สบน. เชื่อรัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไม่กระทบเพดานหนี้ คาดใน 10 ปีข้างหน้า สัดส่วนหนี้รัฐเพิ่มแตะ 50% จาก 41% ในปัจจุบัน แต่ยังต่ำกว่าเพดานสูงสุดตามกฎหมายกำหนดไว้ที่ 60% เผย เตรียมจัดประชุมนานาชาติร่วมกับ ADB ในหัวข้อ “2018 Asian Regional Public Debt Management Forum” เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านบริหารจัดการหนี้สาธารณะ การปรับตัวในยุคดิจิทัล พัฒนาตลาดตราสารหนี้ รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบ Big Data หรือระบบ Block Chain
นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กล่าวในฐานะรองโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ว่า หลังจาก พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังได้มีผลบังคับใช้ ได้กำหนดกรอบเพดานเพื่อรักษาวินัยการเงินกาคลังของรัฐในหลายด้าน และแม้ว่ารัฐบาลต้องใช้เงินลงทุนกว่า 2 ล้านล้านบาท แต่คาดว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นแตะ 50% จากปัจจุบันอยู่ที่ 41% แต่การเพิ่มขึ้นดังกล่าวยังคงอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดสัดส่วนหนี้สาธารณะไว้ที่ 60% และแม้ว่าจะมีแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยตลาดโลกอาจขยับเพิ่มก็ตาม แต่การออกพันธบัตรของรัฐบาลราว 90% ได้กำหนดให้เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ จึงเชื่อว่าจะได้รับผลกระทบที่น้อยมาก
อย่างไรก็ตาม นางจินดารัตน์ ยังได้กล่าวถึง สบน. มีกำหนดการจัดการประชุมนานาชาติ “2018 Asian Regional Public Debt Management Forum” ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ในระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมโนราบุรี รีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยจะมีผู้แทนจาก 48 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จำนวนกว่า 180 คน จากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กระทรวงการคลัง, สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ, ธนาคารกลาง, องค์การระหว่างประเทศ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เดินทางมาเข้าร่วมการประชุม ทั้งนี้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน
สำหรับการจัดประชุมในครั้งนี้จะอยู่ภายใต้แนวคิด “Prudent Debt Management for Sustainable Growth in the age of Digital Transformation” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการหนี้สาธารณะร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ของนานาประเทศจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และการปรับตัวในยุคดิจิทัล เพื่อการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ และการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบ Big Data หรือระบบ Block Chain เป็นต้น โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จะรวมถึงการหารือเกี่ยวกับแนวทางการเฝ้าระวังผลกระทบ และการจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลต่อการบริหารจัดการหนี้สาธารณะของประเทศด้วย
นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กล่าวในฐานะรองโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ว่า หลังจาก พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังได้มีผลบังคับใช้ ได้กำหนดกรอบเพดานเพื่อรักษาวินัยการเงินกาคลังของรัฐในหลายด้าน และแม้ว่ารัฐบาลต้องใช้เงินลงทุนกว่า 2 ล้านล้านบาท แต่คาดว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นแตะ 50% จากปัจจุบันอยู่ที่ 41% แต่การเพิ่มขึ้นดังกล่าวยังคงอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดสัดส่วนหนี้สาธารณะไว้ที่ 60% และแม้ว่าจะมีแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยตลาดโลกอาจขยับเพิ่มก็ตาม แต่การออกพันธบัตรของรัฐบาลราว 90% ได้กำหนดให้เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ จึงเชื่อว่าจะได้รับผลกระทบที่น้อยมาก
อย่างไรก็ตาม นางจินดารัตน์ ยังได้กล่าวถึง สบน. มีกำหนดการจัดการประชุมนานาชาติ “2018 Asian Regional Public Debt Management Forum” ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ในระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมโนราบุรี รีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยจะมีผู้แทนจาก 48 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จำนวนกว่า 180 คน จากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กระทรวงการคลัง, สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ, ธนาคารกลาง, องค์การระหว่างประเทศ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เดินทางมาเข้าร่วมการประชุม ทั้งนี้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน
สำหรับการจัดประชุมในครั้งนี้จะอยู่ภายใต้แนวคิด “Prudent Debt Management for Sustainable Growth in the age of Digital Transformation” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการหนี้สาธารณะร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ของนานาประเทศจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และการปรับตัวในยุคดิจิทัล เพื่อการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ และการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบ Big Data หรือระบบ Block Chain เป็นต้น โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จะรวมถึงการหารือเกี่ยวกับแนวทางการเฝ้าระวังผลกระทบ และการจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลต่อการบริหารจัดการหนี้สาธารณะของประเทศด้วย