xs
xsm
sm
md
lg

ธอส.เตรียมเสนอบอร์ดฯ ลดเป้าสินเชื่อรวม 20% เหตุยังมีความกังวลถึงผลกระทบจากโควิด-19

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"ฉัตรชัย" เผย 5 เดือน ธอส. ปล่อยกู้ได้ 8.2 หมื่นล้านบาท แต่เตรียมเสนอบอร์ด ธอส. 25 มิ.ย.นี้ ปรับลดตัวเลขการปล่อยสินเชื่อรวมในปี 63 เหลือ 1.7 แสนล้านบาท หรือลดลง 20% จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.1 แสนล้านบาท เหตุยังห่วงผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ขณะที่หนี้เสียขยับขึ้นมาอยู่ที่ 4.7% เทียบจากสิ้นปี 62 ที่เคยอยู่ 3.9% ชี้ส่วนใหญ่เกิดจากกลุ่มลูกค้าที่เข้าร่วมกับมาตรการบรรเทาผลกระทบไวรัสโควิด-19 ของธนาคารฯ ได้ไม่ทันตามเวลาที่กำหนด

ธอส. เล็งชงบอร์ดขอลดเป้าปล่อยสินเชื่อเหลือ 1.7 แสนล้านบาท 25 มิ.ย.นี้ ชี้ 5 เดือนแรก ปล่อยสินเชื่อทะลุ 8.2 หมื่นล้านบาท แต่กังวลช่วงโควิด-19 คาดเดือนหน้า ครม. ไฟเขียวลดนำส่งเงินเข้ากองทุน SFIF พร้อมลดดอกเบี้ย MRR อุ้มลูกค้า


นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า การปล่อยสินเชื่อของธนาคารฯ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 63 ว่า จะมีทั้งสิ้น 8.2 หมื่นล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากมาตรการของรัฐบาลที่ส่งผลให้ ธอส. ปรับลดดอกเบี้ยใหต่ำลงเหลือ 1.99% ซึ่งทำให้ธนาคารฯ สามารถปล่อยสินเชื่อช่วงเดือน พ.ค. ได้กว่า 1.5 หมื่นล้านบาท และมีสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 1.246 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการให้สินเชื่อตลอดปี 63 นั้น ธ.อ.ส. อาจต้องมีการปรับเป้าลงเหลือ 1.7 แสนล้านบาท จากเดิมที่เคยคาดการณ์ว่าจะปล่อยสินเชื่อได้ 2.1 แสนล้านบาท หรือเป็นการลดลงราว 20% ซึ่งการปรับลดเป้าดังกล่าวเป็นผลสืายเนื่อจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยในวันที่ประชาชนสมควรต้องได้รับการเยียวยา 25 มิ.ย.64 ธ.อ.ส.จะเสนอคณะกรรมการธนาคารฯ พิจารณาเพื่อเสนอให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รับทราบต่อไป

นายฉัตรชัย ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงการปรับลดสัดส่วนการนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIF) ลงเหลือ 0.125% จากปัจจุบันที่อยู่ที่ 0.25% ว่า หากในเดือนหน้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในเรื่องดังกลาวแล้ว จะทำให้ ธอส. มีต้นทุนลดลง และจะสามารถปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ย MRR ต่ำลงกว่าจากอัตราในปัจจุบันที่ 6.150% ได้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และประชาชนทั่วไปมีความสามารถในการกู้และผ่อนชำระได้ดีขึ้น

ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ในช่วง 5 เดือนหน้านั้น กรรมการผู้จัดการ ธอส. กล่าวว่า จะยู่ที่ 4.7% เพิ่มจากสิ้นปี 62 ที่เคยอยู่ 3.9% โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มลูกค้าที่ไม่สามารถเข้าร่วมกับมาตรการบรรเทาผลกระทบไวรัสโควิด-19 ของธนาคารฯ ได้ทันตามที่กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม ธอส. จะพยายามประคับประครองกลุ่มนี้ให้กลับมาเข้าสู่มาตรการของธนาคารฯ ต่อไป ทั้งนี้ ปัจจุบันมีลูกค้าของ ธอส. ได้เข้าร่วมกับมาตรการฯ ไปแล้วกว่า 4.1 แสนราย

กรรมการผู้จัดการ ธอส. ยังกล่าวด้วยว่า ภายใน 60 วันธนาคารฯ จะพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อให้ลูกค้าสามารถฝากเงินผ่านแอปได้ เพื่อรองรับสถานการณ์โควิด-19 โดยที่ผ่านมา มีจำนวนลูกค้าที่ใช้แอปดังกล่าวนี้มากถึง 1 แสนคน ดังนั้น จึงจะปรับให้แอปของ ธอส. สามารถรองรับสถานการณ์ดังกล่าวได้ รวมทั้งยังจะพัฒนาให้ลูกค้าข้าราชการที่พอร์ตสินเชื่อของ ธอส. ซึ่งมีอยู่ 40% จากจำนวนสินเชื่อทั้งหมด 1.22 ล้านล้านบาท สามารถกู้ได้โดยไม่ต้องส่งเอกสารทางการเงิน โดยธนาคารฯ จะมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลที่สามารถตรวจสอบได้เลย ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าเพิ่มขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น