โดย : เด็กเที่ยว
มีคนเคยกล่าวไว้ว่า หากอยากจะรู้สึกและรู้ซึ้งถึงวัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต และสถาปัตยกรรมที่แท้จริงของชนชาติใด ก็ขอให้ไปที่ศาสนสถานของชนชาตินั้น ซึ่งก็น่าจะจริง เพราะศาสนสถานในแต่ละชนชาติจะมีรูปแบบเฉพาะทางสถาปัตยกรรมของตนอย่างชัดเจน และสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชนชาตินั้นๆ ออกมาได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นการที่จะเดินทางท่องเที่ยวเพื่อให้รู้ซึ้งถึงวัฒนธรรมที่แท้จริงของแต่ละประเทศ ก็ควรจะเริ่มต้นที่วัดของชนชาติหรือประเทศนั้นๆ ก่อน
นั่นจึงเป็นเหตุให้ในตอนที่แล้วผมได้พาทุกท่านมาหยุดยืนอยู่หน้าวัดโทได-จิ ณ เมืองนาราแห่งนี้
สองข้างทางเดินที่มุ่งตรงสู่ตัววิหารใหญ่ของวัดโทได-จินั้น จะเต็มไปด้วยฝูงกวางจำนวนมากที่มาเดินปะปนกับฝูงคน (จำนวนมากกว่า) ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็เอื้อประโยชน์ให้กันและกันอย่างสมบูรณ์ คือคนก็ได้ถ่ายรูปกับกวาง ส่วนกวางก็ได้รับอาหารจากคน ทำให้ต่างฝ่ายต่างก็มีความสุขกันไปอย่างถ้วนหน้า
และเมื่อเดินมาได้สักพักหนึ่ง ผมก็ได้พบกับซุ้มประตูทางเข้าวัดที่ถูกสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.1286 โดยใช้เสาขนาดท่อนซุงยักษ์ถึง 18 ต้นในการค้ำยันรองรับหลังคา ด้านล่างของซุ้มประตูยังมี "ทวารบาล" 2 ตน ที่แกะสลักจากไม้อย่างวิจิตรงดงามเฝ้ารักษาอยู่ ที่สำคัญซุ้มประตูแห่งนี้ยังไม่เคยโดนไฟไหม้เลย แม้ว่าตัววิหารใหญ่ของวัดแห่งนี้จะเคยถูกไฟไหม้ใหญ่ไปแล้วถึง 2 ครั้ง 2 คราก็ตาม จึงนับได้ว่าซุ้มประตูใหญ่แห่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมชิ้นงามและดั้งเดิมจากสมัยคามาคุระอย่างแท้จริง
เมื่อเดินผ่านซุ้มประตูใหญ่ของวัดมาได้ไม่กี่อึดใจ ความยิ่งใหญ่อลังการของตัววิหารไม้หลังใหญ่ที่สุดในโลกก็ได้ปรากฏแก่สายตาของผม
วิหารใหญ่แห่งนี้เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า "ไดบุตสึเต็ง" หรือ "วิหารหลวงพ่อโต" แต่น่าเสียดายที่วิหารใหญ่ที่เห็นนี้มิใช่วิหารหลังเดิมซึ่งถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยคามาคุระ เนื่องจากวิหารหลังเดิมนั้นได้ถูกไฟไหม้ไป และต้องสร้างขึ้นใหม่ถึง 2 ครั้ง โดยวิหารหลังปัจจุบันนี้มีขนาดเพียง 2 ใน 3 ของวิหารหลังเดิมเท่านั้น แต่ก็ยังใหญ่พอที่จะคงไว้ซึ่งความเป็นวิหารไม้หลังใหญ่ที่สุดในโลกอยู่เช่นเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง
ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐาน พระไวโรจนะ หรือ หลวงพ่อโต (ไดบุตสึ) ขนาดสูง 16 เมตร หนัก 500 ตัน ซึ่งถือเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
แต่สิ่งที่ผมสะดุดตา ก่อนที่จะเดินออกจากตัววิหารไปก็คือ การที่ได้เห็นนักท่องเที่ยวจำนวนมากยืนต่อคิวกันเป็นแถวยาวอยู่ด้านหน้าเสาใหญ่ค้ำวิหารต้นหนึ่ง และด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่าเป็นแถวอะไร ผมจึงลองเดินไปดูด้านหัวแถว แล้วผมก็ต้องงงที่ได้เห็นภาพนักท่องเที่ยวกำลังพยายามมุดลอดช่องที่อยู่ใต้เสาใหญ่ค้ำวิหารต้นนั้นทีละคนๆ
ก่อนที่ผมจะงงไปมากกว่านั้น เพื่อนไกด์ของผมก็ได้แถลงให้ฟังว่าที่นักท่องเที่ยวพยายามมุดลอดช่องใต้เสากันอยู่นี้ ก็เพราะมีความเชื่อว่าหากใครลอดผ่านออกมาได้ก็จะได้กลับมาที่วัดโทได-จิแห่งนี้อีกครั้งนั่นเอง
หลังจากได้เดินชมความงามของวัดโทได-จิจนหนำใจ ผมและเพื่อนไกด์ก็มุ่งหน้ากลับสู่นครโอซาก้าเพื่อไปทานข้าวกลางวัน ก่อนจะไปเที่ยวกันต่อที่ปราสาทโอซาก้าในช่วงบ่าย ซึ่งก็ต้องเร่งทำเวลากันพอสมควร เพราะปราสาทโอซาก้านั้นจะปิดในเวลา 5 โมงเย็น
โอซาก้านั้นถือเป็นศูนย์กลางของฮอนชูตะวันตก มีความสำคัญรองจากเมืองหลวงของญี่ปุ่นมาโดยตลอด และมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นเป็นอันดับ 3 ของญี่ปุ่น รองจากโตเกียวและโยโกฮามา
นอกจากนี้โอซาก้ายังเป็นเมืองที่มีความสำคัญทั้งในด้านการทหารและการค้ามาตั้งแต่ในสมัยที่โตโยโตมิ ฮิเดโยชิ ทำการรวมญี่ปุ่นเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งอยู่ในระหว่างยุค Azuchi Momoyama (ค.ศ.1574-1600) และได้เลือกใช้เมืองนี้สร้างปราสาทโอซาก้าขึ้นในปี ค.ศ.1583 มีการขุดแม่น้ำเพื่อขยายความสามารถของโอซาก้าออกไปเพื่อเป็นฐานที่ตั้งสำหรับการขนส่งทางทะเล ทำให้เมืองนี้กลายเป็นเมืองสำคัญทางการค้าระหว่าง 3 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี
อย่างไรก็ตาม ในการสู้รบที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงฤดูหนาวของปี ค.ศ.1614 ถึงฤดูร้อนของปี ค.ศ.1615 ก็ได้ทำให้ปราสาทโอซาก้าถูกเผาจนหมดสิ้น
ถึงแม้ต่อมาเมื่อตระกูลโตกุกาวาได้ขึ้นครองอำนาจ และมีการย้ายเมืองหลวงจากเกียวโตไปยังโตเกียว โอซาก้าก็ยังมิได้ลดความสำคัญลงไป แต่นั่นก็ทำให้คนโอซาก้าและคนโตเกียวมีการแข่งขันกันอยู่ในทีตราบกระทั่งทุกวันนี้
เมื่อมาถึงบริเวณสวนสาธารณะหน้าปราสาทโอซาก้า ผมและเพื่อนไกด์ก็ตัดสินใจที่จะนั่งรถพ่วงหน้าตาเหมือนรถไฟที่เคยเห็นตามสวนสนุกขึ้นไปยังปราสาทโอซาก้า เพราะหากมัวแต่เดินกันไปก็อาจจะไม่ทันเวลาปราสาทปิดเป็นแน่
ขณะอยู่บนรถไฟเพื่อนไกด์ก็ได้อธิบายให้ผมฟังว่า ปัจจุบันนี้ปราสาทโอซาก้าที่เห็นอยู่นั้นได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ เพียงแต่ได้นำเอารูปแบบของปราสาทดั้งเดิมมาครอบไว้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นปราสาท 100% เหมือนเมื่อครั้งที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยก่อน และปราสาทหลังเดิมที่ถูกสร้างขึ้นโดยโตโยโตมิ ฮิเดโยชิ นั้นก็ได้ถูกทำลายลงถึง 2 ครั้ง ซึ่งปราสาทโอซาก้าหลังปัจจุบันนี้เพิ่งจะได้รับการปรับปรุงแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2540 นี้เอง
เมื่อมาถึงทางเข้าสู่ตัวปราสาท ผมก็เดินตรงดิ่งไปยังลิฟต์ทันทีเพื่อจะขึ้นไปชมทัศนียภาพของเมืองโอซาก้าบนชั้นที่ 8 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของปราสาท แต่ลิฟต์ก็พาผมขึ้นมาได้เพียงชั้นที่ 5 เท่านั้น ที่เหลือผมจึงต้องแบกสังขารของผมเดินขึ้นบันไดไปเอง แต่เมื่อได้ฝ่าฟันมาจนถึงชั้นที่ 8 เข้าจริงๆ ก็ต้องยอมรับเลยว่าได้รู้สึกถึงบรรยากาศที่ดีทีเดียว แม้ว่าทัศนวิสัยอาจจะไม่ดีนัก แต่ด้วยอากาศที่เย็นและความสวยงามของภูมิทัศน์ด้านล่างโดยรอบก็พอจะทำให้หายเหนื่อยไปได้เช่นกัน
สูดอากาศและชมทิวทัศน์ในที่สูงได้สักพัก ผมก็ค่อยๆ พาตัวเองเดินลงมายังชั้นล่างของตัวปราสาท ผ่านนิทรรศการถาวรและชั่วคราวจำนวนมาก ที่จัดแสดงไว้อย่างลงตัวทีละชั้นๆ ทำให้ได้ทราบถึงความเป็นมาเป็นไปของตัวปราสาทและวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นในสมัยที่โอซาก้ารุ่งเรืองได้เป็นอย่างดี และที่น่าชื่นชมที่สุดในความคิดของผมก็คือ การที่ได้เห็นนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นมาเดินเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ในร่างของปราสาทแห่งนี้เป็นจำนวนมากพอๆ กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเลยทีเดียว
ว่าแล้วก็พาลนึกไปถึงเมืองไทยของเราที่ไม่ค่อยจะได้เห็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงถึงรากเหง้าของชาติพันธุ์ ที่ผสมผสานเอาความคลาสสิกกับความทันสมัยไว้ได้อย่างลงตัวแบบนี้มากนัก ที่สำคัญ ถึงมีก็ไม่ค่อยได้รับการประชาสัมพันธ์ให้รู้จัก หรือทำให้คนไทยเราอยากที่จะไปเที่ยวชมกันอย่างจริงจังสักเท่าใด ทำให้พิพิธภัณฑ์ที่ดีๆ หลายพิพิธภัณฑ์ของเรายังคงเงียบเหงาอยู่เช่นนั้น
หากปรับตรงจุดนี้ได้ ผมก็ยังเชื่อว่าคนไทยเราหลายๆ คนยังอยากที่จะแวะไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ของเราเองมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เพื่อให้ได้รับรู้ถึงที่มาที่ไปและความเจริญรุ่งเรืองของชาติไทยเรา ซึ่งไม่ได้แพ้ชาติใดในโลกเช่นกัน
กว่าที่ผมและเพื่อนไกด์จะออกจากตัวปราสาทและเดินลงมาถึงสวนสาธารณะด้านล่างอีกครั้ง แสงอาทิตย์ยามเย็นก็สลัวรางลงเต็มที เป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่าได้เวลากลับไปหาอาหารญี่ปุ่นอร่อยๆ ทานในมื้อค่ำกันแล้ว จากนั้นจะได้พักผ่อนกันเสียที เพื่อเตรียมตัวที่จะตื่นขึ้นมาเที่ยวต่อในวันรุ่งขึ้น
วันนี้ผมขอลาทุกท่านไปด้วยภาพสวยๆ ของปราสาทโอซาก้าในยามเย็น แล้วในตอนหน้าผมจะพาทุกท่านไปเยี่ยมชมความสวยงามของเกียวโต เมืองหลวงเก่าอายุพันกว่าปีที่ยังคงความคลาสสิกอยู่ตลอดกาลครับ...(อ่านต่อตอนหน้า)
มีคนเคยกล่าวไว้ว่า หากอยากจะรู้สึกและรู้ซึ้งถึงวัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต และสถาปัตยกรรมที่แท้จริงของชนชาติใด ก็ขอให้ไปที่ศาสนสถานของชนชาตินั้น ซึ่งก็น่าจะจริง เพราะศาสนสถานในแต่ละชนชาติจะมีรูปแบบเฉพาะทางสถาปัตยกรรมของตนอย่างชัดเจน และสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชนชาตินั้นๆ ออกมาได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นการที่จะเดินทางท่องเที่ยวเพื่อให้รู้ซึ้งถึงวัฒนธรรมที่แท้จริงของแต่ละประเทศ ก็ควรจะเริ่มต้นที่วัดของชนชาติหรือประเทศนั้นๆ ก่อน
นั่นจึงเป็นเหตุให้ในตอนที่แล้วผมได้พาทุกท่านมาหยุดยืนอยู่หน้าวัดโทได-จิ ณ เมืองนาราแห่งนี้
สองข้างทางเดินที่มุ่งตรงสู่ตัววิหารใหญ่ของวัดโทได-จินั้น จะเต็มไปด้วยฝูงกวางจำนวนมากที่มาเดินปะปนกับฝูงคน (จำนวนมากกว่า) ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็เอื้อประโยชน์ให้กันและกันอย่างสมบูรณ์ คือคนก็ได้ถ่ายรูปกับกวาง ส่วนกวางก็ได้รับอาหารจากคน ทำให้ต่างฝ่ายต่างก็มีความสุขกันไปอย่างถ้วนหน้า
และเมื่อเดินมาได้สักพักหนึ่ง ผมก็ได้พบกับซุ้มประตูทางเข้าวัดที่ถูกสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.1286 โดยใช้เสาขนาดท่อนซุงยักษ์ถึง 18 ต้นในการค้ำยันรองรับหลังคา ด้านล่างของซุ้มประตูยังมี "ทวารบาล" 2 ตน ที่แกะสลักจากไม้อย่างวิจิตรงดงามเฝ้ารักษาอยู่ ที่สำคัญซุ้มประตูแห่งนี้ยังไม่เคยโดนไฟไหม้เลย แม้ว่าตัววิหารใหญ่ของวัดแห่งนี้จะเคยถูกไฟไหม้ใหญ่ไปแล้วถึง 2 ครั้ง 2 คราก็ตาม จึงนับได้ว่าซุ้มประตูใหญ่แห่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมชิ้นงามและดั้งเดิมจากสมัยคามาคุระอย่างแท้จริง
เมื่อเดินผ่านซุ้มประตูใหญ่ของวัดมาได้ไม่กี่อึดใจ ความยิ่งใหญ่อลังการของตัววิหารไม้หลังใหญ่ที่สุดในโลกก็ได้ปรากฏแก่สายตาของผม
วิหารใหญ่แห่งนี้เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า "ไดบุตสึเต็ง" หรือ "วิหารหลวงพ่อโต" แต่น่าเสียดายที่วิหารใหญ่ที่เห็นนี้มิใช่วิหารหลังเดิมซึ่งถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยคามาคุระ เนื่องจากวิหารหลังเดิมนั้นได้ถูกไฟไหม้ไป และต้องสร้างขึ้นใหม่ถึง 2 ครั้ง โดยวิหารหลังปัจจุบันนี้มีขนาดเพียง 2 ใน 3 ของวิหารหลังเดิมเท่านั้น แต่ก็ยังใหญ่พอที่จะคงไว้ซึ่งความเป็นวิหารไม้หลังใหญ่ที่สุดในโลกอยู่เช่นเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง
ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐาน พระไวโรจนะ หรือ หลวงพ่อโต (ไดบุตสึ) ขนาดสูง 16 เมตร หนัก 500 ตัน ซึ่งถือเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
แต่สิ่งที่ผมสะดุดตา ก่อนที่จะเดินออกจากตัววิหารไปก็คือ การที่ได้เห็นนักท่องเที่ยวจำนวนมากยืนต่อคิวกันเป็นแถวยาวอยู่ด้านหน้าเสาใหญ่ค้ำวิหารต้นหนึ่ง และด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่าเป็นแถวอะไร ผมจึงลองเดินไปดูด้านหัวแถว แล้วผมก็ต้องงงที่ได้เห็นภาพนักท่องเที่ยวกำลังพยายามมุดลอดช่องที่อยู่ใต้เสาใหญ่ค้ำวิหารต้นนั้นทีละคนๆ
ก่อนที่ผมจะงงไปมากกว่านั้น เพื่อนไกด์ของผมก็ได้แถลงให้ฟังว่าที่นักท่องเที่ยวพยายามมุดลอดช่องใต้เสากันอยู่นี้ ก็เพราะมีความเชื่อว่าหากใครลอดผ่านออกมาได้ก็จะได้กลับมาที่วัดโทได-จิแห่งนี้อีกครั้งนั่นเอง
หลังจากได้เดินชมความงามของวัดโทได-จิจนหนำใจ ผมและเพื่อนไกด์ก็มุ่งหน้ากลับสู่นครโอซาก้าเพื่อไปทานข้าวกลางวัน ก่อนจะไปเที่ยวกันต่อที่ปราสาทโอซาก้าในช่วงบ่าย ซึ่งก็ต้องเร่งทำเวลากันพอสมควร เพราะปราสาทโอซาก้านั้นจะปิดในเวลา 5 โมงเย็น
โอซาก้านั้นถือเป็นศูนย์กลางของฮอนชูตะวันตก มีความสำคัญรองจากเมืองหลวงของญี่ปุ่นมาโดยตลอด และมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นเป็นอันดับ 3 ของญี่ปุ่น รองจากโตเกียวและโยโกฮามา
นอกจากนี้โอซาก้ายังเป็นเมืองที่มีความสำคัญทั้งในด้านการทหารและการค้ามาตั้งแต่ในสมัยที่โตโยโตมิ ฮิเดโยชิ ทำการรวมญี่ปุ่นเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งอยู่ในระหว่างยุค Azuchi Momoyama (ค.ศ.1574-1600) และได้เลือกใช้เมืองนี้สร้างปราสาทโอซาก้าขึ้นในปี ค.ศ.1583 มีการขุดแม่น้ำเพื่อขยายความสามารถของโอซาก้าออกไปเพื่อเป็นฐานที่ตั้งสำหรับการขนส่งทางทะเล ทำให้เมืองนี้กลายเป็นเมืองสำคัญทางการค้าระหว่าง 3 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี
อย่างไรก็ตาม ในการสู้รบที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงฤดูหนาวของปี ค.ศ.1614 ถึงฤดูร้อนของปี ค.ศ.1615 ก็ได้ทำให้ปราสาทโอซาก้าถูกเผาจนหมดสิ้น
ถึงแม้ต่อมาเมื่อตระกูลโตกุกาวาได้ขึ้นครองอำนาจ และมีการย้ายเมืองหลวงจากเกียวโตไปยังโตเกียว โอซาก้าก็ยังมิได้ลดความสำคัญลงไป แต่นั่นก็ทำให้คนโอซาก้าและคนโตเกียวมีการแข่งขันกันอยู่ในทีตราบกระทั่งทุกวันนี้
เมื่อมาถึงบริเวณสวนสาธารณะหน้าปราสาทโอซาก้า ผมและเพื่อนไกด์ก็ตัดสินใจที่จะนั่งรถพ่วงหน้าตาเหมือนรถไฟที่เคยเห็นตามสวนสนุกขึ้นไปยังปราสาทโอซาก้า เพราะหากมัวแต่เดินกันไปก็อาจจะไม่ทันเวลาปราสาทปิดเป็นแน่
ขณะอยู่บนรถไฟเพื่อนไกด์ก็ได้อธิบายให้ผมฟังว่า ปัจจุบันนี้ปราสาทโอซาก้าที่เห็นอยู่นั้นได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ เพียงแต่ได้นำเอารูปแบบของปราสาทดั้งเดิมมาครอบไว้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นปราสาท 100% เหมือนเมื่อครั้งที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยก่อน และปราสาทหลังเดิมที่ถูกสร้างขึ้นโดยโตโยโตมิ ฮิเดโยชิ นั้นก็ได้ถูกทำลายลงถึง 2 ครั้ง ซึ่งปราสาทโอซาก้าหลังปัจจุบันนี้เพิ่งจะได้รับการปรับปรุงแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2540 นี้เอง
เมื่อมาถึงทางเข้าสู่ตัวปราสาท ผมก็เดินตรงดิ่งไปยังลิฟต์ทันทีเพื่อจะขึ้นไปชมทัศนียภาพของเมืองโอซาก้าบนชั้นที่ 8 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของปราสาท แต่ลิฟต์ก็พาผมขึ้นมาได้เพียงชั้นที่ 5 เท่านั้น ที่เหลือผมจึงต้องแบกสังขารของผมเดินขึ้นบันไดไปเอง แต่เมื่อได้ฝ่าฟันมาจนถึงชั้นที่ 8 เข้าจริงๆ ก็ต้องยอมรับเลยว่าได้รู้สึกถึงบรรยากาศที่ดีทีเดียว แม้ว่าทัศนวิสัยอาจจะไม่ดีนัก แต่ด้วยอากาศที่เย็นและความสวยงามของภูมิทัศน์ด้านล่างโดยรอบก็พอจะทำให้หายเหนื่อยไปได้เช่นกัน
สูดอากาศและชมทิวทัศน์ในที่สูงได้สักพัก ผมก็ค่อยๆ พาตัวเองเดินลงมายังชั้นล่างของตัวปราสาท ผ่านนิทรรศการถาวรและชั่วคราวจำนวนมาก ที่จัดแสดงไว้อย่างลงตัวทีละชั้นๆ ทำให้ได้ทราบถึงความเป็นมาเป็นไปของตัวปราสาทและวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นในสมัยที่โอซาก้ารุ่งเรืองได้เป็นอย่างดี และที่น่าชื่นชมที่สุดในความคิดของผมก็คือ การที่ได้เห็นนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นมาเดินเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ในร่างของปราสาทแห่งนี้เป็นจำนวนมากพอๆ กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเลยทีเดียว
ว่าแล้วก็พาลนึกไปถึงเมืองไทยของเราที่ไม่ค่อยจะได้เห็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงถึงรากเหง้าของชาติพันธุ์ ที่ผสมผสานเอาความคลาสสิกกับความทันสมัยไว้ได้อย่างลงตัวแบบนี้มากนัก ที่สำคัญ ถึงมีก็ไม่ค่อยได้รับการประชาสัมพันธ์ให้รู้จัก หรือทำให้คนไทยเราอยากที่จะไปเที่ยวชมกันอย่างจริงจังสักเท่าใด ทำให้พิพิธภัณฑ์ที่ดีๆ หลายพิพิธภัณฑ์ของเรายังคงเงียบเหงาอยู่เช่นนั้น
หากปรับตรงจุดนี้ได้ ผมก็ยังเชื่อว่าคนไทยเราหลายๆ คนยังอยากที่จะแวะไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ของเราเองมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เพื่อให้ได้รับรู้ถึงที่มาที่ไปและความเจริญรุ่งเรืองของชาติไทยเรา ซึ่งไม่ได้แพ้ชาติใดในโลกเช่นกัน
กว่าที่ผมและเพื่อนไกด์จะออกจากตัวปราสาทและเดินลงมาถึงสวนสาธารณะด้านล่างอีกครั้ง แสงอาทิตย์ยามเย็นก็สลัวรางลงเต็มที เป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่าได้เวลากลับไปหาอาหารญี่ปุ่นอร่อยๆ ทานในมื้อค่ำกันแล้ว จากนั้นจะได้พักผ่อนกันเสียที เพื่อเตรียมตัวที่จะตื่นขึ้นมาเที่ยวต่อในวันรุ่งขึ้น
วันนี้ผมขอลาทุกท่านไปด้วยภาพสวยๆ ของปราสาทโอซาก้าในยามเย็น แล้วในตอนหน้าผมจะพาทุกท่านไปเยี่ยมชมความสวยงามของเกียวโต เมืองหลวงเก่าอายุพันกว่าปีที่ยังคงความคลาสสิกอยู่ตลอดกาลครับ...(อ่านต่อตอนหน้า)