บล.กรุงศรี (KSS) มีมุมมอง "Bullish" ตลาดหุ้นไทย เป้าหมายปี 67 ที่ 1,600 จุด (อิง ERP 3.26% ดีกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย) ให้หุ้นเด่น AOT, BJC, HANA, HMPRO, IVL, MINT, MTC, SCGP, TU Small Cap : OSP, WARRIX, SJWD, STEC
KSS กำหนดดัชนีเป้าหมายปี 67 ที่ระดับ 1,600 จุด จากเดิม 1,680 จุด โดยปรับลดสมมติฐานกำไรตลาดปี 2024F ลงเหลือ 92.5 บาท (เดิม 97 บาท) ตามการปรับลดสมมติฐาน GDP ปี 67 ของ Krungsri Research ที่เหลือ 2.7% ระดับดังกล่าวคิดเป็น ERP 3.26% ดีกว่าค่าเฉลี่ย ERP 3.06% เล็กน้อย โดยเป็นระดับที่ค่อนข้างอนุรักษนิยม หากมองภาพ Downside ในส่วนดอกเบี้ยนโยบายไทยในปีนี้ เราประเมินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีโอกาสลดดอกเบี้ยลง 1-2 ครั้ง
โดยเรามองจุดดีที่ตลาดลดความคาดหวังต่อ SET ไปแล้วเทียบกับสัญญาณเศรษฐกิจต้นปีที่ออกมาในทางบวก ภาคบริการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว YTD 1-16 มี.ค. สูง 86% ของ Pre-COVID (40 ล้านคน) ผสานมาตรการกระตุ้นที่รออยู่จำนวนมาก มองเดินหน้าสู่ 36 ล้านคน เทียบก้บคาดการณ์ของตลาด 34 ล้านคน ขณะที่แรงส่งการจับจ่ายต่อหัว (BOT กังวล) กลับมา 4.84 หมื่นบาทต่อคน สูงกว่า Pre-COVID และเร่ง +6.0%y-y
ขณะที่การบริโภคเริ่มฟื้นตัวทั่วถึงขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4/66 ขณะที่งวดไตรมาส 2/67 การใช้จ่ายและลงทุนภาครัฐที่เป็นปัจจัยกดดันตลอด 1 ปีที่ผ่านมาจะกลายเป็นแรงผลักดันทางบวก คาดงบประมาณจะเบิกจ่ายนับจากต้นเดือน เม.ย. ผสานการเร่งดึงเม็ดเงินลงทุนต่างชาติสร้างอุตสาหกรรม S-Curve ใหม่ จะนำมาสู่การลงทุนเอกชน จึงน่าจะถือได้ว่าพัฒนาการเชิงบวกที่จะเห็นชัดเจนด้านเศรษฐกิจจะเข้ามานับจากไตรมาส 2/67 และคาดนำมาสู่วงจร Earnings Upgrade กำไรตลาดหุ้นไทยปี 67 ที่ KSS ประเมิน 92.5 บาท
*ธนาคารกลางโลกเดินหน้าสู่วงจรดอกเบี้ยขาลง หนุนการ "Search For Yield" เร่งขึ้น
ภาพการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงของ EM Asia ในช่วงที่เหลือของปี 67 ยังเป็นบวก จากภาวะการลงทุนโลกเข้าสู่การ "Search for Yield" หลังทิศทางเงินเฟ้อกำลังทยอยกลับสู่กรอบเป้าหมายธนาคารกลางต่างๆ ส่งผลให้ธนาคารหลักหลายแห่งเตรียมปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาส 2 นี้ โดย MUFG คาดว่าเฟดและ ECB จะลดดอกเบี้ยลง 3 ครั้งในปีนี้ สอดคล้องตลาดที่คาดดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ สิ้นปี 67 จะลดลงเหลือราว 4.5% +/- (ปัจจุบัน 5.25-5.5%) ส่วนยุโรป ปลายปีตลาดคาดราว 3.0% +/- (ปัจจุบัน 4.5%)
จากการศึกษาของ KSS หลังวงจรดอกเบี้ยนโยบายปรับถึงจุดสูงสุดและเริ่มปรับลง มักหนุนอัตราผลตอบแทนของกลุ่มสินทรัพย์ต่างๆ เป็นบวก โดยจากข้อมูลในอดีต 3 รอบล่าสุดที่มีการเริ่มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายพบว่า อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยหลังจากนั้น 12 เดือนมักอยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะตราสารทุน นำโดยดัชนีหุ้นตลาดเกิดใหม่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย +32.78%, SET Index +24.97%, S&P500 +16.3% และ MSCI Global +11.43%
โดยพบว่าหุ้นขนาดกลางให้ผลตอบแทนดีที่สุด ขณะที่สำหรับตราสารหนี้ พบว่า ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ +11.49% ตลาดตราหนี้โลก 6.74% และตราสารหนี้สหรัฐฯ +6.24% โดยตราสารหนี้ที่เป็น Investment Grade ให้ผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้ High Yield
*สหรัฐฯ เป็นภาพ "Goldilocks" ใกล้จุดเปลี่ยนสู่ "Soft Landing" ส่วนยุโรปฟื้นแบบ U-Shape ต่างจากเอเชียที่เข้าสู่จุดเร่งโต หลังจีนเริ่มฟื้น หนุน EM-Asia เป็น "Sweet Spot"
ภาวะปัจจุบันเศรษฐกิจกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเริ่มได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยสูง แม้การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ภาพในปัจจุบันยังสอดคล้องที่ตลาดประเมินไว้ GDP ปี 67 เติบโต 2.1% (vs เฟดคาด 2.0%) อ่อนลงจากปี 66 ที่เติบโต 2.5% โดยภาคบริการเริ่มชะลอลง ส่วนภาคแรงงานที่สมดุลเริ่มแผ่วลง หลังอัตราว่างงานขยับขึ้นมาที่ 3.9% (ยังต่ำกว่าระดับเสี่ยงภายใต้โมเดล Sahm?s Rule ที่เราประเมิน 4.2-4.3% ขึ้นไปจะเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย) ขณะที่ภาคผลิตกำลังฟื้นตัว ยอดผลผลิตอุตสาหกรรมเริ่มเติบโต MoM, PMI ภาคผลิตอยู่ในระดับขยายตัว 2 เดือนติด สะท้อน สหรัฐฯ เป็นภาพ "Goldilocks" ใกล้จุดเปลี่ยนสู่ "Soft Landing"
ขณะที่ยุโรปส่งสัญญาณการฟื้นตัวดีกว่าตลาดคาดปี 67 ที่ +0.5% เทียบกับ H2/66 ที่แตะใกล้ภาวะถดถอย นำโดยภาคบริการเร่งตามจีน ค่าแรงที่แท้จริงเป็นบวก และภาคผลิตกำลังฟื้นตัวตามวัฏจักร
ฝั่งเอเชีย นำโดยจีน การฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไป เริ่มมีภาพการฟื้นตัวทั่วถึงขึ้น จุดเสี่ยงภาคอสังหาริมทรัพย์ ราคาบ้านเริ่มชะลอการลดลง ขณะที่เป้าหมาย GDP รายมณฑลที่รวมเป็นภาพรวมปี 67 แม้จะลดลงเหลือ 5.3% จาก 5.6% แต่จีนยังคงให้วางเป้าหมายเท่ากันที่ 5.0% บ่งชี้ภาพความพร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจหากจำเป็น ทำให้มีโอกาสที่เศรษฐกิจจีนปีนี้จะฟื้นตัวตามเป้าหมาย 5% ใกล้ปีก่อนที่ขยายตัว 5.2% หนุนเอเชียหลายประเทศเศรษฐกิจมีแนวโน้มเร่งขึ้นจากปี 66 นำโดยเกาหลี ไต้หวัน มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ส่วนอินโดนีเซียและอินเดีย จะเติบโตใกล้ปีก่อน อีกทั้งความคาดหวังต่อจีนต้นปี 66 (ตลาดมอง GDP 5.6-6.2%) สูงกว่าปี 67 (ตลาดมอง GDP 4.2-4.6%) ค่อนข้างมาก ทำให้มีโอกาสเกิดภาพ Positive Surprise จากภาพ Growth ที่มีทิศทางเด่นขึ้น + Valution ที่ถูกกว่าของสหรัฐฯ PER 2024F 21.5เท่า หนุน EM-Asia เป็น "Sweet Spot"
*กลยุทธ์การลงทุน
KSS แนะนำถือน้ำหนักหุ้นไทย 70% หุ้นต่างประเทศคงไว้ที่ 15% พันธบัตร 10% และสินทรัพย์ทางเลือก 5% โดยประเมินกรอบการแกว่งตัวขึ้น ช่วงไตรมาส 2/67 ที่กรอบแนวรับ 1,350/1,330 จุด แนวต้าน 1,450/1,480 จุด
กลยุทธ์การลงทุน : แนะนำให้ Overweight ธีมหลัก คือ หุ้นได้ประโยชน์จาก 1) Rate Cut Cycle (กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทแข็งค่า ต้นทุนทางการเงินลดลง กลุ่มภาระหนี้สูง กลุ่ม High Growth) 2) Government Policy Support (ภาคการบริโภค-บริการ งบประมาณภาครัฐหนุน Soft power) 3) China & EU Recovery (กลุ่มอิงภาคการผลิตโลกฟื้นตัว และ Logistic)
โดยมีหุ้นเด่น AOT, BJC, HANA, HMPRO, IVL, MINT, MTC, SCGP, TU ส่วน Mid-Small Cap Play : OSP, WARRIX, SJWD, STEC
สำหรับการลงทุนต่างประเทศ : นโยบายการเงินโลกที่จะผ่อนคลายในปีนี้จะหนุนการ Search for Yield ในสินทรัพย์ของฝั่ง EM ที่เติบโตสูงกว่า แนะนำกระจายพอร์ตในเอเชียที่ยังเติบโตดีกองทุนหุ้นเอเชีย หรือจีนที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนเริ่มคาดหวังได้มากขึ้น ผสาน ERP สูง +2SD เป็น Value Market ผสานกองทุนเวียดนาม กองทุนหุ้นไทย ส่วนฝั่ง DM แนะนำกระจายการลงทุนใน EU ที่เศรษฐกิจเริ่มได้แรงส่งจากภาคการผลิตตามจีน และภาคบริการเร่งจากทิศทางค่าจ้างแท้จริงเป็นบวก และมี Valaution เหมาะสม