาสถ่ายรูปก็ต้องยึดแนวทาง “น้ำขึ้นในรีบตัก” รีบถ่ายเมื่อมีโอกาส ไม่ควรทำเป็นพวก“หวังน้ำบ่อหน้า”รอโอกาสที่ยังมาไม่ถึง
ทิวทัศน์ในช่วงนี้มีสายน้ำไหลเอื่อย สองฟากฝั่งดูร่มรื่น นั่นเป็นหาดทรายน้ำจืดที่ไม่มีแหม่มสาวๆมาเปลือยอกอาบแดดเหมือนชายหาดทางกระบี่ ภูเก็ต แต่หาดทรายน้ำจืดที่นี่แจ๋วเจ๋งกว่าครับ เพราะเหล่าซุปเปอร์โมเดลเจ้าถิ่นที่นี่เล่นเปลือยทั้งตัว ยืน-นั่ง-นอน อาบแดด เกลือกกลิ้งผืนทรายกันแบบไม่อายผู้อายคน

ทุกคนในเรือผม เมื่อเจอนู้ดริมน้ำระดับสุดยอดแบบนี้ต่างก็หันกล้องไปรัวถ่ายรูปกันคนละหลายๆแชะ เพราะนี่หาใช่แบบระดับคนธรรมดาไม่ หากแต่เป็นแบบระดับ“ควาย”ท้องถิ่นที่มาหากินกันเป็นฝูง บางตัวหันมาส่งเสียง“มอๆๆๆ”ส่วนบางตัวก็นิ่งเฉยไม่สนใจใคร
งานนี้คนมองควาย ควายก็มองคน
แล้วคนก็หันมามองคนด้วยกันเมื่อเรือคล้อยหลังฝูงควายมาได้พักใหญ่ เนื่องจากผมเหลียวหันไปพูดคุยกับนายท้ายนรสิงห์ เพราะเห็นว่าช่วงจังหวะนี้ สายน้ำยังไหลเบา จึงควรไถ่ถามชื่อเสียงเรียงนามของฝีพายนายหัว-นายท้ายเอาไว้ เผื่อมีปัญหาอะไรจะได้เรียกได้ถูกคน
“ผมชื่อนัท ส่วนคนพายหัวเรือนั่นคือชัย” พี่นัทนายท้ายเรือหุ่นสูงยาวเข่าดีแนะนำทีม
จากนั้นจังหวะต่อมาผมก็ให้พี่นัทนายท้ายอธิบายถึงความน่าสนใจของลำน้ำว้า
“น้ำว้ามีต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำ เทือกเดียวกับลำน้ำน่าน น้ำว้าที่เราล่องแก่ง มี 3 ช่วง คือ น้ำว้าตอนบน กลาง ล่าง น้ำว้าตอนล่างโหดน้อยสุด ตอนกลางโหดกำลังดี ตอนบนโหดที่สุด ใครจะไปล่องน้ำว้าตอนบนได้ ต้องผ่านตอนกลางไปก่อน แล้วแต่ละบริษัททัวร์จะคัดเลือกอีกทีทั้งนายท้าย หัวเรือ และนักท่องเที่ยว เพราะที่นั่นโหดจริงๆ”

แต่ก็ใช่ว่าน้ำว้าตอนกลางที่ใช้เวลาล่องแก่ง 3 วัน 2 คืนซึ่งโหดกำลังดี(ตามความหมายของนายท้ายนั้น)จะไม่โหดสำหรับเราล่ะ เพราะหลังจากนี้น้ำว้าตอนกลางต้อนรับผมแบบเบาะๆด้วยแก่งโก้ ที่พอผ่านไปได้ก็รู้สึกโก้ไม่หยอก แก่งผาแคบ ที่มีลักษณะเป็นผาหินแคบๆ ก่อนไปถึงไฮไลท์ของวันแรกที่“แก่งเสือเต้น” ที่ไม่เกี่ยวใดๆกับแก่งเสือเต้น(จ.แพร่)ที่ภาครัฐพยายามผลักดันให้สร้างเขื่อนและภาค NGO คัดค้าน
แก่งเสือเต้นที่นี่มีความยากระดับ 3-4 ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ ลักษณะเป็นช่องเขาแคบๆและยาว มากไปด้วยโขดหิน แก่งหิน ผมไม่รู้ว่าเสือที่ไหนมันมาเต้นที่นี่ รู้แต่ว่าตอนที่พายเรือโต้ฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากของล่องแก่งเสือเต้นนี่ มันช่างตื่นเต้นและหนาวระยับไม่น้อยเลย

พ้นจากแก่งเสือเต้นมาก็เจอแก่งไฮจ้ำ แก่งห้วยสบปึง ในระดับ 3-4 ให้ออกแรงจ้วงพายกันพอคลายหนาว ก่อนจะมาแวะพักค้างคืนแรกที่แค้มป์บ้านห้วยลอยในเย็นวันนั้น ในบรรยากาศแค้มป์ปิ้ง นอนเต็นท์ ก่อกองไฟ อาบน้ำลำธาร
หลังอาหารเย็นผ่านพ้น ความมืดมิดย่างกรายมาเยือน ความหนาวยะเยือกเดินทางมาทักทาย ราตรีนี้ไร้แสงสีเสียงจากไฟฟ้า มีแต่แสงสีเสียงจากธรรมชาติเป็นเพื่อน โดยเฉพาะเสียงธารน้ำไหลรี่ข้างที่พัก
นับเป็นเสน่ห์แห่งสายน้ำที่ยามดุดันในระดับ 4-5 มันก็กราดเกรี้ยวเชี่ยวกรากส่งเสียงคำรามสั่นสะท้านป่า แต่ยามสงบก็ราบเรียบใสแจ๋วสะท้อนเงาราวกระจก ครั้นยามไหลเอื่อยไหลรี่มันก็ส่งเสียงอันผ่อนคลายฟังไพเราะเสนาะหูกล่อมโสตประสาทผมในคืนนั้นให้เคลิ้มหลับใหลไปอย่างไม่ยากเย็น
2...
แค้มป์บ้านห้วยลอย ยามเช้าตรู่
อากาศแม้หนาวจับจิต แต่ว่าบรรดาเหล่าผู้ที่ต้องการพิชิตลำน้ำว้าก็จำเป็นกึ่งจำใจกึ่งโดนบังคับให้ตื่นขึ้นมาโต้อากาศหนาว
“อาทิตย์ที่แล้ว หนาวกว่านี้อีก ช่วงนี้ถือว่าอากาศอุ่นขึ้นมาได้พักหนึ่งแล้ว”พี่นัทบอกยังงั้น
โอว...นั่นมันอุ่นของพี่ แต่นี่มัน(โค-ตะ-ระ)หนาวของผม แถมมันยังหนาวขึ้นไปอีกเมื่อผมต้องกลับไปใส่ชุดเก่าชุดเปียกของเมื่อวานผจญแก่งต่อไปในเช้านี้(เพราะดันเอาชุดล่องแก่งมาแค่ชุดเดียว)

สำปรับโปรแกรมล่องแก่งวันที่ 2 เราจะเดินทางเข้าเขต อ.สันติสุข ซึ่งพี่นัทบอกว่า “เมื่อวานเป็นน้ำจิ้ม วันนี้แหละของจริง” ว่าแล้ว “งานเข้า” แต่เช้าเลยคร้าบพี่น้อง เพราะช่วงประมาณ 10 โมงเราก็เจอกับ 2 แก่งใหญ่ ให้ออกแรงจ้วงพายกันแบบสุดฤทธิ์สุดเดช
แก่งแรก แก่งห้วยเดื่อหรือแก่งเดื่อ ที่มีความยากระดับ 4 ถึง 4+ แก่งนี้ในความเห็นผมมันไม่น่าเรียกว่าแก่ง แต่มันน่าเรียกน้ำตกน้อยมากกว่า เพราะมันสูงร่วม 2-3 เมตร มีสายน้ำถั่งโถมพรั่งพรูขาวฟูฟ่อง ยามที่ล่องเรือฝ่าแก่งห้วยเดื่อนี่ เหมือนเรือมันมุดหายเข้าไปในสายน้ำก่อนที่จะโผล่ออกมาให้ส่งเสียงเฮด้วยความสะใจ
แก่งที่สอง ตามติดๆกันมาแบบใจยังไม่หายใจไม่ทั่วท้องจากแก่งแรก แก่งนี้ชื่อ“แก่งผีป่า” ที่ฟังแค่ชื่อก็น่ากลัวแล้ว
แก่งผีป่า จัดอยู่ในความยากระดับ 4+ ถึง 5 มีความยาวเกือบ 100 เมตร มีความยากให้ผจญ 2 ช่วงด้วยกัน คือพอผ่านช่วงบนมาได้ก็มาเจอกับโค้งหักศอกในช่วงล่าง ที่หากว่าเรือมาไปผิดล่องน้ำหรือคนบนเรือไม่พร้อมใจกันพาย ไม่ฟังนายท้าย เรืออาจพลิกคว่ำเอาได้ง่ายๆ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาเพราะเรือลำผมพร้อมใจกันพายอย่างพร้อมเพรียง จึงสามารถฝ่าแก่ผีป่ามาได้แบบไม่ยากเย็น
พ้นจากแก่งผีป่าไป พี่นัทบอกทุกคน“ตีพาย”เพื่อแสดงถึงความพร้อมเพรียงและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยการ ชูพายขึ้นยกใบพายมาแตะกัน พร้อมส่งเสียงดังๆให้ลำอื่นได้ยินว่า“เฮ้!!!”
แหม...วิธีการมันช่างคล้ายกับการชนแก้ว กัมเปย ในวงสุราไม่น้อยเลย แต่เที่ยงๆอย่างนี้ผมไม่คิดแม้แต่จะจิบ หากแต่คิดอยากจะสวาปามข้าวเที่ยงมากกว่า ซึ่งจากนั้นอีกไม่นานก็มาถึงจุดพักกินข้าว ที่ห้วยน้ำแนะ
ด้วยความหิวบวกความเหน็ดเหนื่อย จึงทำให้อาหารง่ายๆในมื้อนั้น อย่างข้าวเหนียวห่อใบตอง น้ำพริก ไก่ย่าง ปลาย่าง กลายเป็นอาหารรสโอชะเทียบชั้นได้กับโรงแรมหรือภัตตาคารเลยทีเดียว
โปรแกรมในช่วงบ่าย เราฟันฝ่าไปอีกหลายแก่ง แต่มีแก่งหนึ่งที่พิเศษออกไปนั่นก็คือ แก่งรถเมล์ เพราะนักท่องเที่ยวต้องลงเดินลัดเลาะริมฝั่งข้ามแก่งไป ปล่อยให้พวกสตาฟฟ์นำเรือฝ่าแก่งไปอย่างทุลักทุเล
แก่งนี้มีความยากในระดับ 4-5 แต่ว่าช่วงที่ผมไปมีน้ำน้อย และมีต้นไม้ใหญ่หักขวางอยู่ เพราะฉะนั้นเพื่อความปล่อยไปจึงควรเดินข้ามไปจะดีกว่า
ผ่านพ้นจากแก่งรถเมล์ก็ ผมมาเจออีก 2 แก่งชวนตื่นเต้นในช่วงท้ายของโปรแกรมวันที่ 2 คือแก่งขี้นก 1 และ 2 ให้พวกเราได้ออกแรงพายกันอีกขยักหนึ่ง ก่อนที่ผมและเพื่อนๆจะไปหมดสภาพเอายังจุดพักค้างแรมที่แคมป์น้ำปุ๊

บรรยากาศแคมป์ปิ้งที่นี่ยังเหมือนเช่นวันแรก แต่ว่าคืนนี้จู่ๆความเหงาก็แวะเวียนเข้ามาถามหา ซึ่งก็คงเป็นธรรมดาของผมที่อยู่ที่ไหนก็เหงาได้ งานนี้นอกจากเพื่อนๆร่วมทริปแล้ว ผมก็หาเพื่อนผู้แสนซื่อสัตย์อีกหนึ่งหน่วยมาช่วยคลายเหงานั่นก็คือเพื่อน“สุรา” และเพื่อนดวงดาว ที่ค่ำคืนนี้ฟ้าเปิดกว่าเมื่อวาน ผมจึงถือโอกาสในจังหวะที่ดื่มพอกรึ่มๆมายืนดูดาวที่ส่องแสงสุกสกาวดารดาษเต็มฟากฟ้า
เมื่อทะเลดาวส่องแสงเปล่งประกายมาถึงทะเลใจ คืนนั้นผมจึงมองเห็นหมู่ดาวกลายเป็นหน้าสาวที่คิดถึง แถมยังเห็นวนๆเวียนๆเห็นอยู่อย่างนั้นจนม่อยหลับไป
3...
เช้าวันสุดท้ายของการล่องแก่ง ผมตื่นขึ้นมาอย่างหมดเรี่ยวหมดแรง แล้วก็ออกล่องแก่งไปอย่างหมดเรี่ยวหมดแรง แถมยังหนาวซ้ำหนาวซ้อนอีกต่างหากเพราะชุดล่องแก่งนี่ใส่มา 2 วันแล้ว
กระนั้นเมื่อจังหวะผ่านแก่งยากๆมาถึง ผมยังมีพลังก๊อก 3 มาให้ใช้ในการผจญฝ่าแก่ง แบบทุลักทุเล ซึ่งบรรดาแก่งยากๆ ระดับ 3-4 ในวันสุดท้ายก็มี แก่งโดด แก่งใหม่ แก่งสร้อย และแก่งยาวแก่งสุดท้ายให้ฝ่าฟันกันไปจุดขึ้นฝั่งในเขต อ.แม่จริม
ไม่น่าเชื่อว่าตลอดเส้นทาง 3 วัน 2 คืน ที่ผมล่องแก่งน้ำว้ามานั้นจะมีระยะทางยางไกลถึง 80 กิโลเมตร ผ่าน 3 อำเภอ คือ อ.บ่อเกลือ สันติสุข และแม่จริม แต่ว่าผมกลับไม่รู้สึกว่ามันยาวไกล รู้สึกแต่เพียงว่ามันเป็นประสบการณ์ดีๆที่น่าตื่นเต้น เพลิดเพลิน
และหนาวสั่นสะท้านในบางจังหวะบางช่วงบ้าง...เท่านั้นเอง
บ้านสบมาง ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน
จุดเริ่มต้นล่องแก่ง...ณ ลำห้วยสบมาง
เบื้องบนเป็นแผ่นฟ้ากว้าง เบื้องหน้าเป็นธารน้ำใสไหลเอื่อย
หากเป็นปกติ ยามได้เห็นธารน้ำอันชุมฉ่ำนุ่มนวลเช่นนี้ จิตใจผมมักจะเกิดอารมณ์ร่วมพลอยให้รู้สึกเบิกบานชุ่มชื่นตามไปด้วย
แต่ประทานโทษครั้งนี้กลับแตกต่างออกไป ธารน้ำแม้ชุ่มฉ่ำ จิตใจแม้เบิกบาน แต่หัวใจกลับเริ่มเต้นไม่เป็นส่ำ เนื่องเพราะนี่ไม่ใช่ลำน้ำธรรมดา หากแต่เป็น“ลำน้ำว้า”อันถือเป็นสุดยอดแห่งการล่องแก่งในเมืองไทยและในอันดับต้นๆของเอเชีย
“น้ำว้า” ชื่อนี้ ปกติผมจะคุ้นเคยกับ“กล้วยน้ำว้า”มากกว่า“ลำน้ำว้า” แต่นับจากนี้ไป ผมกำลังจะไปทำความคุ้นเคยกับลำน้ำว้าที่แม้ว่าจะมาผิดฤดูไปหน่อย เพราะฤดูล่องแก่งลำน้ำว้าที่เหมาะสมนั้นอยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ราวเดือน ต.ค.-ม.ค.เนื่องจากมีปริมาณน้ำกำลังดี ไม่มากไปน้อยไป
ส่วนในช่วงปลายหนาวอย่างนี้ สายน้ำว้าแม้จะงวดลงไปมาก แต่สิ่งที่ผมได้ทดแทนมาก็ความเหน็บหนาวที่ปีนี้มีให้สัมผัสกันอย่างเหลือเฟือ
1...
สายน้ำไม่คอยท่า เวลาไม่คอยใคร
หลังจากสวมชูชีพ หมวกกันน็อค และฟังทีมสตาฟฟ์จากน่านทัวร์ริ่งอธิบายวิธีการพายเรือ การนั่งเรือ การช่วยกันบังคับเรือ และการช่วยเหลือตัวเองหากพลั้งพลาดตกน้ำแล้ว(แก่งน้ำว้าโหดและยากกว่าที่อื่น ฉะนั้นเวลาสตาฟฟ์อธิบายจึงเน้นเป็นพิเศษ) คณะเราก็ไม่รีรอ เข็นเรือออกไปคอยท่าริมธารน้ำกันในทันที
ทริปนี้คณะเรามีเรือยางผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกันทั้งสิ้น 7 ลำด้วยกัน สำหรับเรือลำผมรวมฝีพาย นายท้าย-นายหัวมีสมาชิกทั้งหมด 5 คนด้วยกัน เมื่อเรือพร้อม ฝีพายพร้อม ทุกคนในเรือก็ช่วยกันพายเรือออกจากฝั่งไปตามสายน้ำที่ไหลเอื่อย จิตใจผมยามนี้ดูจะเต้นไม่เป็นส่ำมากขึ้น แต่ประทานโทษงานนี้ไม่มีใครรู้หรอก เพราะผมช่ำชองในด้านการเก็บอาการเป็นเลิศ
หลังจากเรือยางลอยล่องไปสักพัก ผมเริ่มคุ้นชิน จิตใจกลับมาเป็นปกติ จึงถือโอกาสถ่ายรูปวิวทิวทัศน์ 2 ฟากฝั่งไปในตัว เพราะการล่องแก่งลำน้ำว้า เมื่อมีโอกาสถ่ายรูปก็ต้องยึดแนวทาง “น้ำขึ้นในรีบตัก” รีบถ่ายเมื่อมีโอกาส ไม่ควรทำเป็นพวก“หวังน้ำบ่อหน้า”รอโอกาสที่ยังมาไม่ถึง
ทิวทัศน์ในช่วงนี้มีสายน้ำไหลเอื่อย สองฟากฝั่งดูร่มรื่น นั่นเป็นหาดทรายน้ำจืดที่ไม่มีแหม่มสาวๆมาเปลือยอกอาบแดดเหมือนชายหาดทางกระบี่ ภูเก็ต แต่หาดทรายน้ำจืดที่นี่แจ๋วเจ๋งกว่าครับ เพราะเหล่าซุปเปอร์โมเดลเจ้าถิ่นที่นี่เล่นเปลือยทั้งตัว ยืน-นั่ง-นอน อาบแดด เกลือกกลิ้งผืนทรายกันแบบไม่อายผู้อายคน
ทุกคนในเรือผม เมื่อเจอนู้ดริมน้ำระดับสุดยอดแบบนี้ต่างก็หันกล้องไปรัวถ่ายรูปกันคนละหลายๆแชะ เพราะนี่หาใช่แบบระดับคนธรรมดาไม่ หากแต่เป็นแบบระดับ“ควาย”ท้องถิ่นที่มาหากินกันเป็นฝูง บางตัวหันมาส่งเสียง“มอๆๆๆ”ส่วนบางตัวก็นิ่งเฉยไม่สนใจใคร
งานนี้คนมองควาย ควายก็มองคน
แล้วคนก็หันมามองคนด้วยกันเมื่อเรือคล้อยหลังฝูงควายมาได้พักใหญ่ เนื่องจากผมเหลียวหันไปพูดคุยกับนายท้ายนรสิงห์ เพราะเห็นว่าช่วงจังหวะนี้ สายน้ำยังไหลเบา จึงควรไถ่ถามชื่อเสียงเรียงนามของฝีพายนายหัว-นายท้ายเอาไว้ เผื่อมีปัญหาอะไรจะได้เรียกได้ถูกคน
“ผมชื่อนัท ส่วนคนพายหัวเรือนั่นคือชัย” พี่นัทนายท้ายเรือหุ่นสูงยาวเข่าดีแนะนำทีม
จากนั้นจังหวะต่อมาผมก็ให้พี่นัทนายท้ายอธิบายถึงความน่าสนใจของลำน้ำว้า
“น้ำว้ามีต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำ เทือกเดียวกับลำน้ำน่าน น้ำว้าที่เราล่องแก่ง มี 3 ช่วง คือ น้ำว้าตอนบน กลาง ล่าง น้ำว้าตอนล่างโหดน้อยสุด ตอนกลางโหดกำลังดี ตอนบนโหดที่สุด ใครจะไปล่องน้ำว้าตอนบนได้ ต้องผ่านตอนกลางไปก่อน แล้วแต่ละบริษัททัวร์จะคัดเลือกอีกทีทั้งนายท้าย หัวเรือ และนักท่องเที่ยว เพราะที่นั่นโหดจริงๆ”
แต่ก็ใช่ว่าน้ำว้าตอนกลางที่ใช้เวลาล่องแก่ง 3 วัน 2 คืนซึ่งโหดกำลังดี(ตามความหมายของนายท้ายนั้น)จะไม่โหดสำหรับเราล่ะ เพราะหลังจากนี้น้ำว้าตอนกลางต้อนรับผมแบบเบาะๆด้วยแก่งโก้ ที่พอผ่านไปได้ก็รู้สึกโก้ไม่หยอก แก่งผาแคบ ที่มีลักษณะเป็นผาหินแคบๆ ก่อนไปถึงไฮไลท์ของวันแรกที่“แก่งเสือเต้น” ที่ไม่เกี่ยวใดๆกับแก่งเสือเต้น(จ.แพร่)ที่ภาครัฐพยายามผลักดันให้สร้างเขื่อนและภาค NGO คัดค้าน
แก่งเสือเต้นที่นี่มีความยากระดับ 3-4 ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ ลักษณะเป็นช่องเขาแคบๆและยาว มากไปด้วยโขดหิน แก่งหิน ผมไม่รู้ว่าเสือที่ไหนมันมาเต้นที่นี่ รู้แต่ว่าตอนที่พายเรือโต้ฝ่าสายน้ำอันเชี่ยวกรากของล่องแก่งเสือเต้นนี่ มันช่างตื่นเต้นและหนาวระยับไม่น้อยเลย
พ้นจากแก่งเสือเต้นมาก็เจอแก่งไฮจ้ำ แก่งห้วยสบปึง ในระดับ 3-4 ให้ออกแรงจ้วงพายกันพอคลายหนาว ก่อนจะมาแวะพักค้างคืนแรกที่แค้มป์บ้านห้วยลอยในเย็นวันนั้น ในบรรยากาศแค้มป์ปิ้ง นอนเต็นท์ ก่อกองไฟ อาบน้ำลำธาร
หลังอาหารเย็นผ่านพ้น ความมืดมิดย่างกรายมาเยือน ความหนาวยะเยือกเดินทางมาทักทาย ราตรีนี้ไร้แสงสีเสียงจากไฟฟ้า มีแต่แสงสีเสียงจากธรรมชาติเป็นเพื่อน โดยเฉพาะเสียงธารน้ำไหลรี่ข้างที่พัก
นับเป็นเสน่ห์แห่งสายน้ำที่ยามดุดันในระดับ 4-5 มันก็กราดเกรี้ยวเชี่ยวกรากส่งเสียงคำรามสั่นสะท้านป่า แต่ยามสงบก็ราบเรียบใสแจ๋วสะท้อนเงาราวกระจก ครั้นยามไหลเอื่อยไหลรี่มันก็ส่งเสียงอันผ่อนคลายฟังไพเราะเสนาะหูกล่อมโสตประสาทผมในคืนนั้นให้เคลิ้มหลับใหลไปอย่างไม่ยากเย็น
2...
แค้มป์บ้านห้วยลอย ยามเช้าตรู่
อากาศแม้หนาวจับจิต แต่ว่าบรรดาเหล่าผู้ที่ต้องการพิชิตลำน้ำว้าก็จำเป็นกึ่งจำใจกึ่งโดนบังคับให้ตื่นขึ้นมาโต้อากาศหนาว
“อาทิตย์ที่แล้ว หนาวกว่านี้อีก ช่วงนี้ถือว่าอากาศอุ่นขึ้นมาได้พักหนึ่งแล้ว”พี่นัทบอกยังงั้น
โอว...นั่นมันอุ่นของพี่ แต่นี่มัน(โค-ตะ-ระ)หนาวของผม แถมมันยังหนาวขึ้นไปอีกเมื่อผมต้องกลับไปใส่ชุดเก่าชุดเปียกของเมื่อวานผจญแก่งต่อไปในเช้านี้(เพราะดันเอาชุดล่องแก่งมาแค่ชุดเดียว)
สำปรับโปรแกรมล่องแก่งวันที่ 2 เราจะเดินทางเข้าเขต อ.สันติสุข ซึ่งพี่นัทบอกว่า “เมื่อวานเป็นน้ำจิ้ม วันนี้แหละของจริง” ว่าแล้ว “งานเข้า” แต่เช้าเลยคร้าบพี่น้อง เพราะช่วงประมาณ 10 โมงเราก็เจอกับ 2 แก่งใหญ่ ให้ออกแรงจ้วงพายกันแบบสุดฤทธิ์สุดเดช
แก่งแรก แก่งห้วยเดื่อหรือแก่งเดื่อ ที่มีความยากระดับ 4 ถึง 4+ แก่งนี้ในความเห็นผมมันไม่น่าเรียกว่าแก่ง แต่มันน่าเรียกน้ำตกน้อยมากกว่า เพราะมันสูงร่วม 2-3 เมตร มีสายน้ำถั่งโถมพรั่งพรูขาวฟูฟ่อง ยามที่ล่องเรือฝ่าแก่งห้วยเดื่อนี่ เหมือนเรือมันมุดหายเข้าไปในสายน้ำก่อนที่จะโผล่ออกมาให้ส่งเสียงเฮด้วยความสะใจ
แก่งที่สอง ตามติดๆกันมาแบบใจยังไม่หายใจไม่ทั่วท้องจากแก่งแรก แก่งนี้ชื่อ“แก่งผีป่า” ที่ฟังแค่ชื่อก็น่ากลัวแล้ว
แก่งผีป่า จัดอยู่ในความยากระดับ 4+ ถึง 5 มีความยาวเกือบ 100 เมตร มีความยากให้ผจญ 2 ช่วงด้วยกัน คือพอผ่านช่วงบนมาได้ก็มาเจอกับโค้งหักศอกในช่วงล่าง ที่หากว่าเรือมาไปผิดล่องน้ำหรือคนบนเรือไม่พร้อมใจกันพาย ไม่ฟังนายท้าย เรืออาจพลิกคว่ำเอาได้ง่ายๆ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาเพราะเรือลำผมพร้อมใจกันพายอย่างพร้อมเพรียง จึงสามารถฝ่าแก่ผีป่ามาได้แบบไม่ยากเย็น
พ้นจากแก่งผีป่าไป พี่นัทบอกทุกคน“ตีพาย”เพื่อแสดงถึงความพร้อมเพรียงและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยการ ชูพายขึ้นยกใบพายมาแตะกัน พร้อมส่งเสียงดังๆให้ลำอื่นได้ยินว่า“เฮ้!!!”
แหม...วิธีการมันช่างคล้ายกับการชนแก้ว กัมเปย ในวงสุราไม่น้อยเลย แต่เที่ยงๆอย่างนี้ผมไม่คิดแม้แต่จะจิบ หากแต่คิดอยากจะสวาปามข้าวเที่ยงมากกว่า ซึ่งจากนั้นอีกไม่นานก็มาถึงจุดพักกินข้าว ที่ห้วยน้ำแนะ
ด้วยความหิวบวกความเหน็ดเหนื่อย จึงทำให้อาหารง่ายๆในมื้อนั้น อย่างข้าวเหนียวห่อใบตอง น้ำพริก ไก่ย่าง ปลาย่าง กลายเป็นอาหารรสโอชะเทียบชั้นได้กับโรงแรมหรือภัตตาคารเลยทีเดียว
โปรแกรมในช่วงบ่าย เราฟันฝ่าไปอีกหลายแก่ง แต่มีแก่งหนึ่งที่พิเศษออกไปนั่นก็คือ แก่งรถเมล์ เพราะนักท่องเที่ยวต้องลงเดินลัดเลาะริมฝั่งข้ามแก่งไป ปล่อยให้พวกสตาฟฟ์นำเรือฝ่าแก่งไปอย่างทุลักทุเล
แก่งนี้มีความยากในระดับ 4-5 แต่ว่าช่วงที่ผมไปมีน้ำน้อย และมีต้นไม้ใหญ่หักขวางอยู่ เพราะฉะนั้นเพื่อความปล่อยไปจึงควรเดินข้ามไปจะดีกว่า
ผ่านพ้นจากแก่งรถเมล์ก็ ผมมาเจออีก 2 แก่งชวนตื่นเต้นในช่วงท้ายของโปรแกรมวันที่ 2 คือแก่งขี้นก 1 และ 2 ให้พวกเราได้ออกแรงพายกันอีกขยักหนึ่ง ก่อนที่ผมและเพื่อนๆจะไปหมดสภาพเอายังจุดพักค้างแรมที่แคมป์น้ำปุ๊
บรรยากาศแคมป์ปิ้งที่นี่ยังเหมือนเช่นวันแรก แต่ว่าคืนนี้จู่ๆความเหงาก็แวะเวียนเข้ามาถามหา ซึ่งก็คงเป็นธรรมดาของผมที่อยู่ที่ไหนก็เหงาได้ งานนี้นอกจากเพื่อนๆร่วมทริปแล้ว ผมก็หาเพื่อนผู้แสนซื่อสัตย์อีกหนึ่งหน่วยมาช่วยคลายเหงานั่นก็คือเพื่อน“สุรา” และเพื่อนดวงดาว ที่ค่ำคืนนี้ฟ้าเปิดกว่าเมื่อวาน ผมจึงถือโอกาสในจังหวะที่ดื่มพอกรึ่มๆมายืนดูดาวที่ส่องแสงสุกสกาวดารดาษเต็มฟากฟ้า
เมื่อทะเลดาวส่องแสงเปล่งประกายมาถึงทะเลใจ คืนนั้นผมจึงมองเห็นหมู่ดาวกลายเป็นหน้าสาวที่คิดถึง แถมยังเห็นวนๆเวียนๆเห็นอยู่อย่างนั้นจนม่อยหลับไป
3...
เช้าวันสุดท้ายของการล่องแก่ง ผมตื่นขึ้นมาอย่างหมดเรี่ยวหมดแรง แล้วก็ออกล่องแก่งไปอย่างหมดเรี่ยวหมดแรง แถมยังหนาวซ้ำหนาวซ้อนอีกต่างหากเพราะชุดล่องแก่งนี่ใส่มา 2 วันแล้ว
กระนั้นเมื่อจังหวะผ่านแก่งยากๆมาถึง ผมยังมีพลังก๊อก 3 มาให้ใช้ในการผจญฝ่าแก่ง แบบทุลักทุเล ซึ่งบรรดาแก่งยากๆ ระดับ 3-4 ในวันสุดท้ายก็มี แก่งโดด แก่งใหม่ แก่งสร้อย และแก่งยาวแก่งสุดท้ายให้ฝ่าฟันกันไปจุดขึ้นฝั่งในเขต อ.แม่จริม
ไม่น่าเชื่อว่าตลอดเส้นทาง 3 วัน 2 คืน ที่ผมล่องแก่งน้ำว้ามานั้นจะมีระยะทางยางไกลถึง 80 กิโลเมตร ผ่าน 3 อำเภอ คือ อ.บ่อเกลือ สันติสุข และแม่จริม แต่ว่าผมกลับไม่รู้สึกว่ามันยาวไกล รู้สึกแต่เพียงว่ามันเป็นประสบการณ์ดีๆที่น่าตื่นเต้น เพลิดเพลิน
และหนาวสั่นสะท้านในบางจังหวะบางช่วงบ้าง...เท่านั้นเอง