ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) เดือน ม.ค.ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 40.6 จากเดือน ธ.ค.2562 ที่ 42.4 และนับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 72 เดือน ซึ่งเป็นผลจากความกังวลของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นในทุกมิติการครองชีพ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องรายได้และการมีงานทำของตนเอง ซึ่งจากการสำรวจเพิ่มเติมพบว่า ร้อยละ 43.6 ของครัวเรือนไทยที่ทำการสำรวจในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลชี้ว่า องค์กรที่ตนเองสังกัดหรือเป็นเจ้าของมีการปรับตัวในด้านการจ้างงานท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการชะลอรับพนักงานใหม่ การลดเวลาทำงานล่วงเวลาของพนักงาน รวมถึงการเลิกจ้างที่ยังมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 7.4 ของครัวเรือนที่ทำการสำรวจ
นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า จะเห็นว่า ในเดือน ม.ค.2563 องค์กรที่ครัวเรือนสังกัดหรือเป็นเจ้าของมีการปรับตัวทางธุรกิจเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.2562 ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงจำนวนการจ้างงานในประเทศที่น่าจะลดลงต่อเนื่องในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563
ด้านระดับราคาสินค้าและบริการในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในบางหมวดสินค้าทยอยส่งผลกระทบมากขึ้นต่อการครองชีพของครัวเรือนไทยในเดือน ม.ค.2563 โดยเฉพาะราคาสินค้าในหมวดอาหารสดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.83 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลของหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นภาวะภัยแล้ง มีการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ในต่างประเทศที่มีส่วนผลักดันราคาเนื้อสัตว์ในประเทศให้สูงขึ้น รวมไปถึงช่วงเทศกาลตรุษจีน ขณะที่ราคาเวชภัณฑ์ โดยเฉพาะหน้ากากอนามัย ก็ปรับตัวสูงขึ้นมากในเดือน ม.ค.2563 หลังเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (2019-nCoV) และปัญหาเรื้อรังของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและการดำเนินชีวิตของครัวเรือนไทย
ในขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) อยู่ที่ระดับ 40.5 ในการสำรวจช่วงเดือน ม.ค.2563 ทรุดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 42.2 โดยครัวเรือนมีความกังวลมากขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของตนเองในช่วง 3 เดือนข้างหน้า (เดือน ก.พ.-เม.ย.2563) โดยเฉพาะประเด็นเรื่องระดับราคาสินค้าและบริการในประเทศที่ครัวเรือนมองว่าจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในระยะข้างหน้า หลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่สร้างความหวั่นวิตกให้แก่ครัวเรือน ซึ่งส่งผลให้สินค้าเวชภัณฑ์บางรายการหาซื้อตามท้องตลาดได้ยากและมีราคาแพงขึ้นมาก
อย่างไรก็ดี คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.25 เป็นร้อยละ 1.00 ต่อปี ในการประชุม กนง. เมื่อวันที่ 5 ก.พ.2563 ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่งต่างปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลงตามไปด้วย ซึ่งน่าจะช่วยบรรเทาภาระหนี้สินของครัวเรือนและหล่อเลี้ยงสภาพคล่องของภาคธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 จากที่เปราะบางอยู่แล้ว จากผลกระทบของเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวต่อเนื่อง และปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตรจากภาวะภัยแล้ง จะเปราะบางมากยิ่งขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงทางด้านการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพที่สูงขึ้น ขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่ง หลัง กนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ต่อปี ก็น่าจะมีส่วนช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สินของครัวเรือนและภาคธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง
นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า จะเห็นว่า ในเดือน ม.ค.2563 องค์กรที่ครัวเรือนสังกัดหรือเป็นเจ้าของมีการปรับตัวทางธุรกิจเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.2562 ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงจำนวนการจ้างงานในประเทศที่น่าจะลดลงต่อเนื่องในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563
ด้านระดับราคาสินค้าและบริการในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในบางหมวดสินค้าทยอยส่งผลกระทบมากขึ้นต่อการครองชีพของครัวเรือนไทยในเดือน ม.ค.2563 โดยเฉพาะราคาสินค้าในหมวดอาหารสดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.83 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลของหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นภาวะภัยแล้ง มีการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ในต่างประเทศที่มีส่วนผลักดันราคาเนื้อสัตว์ในประเทศให้สูงขึ้น รวมไปถึงช่วงเทศกาลตรุษจีน ขณะที่ราคาเวชภัณฑ์ โดยเฉพาะหน้ากากอนามัย ก็ปรับตัวสูงขึ้นมากในเดือน ม.ค.2563 หลังเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (2019-nCoV) และปัญหาเรื้อรังของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและการดำเนินชีวิตของครัวเรือนไทย
ในขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) อยู่ที่ระดับ 40.5 ในการสำรวจช่วงเดือน ม.ค.2563 ทรุดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 42.2 โดยครัวเรือนมีความกังวลมากขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของตนเองในช่วง 3 เดือนข้างหน้า (เดือน ก.พ.-เม.ย.2563) โดยเฉพาะประเด็นเรื่องระดับราคาสินค้าและบริการในประเทศที่ครัวเรือนมองว่าจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในระยะข้างหน้า หลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่สร้างความหวั่นวิตกให้แก่ครัวเรือน ซึ่งส่งผลให้สินค้าเวชภัณฑ์บางรายการหาซื้อตามท้องตลาดได้ยากและมีราคาแพงขึ้นมาก
อย่างไรก็ดี คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.25 เป็นร้อยละ 1.00 ต่อปี ในการประชุม กนง. เมื่อวันที่ 5 ก.พ.2563 ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่งต่างปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลงตามไปด้วย ซึ่งน่าจะช่วยบรรเทาภาระหนี้สินของครัวเรือนและหล่อเลี้ยงสภาพคล่องของภาคธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 จากที่เปราะบางอยู่แล้ว จากผลกระทบของเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวต่อเนื่อง และปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตรจากภาวะภัยแล้ง จะเปราะบางมากยิ่งขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงทางด้านการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพที่สูงขึ้น ขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่ง หลัง กนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ต่อปี ก็น่าจะมีส่วนช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สินของครัวเรือนและภาคธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง