xs
xsm
sm
md
lg

ส่องงบโค้งท้ายปี 63 "SCC-SCGP" กำไรโตโดดเด่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



โบรกเกอร์ส่องงบโค้งสุดท้ายปี 64 หุ้น SCC-SCGP แม่-ลูกกลุ่มปูนใหญ่ ก่อนประกาศงบสัปดาห์หน้า คาด SCC กำไร 8.8-8.9 พันล้านบาท เติบโต 24-25% เหตุได้รับประโยชน์จากการปรับเกณฑ์ฟรีโฟลตคำนวณดัชนี แถมมีลุ้นปันผลงวดครึ่งปีหลัง 8.50 บาท ขณะที่ SCGP คาดกำไร 1.1-1.6 พันล้านบาท จับตาซื้อกิจการ Go-Pak และ SOVI ดันกำไรพุ่ง 8%

สัปดาห์หน้า (25-29 ม.ค.) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC และบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP จะประกาศผลประกอบการไตรมาส 4/63 เพราะฉะนั้นจึงได้รวบรวมความเห็นจากโบรกเกอร์ โดยประเมินว่าทั้ง 2 บริษัทจะรายงานกำไรสุทธิเติบโตโดดเด่น

หยวนต้าคาด SCC กำไรโค้งท้ายโต 25% ปันผล 8.5 บาท

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หยวนต้า (ประเทศไทย) คาดว่า SCC มีกำไรสุทธิ 4Q63 ที่ 8.9 พันล้านบาท เติบโต +25% YoY แม้มีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานปิโตรเคมี MOC เป็นเวลา 45 วัน อย่างไรก็ตาม Spread Margin ธุรกิจปิโตรที่เร่งตัวขึ้นเพียงพอที่จะชดเชยผลกระทบ และคาดว่า SCC จะจ่ายเงินปันผลช่วงครึ่งปีหลังหุ้นละ 8.50 บาท ให้ผลตอบแทน หรือ Yield 2.2%

นอกจากนี้ SCC ได้ประโยชน์จากเกณฑ์ใหม่ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หากมีการนำ Free Float มาคำนวณร่วมกับ Market Cap ในการคำนวณดัชนี คาดว่าจะส่งผลให้ SCC มีน้ำหนักในดัชนี SET50 เพิ่มขึ้นราว 1.5% แนะสะสม SCC ให้แนวต้านทางเทคนิค 395.00 บาท

เอเซียพลัสคาดกำไรโต 24% อยู่ที่ 8.81 พันล้านบาท แนะนำซื้อ

ด้าน บล.เอเซียพลัส คาดการณ์กำไรสุทธิ SCC 4Q63 ที่ 8,816 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24%YoY แม้จะมีการหยุดซ่อมบำรุงโรงงาน MOC ซึ่งเป็นปิโตรเคมีต้นน้ำ ทำให้รายได้รวมลดลง 13%YoY แต่ชดเชยได้จาก Spread ผลิตภัณฑ์หลักที่เพิ่มขึ้นมาก บวกกับกำไรจากธุรกิจ Packaging ที่ฟื้นตัวจากฐานต่ำในปีก่อน โดยรวมยังแนะนำซื้อ เชื่อว่ากำไรที่จะกลับมาเติบโตเด่นในช่วงหลายปีข้างหน้า บวกกับ Fund flow ต่างชาติที่เริ่มกลับมาซื้อหุ้น SCC นอกจากนี้ ราคาหุ้นจะได้ปัจจัยบวกจากการประกาศผลประกอบการในอนาคตแม้ว่าต้นทุนการดำเนินงานจะเพิ่มขึ้น

คาด SCGP รายงานกำไร 1.1-1.6 พันล้านบาท

สำหรับหุ้น SCGP (FV47.0) บล.เอเซียพลัส คาดกำไร 4Q63 เติบโตโดดเด่น 1.66 พันล้านบาท (+25%QoQ, +39%YoY) แรงหนุนจาก Demand กลุ่ม Food & Beverage และ FMCG ที่ฟื้นตัวได้ดีขึ้น QoQ โดยเฉพาะในไทยและเวียดนาม หนุนยอดขายเติบโต 4%QoQ

ส่วนปี 64 คาดยอดขายจะเติบโต 13.1%YoY ที่ 1.05 แสนล้านบาท ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ความต้องการกระดาษบรรจุภัณฑ์ กล่องลูกฟูก แนะนำซื้อลงทุนระยะยาว แต่ระยะสั้นควรให้ราคาย่อตัวลงมาก่อน

บัวหลวงคาด SCGP กำไรโค้งท้ายลดลง 3%YoY - 13%QoQ

ด้าน บล.บัวหลวง คาด SCGP มีกำไร 4Q20 ที่ 1.16 พันล้านบาท (ลดลง 3%YoY และ 13%QoQ) ขณะที่กำไรหลักคาดที่ 1.06 พันล้านบาท (ลดลง 5%YoY และ 23%QoQ) เพราะมีปัจจัยกดดันจากต้นทุนเศษกระดาษที่นำเข้าที่ปรับตัวขึ้นในไตรมาสนี้ ตามค่าขนส่งที่พุ่งขึ้น ซึ่งเราปรับกำไรปี 2020 ลง 4% เป็น 6.1 พันล้านบาท

อย่างไรก็ดี คาดกำไรจะฟื้นตัวขึ้น QoQ ใน 1Q21 เพราะอุปสงค์โดยรวมยังคงแข็งแกร่ง และปกติแล้วไตรมาส 1 จะเป็นฤดูกาลใช้บรรจุภัณฑ์ซึ่งจะหนุนให้ปริมาณการขายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เราทำการคำนวณว่า ถึงแม้อัตราค่าขนส่งยังคงสูงแบบนี้ต่อไปตลอดทั้งปี (ซึ่งเราไม่คาดว่าจะเป็นไปได้) ประมาณการกำไรมี downside เพียง 13% เท่านั้น และยังสามารถเห็นกำไรที่เตอบโต YoY ได้อยู่ คงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 48 บาท

กิมเอ็งประเมินซื้อ Go-Pak และ SOVI ดันกำไรเพิ่ม 8%

บล.เมย์แบงก์กิมเอ็ง (ประเทศไทย) คาด SCGP เข้าซื้อกิจการ Go-Pak (100%) และ SOVI (94%) ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ในเวียดนาม มูลค่ารวม 7-8 พันล้านบาท จะช่วยเพิ่มยอดขาย 5% และกำไร 8.1% จะส่งผลให้ SCGP สามารถขยายฐานลูกค้าในกลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าอุปโภคบริโภค อีกทั้งเป็นการเพิ่มสัดส่วนการบูรณาการในแนวตั้งกับโรงงานกระดาษบรรจุภัณฑ์ เงินจาก IPO 4 หมื่นล้านบาท และหุ้นกู้อีก 4 หมื่นล้านบาท

อนาคตจะเห็น M&P มากขึ้น คาดการณ์กำไรสุทธิปี 63-65 โดยเฉลี่ยจะเติบโต 20% CAGR คงคำแนะนำซื้อ เป้าหมาย 48 บาท อิงเป้าหมาย PE ปี 64 ที่ 25.6 เท่า โดยถ่วงน้ำหนักด้วย Forward PE เฉลี่ย 5 ปี ของกลุ่มพาณิชย์ (69%) และบรรจุภัณฑ์ (31%)

ทิสโก้ปรับกำไร 2021-22F ขึ้น 8%

บล.ทิสโก้ วิเคราะห์หุ้น SCGP โดยปรับกำไรสุทธิ 2021-22F ขึ้นอีก 8% และมีมูลค่าเหมาะสมที่ 51 บาท (จาก 47 บาท) การประมาณการปัจจุบันของเราสูงกว่า consensus อยู่ 10% การประเมินมูลค่าของเรามาจาก EV/EBITDA ที่ 12.5x, ในช่วง 6.7-15.0x ของคู่แข่งกลุ่มแพกเกจจิ้งทั่วโลก (ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 10.4x, หรือ 11.0x เช่น คู่แข่งในญี่ปุ่น ยังคงแนะนำให้ “ซื้อ” ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ สภาพเศรษฐกิจถดถอย และการแกว่งตัวของราคาสินค้า และปัจจัยการผลิตต่างๆ


กำลังโหลดความคิดเห็น