แบงก์ชาติลงนามความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Bilateral Swap Agreement: BSA) ฉบับปรับปรุง กับธนาคารกลางญี่ปุ่น หวังช่วยพัฒนาให้กลไก BSA ที่มีอยู่มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยสนับสนุนนโยบายการใช้เงินสกุลท้องถิ่นของ ธปท. และสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลไกความช่วยเหลือทางการเงินของภูมิภาค
นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ลงนามในความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Bilateral Swap Agreement: BSA) ฉบับปรับปรุง กับธนาคารกลางญี่ปุ่น ในฐานะตัวแทนกระทรวงการคลังญี่ปุ่นไปแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม 2561 ความตกลง BSA ฉบับนี้ปรับปรุงมาจากความตกลง BSA ฉบับที่ 4 ซึ่ง ธปท. ได้ลงนามไปเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 โดยสาระสาคัญของการปรับปรุงครั้งนี้ คือ
1. การขยายสัดส่วนวงเงินการทำธุรกรรมที่ไม่เชื่อมโยงกับความช่วยเหลือของกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (IMF De-linked Portion: IDLP) จากเดิมร้อยละ 30 (900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เป็น 40 (1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยที่วงเงินรวมสูงสุดยังคงเดิมอยู่ที่ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2. ฝ่ายไทยสามารถเลือกทำธุรกรรมเป็นรูปสกุลเงินเยนได้เพิ่มเติม นอกเหนือจากดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับที่กระทรวงการคลังญี่ปุ่นใช้เจรจาปรับปรุงความตกลง BSA กับธนาคารกลางประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
ทั้งนี้ สาระสำคัญอื่นๆ ในความตกลงฉบับปรับปรุง อาทิ วงเงินรวมสูงสุด อัตราดอกเบี้ยและกระบวนการในการทาธุรกรรม ยังคงเดิมไม่แตกต่างไปจากสัญญาฉบับปี 2560
การปรับปรุงความตกลงในครั้งนี้จะช่วยพัฒนาให้กลไก BSA ที่มีอยู่มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น รวมถึง ช่วยสนับสนุนนโยบายการใช้เงินสกุลท้องถิ่นของ ธปท. และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลไกความ ช่วยเหลือทางการเงินของภูมิภาค อีกทั้งญี่ปุ่นยังเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ธปท. จึงหวังว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นอีกก้าวสำคัญที่ช่วยยกระดับความสัมพันธ์ทางการเงินของทั้งสองประเทศให้ แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปอีก
นอกจากการลงนามในความตกลง BSA นี้แล้ว ธปท. ยังได้ร่วมมือกับทางการญี่ปุ่นส่งเสริมให้ ธนาคารพาณิชย์มีการกาหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/เงินเยนโดยตรง (direct quotation) และทาธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินกันโดยไม่ผ่านเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการชำระ ธุรกรรมการค้า การลงทุนระหว่างประเทศด้วย โดยที่ผ่านมาได้มีการลงนามในบันทึกความร่วมมือความ ร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้องถิ่นกับกระทรวงการคลังญี่ปุ่นไปแล้วเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2561
ปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์สนใจเข้าร่วมกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทและเงินเยนโดยตรงทั้งสิ้น 10 แห่ง และในวันที่ 29 ก.ค. 2561 บริษัท Reuters จะเปิดให้ธนาคารพาณิชย์มีการซื้อขายเงินบาทแลกกับผู้ประกอบการได้