ตลท.เผยภาพรวมการลงทุนในเดือนตุลาคม 2563 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาปรับตัวดีกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งมีความกังวลเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา และเกรงจะเกิด Lock Down รอบ 2 ใน EU แต่ SET Index ปรับตัวทิศทางตรงข้ามกับดัชนีของตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาค ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ
นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2563 SET Index ปิดที่ 1,194.95 จุด ลดลง 3.4% จากเดือนก่อน และปรับลดลง 24.4% จากสิ้นปีก่อน อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับ MSCI ASEAN อย่างไรก็ดี SET Index ที่ปรับลดลงทำให้อัตราส่วน P/E ratio ปรับลดลงมาใกล้เคียงกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาค อีกทั้งอัตราเงินปันผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2563 อยู่ที่ระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชีย
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณารายอุตสาหกรรมเทียบกับสิ้นปี พบว่า หลายอุตสาหกรรมปรับตัวดีกว่า SET Index โดยเฉพาะในหมวดธุรกิจที่มีความเชื่อมโยงกับการส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น หมวดของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ หมวดธุรกิจการเกษตร และหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนของมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันรวมใน SET และ mai ในเดือนตุลาคม 2563 อยู่ที่ 53,269 ล้านบาท ทำให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันรวมอยู่ที่ 63,417 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ mai Index ทำสถิติสูงสุดในปี 2563 ที่ 327.12 จุด (7 ต.ค.) ก่อนปิดที่ 309.56 จุด ณ สิ้นเดือนตุลาคม
ขณะเดียวกัน ในเดือนนี้ผู้ลงทุนในประเทศมีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายสูงสุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 โดยผู้ลงทุนต่างชาติยังมีสถานะเป็นผู้ขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง โดยใน 10 เดือนแรกของปี 2563 ขายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ไทยกว่า 2.98 แสนล้านบาท ในขณะที่ผู้ลงทุนกลุ่มอื่นเป็นผู้ซื้อสุทธิ นอกจากนี้เดือนตุลาคม 2563 มีกิจกรรม IPO อย่างต่อเนื่อง โดยมีบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายใหม่ใน SET 4 บริษัท ใน mai 5 บริษัท ทำให้ใน 10 เดือนแรกของปี 2563 SET มีมูลค่าระดมทุน (IPO) สูงที่สุดเมื่อเทียบกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ใน ASEAN
ทั้งนี้ ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2563 SET Index ปิดที่ 1,194.95 จุด ลดลง 3.4% จากเดือนก่อน และปรับลดลง 24.4% จากสิ้นปีก่อน อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับ MSCI ASEAN โดยเมื่อพิจารณารายอุตสาหกรรมเทียบกับสิ้นปี พบว่า หลายอุตสาหกรรมปรับตัวดีกว่า SET Index โดยเฉพาะในหมวดธุรกิจที่มีความเชื่อมโยงกับการส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น หมวดของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ หมวดธุรกิจการเกษตร และหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันรวมใน SET และ mai ในเดือนตุลาคม 2563 อยู่ที่ 53,269 ล้านบาท ทำให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันรวมอยู่ที่ 63,417 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ mai Index ทำสถิติสูงสุดในปี 2563 ที่ 327.12 จุด (7 ต.ค.) ก่อนปิดที่ 309.56 จุด ณ สิ้นเดือนตุลาคม
ด้านผู้ลงทุนในประเทศในเดือนนี้มีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายสูงสุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 โดยผู้ลงทุนต่างชาติยังมีสถานะเป็นผู้ขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง โดยใน 10 เดือนแรกของปี 2563 ขายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ไทยกว่า 2.98 แสนล้านบาท ในขณะที่ผู้ลงทุนกลุ่มอื่นเป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่Forward และ Historical P/E ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 21.5 เท่า และ 20.7 เท่าตามลำดับ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 17.0 เท่า และ 18.2 เท่าตามลำดับ ส่วนอัตราเงินปันผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 อยู่ที่ระดับ 3.54% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 2.77%
ขณะที่ภาวะตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในเดือนตุลาคม 2563 ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 372,792 สัญญา ลดลง 13.8% จากเดือนก่อน โดยเป็นการลดลงในเกือบทุกประเภท ยกเว้น SET 50 Index Options อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 456,923 สัญญา เพิ่มขึ้น 9.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่เพิ่มขึ้นจาก SET50 Index Futures, Gold Online Futures และ Currency Futures