ธนาคารเกียรตินาคินภัทรและบริษัทย่อย (KKP) แจ้งกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 2/2564 เท่ากับ 1,354 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ14.4 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปีก่อนหน้า ส่วนครึ่งแรกของปี 2564 ธนาคารมีกำไรสุทธิเท่ากับ 2,817 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 จากครึ่งแรกของปี 2563 โดยธนาคารยังคงสามารถรักษาผลการดำเนินงานได้ในระดับที่ดีจากการที่ธนาคารได้มุ่งเน้นการเสริมสร้างธุรกิจหลักด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้มีการกระจายรายได้อย่างเหมาะสม โดยไตรมาส 2/2564 ธนาคารมีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ รวมถึงรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.9 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในด้านของค่าใช้จ่ายธนาคารยังคงสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้อตัราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้สุทธิอยู่ที่ร้อยละ 39.2 ปรับลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ในส่วนของการตั้งสำรองธนาคารยังคงอาศัยหลักความระมัดระวังในการพิจารณาสำรองผลขาดทุนดา้นเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดไตรมาส 2/2564 โดยได้ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสำหรับไตรมาส 2/2564 เป็นจำนวน 1,378 ล้านบาท ซึ่งยังคงอยู่ในระดับที่สูงเพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น
พร้อมกันนั้น ธนาคารยงัคงดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบอย่างต่อเนื่อง โดยทางด้านการขยายตัวของสินเชื่อธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการรักษาคุณภาพของสินเชื่อและมุ่งเน้นการขยายสินเชื่อในกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและมีคุณภาพ
ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่ โดยไตรมาส 2/2564 สินเชื่อรวมของธนาคารมีการขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 จากสิ้นปี2563 โดยหลักมาจากการขยายตัวในส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อบรรษัท ในด้านคุณภาพของสินเชื่ออัตราส่วนสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาส 2/2564 ที่ร้อยละ 3.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.2 เมื่อสิ้นไตรมาส 1/2564 และมีอัตราส่วนสำรองต่อสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต ณ สิ้นไตรมาส 2/2564 ที่ร้อยละ160.1
นอกจากนี้ ธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือลูกค้าผ่านมาตรการต่างๆ และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ในระหว่างไตรมาส 2/2564 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่กลับมาระบาดเพิ่มมากขึ้น ธนาคารยังคงมีลูกค้สที่ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมทั้งในส่วนของลูกค้าสินเชื่อรายย่อย และลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ แต่โดยรวมแล้วปริมาณลูกค้าที่ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมมีจำนวนที่ไม่มาก โดยในส่วนของลูกค้าสินเชื่อธุรกิจมีบางรายที่อยู่ระหว่างการเข้าร่วมในโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการในส่วนของธุรกิจโรงแรม และอพาร์ตเมนต์ ซึ่งยังคงตอ้งการความช่วยเหลือระยะยาวเพื่อที่จะให้สามารถฟื้นตัวได้จากกิจกรรมทางการท่องเที่ยว ในส่วนของลูกค้าสินเชื่อรายย่อยมีบางส่วนได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ซึ่งธนาคารได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิดเช่นกัน