โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
Jingle bells, jingle bells
Jingle all the way,
Oh what fun it is to ride
In a one-horse open sleigh ...Hey
ที่ฉันขับร้องเพลง Jingle bells นี้ก็เพราะว่าช่วงนี้เป็นเทศกาลคริสต์มาส ไปไหนมาไหนฉันก็มักจะเห็นการประดับประดาต้นคริสต์มาสกันอย่างสวยงาม ทำให้ฉันนึกอยากจะเที่ยวให้เข้ากับเทศกาลกับเขาบ้าง โดยฉันจะพาทุกท่านเข้าโบสถ์ที่สวยสดงดงามในเมืองกรุงแห่งนี้กัน
โดย "โบสถ์" ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมในคริสต์ศาสนา เช่นเดียวกับอุโบสถในศาสนาพุทธ และโบสถ์แต่ละแห่งก็ล้วนสร้างสรรค์อย่างประณีตสวยงามจนฉันอดไม่ได้ที่จะแวะเวียนเข้าไปชื่นชมด้วยตาตนเอง
โบสถ์อัสสัมชัญ
ฉันเริ่มต้นจาก "อาสนวิหารอัสสัมชัญ" หรือ "โบสถ์อัสสัมชัญ" ซ.โอเรียนเต็ล ถ.เจริญกรุง เขตบางรัก โบสถ์ชื่อดังที่ดาราและผู้มีชื่อเสียงมากมายนิยมจัดงานวิวาห์กันที่นี่ ซึ่งโบสถ์แห่งนี้มีความเก่าแก่ถึง 200 กว่าปี ถูกสร้างครั้งแรกโดยบาทหลวงปาสกัล ในราวปี พ.ศ.2352 เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่พระนางมารีย์ หรือพระนางมารีอา ที่ได้อัสสัมชัญ หรือก็คือการได้รับการอัญเชิญขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เมื่อสร้างโบสถ์แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2365 ในปีถัดไปก็ได้รับการสถาปนาเป็น อาสนวิหารอัสสัมชัญ
ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2485 เกิดสงครามขึ้น เครื่องบินทิ้งระเบิดในบริเวณวัด ทำให้อาคารต่างๆรอบวัดได้รับความเสียหายอย่างมาก หมูบ้านคริสตังบริเวณนั้นถูกเผาทำลายหมด อาสนวิหารด้านซ้ายได้ถูกระเบิดทำให้ได้รับความเสียหายมาก ทั้งกำแพง ประตูหน้าต่าง ประจก ทำให้ต้องซ่อมแซมทั้งหมด
โบสถ์หลังปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2452 เพื่อรองรับการขยายตัวของคริสต์ศาสนิกชนที่มีเพิ่มมากขึ้น โดยมีสถาปนิกชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง วัสดุที่ใช้สร้างเช่นหินอ่อนและกระจกสีนั้นก็สั่งมาจากประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี
ด้วยศิลปะแบบเรอเนซองส์ของอิตาลี ทำให้โบสถ์แห่งนี้มีความงดงามอย่างมาก โดยมีความสูงตั้งแต่ยอดหอคอยจดพื้น 32 เมตรด้วยกัน ส่วนด้านในผนังและเพดานก็งดงามด้วยจิตรกรรมแบบเฟรสโกและประติมากรรมปูนปั้นที่แสดงถึงเรื่องราวความเชื่อของทางศาสนาคริสต์อยู่ภายใน และมีศิลปะกระจกสีจำนวน 46 บาน พร้อมด้วยโรสวินโดว์ (Road window) ในปี พ.ศ. 2527 อาสนวิหารแห่งนี้ยังเคยได้มีโอกาสรับเสด็จสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 อีกด้วย
โบสถ์กาลหว่าร์
"โบสถ์กาลหว่าร์" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซ.วานิช 2 ถ.โยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธ์วงศ์โดยภายหลังการเสียกรุงครั้งที่ 2 ชาวโปรตุเกสที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอริกจำนวนหนึ่ง ได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนที่บริเวณตลาดน้อยริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ในระหว่างนั้นยังหาศาสนสถานสำหรับทำพิธีกรรมทางศาสนาไม่ได้
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีแล้ว พระองค์จึงทรงพระราชทานที่ดินบริเวณนั้นให้ จึงได้สร้างวัดขึ้นในปี พ.ศ.2330 นั้นเอง และเนื่องจากมีกางเขนตั้งอยู่ที่สุสานบริเวณด้านหลังของวัด จึงเรียกกันตามชื่อของภูเขาที่พระเยซูถูกตรึงกางเขนว่า "กาลวารีโอ" ซึ่งภายหลังขนานนามวัดนี้ว่า "วัดกาลหว่าร์"
เมื่อเวลาล่วงเลยไปวัดแห่งนี้ก็ได้ทรุดโทรมลง ในปี พ.ศ.2382 จึงได้มีการรื้อถอนและสร้างใหม่เป็นวัดครึ่งอิฐครึ่งไม้ และได้เปลี่ยนชื่อวัดแห่งนี้เป็น "วัดแม่พระลูกประคำ" ต่อมาในปี พ.ศ.2407 ได้เกิดไฟไหม้วัด และในปี พ.ศ.2433 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการรื้อวัดแล้วทำการสร้างใหม่ ซึ่งก็คือโบสถ์หลังปัจจุบันนั้นเอง
โบสถ์ที่เห็นกันอยู่ในตอนนี้เป็นโบสถ์หลังที่ 3 มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบนีโอโกธิคที่สวยงาม โดยผนังเป็นการก่ออิฐถือปูนแบบโบราณ ไม่ใช้เหล็กและเสาเข็ม ที่เพดาน มีดาวประดับเป็นลักษณะท้องฟ้า และภายในตกแต่งกระจกสีเป็นเรื่องราวในคัมภีร์ทั้งพระธรรมใหม่และพระธรรมเก่าที่สวยงาม
โบสถ์คอนเซ็ปชัญ
"วัดคอนเซ็ปชัญ" ซ.มิตตคาม ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต วัดคอนเซ็ปชัญนี้เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยหลังจากที่พระสังฆราชหลุยส์ ลาโน ได้รับการอภิเษกที่กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.2217 แล้ว ท่านก็ได้เดินทางมาอยู่ที่เมืองบางกอก และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเจ้าแผ่นดินในขณะนั้น เพื่อขอพระราชทานที่ดินสำหรับสร้างวัดและโรงพยาบาล สมเด็จพระนารายณ์ได้พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือวัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) และได้สร้างวัดในศาสนาคริสต์ขึ้นด้วยอิฐลาดปูน โดยตั้งชื่อว่า Immaculee Conception ซึ่งหมายถึง "แม่พระปฏิสนธินิรมล" วัดนี้จึงถูกเรียกว่า "วัดคอนเซ็ปชัญ" ซึ่งบริเวณนี้ก็ถือเป็นชุมชนชาวคริสต์ที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯ อีกด้วย
ต่อมาใน พ.ศ.2328 คุณพ่อลังเยอนัวส์ มิชชันนารีในประเทศเขมร ได้พาคริสตังโปรตุเกสกับชาวเขมรซึ่งเป็นคนรับใช้ของชาวโปรตุเกสมาอยู่ที่วัดคอนเซปชัญ นับแต่นั้นมาวัดนี้จึงถูกเรียกว่าวัดเขมร คริสตังโปรตุเกสกลุ่มนี้ได้นำพระรูปแม่พระซึ่งเป็นไม้แกะสลักมาด้วย โดยจะมีการอัญเชิญพระรูปมาแห่ในโอกาสวันฉลองใหญ่ๆอยู่เสมอ โดยในเวลานั้นที่บางกอกมีวัดเพียง 2 แห่งเท่านั้นคือวัดซางตาครูสซึ่งเป็นวัดของชาวโปรตุเกสไทย และวัดคอนเซ็ปชัญซึ่งเป็นวัดของโปรตุเกสเขมร
วัดคอนเซ็ปชัญได้มีการซ่อมแซมและสร้างเพิ่มเติม แต่ก็ยังคงความสง่างาม เป็นอีกหนึ่งโบสถ์คริสต์เก่าแก่คู่กรุงเทพฯมาจนถึงปัจจุบัน
โบสถ์เซนต์ฟรัง
"วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์" ซ.มิตตคาม ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต วัดแห่งนี้อยู่ใกล้เคียงกับวัดคอนเซ็ปชัญถือกำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยในช่วงนั้นกลุ่มคริสตังชาวญวนได้หนีการเบียดเบียนศาสนาในประเทศอันนัมเข้ามาในประเทศไทย รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระทัยเมตตาจึงทรงพระราชทานที่ดินซึ่งอยู่ติดกับวัดคอนเซปชัญให้สร้างศาลาใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย พร้อมทั้งพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคให้ด้วย
นอกจากนี้ยังพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สร้างโบสถ์หลังหนึ่งเพื่อใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ โบสถ์หลังนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2378 ด้วยไม้ไผ่ ใช้ชื่อว่า "วัดแซงต์ฟรังซัวซาเวียร์" ต่อมาในปี พ.ศ.2380 เกิดพายุใหญ่พัดวัดพังเสียหาย จึงได้มีการสร้างวัดใหม่เป็นไม้ และได้นำพระรูปแม่พระและรูปนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ จากมะนิลามาตั้งในวัดหลังที่สองนี้
ต่อมาคริสตังที่สามเสนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ที่อยู่อาศัยคับแคบลง จึงได้มีการสร้างวัดใหม่ด้วยอิฐมีขนาดใหญ่กว่าเดิมมาก ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 10 ปี เมื่อแล้วเสร็จได้ทำพิธีเสกอย่างสง่าในวันฉลองนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ในปีพ.ศ.2410
โบสถ์ซางตาครูส
วัดซางตาครูส ถ.เทศบาลสาย1 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี มีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนากรุงธนบุรีแล้วก็ได้ทรงรวบรวมไพร่พลทั้งชาวไทย จีน โปรตุเกส และพระราชทานที่ดินเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัย และก็ได้สร้างโบสถ์ขึ้นในปี พ.ศ.2312 และให้ชื่อว่า "โบสถ์ซางตารูส" หมายความว่า กางเขนศักดิ์สิทธิ์
โบสถ์แห่งแรกสร้างขึ้นด้วยไม้ และใช้ประกอบพิธีกรรมเรื่อยมาจนทรุดโทรมมาก ใน พ.ศ.2378 จึงได้สร้างโบสถ์หลังที่สองขึ้น มีรูปร่างคล้ายศาลเจ้าจีน และเมื่อเวลาผ่านไปโบสถ์แห่งนี้ได้เผชิญภัยหลายครั้งทั้งน้ำท่วมและไฟไหม้ กระทั่งในปี พ.ศ.2456 จึงได้สร้างโบสถ์หลังปัจจุบันขึ้นนั้นเอง
โดยโบสถ์ซางตาครูสหลังปัจจุบัน เป็นโบสถ์ฝรั่งสีเหลือง สถาปัตยกรรมแบบอิตาเลียนสมัยเรเนสซองส์ หรือที่เรียกว่า นีโอคลาสสิค ตั้งตระหง่านหันหน้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูนตกแต่งด้วยปูนปั้นเป็นลวดลายใบไม้สวยงาม ส่วนภายในโบสถ์เป็นเหมือนห้องโถงใหญ่เพดานสูง มีแท่นสำหรับให้บาทหลวงยืนเทศน์ ด้านหลังมีรูปปั้นพระเยซูถูกตรึงกางเขน
ฉันเห็นสิ่งที่น่าสนใจภายในโบสถ์แห่งนี้ก็คือ หอคอยคล้ายโดม ช่องแสง Rose Window และกระจกสีเรื่องราวบางตอนในพระคัมภีร์และภาพรำพึงสายประคำศักดิ์สิทธิ์จำนวน 39 บาน ซึ่งกระจกทุกบานผลิตที่ประเทศฝรั่งเศสและส่งตรงมายังโบสถ์แห่งนี้โดยเฉพาะ
ชมโบสถ์สวยๆในกรุงกันแล้ว คริสต์มาสนี้ก็ลองแวะเวียนไปดูบรรยากาศงานฉลองเทศกาลอันยิ่งใหญ่ของแต่ละโบสถ์กันได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นชาวคริสต์จะชนชาติไหน นับถือศาสนาอะไร เขาก็ไม่ว่า ขอแค่คิดดีทำดีก็พอ...เมอร์รี่คริสต์มาสครับพี่น้อง
Jingle bells, jingle bells
Jingle all the way,
Oh what fun it is to ride
In a one-horse open sleigh ...Hey
ที่ฉันขับร้องเพลง Jingle bells นี้ก็เพราะว่าช่วงนี้เป็นเทศกาลคริสต์มาส ไปไหนมาไหนฉันก็มักจะเห็นการประดับประดาต้นคริสต์มาสกันอย่างสวยงาม ทำให้ฉันนึกอยากจะเที่ยวให้เข้ากับเทศกาลกับเขาบ้าง โดยฉันจะพาทุกท่านเข้าโบสถ์ที่สวยสดงดงามในเมืองกรุงแห่งนี้กัน
โดย "โบสถ์" ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมในคริสต์ศาสนา เช่นเดียวกับอุโบสถในศาสนาพุทธ และโบสถ์แต่ละแห่งก็ล้วนสร้างสรรค์อย่างประณีตสวยงามจนฉันอดไม่ได้ที่จะแวะเวียนเข้าไปชื่นชมด้วยตาตนเอง
โบสถ์อัสสัมชัญ
ฉันเริ่มต้นจาก "อาสนวิหารอัสสัมชัญ" หรือ "โบสถ์อัสสัมชัญ" ซ.โอเรียนเต็ล ถ.เจริญกรุง เขตบางรัก โบสถ์ชื่อดังที่ดาราและผู้มีชื่อเสียงมากมายนิยมจัดงานวิวาห์กันที่นี่ ซึ่งโบสถ์แห่งนี้มีความเก่าแก่ถึง 200 กว่าปี ถูกสร้างครั้งแรกโดยบาทหลวงปาสกัล ในราวปี พ.ศ.2352 เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่พระนางมารีย์ หรือพระนางมารีอา ที่ได้อัสสัมชัญ หรือก็คือการได้รับการอัญเชิญขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เมื่อสร้างโบสถ์แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2365 ในปีถัดไปก็ได้รับการสถาปนาเป็น อาสนวิหารอัสสัมชัญ
ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2485 เกิดสงครามขึ้น เครื่องบินทิ้งระเบิดในบริเวณวัด ทำให้อาคารต่างๆรอบวัดได้รับความเสียหายอย่างมาก หมูบ้านคริสตังบริเวณนั้นถูกเผาทำลายหมด อาสนวิหารด้านซ้ายได้ถูกระเบิดทำให้ได้รับความเสียหายมาก ทั้งกำแพง ประตูหน้าต่าง ประจก ทำให้ต้องซ่อมแซมทั้งหมด
โบสถ์หลังปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2452 เพื่อรองรับการขยายตัวของคริสต์ศาสนิกชนที่มีเพิ่มมากขึ้น โดยมีสถาปนิกชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง วัสดุที่ใช้สร้างเช่นหินอ่อนและกระจกสีนั้นก็สั่งมาจากประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี
ด้วยศิลปะแบบเรอเนซองส์ของอิตาลี ทำให้โบสถ์แห่งนี้มีความงดงามอย่างมาก โดยมีความสูงตั้งแต่ยอดหอคอยจดพื้น 32 เมตรด้วยกัน ส่วนด้านในผนังและเพดานก็งดงามด้วยจิตรกรรมแบบเฟรสโกและประติมากรรมปูนปั้นที่แสดงถึงเรื่องราวความเชื่อของทางศาสนาคริสต์อยู่ภายใน และมีศิลปะกระจกสีจำนวน 46 บาน พร้อมด้วยโรสวินโดว์ (Road window) ในปี พ.ศ. 2527 อาสนวิหารแห่งนี้ยังเคยได้มีโอกาสรับเสด็จสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 อีกด้วย
โบสถ์กาลหว่าร์
"โบสถ์กาลหว่าร์" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซ.วานิช 2 ถ.โยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธ์วงศ์โดยภายหลังการเสียกรุงครั้งที่ 2 ชาวโปรตุเกสที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอริกจำนวนหนึ่ง ได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนที่บริเวณตลาดน้อยริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ในระหว่างนั้นยังหาศาสนสถานสำหรับทำพิธีกรรมทางศาสนาไม่ได้
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีแล้ว พระองค์จึงทรงพระราชทานที่ดินบริเวณนั้นให้ จึงได้สร้างวัดขึ้นในปี พ.ศ.2330 นั้นเอง และเนื่องจากมีกางเขนตั้งอยู่ที่สุสานบริเวณด้านหลังของวัด จึงเรียกกันตามชื่อของภูเขาที่พระเยซูถูกตรึงกางเขนว่า "กาลวารีโอ" ซึ่งภายหลังขนานนามวัดนี้ว่า "วัดกาลหว่าร์"
เมื่อเวลาล่วงเลยไปวัดแห่งนี้ก็ได้ทรุดโทรมลง ในปี พ.ศ.2382 จึงได้มีการรื้อถอนและสร้างใหม่เป็นวัดครึ่งอิฐครึ่งไม้ และได้เปลี่ยนชื่อวัดแห่งนี้เป็น "วัดแม่พระลูกประคำ" ต่อมาในปี พ.ศ.2407 ได้เกิดไฟไหม้วัด และในปี พ.ศ.2433 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการรื้อวัดแล้วทำการสร้างใหม่ ซึ่งก็คือโบสถ์หลังปัจจุบันนั้นเอง
โบสถ์ที่เห็นกันอยู่ในตอนนี้เป็นโบสถ์หลังที่ 3 มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบนีโอโกธิคที่สวยงาม โดยผนังเป็นการก่ออิฐถือปูนแบบโบราณ ไม่ใช้เหล็กและเสาเข็ม ที่เพดาน มีดาวประดับเป็นลักษณะท้องฟ้า และภายในตกแต่งกระจกสีเป็นเรื่องราวในคัมภีร์ทั้งพระธรรมใหม่และพระธรรมเก่าที่สวยงาม
โบสถ์คอนเซ็ปชัญ
"วัดคอนเซ็ปชัญ" ซ.มิตตคาม ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต วัดคอนเซ็ปชัญนี้เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยหลังจากที่พระสังฆราชหลุยส์ ลาโน ได้รับการอภิเษกที่กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.2217 แล้ว ท่านก็ได้เดินทางมาอยู่ที่เมืองบางกอก และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเจ้าแผ่นดินในขณะนั้น เพื่อขอพระราชทานที่ดินสำหรับสร้างวัดและโรงพยาบาล สมเด็จพระนารายณ์ได้พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือวัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) และได้สร้างวัดในศาสนาคริสต์ขึ้นด้วยอิฐลาดปูน โดยตั้งชื่อว่า Immaculee Conception ซึ่งหมายถึง "แม่พระปฏิสนธินิรมล" วัดนี้จึงถูกเรียกว่า "วัดคอนเซ็ปชัญ" ซึ่งบริเวณนี้ก็ถือเป็นชุมชนชาวคริสต์ที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯ อีกด้วย
ต่อมาใน พ.ศ.2328 คุณพ่อลังเยอนัวส์ มิชชันนารีในประเทศเขมร ได้พาคริสตังโปรตุเกสกับชาวเขมรซึ่งเป็นคนรับใช้ของชาวโปรตุเกสมาอยู่ที่วัดคอนเซปชัญ นับแต่นั้นมาวัดนี้จึงถูกเรียกว่าวัดเขมร คริสตังโปรตุเกสกลุ่มนี้ได้นำพระรูปแม่พระซึ่งเป็นไม้แกะสลักมาด้วย โดยจะมีการอัญเชิญพระรูปมาแห่ในโอกาสวันฉลองใหญ่ๆอยู่เสมอ โดยในเวลานั้นที่บางกอกมีวัดเพียง 2 แห่งเท่านั้นคือวัดซางตาครูสซึ่งเป็นวัดของชาวโปรตุเกสไทย และวัดคอนเซ็ปชัญซึ่งเป็นวัดของโปรตุเกสเขมร
วัดคอนเซ็ปชัญได้มีการซ่อมแซมและสร้างเพิ่มเติม แต่ก็ยังคงความสง่างาม เป็นอีกหนึ่งโบสถ์คริสต์เก่าแก่คู่กรุงเทพฯมาจนถึงปัจจุบัน
โบสถ์เซนต์ฟรัง
"วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์" ซ.มิตตคาม ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต วัดแห่งนี้อยู่ใกล้เคียงกับวัดคอนเซ็ปชัญถือกำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยในช่วงนั้นกลุ่มคริสตังชาวญวนได้หนีการเบียดเบียนศาสนาในประเทศอันนัมเข้ามาในประเทศไทย รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระทัยเมตตาจึงทรงพระราชทานที่ดินซึ่งอยู่ติดกับวัดคอนเซปชัญให้สร้างศาลาใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย พร้อมทั้งพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคให้ด้วย
นอกจากนี้ยังพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สร้างโบสถ์หลังหนึ่งเพื่อใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ โบสถ์หลังนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2378 ด้วยไม้ไผ่ ใช้ชื่อว่า "วัดแซงต์ฟรังซัวซาเวียร์" ต่อมาในปี พ.ศ.2380 เกิดพายุใหญ่พัดวัดพังเสียหาย จึงได้มีการสร้างวัดใหม่เป็นไม้ และได้นำพระรูปแม่พระและรูปนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ จากมะนิลามาตั้งในวัดหลังที่สองนี้
ต่อมาคริสตังที่สามเสนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ที่อยู่อาศัยคับแคบลง จึงได้มีการสร้างวัดใหม่ด้วยอิฐมีขนาดใหญ่กว่าเดิมมาก ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 10 ปี เมื่อแล้วเสร็จได้ทำพิธีเสกอย่างสง่าในวันฉลองนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ในปีพ.ศ.2410
โบสถ์ซางตาครูส
วัดซางตาครูส ถ.เทศบาลสาย1 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี มีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนากรุงธนบุรีแล้วก็ได้ทรงรวบรวมไพร่พลทั้งชาวไทย จีน โปรตุเกส และพระราชทานที่ดินเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัย และก็ได้สร้างโบสถ์ขึ้นในปี พ.ศ.2312 และให้ชื่อว่า "โบสถ์ซางตารูส" หมายความว่า กางเขนศักดิ์สิทธิ์
โบสถ์แห่งแรกสร้างขึ้นด้วยไม้ และใช้ประกอบพิธีกรรมเรื่อยมาจนทรุดโทรมมาก ใน พ.ศ.2378 จึงได้สร้างโบสถ์หลังที่สองขึ้น มีรูปร่างคล้ายศาลเจ้าจีน และเมื่อเวลาผ่านไปโบสถ์แห่งนี้ได้เผชิญภัยหลายครั้งทั้งน้ำท่วมและไฟไหม้ กระทั่งในปี พ.ศ.2456 จึงได้สร้างโบสถ์หลังปัจจุบันขึ้นนั้นเอง
โดยโบสถ์ซางตาครูสหลังปัจจุบัน เป็นโบสถ์ฝรั่งสีเหลือง สถาปัตยกรรมแบบอิตาเลียนสมัยเรเนสซองส์ หรือที่เรียกว่า นีโอคลาสสิค ตั้งตระหง่านหันหน้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูนตกแต่งด้วยปูนปั้นเป็นลวดลายใบไม้สวยงาม ส่วนภายในโบสถ์เป็นเหมือนห้องโถงใหญ่เพดานสูง มีแท่นสำหรับให้บาทหลวงยืนเทศน์ ด้านหลังมีรูปปั้นพระเยซูถูกตรึงกางเขน
ฉันเห็นสิ่งที่น่าสนใจภายในโบสถ์แห่งนี้ก็คือ หอคอยคล้ายโดม ช่องแสง Rose Window และกระจกสีเรื่องราวบางตอนในพระคัมภีร์และภาพรำพึงสายประคำศักดิ์สิทธิ์จำนวน 39 บาน ซึ่งกระจกทุกบานผลิตที่ประเทศฝรั่งเศสและส่งตรงมายังโบสถ์แห่งนี้โดยเฉพาะ
ชมโบสถ์สวยๆในกรุงกันแล้ว คริสต์มาสนี้ก็ลองแวะเวียนไปดูบรรยากาศงานฉลองเทศกาลอันยิ่งใหญ่ของแต่ละโบสถ์กันได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นชาวคริสต์จะชนชาติไหน นับถือศาสนาอะไร เขาก็ไม่ว่า ขอแค่คิดดีทำดีก็พอ...เมอร์รี่คริสต์มาสครับพี่น้อง