จากกรณีที่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่าบริษัทลูกคือ บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ได้แสดงความจำนงค์ในการเข้าลงทุนในธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในประเทศเวียดนาม โดยอยู่ระหว่างดำเนินการซื้อหุ้นสามัญในสัดส่วนข้างมากของ Bien Hoa Packaging Joint Stock Company หรือ SOVI โดยลงทุนผ่านบริษัทกลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด หรือ TCG ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดย SCGP และ Rengo Company Limited ประเทศญี่ปุ่น ในสัดส่วน 70:30% ตามลำดับ
ขณะที่จุดประสงค์หลักที่ เอสซีจี แพคเกจจิ้ง เข้าไปลงทุนใน SOVI นั้นเนื่องจากเป็นบริษัทชั้นนำในด้านบรรจุภัณฑ์ธุรกิจปลายน้ำจากเยื่อและกระดาษ (Fiber-based packaging) ที่มีกำลังการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกอัตราเฉลี่ย 90,000 ตันต่อปีและมีกำลังการผลิตกล่องลามิเนท (Offset Laminated Packaging) ในระดับ 10,000 ตันต่อปีซึ่งมีโรงงานจำนวน 3 แห่งใกล้เมืองหลวงของประเทศเวียดนาม อีกทั้งยังมีลูกค้าหลักเป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค โดยในปี 2562 SOVI มีรายได้ประมาณ 1,703 พันล้านดอง (ประมาณ 73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2,350 ล้านบาท) และมีกำไรสุทธิหลังหักภาษีประมาณ 141 พันล้านดอง หรือประมาณ 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็นเงินบาทไทยประมาณ 195 ล้านบาท) โดยปัจจุบัน SOVI มีสินทรัพย์อยู่ที่ 905 พันล้านดอง หรือประมาณ 39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 1,249 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามจากผลของดีลการเข้าไปลงทุนดังกล่าว ทำให้ปิดตลาดหุ้นไทยวานนี้ (9 เมษายน 2563) พบมีการซื้อขายบิ๊กล็อต 18 หลักทรัพย์ 32 รายการ โดยในรายละเอียดนั้นพบว่า SCC มีมูลค่าสูงสุดถึง 235.43 ล้านบาท ในราคาเฉลี่ยหุ้นละ 306.24 บาท
กรุงศรี ฯ คาด ธุรกิจเคมีภัณฑ์ที่แข็งแกร่งจะช่วยชดเชยธุรกิจซีเมนต์
บล.กรุงศรีมองว่าผลประกอบกำไรในไตรมาสแรกของปี 2563 จะอยู่ที่ประมาณ 7.0พันล้านบาท (-1% qoq และ -40% yoy) โดยอัตรากำไรที่แข็งแกร่งในธุรกิจเคมีจะช่วยชดเชยธุรกิจปูนซีเมนต์ที่อ่อนแอลง เราคาดว่าความต้องการปูนซีเมนต์จะลดลง 6% yoy ในขณะที่ราคาขายจะอยู่ที่ระดับเดิมที่ 1,750-1,800บาท/ตัน ผู้บริหารยังอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะปิดโรงงาน MOC ในไตรมาสสองของปีนี้หรือไม่ ซึ่งน่าจะทราบผลในปลายเมษายน อย่างไรก็ตามยังคงคำแนะนำ ถือ ราคาเป้าหมายด้วยวิธี DCF ที่ 350บาท เทียบเท่า PE 14.3 เท่าของกำไรปี FY20F และให้ผลตอบแทนเงินปันผลที่ 3.5%
ธุรกิจเคมีภัณฑ์แข็งแกร่งขึ้น แต่ธุรกิจปูนซีเมนต์อ่อนแอลง
ทั้งนี้คาดว่า SCC จะมีกำไรสุทธิใน 1Q20 ประมาณ 7 พันล้านบาท -1%qoq และ -40%yoy โดยธุรกิจปิโตร ฯ ยังแข็งแกร่ง PE และ PP spreads เพิ่มขึ้นสู่ระดับ US$399/ตัน และ US$546/ตัน จาก US$301 and US$509 ในไตรมาส 4/2562 อย่างไรก็ตามบริษัทอาจมี Stock loss ประมาณ 765 ล้านบาทจากราคา naphtha ที่ลดลง (-US$100/t qoq) แต่ยังน้อยกว่าในไตรมาส 4/2562 ที่มี Stock loss 1.06 พันล้านบาท นอกจากนี้คาดว่าธุรกิจปูนซีเมนต์จะมีความต้องการลดลง 6% yoy จากการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลที่ล่าช้า และธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยที่อ่อนตัวลง (คิดเป็น50%ของความต้องการทั้งหมด) และการ lockdown ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคม ในขณะที่ราคาขายปูนซีเมนต์ใกล้เคียงไตรมาสที่แล้วที่ 1,750-1,800บาท/ตัน EBITDA margin ของธุรกิจปูนซีเมนต์จะเท่ากับไตรมาสที่แล้วที่ 10% จากราคาถ่านหินที่ลดลงซึ่ง SCC ได้ซื้อถ่านหินที่จำเป็นต้องใช้สำหรับปีนี้ไปแล้ว 50% (5ล้านตันต่อปี) ส่วนธุรกิจบรรจุภัณฑ์มีความต้องการที่แข็งแกร่งเพราะ 67% ของความต้องการอยู่ในสินค้าอุปโภคบริโภค และคาดว่าจะสร้างกำไรให้กับ SCC ในไตรมาส 1Q20F ราว 1.3 พันล้านบาท +5% qoq เติบโตจากธุรกิจอาหารและ e-commerce (คาด SCC ประกาศงบ 1Q20 ประมาณวันที่ 29 เม.ย.)
คงคำแนะนำ ถือ ราคาเป้าหมาย 350 บาท (DCFMethod)เราคงมุมมองบวกต่อผลประกอบการในระยะสั้น จากอัตรากำไร PE and PP ที่แข็งแกร่ง แต่ควรระวังในเรื่องวัฏจักรของอุตสาหกรรม อัตรากำไรที่ดีของเคมีภัณฑ์จะช่วยชดเชยผลจากการปิดซ่อมบำรุง MOC ใน 2Q20 ราคาเป้าหมาย 350 บาทต่อหุ้นนั้นเทียบเท่าPE 14.3 เท่าและผลตอบแทนเงินปันผลที่ 3.5
หยวนต้ามองแนวโน้มฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง แนะซื้อ ราคาพื้นฐาน 400 บาท
การที่ SCC จะตัดสินใจเรื่องการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน MOC ในปลายเดือนเมษายน ซึ่งดนัย ตุลยาพิศิษฐ์ชัย นักวิเคราะห์การลงทุนด้านหลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป ให้มุมมองในบทวิเคราะห์การลงทุนว่า SCC จะตัดสินใจว่าจะปิดซ่อมบำรุงโรงงาน (MOC) เป็นเวลา 45 วัน หรือไม่ในปลายเดือนนี้ (กำลังการผลิต ethylene 9แสนตันและ propylene 8 แสนตัน) โดยคาดว่าการปรับขึ้นของ HDPE และ PP spreads จากราคาวัตถุดิบ naphtha ที่ลดลงอาจจะไม่มั่นคงนัก เนื่องจากราคา HDPE และ PP ได้ลดลงด้วย US$80/t และ US$140/t qoq ในเดือนเมษายนไปสู่ US$760 และ US$824 ในขณะที่ราคา naphtha ลดลงจาก US$240/t ใน4Q19สู่ US$204/t ซึ่งทำให้ HDPE และ PP spreads เฉลี่ยอยู่ที่ US$556/t and US$620/t ในเดือนเมษายนจาก US$399/t and US$546/t ในไตรมาสแรกของปีนี้ ในด้านของกำลังการผลิตใหม่ ในปี 2563 จะมีกำลังการผลิตใหม่ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 3.7 ล้านตันและ 6.2 ล้านตัน จากกำลังการผลิตเดิมที่ 48.2 ล้านตัน และ 80 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 7% และ 7.5% ตามลำดับ เทียบกับการเติบโตของความต้องการอยู่ที่ระดับ 4% ต่อปี
อย่างไรก็ดีจากการที่กำไรในไตรมาสแรกของปี 63 ซบเซาลง เนื่องจากธุรกิจหลักอ่อนลงทั้งหมด โดยผลกระทบหลักที่เกิดขึ้น 1.ธุรกิจปิโตรเคมีได้รับผลลบจากเศรษฐกิจโลก และผลกระทบจาก COVID-19 กระทบอุปสงค์ แม้อุปทานมีการปิดตัวตามสภาวะตลาดและราคาน้ามันอ่อนลงช่วยลดต้นทุนแต่ยังมีผลลบจากขาดทุนคงคลัง Margin ต่ำกว่าไตรมาส 1/62 แต่ดีขึ้นจาก 4Q622) ธุรกิจปูนฯและวัสดุก่อสร้างยังอ่อนลงตามธุรกิจอสังหาฯขณะที่งบประมาณภาครัฐฯเพิ่มเข้ามากลางไตรมาส แม้ต้นทุนพลังงานอ่อนลง แต่ไม่อาจชดเชย 3. ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ได้รับผลกระทบน้อยแต่มีรายจ่ายการเงินเพิ่มจากการซื้อกิจการเมื่อปีก่อนทำให้ผลดำเนินงานยังต่ำกว่าไตรมาส 1/63 ทางฝ่ายจึงประเมินกำไรลดลง 32% y-y หวัง Momentum ดีๆในครึ่งหลังของปี 63
ขณะเดียวกันสถานการณ์ไตรมาส 2/63 ยังไม่น่าดีขึ้น เพราะปิดพื้นที่มากขึ้นในภูมิภาคและอาจมีปิดซ่อมบารุงคงต้องรอครึ่งหลังของปี 63 เพราะล่าสุดเริ่มคลี่คลาย คาดกำไรปีนี้ลดลง 8% ขณะที่มีแนวโน้มกลับมาในปี 64 สถานการณ์แย่น่าจะผ่านไปแล้ว
"ทางฝ่ายยังชอบ SCC ที่มีธุรกิจปูน ฯ และบรรจุภัณฑ์ลดความเสี่ยงปิโตรเคมี อีกทั้งผลลบ COVID-19 น่าจะดีขึ้นช่วยให้การดำเนินงานกลับมา คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาพื้นฐาน 400 บาท"
หยวนต้า มองผลประกอบการไตรมาสแรกปีนี้ลดลง แต่ยังประคองตัวได้ดีกว่าคู่แข่ง
บล.หยวนต้า คาดผลประกอบการไตรมาสแรกปี 63 ลดลง แต่ยังประคองตัวเทียบ QoQ ได้เราคาดไตรมาสแรกปี 63 จะมีกำไรสุทธิ 6.9 พันล้านบาท (-3% QoQ, -41% YoY) หากหักรายการพิเศษ (ขาดทุนสินค้าคงคลัง 1.6 พันล้านบาท) กำไรปกติที่ทำได้ 8.5 พันล้านบาท หดตัว-25% YoY จากส่วนต่างราคาปิโตรเคมีแต่หากเทียบกับไตรมาส 4/62 ผลประกอบการจะลดลงเล็กน้อย -1% QoQ เนื่องจากคาดว่าปัจจัยลบจากอุปสงค์ปิโตรเคมีที่อ่อนแอจากการปิดเมืองของจีนช่วงต้นปี,อุปสงค์บรรรจุภัณฑ์สินค้าคงทนได้รับผลกระทบจากการ Lockdown,และความล่าช้าของงบประมาณภาครัฐช่วงต้นปี จะสามารถชดเชยได้ด้วย 1. การเติบโตของอุปสงค์บรรจุภัณฑ์สินค้ากลุ่ม E-commerce, อาหาร, และสินค้าอุปโภคบริโภค (สัดส่วน 70% ของ Portfolio) ประการที่ 2.ส่วนต่างราคาปิโตรเคมีปรับตัวขึ้นจากต้นทุนวัตถุดิบ Naphtha ลดลงตามราคาน้ำมันดิบ โดย HDPE-Naphtha อยู่ที่ US$399/ตัน (+33% QoQ, -31% YoY) และ PP-Naphtha อยู่ที่ US$546/ตัน (+7% QoQ, -10% YoY) ประการที่ 3.ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า (ทุก 1 บาท/ดอลลาร์ มีผลต่อกำไร 2 พันล้านบาท/ปี) และประการที่ 4.การก่อสร้างโครงการเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังสามารถเดินหน้าได้ตามปกติยังมีความเสี่ยงในช่วงที่เหลือของปีหากกำไรปกติไตรมาส 1/63 เป็นไปตามคาด จะคิดเป็น 26% ของคาดการณ์ทั้งปี
"เราคงประมาณการกำไรปกติปี 2563 ที่ 3.3 หมื่นล้านบาท ลดลง -13% YoY ทั้งนี้ เราเห็น Downside จากผลประกอบการในช่วงที่เหลือของปี เนื่องจาก1.ส่วนต่างราคาปิโตรเคมีที่อยู่ระดับสูงในปัจจุบัน (HDPE-Naphtha ที่ US$560/ตัน) อาจเป็นการฟื้นตัวระยะสั้นจากการ Restocking หลังผ่านช่วงตรุษจีน-มาตรการ Lockdown ของจีน, ต้นทุนวัตถุดิบลดลงตามราคาน้ำมัน, และการหยุดซ่อมนอกแผนของโรงงานในมาเลเซีย-เกาหลีใต้ 2.หากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยืดเยื้อจะกระทบต่ออุปสงค์ปูนซีเมนต์-วัสดุก่อสร้างผ่านภาพรวมเศรษฐกิจ และอาจกระทบต่อการอนุมัติโครงการก่อสร้างใหม่ของภาครัฐ เนื่องจากภาครัฐอาจให้ความสำคัญต่องบประมาณเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสก่อนและประเด็นที่ 3.แผนหยุดซ่อมบำรุงโรงปิโตรเคมี MOC ในไตรมาส 2/63"
อย่างไรก็ดีแนะนำให้นักลงทุนรอประเมินด้านการเติบโตจากธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่ชัดเจนขึ้นหลังการ Spin-off บริษัท ที่อยู่ระหว่างเข้าซื้อหุ้น Bien Hoa Packaging Joint Stock (SOVI) โรงงานผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกกำลังผลิต 90,000 ตัน/ปีในประเทศเวียดนาม (ยังไม่ระบุมูลค่าเงินลงทุน) เพื่อขยายการเติบโตในอาเซียนตามกลยุทธ์ของบริษัท และสามารถสร้าง Synergy ต่อยอดจากธุรกิจกระดาษต้นน้ำในเวียดนามได้แม้การซื้อกิจการดังกล่าวอาจยังไม่สร้างมูลค่าเพิ่มให้ SCC มากนัก เนื่องจากปี 2562 SOVI มีกำไรสุทธิ 195 ล้านบาท คิดเป็นเพียง 0.6% ของ SCC
ขณะเดียวกัน เรามองว่าตลาดจะให้มูลค่าจากการซื้อกิจการธุรกิจบรรจุภัณฑ์มากขึ้น ภายหลัง Spin-off SCGP (อาจล่าช้าจากแผนที่วางไว้) เนื่องจาก SCGP ปี 2562 มีกำไร 5.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็น Upside 4%ผลประชุมผู้ผลิตน้ำมันกดดัน Upside ของ Margin ปิโตรเคมีผลประกอบการในช่วงที่เหลือของปียังมีความเสี่ยงหากการ Lockdown ยืดเยื้อ และ Margin ของปิโตรเคมีจะถูกกดดันจากความร่วมมือลดการผลิตน้ำมัน ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบ Naphtha มีโอกาสขยับขึ้น ราคาหุ้น-18% YTD แข็งแกร่งกว่าคู่แข่ง PTTGC,IRPC, IVL ที่เฉลี่ย-36% สะท้อนผลประกอบการไตรมาส 1/63 ที่ไม่ย่ำแย่เท่าคู่แข่งไปบ้างแล้ว ทางพื้นฐานเราคงคำแนะนำเพียง “TRADING” ราคาเหมาะสม 370.00 บาท