โดย : ปิ่น บุตรี
ผมไปแอ่วเชียงใหม่มาหลายต่อหลายครั้ง แต่ประทานโทษกับ“วัดเกตการาม”บนถนนเจริญราษฎร์นั้น มีแต่ผ่านไป-ผ่านมา และผ่านมา-ผ่านไป ไม่เคยแวะเวียนเข้าไปเที่ยวเลยสักครั้ง ทั้งๆที่ก็รู้อยู่ว่า วัดนี้เป็นที่ประดิษฐาน“พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี” พระธาตุสำหรับคนเกิดปีจอ ตามคติความเชื่อของล้านนา
"วัดสวยๆไม่พลุกพล่านแบบนี้ แม้มึงไม่ได้เกิดปีจอแต่สไตล์คนปากปีจออย่างมึงน่าจะชอบนะ"เพื่อนที่เคยไปแอ่ววัดนี้มาแล้วให้คำแนะนำ
ครับ และนั่นก็เป็นชนวนการไปแอ่วเชียงใหม่เมื่อเร็วๆนี้ ผมมีวัดเกตการามหรือวัดเกตเป็นเป้าหมายในอันดับต้นๆ ซึ่งแรกที่เข้าไปแอ่ววัดนี้ ผมก็ชื่นชอบในทันที เพราะเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในเชียงใหม่ที่สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 1971 ที่มีของดีสวยๆงามๆให้ชมกันมากมาย เริ่มจากโบสถ์หลังย่อม ที่แม้จะปิดแต่งานศิลปกรรมตรงด้านหน้านี่น่าชมนัก มีพญานาค 2 ตัวเลื้อยออกมาจากผนังโบสถ์ขนาบข้างไปกับราวบันไดก่อนม้วนตัวชูหัว อ้าปาก แสดงให้เห็นถึงพลังของผู้ปกป้องพุทธศาสนา
ในขณะที่ลวดลายบานประตูสลักไม้รูปเทพพนมสีทองบนลวดลายสีแดงนั้นดูโดดเด่นไม่เบา ส่วนที่ผมชอบมากก็คือลวดลายปูนปั้นประดับ 2 ข้างบานประตู รูปกิเลน มังกร ปลา และต้นไม้ในศิลปะแบบจีนที่ดูเรียบง่ายแต่ทรงเสน่ห์อยู่ในที
ถัดจากโบสถ์ไปเป็นอาคารโรงเรียนนักธรรมหลังเก่าสูง 2 ชั้น รูปทรงสมส่วน งดงามด้วยลวดลายฉลุไม้ประดับหน้าจั่วและตามมุมต่างๆ จากนั้นก็เป็นพระเจดีย์เกตุแก้วจุฬามณี(ทรงกลม)แบบล้านนาตั้งตระหง่าน
ว่ากันว่าเจดีย์องค์นี้สร้างยอดเอียงเล็กน้อย ตามความเชื่อ(ของผู้สร้าง)ที่ว่า การสร้างเจดีย์ที่มียอดชี้ตรงไปยังสวรรค์อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีถือเป็นการไม่สมควร
อืม...ผมลองสังเกตยอดเจดีย์ดูก็ปรากฏว่าเอียงเล็กน้อยจริงๆแฮะ เพราะฉะนั้นใครที่เห็นยอดเจดีย์วัดเกตเอียงก็อย่าได้เข้าใจผิดว่าเจดีย์ทรุดล่ะ
สำหรับวันนั้นน่าเสียดายอย่างที่ทางวัดกำลังซ่อมวิหาร ผมจึงอดชมของดีของพระวิหารหลังนี้ แต่ถ้าใครดูมาถึงตรงนี้แล้วคิดผละจากวัดเกตไป ผมถือว่าน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เพราะด้านหลังหอระฆังทรงสวย เป็นที่ตั้งของ“พิพิธภัณฑ์วัดเกต” ที่แม้จะดูเป็นภายนอกเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านธรรมดาๆเหมือนทั่วๆไป แต่หากใครได้ไปป๊ะ(พบ)กับคุณ“ลุงแจ๊ค”และทีมงานอย่างผมในวันนั้น ก็จะพบว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีเรื่องราวน่าสนใจให้ชมให้ฟังมากมาย
ลุงแจ๊คหรือลุงจรินทร์ เบน ชาวชุมชนวัดเกต ที่ในวันนั้นแม้แม้ไม่สบาย แต่คุณลุงก็รีบกุลีกุจอออกมาต้อนรับขับสู้ชาวคณะที่ไปในวันนั้นด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม
ผมเห็นลุงแจ๊คยังดูแข็งแรง เดินเหินคล่องแคล่ว พูดจาชัดเจน จึงขอเสียมารยาท ถามลุงไปว่า “โทษนะครับ คุณลุงปีนี้อายุเท่าไหร่แล้วครับ”
“อ๋อ เพิ่ง 87 เอง...555(หัวเราะ)” คุณลุงตอบอย่างอารมณ์ดี
โห...ลุง เพิ่ง 87 ทำไมดูแข็งแรงกระปรี้กระเปร่า(กว่าแจ๊ค แฟนฉันเสียอีก) ผิดกับใครหลายๆคนที่พออายุเข้าเลข 4 ก็มีอาการอ่อนระโหยโรยแรงแล้ว(ไม่ใช่ผมนะ ผมยังละอ่อนกว่านี้เยอะและยังมีแรงอยู่)
อ้อ ไม่เพียงอายุเยอะเท่านั้น ลุงแจ๊คยังมีเมียเยอะอีกต่างหาก แกมีเมียตั้ง 8 คนแน่ะ(แหมลุงนี่ไม่เบาเลยนะ งานนี้ทำเอาผมอดอิจฉาไม่ได้ อิอิ)
เอาล่ะ เมื่อรู้จักมักคุ้นกันแล้ว ลุงแจ๊คก็เล่าประวัติคร่าวๆให้ฟังว่า แกเป็นลูกชายของผู้จัดการบริษัทบอร์เนียว ที่รับทำสัมปทานไม้ในเชียงใหม่เมื่อครั้งกระโน้น
“แต่ก่อนป่าเยอะ แล้วพวกเราจะตัดไม้เฉพาะต้นที่ได้ขนาด ไม่ตัดต้นไม้ที่ขึ้นริมน้ำและขึ้นบนที่สูง เพราะต้นไม้พวกนั้นมันมีส่วนสำคัญต่อการขยายพันธุ์ แต่เดี๋ยวนี้เขาโค่นป่ากันพร่ำเพรื่อไปหมด”
ส่วนวิธีการนำไม้ออกจากป่านั้นลุงแจ๊คบอกว่าจะใช้ช้างชักลาก แล้วลงลงมาจากแม่น้ำปิงไปขึ้นที่อยุธยา โดยลุงแกเป็นคนคุมการล่องไม้จากเชียงใหม่ไปขึ้นที่ปากน้ำโพ ซึ่งพอเลิกทำงานนี้แกก็ยังไม่ได้สนใจในเรื่องราวของการทำพิพิธภัณฑ์แต่อย่างใด จนเมื่อทางวัดจะรื้อกุฏิเก่าของอดีตเจ้าอาวาสแล้วสร้างใหม่เพราะทรุดโทรมมาก แต่คณะกรรมการของชุมชนเห็นว่าไม่ควรรื้อเพราะอาคารแห่งนี้มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่น่าจะปรับปรุงบูรณะจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้นในวันที่ 19 ธ.ค.พ.ศ. 2542 เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเนื่องจากที่วัดเกตมีของเก่าแก่สะสมไว้มาก อีกทั้งยังมีชาวบ้านเต็มใจบริจาคข้าวของเก่าแก่ให้ทำพิพิธภัณฑ์กันเป็นจำนวนมาก
และนั่นก็เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ลุงแจ๊คได้เดินทางเข้าสู่วงการพิพิธภัณฑ์ เพราะชาวบ้านได้เลือกให้ลุงแจ๊คที่มีทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิเป็นประธานของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
“ตามความคิดของลุงเห็นว่าการพัฒนากับการอนุรักษ์ควรทำคู่กัน คือตอนนั้นมีบางคนเห็นว่าควรรื้อกุฏิ แต่บางคนเห็นว่าควรเก็บกุฏิไว้เฉยๆไม่ควรไปแตะต้องมัน แต่พวกผมกลับเห็นว่าควรทำเป็นแหล่งเรียนรู้ดีกว่า มันจึงเกิดเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้นมา”
ยุคแรกๆลุงแจ๊คแกทำทุกอย่างตั้งแต่ภารโรงยันผู้จัดการ หาทีมงานมาช่วย ซึ่งแต่ละคนทำกันด้วยใจไม่ได้มีค่าตอบแทนแต่อย่างใด
“แรกๆลำบากมาก ไม่มีทุนเลย ผมต้องหาทุนจากการทอดผ้าป่า ตู้จัดแสดงก็ไม่มี ต้องขอบริจาคจากชาวบ้าน เราทำถึงกระทั่งขอฝาโลงศพจากทางวัดมาเป็นที่จัดแสดง ส่วนหลังคาพิพิธภัณฑ์ก็รั่ว ต้องซ่อมแซมกันหนัก ถึงตอนนี้ก็ยังรั่วอยู่บางจุดเวลาฝนตกหนักต้องเอาถังมารองน้ำที่รั่วลงมา แต่ตอนหลังนี่ดีหน่อย เพราะคนเริ่มรู้จักพิพิธภัณฑ์วัดเกตมากขึ้น นักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมเขาก็ช่วยกันบริจาคสมทบทุน จนวันนี้ดีกว่าแต่ก่อนมาก”
“ลุงครับ แล้วหน่วยงานราชการมีช่วยเหลืออะไรลุงบ้างมั้ย” ไหนๆก็เข้าวัดของคนเกิดปีจอ แล้วผมก็ถือโอกาสถามคำถามลุงแบบคนปากปีจอบ้าง
“ลุงเคยขอไปหลายครั้งแล้ว แต่ตอนนี้ยังไม่ได้เลยซักบาท” ลุงแจ๊คตอบเสียงดังฟังชัด
แม้จะมีอุปสรรคนานา แต่ถึงกระนั้นลุงแจ๊คและทีมงานก็ไม่ย่นย่อท้อ ซึ่งผลบุญจากการทำงานด้วยใจก็สะท้อนกลับมา เกิดเป็นความรักความผูกพัน และความสุขทางใจอย่างมากสำหรับลุงแจ๊ค จนวันนี้พิพิธภัณฑ์วัดเกตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตลุงแจ๊คไปแล้ว
“วันไหนไม่ได้มาพิพิธภัณฑ์ พานักท่องเที่ยวเดินชมข้าวของที่นี่ ลุงแกนอนไม่หลับ อย่างวันนี้แม้ลุงแกจะไม่ค่อยสบาย แต่พอรู้ว่าพวกคุณมา ลุงแกก็ดีใจรีบออกมาต้อนรับ”
ลุงอนันต์ ฤทธิเดช หนึ่งใน 3 คนทำงานสำคัญของพิพิธภัณฑ์วัดเกตกระเซ้าลุงแจ๊ค(คนทำงานหลักๆของที่ที่มีลุงลุงอนันต์ เป็นประธานและผู้บริจาคข้าวของให้พิพิธภัณฑ์วัดเกตมากที่สุด ลุงสมหวัง ฤทธิเดช(น้องชายลุงอนันต์) เป็นผู้ดูแล ส่วนลุงแจ๊ค ปัจจุบันขึ้นชั้นเป็นที่ปรึกษา เพราะชาวบ้านเห็นว่าลุงแกอายุมากควรพักผ่อนแล้ว นอกจากนี้ก็ยังมีทีมงานอาสาสมัครมาช่วยอีกจำนวนหนึ่ง)
สำหรับวันนั้นแม้ลุงแจ๊คจะไม่ค่อยสบาย แต่ว่าแกก็ยังคงพาผมชมโน่นชมนี่ เล่าโน่นเล่านี่ในพิพิธภัณฑ์ให้ฟังอย่างออกรสออกชาติแบบดูไม่เหมือนคนไม่ค่อยสบาย
ของเก่าแก่ที่นี่ก็มีสารพัดสารเพ อาทิ พระพุทธรูปเก่าแก่ ผ้าโบราณของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ธงช้างเผือก เครื่องถ้วยชาม กลองโบราณ ภาพถ่ายโบราณ และข้าวของเครื่องใช้อีกเพียบเป็นพันๆชิ้น ที่จัดแสดงกันแบบเรียบง่าย ซึ่งลุงแจ๊คแกบ่นให้ผมฟังว่า อยากจะให้ผู้รู้ตามมหาวิทยาลัยต่างๆในเชียงใหม่มาช่วยสำรวจ แบ่งข้าวของเป็นหมวดหมู่ พร้อมจัดแสดงตามหลักวิชาการ Iรวมถึงช่วยทำข้อมูลติดไว้หน่อย เพราะจะทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมและอ่านข้อมูลประกอบไปด้วย
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นความฝันของลุงแจ๊คก็คือ ตรงส่วนจัดแสดงภาพโบราณที่ขยายออกไปนั้น ลุงแกอยากจะทำทาง ทำหลังคาเชื่อมต่อให้ดูต่อเนื่องกัน เพราะส่วนใหญ่คนนึกว่ามีของจัดแสดงแค่ในกุฏิ จึงดูจบแค่นั้น แต่ถ้าทำทางเชื่อมต่อ คนก็จะเดินไปดูต่อเนื่องถึงห้องภาพโบราณที่เป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่
งานนี้ผมก็แต่เอาใจช่วยให้ความฝันของลุงแจ๊คเป็นจริง โดยหวังว่านักท่องเที่ยวอย่างเราๆท่านๆที่ไปแอ่วเชียงใหม่ หากมีเวลาก็อย่าลืมแวะเวียนไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์วัดเกต พูดคุยกับลุงแจ๊คและทีมงานคนอื่นๆ รวมถึงช่วยบริจาคเงินตามอัตภาพเพื่อสานฝันของลุงแจ๊คให้เป็นจริง(พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้เข้าชมฟรี)
ส่วนการช่วยเหลือจากภาครัฐ ราชการ และนักการเมืองนั้น ผมไม่หวังแต่อย่างใด เพราะหากพวกนั้นเขามีความจริงใจที่จะสนับสนุนในเรื่องแบบนี้ ผมว่าป่านนี้บ้านเรามีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านดีๆให้เที่ยวให้ชมกันอีกเพียบเลยล่ะคร้าบพี่น้อง
*****************************************
วัดเกตการาม ตั้งอยู่เลขที่ 96 บ้านวัดเกต ถ.เจริญราษฎร์ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เวลา 8.00 - 16.00 น.สอบถามเพิ่มเติมที่ 08-9850-1252
ผมไปแอ่วเชียงใหม่มาหลายต่อหลายครั้ง แต่ประทานโทษกับ“วัดเกตการาม”บนถนนเจริญราษฎร์นั้น มีแต่ผ่านไป-ผ่านมา และผ่านมา-ผ่านไป ไม่เคยแวะเวียนเข้าไปเที่ยวเลยสักครั้ง ทั้งๆที่ก็รู้อยู่ว่า วัดนี้เป็นที่ประดิษฐาน“พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี” พระธาตุสำหรับคนเกิดปีจอ ตามคติความเชื่อของล้านนา
"วัดสวยๆไม่พลุกพล่านแบบนี้ แม้มึงไม่ได้เกิดปีจอแต่สไตล์คนปากปีจออย่างมึงน่าจะชอบนะ"เพื่อนที่เคยไปแอ่ววัดนี้มาแล้วให้คำแนะนำ
ครับ และนั่นก็เป็นชนวนการไปแอ่วเชียงใหม่เมื่อเร็วๆนี้ ผมมีวัดเกตการามหรือวัดเกตเป็นเป้าหมายในอันดับต้นๆ ซึ่งแรกที่เข้าไปแอ่ววัดนี้ ผมก็ชื่นชอบในทันที เพราะเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในเชียงใหม่ที่สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 1971 ที่มีของดีสวยๆงามๆให้ชมกันมากมาย เริ่มจากโบสถ์หลังย่อม ที่แม้จะปิดแต่งานศิลปกรรมตรงด้านหน้านี่น่าชมนัก มีพญานาค 2 ตัวเลื้อยออกมาจากผนังโบสถ์ขนาบข้างไปกับราวบันไดก่อนม้วนตัวชูหัว อ้าปาก แสดงให้เห็นถึงพลังของผู้ปกป้องพุทธศาสนา
ในขณะที่ลวดลายบานประตูสลักไม้รูปเทพพนมสีทองบนลวดลายสีแดงนั้นดูโดดเด่นไม่เบา ส่วนที่ผมชอบมากก็คือลวดลายปูนปั้นประดับ 2 ข้างบานประตู รูปกิเลน มังกร ปลา และต้นไม้ในศิลปะแบบจีนที่ดูเรียบง่ายแต่ทรงเสน่ห์อยู่ในที
ถัดจากโบสถ์ไปเป็นอาคารโรงเรียนนักธรรมหลังเก่าสูง 2 ชั้น รูปทรงสมส่วน งดงามด้วยลวดลายฉลุไม้ประดับหน้าจั่วและตามมุมต่างๆ จากนั้นก็เป็นพระเจดีย์เกตุแก้วจุฬามณี(ทรงกลม)แบบล้านนาตั้งตระหง่าน
ว่ากันว่าเจดีย์องค์นี้สร้างยอดเอียงเล็กน้อย ตามความเชื่อ(ของผู้สร้าง)ที่ว่า การสร้างเจดีย์ที่มียอดชี้ตรงไปยังสวรรค์อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีถือเป็นการไม่สมควร
อืม...ผมลองสังเกตยอดเจดีย์ดูก็ปรากฏว่าเอียงเล็กน้อยจริงๆแฮะ เพราะฉะนั้นใครที่เห็นยอดเจดีย์วัดเกตเอียงก็อย่าได้เข้าใจผิดว่าเจดีย์ทรุดล่ะ
สำหรับวันนั้นน่าเสียดายอย่างที่ทางวัดกำลังซ่อมวิหาร ผมจึงอดชมของดีของพระวิหารหลังนี้ แต่ถ้าใครดูมาถึงตรงนี้แล้วคิดผละจากวัดเกตไป ผมถือว่าน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เพราะด้านหลังหอระฆังทรงสวย เป็นที่ตั้งของ“พิพิธภัณฑ์วัดเกต” ที่แม้จะดูเป็นภายนอกเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านธรรมดาๆเหมือนทั่วๆไป แต่หากใครได้ไปป๊ะ(พบ)กับคุณ“ลุงแจ๊ค”และทีมงานอย่างผมในวันนั้น ก็จะพบว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีเรื่องราวน่าสนใจให้ชมให้ฟังมากมาย
ลุงแจ๊คหรือลุงจรินทร์ เบน ชาวชุมชนวัดเกต ที่ในวันนั้นแม้แม้ไม่สบาย แต่คุณลุงก็รีบกุลีกุจอออกมาต้อนรับขับสู้ชาวคณะที่ไปในวันนั้นด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม
ผมเห็นลุงแจ๊คยังดูแข็งแรง เดินเหินคล่องแคล่ว พูดจาชัดเจน จึงขอเสียมารยาท ถามลุงไปว่า “โทษนะครับ คุณลุงปีนี้อายุเท่าไหร่แล้วครับ”
“อ๋อ เพิ่ง 87 เอง...555(หัวเราะ)” คุณลุงตอบอย่างอารมณ์ดี
โห...ลุง เพิ่ง 87 ทำไมดูแข็งแรงกระปรี้กระเปร่า(กว่าแจ๊ค แฟนฉันเสียอีก) ผิดกับใครหลายๆคนที่พออายุเข้าเลข 4 ก็มีอาการอ่อนระโหยโรยแรงแล้ว(ไม่ใช่ผมนะ ผมยังละอ่อนกว่านี้เยอะและยังมีแรงอยู่)
อ้อ ไม่เพียงอายุเยอะเท่านั้น ลุงแจ๊คยังมีเมียเยอะอีกต่างหาก แกมีเมียตั้ง 8 คนแน่ะ(แหมลุงนี่ไม่เบาเลยนะ งานนี้ทำเอาผมอดอิจฉาไม่ได้ อิอิ)
เอาล่ะ เมื่อรู้จักมักคุ้นกันแล้ว ลุงแจ๊คก็เล่าประวัติคร่าวๆให้ฟังว่า แกเป็นลูกชายของผู้จัดการบริษัทบอร์เนียว ที่รับทำสัมปทานไม้ในเชียงใหม่เมื่อครั้งกระโน้น
“แต่ก่อนป่าเยอะ แล้วพวกเราจะตัดไม้เฉพาะต้นที่ได้ขนาด ไม่ตัดต้นไม้ที่ขึ้นริมน้ำและขึ้นบนที่สูง เพราะต้นไม้พวกนั้นมันมีส่วนสำคัญต่อการขยายพันธุ์ แต่เดี๋ยวนี้เขาโค่นป่ากันพร่ำเพรื่อไปหมด”
ส่วนวิธีการนำไม้ออกจากป่านั้นลุงแจ๊คบอกว่าจะใช้ช้างชักลาก แล้วลงลงมาจากแม่น้ำปิงไปขึ้นที่อยุธยา โดยลุงแกเป็นคนคุมการล่องไม้จากเชียงใหม่ไปขึ้นที่ปากน้ำโพ ซึ่งพอเลิกทำงานนี้แกก็ยังไม่ได้สนใจในเรื่องราวของการทำพิพิธภัณฑ์แต่อย่างใด จนเมื่อทางวัดจะรื้อกุฏิเก่าของอดีตเจ้าอาวาสแล้วสร้างใหม่เพราะทรุดโทรมมาก แต่คณะกรรมการของชุมชนเห็นว่าไม่ควรรื้อเพราะอาคารแห่งนี้มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่น่าจะปรับปรุงบูรณะจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้นในวันที่ 19 ธ.ค.พ.ศ. 2542 เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเนื่องจากที่วัดเกตมีของเก่าแก่สะสมไว้มาก อีกทั้งยังมีชาวบ้านเต็มใจบริจาคข้าวของเก่าแก่ให้ทำพิพิธภัณฑ์กันเป็นจำนวนมาก
และนั่นก็เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ลุงแจ๊คได้เดินทางเข้าสู่วงการพิพิธภัณฑ์ เพราะชาวบ้านได้เลือกให้ลุงแจ๊คที่มีทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิเป็นประธานของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
“ตามความคิดของลุงเห็นว่าการพัฒนากับการอนุรักษ์ควรทำคู่กัน คือตอนนั้นมีบางคนเห็นว่าควรรื้อกุฏิ แต่บางคนเห็นว่าควรเก็บกุฏิไว้เฉยๆไม่ควรไปแตะต้องมัน แต่พวกผมกลับเห็นว่าควรทำเป็นแหล่งเรียนรู้ดีกว่า มันจึงเกิดเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้นมา”
ยุคแรกๆลุงแจ๊คแกทำทุกอย่างตั้งแต่ภารโรงยันผู้จัดการ หาทีมงานมาช่วย ซึ่งแต่ละคนทำกันด้วยใจไม่ได้มีค่าตอบแทนแต่อย่างใด
“แรกๆลำบากมาก ไม่มีทุนเลย ผมต้องหาทุนจากการทอดผ้าป่า ตู้จัดแสดงก็ไม่มี ต้องขอบริจาคจากชาวบ้าน เราทำถึงกระทั่งขอฝาโลงศพจากทางวัดมาเป็นที่จัดแสดง ส่วนหลังคาพิพิธภัณฑ์ก็รั่ว ต้องซ่อมแซมกันหนัก ถึงตอนนี้ก็ยังรั่วอยู่บางจุดเวลาฝนตกหนักต้องเอาถังมารองน้ำที่รั่วลงมา แต่ตอนหลังนี่ดีหน่อย เพราะคนเริ่มรู้จักพิพิธภัณฑ์วัดเกตมากขึ้น นักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมเขาก็ช่วยกันบริจาคสมทบทุน จนวันนี้ดีกว่าแต่ก่อนมาก”
“ลุงครับ แล้วหน่วยงานราชการมีช่วยเหลืออะไรลุงบ้างมั้ย” ไหนๆก็เข้าวัดของคนเกิดปีจอ แล้วผมก็ถือโอกาสถามคำถามลุงแบบคนปากปีจอบ้าง
“ลุงเคยขอไปหลายครั้งแล้ว แต่ตอนนี้ยังไม่ได้เลยซักบาท” ลุงแจ๊คตอบเสียงดังฟังชัด
แม้จะมีอุปสรรคนานา แต่ถึงกระนั้นลุงแจ๊คและทีมงานก็ไม่ย่นย่อท้อ ซึ่งผลบุญจากการทำงานด้วยใจก็สะท้อนกลับมา เกิดเป็นความรักความผูกพัน และความสุขทางใจอย่างมากสำหรับลุงแจ๊ค จนวันนี้พิพิธภัณฑ์วัดเกตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตลุงแจ๊คไปแล้ว
“วันไหนไม่ได้มาพิพิธภัณฑ์ พานักท่องเที่ยวเดินชมข้าวของที่นี่ ลุงแกนอนไม่หลับ อย่างวันนี้แม้ลุงแกจะไม่ค่อยสบาย แต่พอรู้ว่าพวกคุณมา ลุงแกก็ดีใจรีบออกมาต้อนรับ”
ลุงอนันต์ ฤทธิเดช หนึ่งใน 3 คนทำงานสำคัญของพิพิธภัณฑ์วัดเกตกระเซ้าลุงแจ๊ค(คนทำงานหลักๆของที่ที่มีลุงลุงอนันต์ เป็นประธานและผู้บริจาคข้าวของให้พิพิธภัณฑ์วัดเกตมากที่สุด ลุงสมหวัง ฤทธิเดช(น้องชายลุงอนันต์) เป็นผู้ดูแล ส่วนลุงแจ๊ค ปัจจุบันขึ้นชั้นเป็นที่ปรึกษา เพราะชาวบ้านเห็นว่าลุงแกอายุมากควรพักผ่อนแล้ว นอกจากนี้ก็ยังมีทีมงานอาสาสมัครมาช่วยอีกจำนวนหนึ่ง)
สำหรับวันนั้นแม้ลุงแจ๊คจะไม่ค่อยสบาย แต่ว่าแกก็ยังคงพาผมชมโน่นชมนี่ เล่าโน่นเล่านี่ในพิพิธภัณฑ์ให้ฟังอย่างออกรสออกชาติแบบดูไม่เหมือนคนไม่ค่อยสบาย
ของเก่าแก่ที่นี่ก็มีสารพัดสารเพ อาทิ พระพุทธรูปเก่าแก่ ผ้าโบราณของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ธงช้างเผือก เครื่องถ้วยชาม กลองโบราณ ภาพถ่ายโบราณ และข้าวของเครื่องใช้อีกเพียบเป็นพันๆชิ้น ที่จัดแสดงกันแบบเรียบง่าย ซึ่งลุงแจ๊คแกบ่นให้ผมฟังว่า อยากจะให้ผู้รู้ตามมหาวิทยาลัยต่างๆในเชียงใหม่มาช่วยสำรวจ แบ่งข้าวของเป็นหมวดหมู่ พร้อมจัดแสดงตามหลักวิชาการ Iรวมถึงช่วยทำข้อมูลติดไว้หน่อย เพราะจะทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมและอ่านข้อมูลประกอบไปด้วย
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นความฝันของลุงแจ๊คก็คือ ตรงส่วนจัดแสดงภาพโบราณที่ขยายออกไปนั้น ลุงแกอยากจะทำทาง ทำหลังคาเชื่อมต่อให้ดูต่อเนื่องกัน เพราะส่วนใหญ่คนนึกว่ามีของจัดแสดงแค่ในกุฏิ จึงดูจบแค่นั้น แต่ถ้าทำทางเชื่อมต่อ คนก็จะเดินไปดูต่อเนื่องถึงห้องภาพโบราณที่เป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่
งานนี้ผมก็แต่เอาใจช่วยให้ความฝันของลุงแจ๊คเป็นจริง โดยหวังว่านักท่องเที่ยวอย่างเราๆท่านๆที่ไปแอ่วเชียงใหม่ หากมีเวลาก็อย่าลืมแวะเวียนไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์วัดเกต พูดคุยกับลุงแจ๊คและทีมงานคนอื่นๆ รวมถึงช่วยบริจาคเงินตามอัตภาพเพื่อสานฝันของลุงแจ๊คให้เป็นจริง(พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้เข้าชมฟรี)
ส่วนการช่วยเหลือจากภาครัฐ ราชการ และนักการเมืองนั้น ผมไม่หวังแต่อย่างใด เพราะหากพวกนั้นเขามีความจริงใจที่จะสนับสนุนในเรื่องแบบนี้ ผมว่าป่านนี้บ้านเรามีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านดีๆให้เที่ยวให้ชมกันอีกเพียบเลยล่ะคร้าบพี่น้อง
*****************************************
วัดเกตการาม ตั้งอยู่เลขที่ 96 บ้านวัดเกต ถ.เจริญราษฎร์ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เวลา 8.00 - 16.00 น.สอบถามเพิ่มเติมที่ 08-9850-1252