บล.เอเซีย พลัส ประเมินแนวโน้มการลงทุนเดือนมีนาคมมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น สถานการณ์เริ่มผ่อนคลายรับวัคซีนโควิด-19 ที่คาดว่าจะเริ่มทยอยฉีดให้ประชาชน บวกกับจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่สามารถควบคุมให้อยู่ในกรอบที่จำกัดได้
ทิศทางหุ้นไทย
จากการที่เศรษฐกิจทยอยเริ่มฟื้นตัว อีกทั้งมีหลายปัจจัยที่คอยสนับสนุนให้ Fund Flow ต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องในระยะกลาง-ยาว ดังนั้น คงน้ำหนักหุ้นไทยไว้ที่ 40% (มากกว่าตลาด) กลยุทธ์เลือกหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่งที่ฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ เช่น PTT CPN MINT SPVI และหุ้นปันผลสูงอย่าง MCS SPALI ส่วนหุ้น Overvalue ที่ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน คือ DELTA และ OR
แนวโน้มการลงทุนต่างประเทศ
ขณะที่สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องทั่วโลก บวกกับวัคซีนที่มีการกระจายตัวในหลายประเทศ จนเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจชัดขึ้น โดยฝ่ายวิจัยฯ เพิ่มน้ำหนักหุ้นต่างประเทศ 5% เป็น 25% ของพอร์ตการลงทุน (Neutral) กลยุทธ์เน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว และธุรกิจยังเติบโตต่อเนื่องในปีหน้า 2565 อย่าง Blackrock Inc (BLK US) และ Walt Disney Co/The (DIS US)
การลงทุนในตราสารหนี้
จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ลดลง และการเดินหน้าฉีดวัคซีนของทั่วโลก กดดันให้ Fund Flow เริ่มไหลออกจากสินทรัพย์ปลอดภัยสะท้อนจาก Bond Yield โลกปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำจุดสูงสุดในรอบหลายเดือน ดังนั้น จึงลดน้ำหนักตราสารหนี้เหลือ 15% ของพอร์ตรวม เน้นตราสารหนี้ที่ Duration เฉลี่ยไม่เกิน 3 ปี และมี Rating ระดับ Investment Grade ขึ้นไป Top picks คือ CPNREIT232A และ CPALL256A
กลยุทธ์การลงทุน
จากสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยพิจารณาค่าเฉลี่ยยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลก ปัจจุบันเดือน ก.พ.2564 มีจำนวน 4.09 แสนราย ลดลงเมื่อเทียบกับ 6.30 แสนรายในเดือน ม.ค.2564 รวมถึงไทยควบคุมได้ดีเช่นกัน อีกทั้งปัจจุบันเริ่มเห็นความคืบหน้าของวัคซีนมากขึ้นในฝั่งเอเชีย สะท้อนจากช่วงกลางเดือน ก.พ.2564 ที่ผ่านมา หลายประเทศในเอเชียเริ่มเดินหน้าฉีดวัคซีนกันมากขึ้น เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฮ่อ งกง และไทยที่วัคซีนชุดแรกจะเริ่มต้นฉีดช่วงปลายเดือน ก.พ. หรือต้น มี.ค.2564 และตั้งเป้าว่าในปี 2564 จะฉีดวัคซีนฟรีให้ประชาชนไม่น้อยกว่า 63 ล้านโดส หนุนเศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวกลับอีกครั้ง บวกกับยังมีแรงขับเคลื่อนจากหลายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่อัดฉีดเม็ดเงินก้อนใหญ่เข้ามาในช่วงเดือน มี.ค.
นอกจากนี้ แนวโน้ม Fund Flow ในเดือน มี.ค.64 ยังมีหลายปัจจัยหนุนมห้ไหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้นไทย คือ 1) สภาพคล่องส่วนเกินที่ล้นระบบ สังเกตได้จากมูลค่าการซื้อ ขายเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และยอดการเปิดบัญชีซื้อ ขายหุ้นเร่งตัวขึ้นอย่างมีนัย 2) Bond Yield ของไทยที่ขยับขึ้น ต่อเนื่อง เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ จนล่าสุดอยู่ที่ 1.62% แสดงให้เห็นถึงเม็ดเงินเริ่มไหลออกจากสินทรัพย์ปลอดภัย และมีโอกาสไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงในระยะถัดไป 3) การฉีดวัคซีนที่กระจายตัวมากขึ้นต่อจากนี้ บวกกับตลาดหุ้นไทยยัง Laggard กว่าตลาดหุ้นอื่นๆ เมื่อวัดจากจุดสูงสุดก่อนเกิดโควิด-19 ทำให้ต่างชาติมีโอกาสกลับมาสนใจหุ้นไทยมากขึ้น
ขณะที่กำไรบริษัทจดทะเบียนงวด 4Q63 Downside ค่อนข้างจำกัด จากการรับมือโควิด-19 ระลอก 2 ได้ดีกว่าที่คาด รวมถึงน่าจะเห็นการเติบโตก้าวกระโดด YoY ในงวด 1Q64 จากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า หนุนกำไรทั้งปี 2564F ยังมีโอกาสฟื้นตัวมากกว่า 30% (สูงเป็นลำดับต้นๆ ในภูมิภาค) ขณะที่ Valuation ของตลาด ณ ปัจจุบัน มี Market Earning Yield Cap สูงถึง 3.9% ถือเป็นระดับที่น่าสนใจในการเข้าสะสมหุ้น โดยฝ่ายวิจัยยังคงประเมินเป้าหมายดัชนีปี 2564 ไว้ที่ 1646 จุด
กลยุทธ์เลือกหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่งที่มีโอกาสฟื้นตัวได้ดีกว่าตลาดในปี 2564 แนะนำ PTT, CPN, MINT, SPVI รวมถึงควรมีหุ้นปันผลติดพอร์ตเพื่อลดความผันผวนหรือความเสี่ยงจากต่างประเทศ แนะนำ SPALI, MCS ในทางตรงกันข้ามหุ้นที่ขยับขึ้นมาแรงจนเกินมูลค่าทางพื้นฐาน อย่าง DELTA, OR ต้องระมัดระวังในการซื้อขาย หรือเก็งกำไร