xs
xsm
sm
md
lg

ย้อนรอยคดีมหากาพย์วินด์และข้อพิรุธ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อนพพร ศุภพิพัฒน์ ต้องคดี 112 และ หลบหนีออกจากไทย ต้องการขายหุ้น บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด จำนวน 64,717,411 หุ้นหรือ 59.46 %

ที่มาของหุ้นพิพาท ประมาณพ.ศ.2558 ครอบครัวณรงค์เดช ประกอบด้วย เกษม ,กฤษณ์ ณพ และกรณ์ ตกลงซื้อหุ้นในบริษัทวินด์ ฯ จากกลุ่มบริษัทของนายนพพร โดยครอบครัวณรงค์เดช ได้มอบหมายให้ณพ เป็นตัวแทนของครอบครัวไปดำเนินการซื้อ ส่วนการชำระเงินค่าหุ้นครอบครัวร่วมดำเนินการ


การชำระเงินค่าหุ้น

ครอบครัวณรงค์เดชชำระเงินค่าหุ้น

1.เงินสดจำนวน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 330 ล้านบาท (ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร เป็นบัญชีมีชื่อร่วม 3 คน กฤษณ์,ณพ และกรณ์ ในการทำการเบิกถอนเงินต้องทำเป็นสัญญากู้เงินโดยทั้ง 3 คนร่วมลงชื่อด้วยกัน )

2.เงินจำนวน 500 ล้านบาท จาก บริษัท เคพีเอ็น แลนด์ จำกัด ( บริษัทของครอบครัวณรงค์เดช )

3.เงินจำนวน 1,000 ล้านบาท กู้ยืมจาก บริษัท เอ็ม บี เค การันตี จำกัด ( ครอบครัวณรงค์เอาทรัพย์สินไปเป็นหลักประกันเพื่อการกู้ยืมเงิน )

การจัดสรรหุ้นครอบครัวณรงค์เดชเป็นเจ้าของหุ้นจำนวน 64,717,411 หุ้นหรือ 59.46 ที่ซื้อมาจากกลุ่มบริษัทของนายนพพร ครอบครัวตกลงให้แบ่งปันหุ้นให้ กฤษณ์,ณพ และกรณ์ โดยมีการทำบันทึกข้อตกลงจัดสรรหุ้น ฉบับลงวันที่ 30 สิงหาคม 2560 มีข้อตกลงว่า กฤษณ์ ได้หุ้น 24.5% ,ณพ ได้หุ้น 51% และกรณ์ ได้หุ้น 24.5 % ( ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดี พ.1031/2563 เรื่อง คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว )

ประเด็นข้อพิพาท เรื่องการโอนหุ้น คือ การปลอมลายมือชื่อเกษม ในเอกสารการโอนหุ้น สัญญาซื้อขายหุ้นระหว่าง บริษัท เคพีเอ็น เอนเนอยี(ประเทศไทย) จำกัด(REC) กับ เกษม /สัญญาแต่งตั้งตัวแทนระหว่าง คุณหญิงกอแก้ว กับ เกษม ซึ่งเอกสารเกี่ยวข้องกับการโอนหุ้นดังกล่าวทั้งหมดนั้น เป็นเอกสารปลอม โดยกองพิสูจน์หลักฐานและสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ให้ความเห็นว่าเป็นการปลอมลายมือชื่อเกษม ซึ่งคดีเรื่องปลอมเอกสารอยู่ระหว่างพิจารณาคดีของศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่อ.1708/2564

ข้อสรุป เกษมซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวณรงค์เดช ซื้อหุ้นบริษัทวินด์ฯจากกลุ่มบริษัทของนายนพพร ฯ และได้ชำระเงินค่าหุ้นให้กลุ่มบริษัทของนายนพพรฯเรียบร้อยแล้ว เกษมจึงเป็นเจ้าของหุ้นบริษัทวินด์ฯ ที่ซื้อ เมื่อการซื้อของเกษมกระทำในนามหัวหน้าครอบครัว เกษมจึงเสมือนเป็นตัวแทนของกฤษณ์ ณพ และกรณ์ เมื่อครอบครัวมีข้อตกลงการจัดสรรหุ้นให้ กฤษณ์ มีหุ้น 24.5% คุณณพ มีหุ้น 51% และคุณกรณ์ มีหุ้น 24.5% โดยเกษมไม่มีส่วนได้รับแบ่งหุ้นดังกล่าว ถือว่าส่วนของเกษมนั้นได้ยกให้แก่บุตรทั้งสามแล้ว

ปัจจุบันหุ้นพิพาท เป็นชื่อ บริษัท โกเด้น มิวสิค ลิมิเต็ด โดยมีคุณหญิงกอแก้ว ถือหุ้นจำนวน 99.9% ซึ่งข้ออ้างว่าได้หุ้นมาโดยสุจริตและชำระค่าตอบแทนนั้น แต่การได้หุ้นดังกล่าวมานั้นคือ การรับโอนหุ้นจากเกษม เมื่อปรากฏว่าลายมือชื่อในการโอนหุ้นและสัญญาแต่งตั้งตัวแทนเป็นลายมือชื่อปลอม สัญญาซื้อขายหุ้น/สัญญาแต่งตั้งตัวแทนจึงเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพัน จึงถือว่าหุ้นบริษัทวินด์ฯ ยังคงเป็นของครอบครัวณรงค์เดช โดยกฤษณ์ มีหุ้น 24.5% ,ณพ มีหุ้น 51% และกรณ์ มีหุ้น 24.5 % ซึ่งหลักฐานทางการเงินที่คุณหญิงกอแก้วอ้างว่าเป็นการชำระค่าหุ้น (ชำระปี พ.ศ.2560 ) ระหว่างคุณหญิง กอแก้ว กับ บริษัท เคพีเอ็น เอนเนอยี(ประเทศไทย) จำกัด นั้น ปรากฏว่าเป็นรายการวนเงินระหว่างกันเพื่อสร้างหลักฐานเท่านั้น


หุ้นจึงต้องตกเป็นของ กฤษณ์ ,ณพ และกรณ์ ตามบันทึกข้อตกลง ฉบับลงวันที่ 30 สิงหาคม 2560


ข้อพิรุธสงสัย

1.ณพ ก็เบิกความต่อศาลไว้ว่า หุ้นบริษัทวินด์ฯ ซึ่งเป็นของนายนพพรฯ ทั้งหมดที่ซื้อมานั้น ได้ตกเป็นของ บริษัท เคพีเอ็น เอนเนอยี (ประเทศไทย) จำกัด (REC) เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 หากสัญญาตั้งตัวแทนฉบับลงวันที่ 25 เมษายน 2559 ซึ่งณพ และคุณหญิงกอแก้ว กระทำขึ้นโดยสุจริตและเกิดขึ้นจริง ดังข้อกล่าวอ้างของณพก็ย่อมถือว่าหุ้นของบริษัทวินด์ ฯ ที่ซื้อมาจากนายนพพรฯ ทั้งหมด ย่อมเป็นของคุณหญิงกอแก้วแล้ว ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2559 หากแต่บันทึกข้อตกลงจัดสรรหุ้น ฉบับลงวันที่ 30 สิงหาคม 2560 ซึ่งเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่หุ้นของบริษัทวินด์ฯ เป็นของคุณหญิงกอแก้วโดยใช้ชื่อ นายเกษม ณรงค์เดช เป็นตัวแทน แต่ณพกลับลงนามในการแบ่งปัน หุ้นของบริษัทวินด์ฯ ด้วยความสมัครใจ โดยณพได้หุ้น 51 เปอร์เซ็นต์, กฤษณ์ ได้หุ้น 24.5 เปอร์เซ็นต์ และกรณ์ ได้หุ้น 24.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งลักษณะการแบ่งปันเป็นสามส่วนดังกล่าว ย่อมกระทบกระเทือนต่อสิทธิของคุณหญิงกอแก้วโดยชัดแจ้งแล้ว แต่ปรากฏว่าก่อนที่ณพจะได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงจัดสรรหุ้น ณพก็ไม่ได้โต้แย้งโดยให้เหตุผลใดๆว่า หุ้นที่นำมาแบ่งกันตามบันทึกข้อกลงจัดสรรหุ้นนี้ เป็นของคุณหญิงกอแก้ว โดยใช้ชื่อ นายเกษม ณรงค์เดช เป็นผู้ถือแทนตามหนังสือตัวแทน

2. บริษัท ฟูลเลอร์ตัน เบย์ อินเวสเม้นท์ จำกัด และบริษัทเคพีเอ็น เอนเนอยี โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทณพจัดตั้งขึ้นเพื่อรับโอนหุ้นจากบริษัทกลุ่มของนายนพพร โดยยอมรับว่า บริษัท เคพีเอ็น เอนเนอยี (ประเทศไทย) จำกัด) (REC) เป็นส่วนหนึ่งของกิจการพลังงานในกลุ่มเคพีเอ็น (KPN Group) ซึ่งนายเกษมฯและคุณหญิง พรทิพย์ฯ ได้ก่อตั้งกิจการกลุ่มนี้ในปี 2522 ตามคำให้การที่เสนอต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการที่ประเทศสิงคโปร์ในข้อพิพาทกับกลุ่มบริษัทของนายนพพรฯ

การแถลงข่าวเกี่ยวกับการสนับสนุนสินเชื่อของ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ให้แก่บริษัทวินด์ ตามเว็บไซต์สำนักข่าวบ้านเมือง / การรับรู้ของบริษัท VESTAS ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายกังหันลมของประเทศเนเธอร์แลนด์ / การจัดกิจกรรมภายในของกลุ่มบริษัทเคพีเอ็น (KPN Outing 2017) ได้มีผู้บริหารและพนักงานบริษัทวินด์เข้าร่วมด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทวินด์เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจในกลุ่มเคพีเอ็น

3.ณพได้เบิกความว่า ในการทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนระหว่างคุณหญิงกอแก้ว กับเกษม ซึ่งแสดงถึงความเป็นเจ้าของหุ้นบริษัทวินด์ ของคุณหญิงกอแก้วนั้น ณพไม่เคยแจ้งให้กฤษณ์และกรณ์ทราบทั้งก่อนและหลังการทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนดังกล่าว และได้ยอมรับว่าได้เบิกความในคดีของศาลเขตปกครองพิเศษฮ่องกงว่า กฤษณ์ และกรณ์ไม่เคยรู้ว่าหุ้นบริษัทวินด์ ได้ขายให้กับคุณหญิงกอแก้วแล้ว

4.กฤษณ์และกรณ์ เป็นเจ้าของหุ้นบริษัทวินด์ จำนวนร้อยละ 49 ของหุ้นทั้งหมดที่ได้ซื้อมาจากกลุ่มบริษัทของนายนพพรฯ ตามที่ศาลอุทธรณ์ ได้วินิจฉัยไว้ในคดีหมายเลขดำที่ พ 1031/2562 คดีหมานเลขแดงที่ พ.591/2564 ของ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ซึ่งคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาดังกล่าวถึงที่สุดแล้วและผูกพันคู่ความในคดีนี้ เพราะศาลอุทธรณ์ได้ได้วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งหุ้นพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145

5.คำชี้แจงของ ม.ร.ว.ศศิพฤนท์ จันทรทัต จาก บริษัทเพลินจิต แคปปิตอล จำกัด เกี่ยวกับการจัดทำรายงานการประเมินค่าหุ้นบริษัทจำเลยที่ ๒ ตามเอกสารหมาย จ.๖๓ ซึ่งสรุปได้ว่าได้ถูกว่าจ้างจากกรรมการ บริษัท เคพีเอ็น เอนเนอยี (ประเทศไทย) จำกัด ให้ทำรายงานการประเมินค่าหุ้นลงวันที่ย้อนหลังเป็นวันที่ 21 เมษายน 2559 เพื่อให้เห็นว่าได้มีการประเมินราคาไว้ก่อนการทำสัญญาซื้อขายหุ้น ฉบับลงวันที่ 21 เมษายน 2559 อีกทั้งยังปรากฏหลักฐานอย่างชัดแจ้งว่าไม่ได้มีการชำระค่าหุ้นจำนวน 2,400 ล้านบาท

6. ณพ ทำรายการทางบัญชีที่เกิดจากการสร้างธุรกรรมอำพราง อันเป็นเท็จด้วยการสั่งจ่ายเช็คออกไปเป็นทอดๆ โดยเฉพาะรายการสั่งจ่ายเช็คของณพ จำนวน 650 ล้านบาท และ 82 ล้านบาท ที่นำฝากเข้า บัญชี บริษัท เคพีเอ็น เอนเนอยี (ประเทศไทย) จำกัด ปรากฏว่าในวันเดียวกันณพ ก็ได้ลงนามในฐานะกรรมการ บริษัท เคพีเอ็น เอนเนอยี (ประเทศไทย) จำกัด สั่งจ่ายเช็คนำเข้าฝากบัญชี บริษัท เคพีเอ็น เอนเนอยี โฮลดิ้ง จำกัด และลงนามในฐานะกรรมการ บริษัท เคพีเอ็น เอนเนอยี โฮลดิ้ง จำกัดสั่งจ่ายเช็ควนกลับมาเข้าฝากบัญชีณพ โดยไม่ต้องนำเงินมาชำระค่าหุ้นอย่างแท้จริง

7 .การชำระค่าหุ้นของคุณหญิงกอแก้ว จำนวน 970 ล้านบาท นั้นเป็นเพียงรายการบัญชีที่ปกปิดไม่ให้ปรากฏ ชื่อธนาคาร ไม่ปรากฏชื่อเจ้าของบัญชี ประเภทและเลขที่บัญชี ซึ่งไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริงหรือไม่อย่างไร และไม่อาจเชื่อได้ว่าเป็นการชำระเงินค่าหุ้นของคุณหญิงกอแก้วตามข้ออ้าง

8.นายวีระวงค์ฯ เบิกความต่อศาลอาญาว่า เป็นผู้ทำการโอนหุ้นพิพาทไปเพื่อให้พ้นจากการติดตามของกลุ่มบริษัทนายนพพรฯ ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงพฤติกรรมของณพว่ามีการเตรียมการและวางแผนมาตั้งแต่ต้นแล้ว โดยที่เกษมฯ ซึ่งเป็นบิดา และกฤษณ์ กับกรณ์ซึ่งเป็นพี่ชายและน้องชายไม่รู้เรื่องและไม่ทราบเรื่องมาก่อน

9. คุณหญิงกอแก้ว ไม่เคยเบิกความต่อศาลและให้โอกาสอีกฝ่ายได้ถามค้านถึงที่มาที่ไปของหุ้นพิพาท รวมถึงการนำเงินมาซื้อหรือการได้มา

อ่านข่าวประกอบเพิ่มเติม>>>ชำแหละคำตัดสิน "ณพ" ยักยอกซื้อหุ้นวินด์ ศาลชี้คุณหญิงก่อแก้วโกหก


กำลังโหลดความคิดเห็น