xs
xsm
sm
md
lg

ธปท.เล็งลดประมาณการเศรษฐกิจปีนี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ธปท.เล็งปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2566 เนื่องจากส่งออกยังติดลบ และยังฟื้นตัวได้เล็กน้อยตามภาสะตลาดโลก และการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเข้ามาน้อย ต่ำกว่าที่ประมาณการ ส่วนนโยบายรัฐบาลจะมีผลกับเศรษฐกิจไทยในปีหน้า เงินดิจิทัลหมื่นบาทต่อคน 5 แสนล้านบาท คิดเป็น 3% ของจีดีพี คาดว่ามีการหมุนรอบของเงินประมาณ 1 รอบ เนื่องจากการจับจ่ายใช้สอยส่วนมหญ่จะเป็นสินค้าเดิมที่เคยใช้จ่ายอยู่แล้ว

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโดยรวมมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายภายในประเทศ ท่องเที่ยว การส่งออกยังฟื้นตัวเท่าที่ควร โดยในช่วงไตรมาส 3 การฟื้นตัวเศรษฐกิจเริ่มแผ่วลง รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เข้ามาปริมาณเพิ่มขึ้น แต่ยอดการใช้จ่ายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย การส่งออกยังติดลบ ส่งผลให้ ธปท.จะต้องมีการทบทวนประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่ง การฟื้นตัวของจีดีพีปีนี้อาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายต้องปรับประมาณการลดลง

โดยช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ การส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นบวก ซึ่งจะเป็นผลดีกับเศรษฐกิจไทย ส่วนมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล ขณะนี้เริ่มชัดเจแล้วว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลได้แล้ว คาดว่าผลของนโยบายรัฐจะมีผลกับเศรษฐกิจในปีหน้า โดยในปีหน้าปัจจัยที่จะช่วยหนุนเศรษฐกิจ 3 ปัจจัยหลักคือ 1.นักท่องเที่ยว ที่คาดส่าจะกลับเข้ามาในจำนวนเพิ่มขึ้น 2.เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว และ 3.มาตราการรัฐบาล

ส่วนนโยบายเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทนั้น ธปท.ยังไม่นำมาเข้าการประเมินเศรษฐกิจในปีนี้ และขอดูรายละเอียดที่ชัดเจนว่าจะเป็นเงินรูปแบบใด เม็ดเงินเท่าไร มีเงื่อนไขการใช้จ่ายอย่างไรบ้าง แต่ถ้าตามข่าวปกติเม็ดเงินตามนโยบาย 5 แสนล้านบาท จะมีผลกับจีดีพี 3% อยู่ภายใต้การหมุนรอบของเงิน 1 รอบ ที่ผ่านมาหากเป็นการใช้จ่ายแบบโอนเงินจะมีการหมุนรอบของเงินประมาณ 1 รอบเท่านั้น

สำหรับเศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2566 ยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัว โดยการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้นจากทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ส่วนหนึ่งการบริโภคได้รับผลดีจากช่วงวันหยุดยาว ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐ ขยายตัวจากรายจ่ายลงทุน อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกสินค้าปรับลดลงจากหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเกษตรเป็นสำคัญ ส่วนหนึ่งจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ชะลอลง

เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากหมวดพลังงาน ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและหมวดอาหารสดปรับลดลงจากผลของฐานสูงในปีก่อน ด้านตลาดแรงงานยังฟื้นตัว สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลจากดุลการค้าที่เกินดุลลดลงตามมูลค่าการส่งออกเป็นสำคัญ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนในหลาย สัญชาติ เช่น รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวรัสเซียที่มีการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินระหว่างรัสเซียและไทยมากขึ้น ส่วนนักท่องเที่ยวบางสัญชาติ เช่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และยุโรป ปรับลดลงเล็กน้อย

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามหมวดบริการ และสินค้าไม่คงทนเป็นสำคัญ ทั้งการใช้จ่ายในหมวดโรงแรมและภัตตาคาร และหมวดขนส่งผู้โดยสาร และยอดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจาก ช่วงวันหยุดยาว

ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อภาคครัวเรือนด้านการจ้างงานนอกภาคเกษตรปรับดีขึ้น ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงบ้างจากความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาล
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามการลงทุนใน หมวดก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจากทั้งยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างและพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง และการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตามยอดจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศและยอดจดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์

การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน จากรายจ่าย ลงทุนด้านคมนาคม ขณะที่รายจ่ายประจำทรงตัวจากปีก่อน โดยรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการขยายตัว แต่รายจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรลดลงหลังเร่งเบิกจ่ายไปในช่วงก่อนหน้า สาหรับรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ หดตัวจากผลของฐานสูงตามการเบิกจ่ายโครงการลงทุนด้านคมนาคมในปีก่อน

มูลค่าการนำเข้าสินค้าไม่รวมทองคาที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วลดลงจากเดือนก่อน ตามการนำเข้าเชื้อเพลิง โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติหลังจากเร่งไปแล้วในเดือนก่อน อย่างไรก็ดี การนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ไม่รวมเชื้อเพลิง ปรับเพิ่มขึ้นตามการนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

มูลค่าการส่งออกสินค้าไม่รวมทองคาที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วลดลงจากเดือนก่อน โดยเฉพาะ 1) ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ไปฮ่องกงและสหรัฐฯ 2) ทุเรียนไปจีนที่ลดลงตามผลผลิตที่หมดฤดูกาล และ 3) เคมีภัณฑ์ไปจีนและอาเซียน อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าหมวดยานยนต์เพิ่มขึ้นหลังปัญหาด้านอุปทานทยอยคลี่คลาย รวมทั้งหมวดเกษตรแปรรูปที่เพิ่มขึ้นตามการส่งออกอาหารกระป๋องไปสหภาพยุโรป และอาหารสัตว์ไปจีน

การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับดีขึ้นในหลายหมวด หลังจากชะลอลงในช่วงก่อน โดยเฉพาะการผลิตใน 1) หมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นตามการผลิตน้ำตาล 2) หมวดยานยนต์จากการผลิตรถยนต์เชิงพาณิชย์ และ 3) หมวดยางและพลาสติกตามการผลิตยางล้อที่เพิ่มขึ้นหลังลดลงต่อเนื่องในช่วงก่อน อย่างไรก็ตาม การผลิตสินค้าหมวดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ลดลงตามรอบการส่งมอบสินค้า และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับลดลงจากเครื่องปรับอากาศที่เร่งไปแล้วในช่วงก่อนหน้า

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากหมวดพลังงานตามราคา น้ำมันดิบในตลาดโลก ส่วนหมวดอาหารสดปรับลดลงจากทั้งผลของฐานสูงในปีก่อน และราคาเนื้อสุกรและผักที่ลดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงจากผลของฐานสูงในราคาอาหารสาเร็จรูป ด้านตลาดแรงงานยัง ฟื้นตัว สะท้อนจากจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคบริการ สาหรับดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลจากดุลการค้าที่เกินดุลลดลงตามมูลค่าการส่งออก

ประกอบกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. เฉลี่ยแข็งค่าขึ้น เนื่องจากตลาดปรับลดการคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกอบกับสถานการณ์การจัดตั้งรัฐบาลของไทยมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้นในช่วงปลายเดือน


กำลังโหลดความคิดเห็น