xs
xsm
sm
md
lg

AMR เข้าคำนวณ FTSE มีผล 17 ธ.ค.นี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"เอเอ็มอาร์ เอเซีย" ถูกดึงเข้าคำนวณ FTSE SET Index ในกลุ่ม Micro Cap มีผลวันที่ 17 ธ.ค.นี้ ตอกย้ำปัจจัยพื้นฐานแกร่ง นักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ เตรียมเพิ่มน้ำหนักลงทุน ฟาก “มารุต ศิริโก” มั่นใจผลงาน Q4/64 โตแกร่ง ชูธงปี 65 รายได้โต 40% พร้อมลุยประมูลงานใหม่มูลค่ากว่า 5.2 หมื่นล้านบาท เตรียมทุ่มงบ 1-2 พันล้านบาท ลุยโปรเจกต์ Feeder Line, Smart City และ EV Charging Station หวังสร้างรายได้ประจำ ดันผลงานเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ

นายมารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) (AMR) ผู้นำด้านวิศวกรรมออกแบบและเชื่อมต่อระบบไอทีโซลูชัน (System Integrator : SI) ครบวงจรรายแรกของไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกจาก FTSE SET Index เข้าคำนวณในกลุ่ม Micro Cap ซึ่งเป็นดัชนีหลักทรัพย์ระดับนานาชาติ มีผลตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2564 ถือเป็นตอกย้ำให้เห็นว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วไป นักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจาก FTSE เป็นองค์กรที่ได้รับความน่าเชื่อถือระดับโลก ทั้งนี้ เนื่องจากมีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก หลังเข้าระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เพิ่มโอกาสในการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และได้รับการยอมรับจากคู่ค้าทั้งในและต่างประเทศ

สำหรับเกณฑ์ที่ FTSE นำมาใช้ในการคำนวณ และคัดเลือกหลักทรัพย์ที่จะถูกคำนวณรวมในดัชนี FTSE SET นั้นจะต้องผ่านเกณฑ์สภาพคล่องของจำนวนหุ้นที่มีการซื้อขายรายวันในแต่ละเดือนไม่ต่ำกว่า 0.05% ของจำนวนหุ้นที่ซื้อขายได้ในระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 เดือน จาก 12 เดือน ก่อนวันที่พิจารณาทบทวนรายชื่อดัชนีในแต่ละรอบ โดยต้องผ่านเกณฑ์การกระจายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นรายย่อยมากกว่า 15% ขึ้นไป

"การที่ AMR ได้รับคัดเลือกจาก FTSE SET Index เข้าคำนวณในกลุ่ม Micro Cap จะทำให้หุ้น AMR ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเพิ่มขึ้น และเป็นหุ้นที่อยู่ในโฟกัสของนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ ในเรื่องของปัจจัยพื้นฐานของบริษัทฯ เรามั่นใจว่ามีความแข็งแกร่งอย่างยิ่ง โดยภาระหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับต่ำ ขณะเดียวกัน มีกระแสเงินสดในมือที่พร้อมจะลงทุนได้ทันทีที่เห็นว่าเป็นโครงการที่มีศักยภาพในการสร้างกำไรและอัตราผลตอบแทนที่ดี"

สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/64 คาดว่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากบริษัทฯ จะรับรู้รายได้จากงานในมือรอรับรู้รายได้ (Backlog) อีกประมาณ 400-500 ล้านบาท อีกทั้งยังมีงานใหม่ที่รอลงนามเพิ่มอีก 600-700 ล้านบาท ผลักดัน Backlog สำหรับสิ้นปี 2564 อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท ส่วนผลการดำเนินงานในงวด 9 เดือนที่ผ่านมามีกำไรสุทธิ 149.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.4% จากปีก่อน โดยเป็นผลจากความสามารถทำกำไรขั้นต้นที่เพิ่มสูงขึ้นเป็น 29.6% จากอัตรา 22.4% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และยังสามารถลดต้นทุนคงที่ของธุรกิจลงได้ในอัตรา 2.5% เมื่อเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

กรรมการผู้จัดการ AMR กล่าวอีกว่า แผนการดำเนินงานในปี 2565 บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้เติบโต 40% หรือคิดเป็นมูลค่า 2,000-2,500 ล้านบาท เนื่องจากคาดว่าการรับรู้รายได้ธุรกิจงานประมูลจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น หลังจากมีงานที่อั้นในปีนี้ออกมาจำนวนมาก โดยในปีหน้าบริษัทฯ เตรียมจะเข้าประมูลงานใหม่มูลค่าประมาณ 52,000 ล้านบาท ซึ่งคาดหวังจะได้รับงานใหม่ไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 ล้านบาท อีกทั้งจะเริ่มรับรู้รายได้จากธุรกิจที่มีรายได้ประจำและธุรกิจพลังงานมากขึ้น

นอกจากนี้ AMR ยังเตรียมงบลงทุนปีหน้าไว้ประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาท สำหรับใช้ขยายการลงทุนโครงการใหม่ๆ เช่น ธุรกิจพลังงานทดแทน การให้บริการเคเบิลคาร์เพื่อการท่องเที่ยว และระบบสาธารณูปโภค เพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้ประจำ (Recurring Income) สนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพสร้างผลตอบแทนที่ดีให้ผู้ถือหุ้น

เนื้อหอม! กองทุน-ไพรเวทฟันด์-วีไอ รุมจีบ

“ปรินทร์ธรณ์” ตัดใจยอดขาย Big Lot 39.5 ล้านหุ้น ให้สถาบัน 12 ราย

มั่นใจเป็นพันธมิตรลงทุนระยะยาว-ก้าวสู่ปี 2570 รายได้ทะลุ 7 พันลบ.

SFLEX สุดฮอต! กองทุน-ไพรเวทฟันด์-วีไอ รุมจีบ พร้อมเจรจาขอซื้อ Big Lot จำนวน 39.5 ล้านหุ้น ฟากบิ๊กบอส “ปรินทร์ธรณ์ อภิธนาศรีวงศ์” ตัดใจยอมขายให้สถาบัน 12 ราย มั่นใจเป็นพันธมิตรลงทุนระยะยาว เพราะเชื่อมั่นศักยภาพการเติบโต หลังเข้าเยี่ยมชมกิจการ และรับฟังแผนธุรกิจมุ่งสู่เป้าหมายปี 2570 รายได้แตะ 7 พันล้านบาท ส่วนดีลร่วมทุนกลุ่ม TU ไปได้สวยจะช่วยผลักดันการเติบโต พร้อมเดินหน้าสร้างผลงานออลไทม์ไฮต่อเนื่อง

นายปรินทร์ธรณ์ อภิธนาศรีวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน) (SFLEX) ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อนชั้นนำในประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ได้ทำรายการขายหุ้นผ่านระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์บนกระดานใหญ่ (Big Lot) ให้กับกลุ่มกองทุน ไพรเวท ฟันด์ และกลุ่มนักลงทุนวีไอ ประมาณ 12 ราย จำนวน 39,500,000 หุ้น หรือคิดเป็น 4.82% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด

“กลุ่มกองทุนไพรเวทฟันด์ และนักลงทุนวีไอ ได้ให้ความสนใจในธุรกิจของ SFLEX โดยเข้ามาเยี่ยมชมธุรกิจและรับฟังบรรยายข้อมูลแผนการดำเนินธุรกิจเพิ่มเติม ภายหลังจากที่บริษัทฯ มีการเปิดแผนธุรกิจในปี 2570 สู่เป้าหมายรายได้ 7 พันล้านบาทโดยการขยายธุรกิจให้ครอบคลุมและสนับสนุนธุรกิจหลัก และการประสบความสำเร็จจากการร่วมตั้งบริษัทบรรจุภัณฑ์กับกลุ่ม TU ประกอบกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาบริษัทฯ มีการเติบโตในทุกมิติทั้งด้านรายได้และกำไรที่สามารถสร้างตัวเลขสูงสุดได้ นอกจากนี้ เชื่อมั่นว่ากลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ล้วนเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพทางการเงินที่แข็งแกร่ง ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะเป็นพันธมิตรที่เข้ามาถือหุ้นในระยะยาว” นายปรินทร์ธรณ์ กล่าว

อนึ่ง สำหรับผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน บริษัทฯ มีรายได้รวม 1,318.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 275.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.4% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนมีรายได้รวม 1,043.3 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิ 120.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.2 ล้านบาท หรือ 17.8% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 102.4 ล้านบาท


กำลังโหลดความคิดเห็น