ธปท.ระบุไวรัส COVID-19 ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจลดฮวบ เหลือ 44.1 ต่ำสุดหลังจากวิกฤตน้ำท่วมใหญปี 54 ดัชนีปรับลดลงเกือบทั้งหมด ภาคการผลิต ผลประกอบการ คำสั่งซื้อนิ่งสนิท หว่ง 3 เดือนข้างหน้าไวรัส COVID-19 ยังรุนแรงฉุดภาคบริการ มีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม
ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธรุกจิเดือน ก.พ.63 ลดลงมาก จากเดือนก่อนที่ 48.5 สู่ระดับ 44.1 ซึ่งเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 โดยเป็นการลดลงในเกือบทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะด้านคำสั่งซื้อ การผลิต และผลประกอบการ ทั้งในภาคการผลิตและภาคที่มิใช่การผลิต
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 50.5 จากความกังวลเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ดัชนีฯ ปรับลดลงมากจากเดือนก่อนที่ 48.5 มาอยู่ที่ระดับ 44.1 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 เป็นการลดลงทั้งในภาคการผลิตและภาคที่มิใช่การผลิต โดยความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการใน ภาคการผลิตลดลงในด้านคำสั่งซื้อ การผลิต และผลประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ความเชื่อมั่นด้านการผลิตลดลงตามระดับวัตถุดิบคงคลังที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากจีนค่อนข้างมาก ส่งผลให้ความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการลดลงตามไปด้วย
ขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นในภาคที่มิใช่การผลิตที่ลดลงอย่างมากในเดือนนี้มาจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเป็นหลัก นำโดยกลุ่มขนส่งและกลุ่มที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ที่ความเชื่อมั่นด้านยอดจองของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศลดลง จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ความเชื่อมั่น ด้านปริมาณการบริการลดลงตามไปด้วย
ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีฯ ลดลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 50.5 สะท้อนความกังวลของผู้ประกอบการที่มองว่าภาวะธุรกิจในระยะข้างหน้าจะยังคงมีความเสี่ยงจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยเฉพาะกลุ่มขนส่งที่คาดว่ายอดจองในอนาคตจะลดลง เช่นเดียวกับกลุ่มผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มี ความกังวลเรื่องคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่จะหดตัว ขณะที่ความเชื่อมั่นด้านการผลิตของกลุ่มผลิตยานยนต์ลดลงตามการคาดการณ์ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบที่อาจมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสยังไม่คลี่คลาย
ดัชนีความเชื่อมั่นด้านสภาพคล่อง ความเชื่อมั่นด้านคำสั่งซื้อและผลประกอบการของธุรกิจที่ลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้จำนวนธุรกิจที่ความเชื่อมั่นด้านสภาพคล่องแย่ลงมีมากขึ้น สะท้อนจากดัชนีฯ ด้านสภาพคล่องที่ลดลง อีกทั้งยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ทั้งรายใหญ่ และ SMEs ยังได้รับเครดิตจากสถาบันการเงินที่เพียงพอ
ปัจจัยภายในประเทศยังคงเป็นข้อจำกัดสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ทั้งในด้านของกำลังซื้อที่อ่อนแอและการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้การปรับราคาสินค้าทำได้ยาก สอดคล้องต่อการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้าที่ยังคงใกล้เคียงเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.6