xs
xsm
sm
md
lg

หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์คึก โควิดคลายยอดขายรถทั่วโลกพุ่ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ชิ้นส่วนยานยนต์ฟื้น ได้แรงบวกจากการโควิด-19 คลี่คลาย การผลิตรถยนต์ทั่วโลกเพิ่ม ส่งผลให้ความต้องการเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนพุ่ง และปัญหาขาดแคลนชิปสู่ปกติ ขณะที่ยอดขายภายในประเทศเพิ่มทำสถิติสูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ 86,145 คัน รวมถึงคู่ค้าฟื้น หนุนส่งออกโต โบรกฯ ประเมินกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์สดใสถ้วนหน้า ให้ SAT เจ๋งสุด ตามด้วย STANLY , AH และ IHL

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยตัวเลขประมาณการการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของสมาชิกกลุ่ม ในปี 65 โดยแยกเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก และการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ซึ่งประมาณการการผลิตรถยนต์ปี 65 ที่ 1,800,000 คัน หรือมากกว่าปี 64 ซึ่งมี 1,685,705 คัน เพิ่มขึ้น 114,295 คัน คิดเป็น 6.78% แบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 1,000,000 คัน เท่ากับ 55.56% ของยอดการผลิตทั้งหมด และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 800,000 คัน หรือ 44.45% ของยอดการผลิตทั้งหมด

จากตัวเลขดังกล่าว จะเห็นว่าการผลิตเพื่อการส่งออกนั้น เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ผลิตได้ 956,530 คัน เป็น 43,470 คัน หรือเพิ่มขึ้น 4.54% และส่วนผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ผลิตได้ 729,175 คัน หรือเพิ่มขึ้น 70,825 คัน คิดเป็น 9.71% ขณะที่ยังมีความกังวลเรื่องการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวเต็มที่ กอปรกับการผลิตรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศบางแห่งขาดชิ้นส่วนและเซมิคอนดักเตอร์ทำให้ต้องชะลอการผลิตบางรุ่นลงชั่วคราว

บล. เคทีบีเอสที  ระบุถึงมีมุมมองเป็นกลางจากยอดผลิตรถยนต์เดือนธันวาคม 64 ที่ยังเติบโต จากช่วงเดียวกันปีก่อนได้ดีตามคาด และทำให้ยอดผลิตรถยนต์รวมทั้งปี 64 ใกล้เคียงกับที่ ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ สำหรับปี 65 ยังประเมินยอดผลิตรถยนต์ที่ 1.75-1.8 ล้านคัน เติบโต 4-7% ใกล้เคียงกับที่ ส.อ.ท.ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งจะได้ผลบวกจากยอดส่งออกที่ยังเติบโตได้ดี ต่อเนื่อง และยอดขายรถยนต์ในประเทศที่จะฟื้นตัวขึ้น ทั้งนี้ กลุ่ม Automotive ยังให้น้ำหนักการลงทุนเป็น Neutral โดยหุ้น Top Pick ได้แก่ SAT แนะนา "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 25.00 บาท  อิง 2022E PER ที่ 9.5 เท่า

บล.ฟิลลิป มองกลุ่มยานยนต์สดใส แนะนำ  "ลงทุนมากกว่าตลาด" เพราะยอดผลิตยอดผลิตรถยนต์ ธ.ค. 64 เพิ่มขึ้น 7.9% เทียบปีก่อน ขณะขณะที่ภาพรวมทั้งปี 64 เติบโตเด่น 18% เทียบปีก่อน เพราะล่าสุด ส.อ.ท. เผยยอดผลิตรถยนต์เดือน ธ.ค. 64 ออกมาที่ 154,368 คัน เพิ่มขึ้น 7.9% จากปีก่อน สอดรับการฟื้นตัวของอุตฯ ยานยนต์ แต่ลดลง 6.6% เทียบเดือนก่อน จากจำนวนวันทำงานที่น้อยกว่า โดยแบ่งออกเป็นยอดผลิตเพื่อการส่งออกออก 77,592 คัน และยอดผลิต เพื่อจำหน่ายภายในประเทศ 76,776 คัน ขณะภาพรวมทั้งปี 64 พบว่ามียอดผลิตรถยนต์รวมอยู่ที่1,685,705 คัน เติบโตเด่น 18% เทียบปีก่อน

ขณะที่ยอดส่งออกรถยนต์เดือน ธ.ค. 64 สูงสุดรอบ 9 เดือน เพราะในด้านยอดการส่งออกรถยนต์ ธ.ค. 64 พบว่าทำสถิติสูงสุดรอบ 9 เดือนที่ 101,307 คัน โดยขยายตัวเด่น 47.9% เทียบปีก่อน , เพิ่มขึ้น 2.51% เทียบเดือนก่อน หลังได้แรงบวกจากการได้รับเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนมากขึ้น รวมถึงคู่ค้าฟื้น หนุนส่งออกเพิ่มทุกตลาด ขณะที่ยอดขายภายในประเทศ ธ.ค.64 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ 86,145 คัน

ดังนั้น จึงเพิ่มคำแนะนำเป็น “ลงทุนมากกว่าตลาด” หลังสถานการณ์ โควิด-19 รุนแรงน้อยกว่าคาด เพราะด้วยตัวเลขยอดผลิตรถยนต์ปี 64 ที่ดีกว่าคาด อีกทั้งมีแนวโน้มสดใสต่อในปี 65 ซึ่งตั้งเป้าที่ 1.8 ล้านคัน บวกกับสถานการณ์โควิด-19 รุนแรงน้อยกว่าคาด และราคาหุ้นที่ลดลงมาก สะท้อนปัจจัยลบมากแล้วจึงเพิ่มคำแนะนำเป็น “ลงทุนมากกว่าตลาด”

บล. เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่าประเมิน ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ปี 65 มองว่าปัญหาไมโครชิปขาดแคลนเริ่มดีขึ้น มีโมเมนตัมที่ขยับขึ้นได้ โดย กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยคาดยอดผลิตรถยนต์จะเติบโตต่อ 1.7-1.8 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 1-6.5% หลังปี 2564 ได้ปรับเพิ่มเป้าหมายยอดผลิตรถยนต์เป็น 1.68-1.69 ล้านคัน เติบโต 18% และมองว่า EV ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นปัจจัยเชิงบวกทางอ้อมในเชิงของดีมานด์ ซึ่งกลุ่มยานยนต์ยังเป็นอีกกลุ่มที่มีความน่าสนใจในการลงทุน เพราะ Valuation กลุ่มนี้ยังไม่แพง P/E อยู่ที่เฉลี่ย 10 เท่า และจ่ายปันผลในระดับสูง จึงมีมุมมองเชิงบวกต่อและแนะนำ  "ซื้อ" SAT , AH และ STANLY ที่คาดว่าจะเห็นการเติบโตสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับอุตสาหกรรม โดย SAT คาดการณ์กำไรปี 65 เติบโต 8.6% แตะที่ระดับ 1,067 ล้านบาท ประเมินราคาที่ 25.50 บาท ส่วน AH ปี 65 มีแนวโน้มจะปรับตัวเด่นสุดในกลุ่ม แต่ก็มี Upside น้อยสุดในกลุ่มเช่นกัน ประเมินราคาเป้าหมายที่ 28 บาท

ขณะที่ STANLY คาดจะได้รับคำสั่งซื้อใหม่ ไฟหน้า-ท้าย ต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Global Model ดังนั้น แนวโน้มผลประกอบการ ไตรมาส 4 (งวด ม.ค. - มี.ค. 65) จะฟื้นตัวดีขึ้นต่อ อีกทั้งยังคาดว่ายอดขาย (เม.ย.64 - มี.ค. 65) จะอยู่ที่ 13,700 ล้านบาท โต 18% และมีกำไรสุทธิที่ 1,548 ล้านบาท โต 62% และ ปี 65/66 (งวด เม.ย.65 - มี.ค. 66) คาดยอดขายจะเติบโตต่อ 10% สู่ระดับ 15,070 ล้านบาท และ มีกำไร 1,784 ล้านบาท เติบโต 15% ยัง Laggard ในกลุ่ม ขณะที่มีศักยภาพจะเติบโตสูงในกลุ่ม ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขาย P/E ปีนี้ต่ำเพียง 8.5 เท่า ประเมินราคาเป้าหมายที่ 212 บาท

IHL ปี 65 ลุยผลิตสินค้าเต็มสูบ 

นายองอาจ ดำรงสกุลวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินเตอร์ไฮด์ จำกัด (มหาชน) (IHL) เปิดเผยว่าแผนงานปี 65 บริษัทฯ พร้อมเดินหน้าธุรกิจผลิตเบาะหนังรถยนต์รองรับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้หลัก ปัจจุบันมีออเดอร์ผลิตเบาะหนังรถยนต์เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการเปิดไลน์การผลิตเบาะหนังรถยนต์ โดยเฉพาะแผนกตัดเย็บ ซึ่งขณะนี้ผลิตได้เต็มกำลังการผลิตแล้ว ส่วนธุรกิจฟอกหนังรองเท้า และธุรกิจผลิตหนังเฟอร์นิเจอร์ยังมีทิศทางที่ดี รวมถึงธุรกิจขนมขบเคี้ยวสุนัข  หนุนผลงานเติบโต 20% จากปีก่อน “ปี 65 บริษัทฯ ยังเดินหน้ารุกธุรกิจเดิมเต็มที่ อย่างธุรกิจผลิตเบาะหนังรถยนต์ที่อุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มกลับมาฟื้นตัวอย่างชัดเจน รวมถึงการขยายธุรกิจใหม่ เพื่อสร้างรายได้ให้เติบโตได้ในระยะยาว” นายองอาจกล่าว

AH ฟื้นต่อเนื่องปีนี้ขอโตทะลุ 20%

บล. หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุถึง AH ปี 65 ยังฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก และได้ออเดอร์ ใหญ่ยุโรปปี 65 แนวโน้มยังสดใส โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการคาดเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวสู่ภาวะปกติหลังจบวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 คาดว่าสถานการณ์ขาดแคลนชิปคลี่คลาย และในปี 65 รถกระบะหลายรุ่นจะเข้าสู่รอบปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ ดังนั้น กลุ่มลูกค้าหลายรายเริ่มทยอยนำ โมเดลใหม่เข้ามาเจรจากับบริษัทอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง AH ได้คำสั่งซื้อใหม่เป็น Global Market สำหรับชิ้นส่วนรถกระบะ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนใหม่ที่บริษัทยังไม่เคยได้มูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท จากกลุ่มลูกค้ายุโรป โดยปี 65 คาดรับรู้รายได้ราว 700 ล้านบาท รวมถึงผลบวกจากการที่รัฐบาลมาเลเซียมีการต่ออายุนโยบายลดภาษีรถยนต์ ทำให้คาดธุรกิจจำหน่ายรถยนต์คาดฟื้นตัว คาดกำไรปี 65 ของ AH ที่ 1,100 ล้านบาท +13%

ทั้งนี้ คงมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการ ของ AH แม้จะสะดุดช่วงไตรมาส 3ปี 64 แต่ภาพรวมทั้งปีเติบโตดีกว่าอุตสาหกรรม และ คาดเติบโตดีต่อเนื่องในปี 65 คงมูลค่าพื้นฐานปี 65 ที่ 34.40 บาทอิง P/E เฉลี่ย ที่10x ราคาปัจจุบันซื้อขายที่ P/E เพียง 7.9x ของ EPS ในปี 65 และคาดผลตอบแทนจากเงินปันผลปี 64-65 ที่ 3.6% และ 3.7% ตามลำดับ จึงคาดกำไรปี 64 และปี 65 ที่ 986 ล้านบาท และ 1,110 ล้านบาท เติบโต 513% จากปีก่อน และ 13% บนสมมติฐานยอดผลิตรถยนต์ของอุตสาหกรรมที่มียอดการผลิตเพิ่มต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี หากเทียบกับอุตสาหกรรมถือว่ามีความน่าสนใจ เมื่อเทียบ P/E และ ROE ในปี 65 พบว่า AH มี P/E ที่ถูกสุดในกลุ่ม ขณะ ROE ที่ 13% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 11.0x และมี EV/EBITDA ปี 65 ที่ 6 เท่า เทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 10.9 เท่าได้มูลค่า พื้นฐานปี 65 ที่ 34.40 บาท

นายเย็บ ซู ชวน ประธานกรรมการบริหาร AH เผยว่าคงเป้ารายได้ปีนี้เติบโต 15-20% หรือ 21,000 ล้านบาท จากปีก่อนที่ทำไว้ 17,832.10 ล้านบาท ผลดีจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ แม้ ยอมรับว่าผลงานไตรมาส 3 อาจอ่อนตัวเมื่อเทียบไตรมาสก่อน เพราะปัญหาการขาดแคลนชิป ทำให้การผลิตรถยนต์ของค่ายรถต่างๆทั่วโลกล่าช้าขึ้น ส่งผลต่ออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่จะได้รับผลกระทบในการส่งมอบงานชิ้นส่วนรถยนต์ให้กับลูกค้าชะลอลงด้วย แต่ทุกอย่างคลี่คลายปัญหาการขาดแคลนชิปคลี่คลาย ทำให้การผลิตรถยนต์กลับมาผลิตได้ใกล้เคียงกับช่วงปกติ

SAT กำไรนิวไฮ อุต ฯ ยานยนต์ฟื้น

ฝ่ายวิจัย บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย)  เปิดเผยว่า ช่วงไตรมาส 4/64 คาด SAT กำไรสุทธิที่ 220 ล้านบาท โตกว่าไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากยอดผลิตรถยนต์ฟื้นตัว หลังโค-19 ดีขึ้น มีการคลายล็อกดาวน์, การเปิดประเทศ และปัญหาไมโครชิป ขาดแคลนเริ่มดีขึ้น ทำให้ SAT ได้รับออเดอร์เข้ามามากขึ้น ดังนั้นทั้งปี 64 คาดกำไรสุทธิทำนิวไฮ 983 ล้านบาท เติบโต 165% จากปีก่อน ส่วนปี 65 มั่นใจกำไรสุทธิทำนิวไฮ ต่อเนื่องที่ 1,067 ล้านบาท เติบโต 8.6% จากปีก่อนเพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ฟื้นตัวมากขึ้น รวมถึงผู้บริหาร SAT เผยว่ามีออเดอร์ใหม่เข้ามาเสริมไตรมาส2/65 คือ "เพลาข้างและเพลาขับ" รวม370-390 ล้านบาท/ปี  ล่าสุด SAT ซื้อ ขายที่ P/E เพียง 8-9 เท่า ให้ Dividend Yield สูง 7% แนะนำ "ซื้อสะสม" เป้าหมาย 25.50 บาท

 บล.โนมูระ พัฒนสิน เปิดเผยว่าปี 64 คาดยอดการผลิตรถยนต์รวมที่ 1.65-1.70 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 16-19% ดังนั้นปี 64-65 คาดกำไรสุทธิทำนิวไฮเติบโต 168% และ 10% จากปีก่อน ตามลำดับ ให้ Dividend Yield ค่อนข้างสูงถึง 7-8% ต่อปี แนะนำ "ซื้อ" หุ้น SAT ให้ราคา เป้าหมาย 30 บาท

บล.หยวนต้า(ประเทศไทย)  มอง SAT คาดกำไรไตรมาส 4 ปี 64 ชะลอตัว จากต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น และมีค่าใช้จ่ายพิเศษปรับโครงสร้างองค์กร แต่จะฟื้นตัวไตรมาสแรกปี 65 หลังจากบริษัทเริ่มเจรจาปรับขึ้นราคาวัตถุดิบกับลูกค้า จึงคาดกำไรปี 65 จะเติบโต 17% จากปีก่อน ตามยอดผลิตที่ฟื้นตัวตามอุตสาหกรรมและประสิทธิภาพการทำกำไรที่ดีขึ้น และ มองว่าหุ้น SAT น่าสนใจลงทุน ด้วยแนวโน้มผลประกอบการปี 65 ที่คาดว่าฟื้นตัวโดดเด่นกว่าอุตสาหกรรม คงคำแนะนำ “ซื้อ” ให้มูลค่าพื้นฐานปี65 ที่ 28.00 บาท อิง PE เฉลี่ย 5 ปีที่ 10.7x Upside 16% จากราคาปัจจุบันและคาด Yield จากปันผลปีนี้ที่ 5%

ขณะที่ผู้บริหาร SAT คงเป้าผลิตรถ 1.65-1.7 ล้านคัน SAT จะโตดีกว่าอุตสาหกรรม แม้ว่าไทยจะเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างหนัก กระทบตลาดรถยนต์ในประเทศ แต่ตลาดส่งออกรถยนต์ไทยยังแข็งแกร่ง คำสั่งซื้อของลูกค้าค่ายรถยนต์ยังสูง ทำให้คงเป้าหมายผลิตรถยนต์ปีนี้ 1.65-1.7 ล้านคัน หรือโต 15-20% โดย SAT จะโตได้ดีกว่าอุตสาหกรรมรถยนต์เพราะ ได้รับคำสั่งซื้อใหม่ 300 ล้านบาทและลูกค้า Kubota ที่เติบโตดี แต่ราคาเหล็กที่ปรับขึ้น ประเมินอัตรากำไรขั้นต้นครึ่งปีหลังจะลดลงจากครึ่งปีแรก แต่ SAT ทยอยปรับราคาขายเพื่อสะท้อนราคาเหล็กที่ปรับขึ้น อีกทั้งยังได้รับคำสั่งซื้อใหม่เพลาข้างไปสหรัฐฯเข้ามาเสริม ปรับประมาณยอดขายและกำไรปี64 เพิ่มขึ้น 4% และ 7% ตามลำดับ คาดปี 64 ยอดขายจะฟื้นตัว 8,380 ล้านบาท โต 43% และ มีกำไร 1,030 ล้านบาทหรือ โต 178% ทำสถิติสูงสุดใหม่

 STANLY รับออเดอร์อื้อ กำไรโตเด่น 

 บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) แนะนำ "ซื้อ" หุ้น STANLY ราคาเป้าหมาย 217 บาทต่อหุ้น คาดกำไรไตรมาส 3 ปี 64/65 ฟื้นตัวเด่นเมื่อเทียบไตรมาสก่อน ตามอุตสาหกรรม ผลิตรถยนต์ปี 65/66 เติบโตต่อเนื่อง 9% เทียบปีก่อน จากประเด็นปัญหาขาดแคลนชิปที่คลี่คลาย ยอดขายรถในประเทศกลับมาเติบโต และมีมุมมองบวกต่อประเด็น EV ซึ่ง STANLY เป็นหนึ่งในบริษัทที่ไม่ถูก disruptionในชิ้นส่วน และมีโอกาสได้ออเดอร์มากขึ้น จึงมองว่าหุ้น STANLY น่าสนใจ คาดผลประกอบการ มีแนวโน้มฟื้นตัวดีต่อเนื่อง ระยะยาวยังมองประเด็น EV เป็นบวกต่อบริษัท คงคำแนะนำ “ซื้อ” คงมูลค่าพื้นฐานงวดปี64/65 (สิ้นสุด มี.ค.65) อิง PE เฉลี่ย 5 ปีของ STANLY ที่ 11.5x เท่ากับ 217 บาท

 บล.ฟิลลิป แนะนำ "ซื้อ" STANLY ราคาเป้าหมาย 232 บาทต่อหุ้น คาดกำไรไตรมาส 3 ปี 65 โตเด่น หลังโควิด-19 คลี่คลาย หนุนอุตฯ ยานยนต์ฟื้นตัวทางฝ่ายคาด STANLY จะประกาศกำไรที่เติบโตเด่น 54.3% เทียบไตรมาสก่อนแต่ลดลง 4.2% เทียบปีก่อน ผลจากรายได้จากการขายที่ขยายตัว สอดคลล้องกับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกและการขาดแคลนชิพคลี่คลาย ทำให้บริษัททำการส่งมอบสินค้าได้ตามปกติ ส่งผลดีต่อ GPM ที่คาดปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 19.0% หลังอัตราการใช้กำลังการผลิต (U-Rate) เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการประหยัดต่อขนาด อีกทั้ง STANLY มีจุดแข็งตั้งแต่ออกแบบโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาของบริษัท, การผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยและประสิทธิภาพสูง ควบคู่กับพันธมิตรภายในเครือของบริษัทแม่ซึ่งมีทั้งในญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ทำให้ทางฝ่ายคาด STANLY จะมีโอกาสและได้เปรียบมากกว่าบริษัทอื่นๆ ที่ประกอบธุรกิจเดียวกัน

ประเมินครึ่งหลังปี 65 ของ STANLY คาดมีโอกาสเติบโตดีกว่าครึ่งปีแรก แนวโน้มกำไรไตรมาส 3 ปี 65 ที่คาดว่าจะออกมาดี และดีต่อเนื่องในไตรมาส 4 ส่งผลต่อการปรับประมาณกำไรสุทธิปี 65 ขึ้นเป็น 1,532 ล้านบาท (จากเดิม 1,419 ล้านบาท) เติบโต 44.3% จากปีก่อน และคาดโตต่อ 10.5% ใน ปี 66 เป็น 1,693 ล้านบาท พร้ อมปรับไปใช้ราคาพื้นฐานปี 66 ที่ 232.00 บาท






กำลังโหลดความคิดเห็น