xs
xsm
sm
md
lg

BBGI คาด SAF เดินเครื่องผลิตน้ำมันอากาศยาน Q4/67

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




"บีบีจีไอ คาด SAF ภายใต้บริษัทร่วมทุน BSGF พร้อมเดินเครื่องผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานในไตรมาส 4/2567 ด้วยกำลังการผลิต 1,000,000 ลิตรต่อวัน พร้อมรับซื้อน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วจากประชาชนและภาคธุรกิจตามโครงการ "ทอดไม่ทิ้ง" ส่งเข้ากระบวนการผลิต เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมการบิน 80,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี 

นายกิตติพงศ์ ลิ่มสุวรรณโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ BBGI ผู้นำอุตสาหกรรมพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพ และผู้สร้างสรรค์ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูงที่ส่งเสริมสุขภาพรายใหญ่ของประเทศไทย เปิดเผยว่า คาดว่าหน่วยผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation : SAF) ที่ดำเนินการโดยบริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด หรือ BSGF ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง BBGI กับบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP และบริษัท ธนโชคออยล์ ไลท์ จำกัด จะเดินเครื่องผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานได้ในช่วงประมาณไตรมาส 4/2567 ด้วยกำลังการผลิต 1,000,000 ลิตรต่อวัน

โดย BSGF เป็นหน่วยแรกในประเทศไทยที่เป็นหน่วยผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน SAF และเป็นหน่วยแรกและหน่วยเดียวที่ผลิตจากน้ำมันใช้แล้วจากการปรุงอาหาร มีวัตถุดิบมาจากน้ำมันที่ใช้แล้วในครัวเรือนของประชาชนและภาคธุรกิจผ่านโครงการ "ทอดไม่ทิ้ง" โดยประชาชนสามารถนำมาขายได้ในสถานีบริการน้ำมันบางจาก และจุดรับซื้อในโครงการ "ทอดไม่ทิ้ง" ที่นอกจากจะนำมาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน SAF แล้ว ยังช่วยรักษาสุขภาพ ปกป้องสิ่งแวดล้อม และสร้างรายได้เสริมได้อีกด้วย

สำหรับประเด็นสำคัญของน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน SAF คือ ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้ประมาณ 80% เทียบกับการบินด้วยเชื้อเพลิงจากการบินจากฟอสซิล ดังนั้น การใช้น้ำมัน SAF จึงสามารถทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานจากฟอสซิลปริมาณ 1,000,000 ลิตรต่อวัน จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 80,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

อย่างไรก็ตาม การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์นับเป็นภารกิจสำคัญของทุกภาคส่วน ขณะที่หน่วยผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน SAF เป็นก้าวสำคัญที่สะท้อนรูปธรรมที่ชัดเจนของ BBGI ในการก้าวไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2573 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ในปี 2593 ทั้งยังบูรณาการในการพัฒนาเศรษฐกิจในด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลและยั่งยืน


กำลังโหลดความคิดเห็น