กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 31.00-31.40 ต่อดอลลาร์เทียบกับระดับปิดแข็งค่าที่ 31.32 ต่อดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1.7 พันล้านบาท แต่ซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 3.8 พันล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศจะมีน้ำหนักต่อกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายและ Sentiment ของค่าเงินบาทมากขึ้น แม้แนวโน้มภาพใหญ่จะยังคงถูกชี้นำจากท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และผลกระทบต่อเงินดอลลาร์ในตลาดโลก
โดยตลาดจะจับตาการประชุมธนาคารกลางหลายแห่ง นำโดย ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) วันที่ 15-16 ก.ย. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) วันที่ 16-17 ก.ย. และธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) วันที่ 17 ก.ย. รวมถึงการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) คนใหม่เพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น และการหารือภายในสหราชอาณาจักรเกี่ยวกับแนวทางการแยกตัวออกจากอียู หลังจากนายกรัฐมนตรีจอห์นสันของสหราชอาณาจักร วางแผนที่จะล้มเลิกข้อตกลงบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับไอร์แลนด์เหนือซึ่งเคยลงนามไว้กับสหภาพยุโรป (อียู) ในเดือนมกราคม
ทั้งนี้ ในช่วงกลางสัปดาห์นักลงทุนจะรอประเมินว่า เฟดจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับกรอบนโยบายไปสู่เป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยหรือไม่ ทั้งนี้ เป็นที่คาดการณ์โดยทั่วไปว่า เฟดจะปรับลดประมาณการดอกเบี้ย (Dot Plot) โดยส่งสัญญาณว่าดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ระดับต่ำต่อไปอีกราว 3 ปีเป็นอย่างน้อย กรณีเฟดสื่อสารเพิ่มเติมอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับกรอบนโยบายใหม่ รวมถึงความมุ่งมั่นที่จะกดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำมากเป็นเวลานาน เงินดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลง
อนึ่ง ในสัปดาห์ที่ผ่านมาธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจทำให้ตลาดผิดหวังเนื่องจากไม่ได้แสดงความกังวลอย่างชัดเจนต่อการแข็งค่าของเงินยูโร แต่เรามองว่ายูโรที่แข็งค่าขึ้นได้เพิ่มแรงกดดันด้านเงินฝืดและอีซีบีอาจจำเป็นต้องดำเนินมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติมในอนาคต หลังจากที่ประกาศคงดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ -0.5% ขณะที่ความไม่แน่นอนเรื่อง Brexit กลับมากดดันค่าเงินปอนด์อีกครั้ง ภาวะเช่นนี้อาจจำกัดแรงขายเงินดอลลาร์ได้เช่นกัน
โดยตลาดจะจับตาการประชุมธนาคารกลางหลายแห่ง นำโดย ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) วันที่ 15-16 ก.ย. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) วันที่ 16-17 ก.ย. และธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) วันที่ 17 ก.ย. รวมถึงการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) คนใหม่เพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น และการหารือภายในสหราชอาณาจักรเกี่ยวกับแนวทางการแยกตัวออกจากอียู หลังจากนายกรัฐมนตรีจอห์นสันของสหราชอาณาจักร วางแผนที่จะล้มเลิกข้อตกลงบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับไอร์แลนด์เหนือซึ่งเคยลงนามไว้กับสหภาพยุโรป (อียู) ในเดือนมกราคม
ทั้งนี้ ในช่วงกลางสัปดาห์นักลงทุนจะรอประเมินว่า เฟดจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับกรอบนโยบายไปสู่เป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยหรือไม่ ทั้งนี้ เป็นที่คาดการณ์โดยทั่วไปว่า เฟดจะปรับลดประมาณการดอกเบี้ย (Dot Plot) โดยส่งสัญญาณว่าดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ระดับต่ำต่อไปอีกราว 3 ปีเป็นอย่างน้อย กรณีเฟดสื่อสารเพิ่มเติมอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับกรอบนโยบายใหม่ รวมถึงความมุ่งมั่นที่จะกดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำมากเป็นเวลานาน เงินดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลง
อนึ่ง ในสัปดาห์ที่ผ่านมาธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจทำให้ตลาดผิดหวังเนื่องจากไม่ได้แสดงความกังวลอย่างชัดเจนต่อการแข็งค่าของเงินยูโร แต่เรามองว่ายูโรที่แข็งค่าขึ้นได้เพิ่มแรงกดดันด้านเงินฝืดและอีซีบีอาจจำเป็นต้องดำเนินมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติมในอนาคต หลังจากที่ประกาศคงดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ -0.5% ขณะที่ความไม่แน่นอนเรื่อง Brexit กลับมากดดันค่าเงินปอนด์อีกครั้ง ภาวะเช่นนี้อาจจำกัดแรงขายเงินดอลลาร์ได้เช่นกัน