xs
xsm
sm
md
lg

ASP ปรับเป้า GDP ปีนี้ โต 4.4% ชี้เศรษฐกิจฟื้น เงินเฟ้อพุ่ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บล. เอเซียพลัส ประเมินแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจไทยว่าจากภาพรวม GDP Growth เติบโต 4.8% ในไตรมาสที่ 1/2561 ซึ่งสูงสุดในรอบ 5 ปี และดีกว่าที่คาด จากการบริโภคครัวเรือน และส่งออก ทําให้ปรับเพิ่มทั้งปี 2561 เติบโต 4.4% และทรงตัวในปี 2562 แต่เงินเฟ้อไทยมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นในอัตราเร่งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ซึ่งทําให้ไทยเข้าสู่วงจรดอกเบี้ยขาขึ้นปลายปีนี้

ทั้งนี้ การปรับเพิ่ม GDP Growth ปี 2561 อยู่ที่ 4.4% (จากเดิม 4.2%) และปี 2562 ทรงตัว 4.4% ผ่านการ เพิ่มสมมุติฐานในปี 2561 คือ การบริโภค เป็น 3.6% จากเดิม 3.4% และส่งออก และนําเข้าในรูป ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มเป็น 8% และ11% โดยยังคงส่วนต่างที่ -3% ภายใต้สมมติฐานนํ้ามันดิบดูไบปี 2561 คงเดิมที่ 65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ 70 เหรียญสหรัฐฯ และอัตราแลกเปลี่ยนทรงตัว 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับทั้ง 2 ปี ตามลําดับ

เงินเฟ้อเดือน พ.ค. สูงถึง 1.49% ทําสถิติสูงในรอบ 1 ปี 4 เดือน และคาดว่าจะแตะ 2% ในเดือน ก.ย. เป็นต้นไป โดยน่าจะแตะ 2.35% สิ้นปี 2561 และ 2.45% สิ้นปี 2562 ตามลําดับ ภายใต้ราคา นํ้ามันดิบดูไบปี 2561 ที่ 65 เหรียญสหรัฐฯ และ 70 เหรียญสหรัฐฯ ปี 2562 และเงินบาทกลับมาอ่อนค่า กดดัน กนง. ขึ้นดอกเบี้ยภายในสิ้นปีนี้ เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี

ประเมินว่าปี 2561 กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยฯ 1 ครั้งราว 0.25%และอีก 2 ครั้งในปี 2562 ครั้งละ 0.25% ส่งผลให้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายสิ้นปี 2561-2562 อยู่ที่ 1.75% และ 2.25% ตามลําดับ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียง กับในอดีต คือ ช่วง ส.ค. 2547-มิ.ย. 2549 กนง. ขึ้นดอกเบี้ยฯ 13 ครั้ง รวม 3.5% เและช่วง ก.ค. 2553-ส.ค. 2554 ขึ้นดอกเบี้ยฯ 9 ครั้ง รวม 2% เนื่องจากเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นแรงตามราคานํ้ามันดิบโลก

ขณะที่สํานักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ฯ รายงาน GDP Growth งวด ไตรมาส1/2561 ขยายตัวสูงถึง 4.8% เทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อนหน้า ดีกว่าตลาดคาด โดยปัจจัยขับเคลื่อนในงวดนี้เป็นผลจากตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกๆ ตัว ได้แก่ การบริโภคครัวเรือนหนุนขยายตัวดีกว่าที่คาด การบริโภคในประเทศ (สัดส่วนราว 49% ของ GDP) เติบโต 3.6% จาก 3.4% ในงวดไตรมาส 4/2560 (สูง กว่าที่ ASPS คาดที่ 3.1%) เนื่องจากได้ผ่านช่วงของความเศร้าโศกในปี 2560 และประชาชนมี ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) ที่ปรับเพิ่มขึ้น ติดต่อกัน 2 เดือน และแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี 4 เดือน ล่าสุด เดือน เม.ย. อยู่ที่ 80.9 จุด

ขณะที่หลังจากรัฐบาล มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นตํ่าทั่วประเทศเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.45% ทําให้ค่าจ้างขั้นตํ่าเฉลี่ยทั้งประเทศเพิ่ม เป็น 315.97 บาท จากเดิม 305.44 บาท ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2561 และเริ่มเห็นรายได้ เกษตรกรดีขึ้นหลังจากผลผลิตทางการเกษตรที่ขยายตัว รวมถึงราคาสินค้าเกษตรสําคัญๆ โดยเฉพาะราคาข้าวเปลือก และราคามันสําปะหลัง เริ่มปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก 1/2561

นอกจากนี้ ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากยอดขอ BOI ลงทุนเอกชน (คิดราว 17% ของ GDP) ยังเห็นการฟื้นตัวต่อเนื่องติดต่อกันถึง 4 ไตรมาส คือ เติบโต 3.1% จาก 2.4% ในไตรมาส 4/60 (ตํ่ากว่า ASPS คาดที่ 3.4%) เป็นผลจากภาคเอกชนลงทุนมี การก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 4.1%, โรงงาน 3.4% รวมถึงมีการขยายการลงทุนในเครื่องจักรเพื่อ ผลิตและรองรับส่งออกที่ขยายตัว อาทิ เครื่องกําเนิดไฟฟ้า, หม้อแปลง, มอเตอร์ และหมวดยานยนต์ เช่น รถโดยสาร, รถบรรทุก เป็นต้น สอดคล้องกับอัตราการใช้กําลังการผลิตรวมของไทย งวดไตรมาส 1/61 อยู่ที่ 72.4% (สูงสุดในรอบ 5 ปี) เทียบกับ 67.4% ในงวดไตรมาส 4/60 และ 69.6% ในงวดไตรมาส 1/60 และเป็นที่สังเกตว่า อุตสาหกรรมที่มีการใช้กําลังการผลิตสูงกว่า 80% ในงวดไตรมาส 1/61 คือ นํ้าตาล, พลาสติกและยาง, ยานยนต์, ปิโตรเลียม, แปรรูปเนื้อสัตว์, จักรยานยนต์, คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์

และที่สําคัญ คือ เห็นสัญญาณจากยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ช่วงไตรมาส 1/61 เพิ่มขึ้นถึง 247% เทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อนหน้าอยู่ที่ 2.05 แสนล้านบาท จาก 5.9 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 1/60 และคิดเป็น 28.5% ของ เป้า BOI ในปี 2561 ที่ตั้งไว้ราว 7.2 แสนล้านบาท หลักๆ เป็นการขอ BOI ในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S Curve และ New S Curve) ราว 90% ของมูลค่ารวมทั้งหมดส่วนใหญ่เป็นการยื่นขอในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์, เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ, การท่องเที่ยว, ยานยนต์ และการแปรรูปอาหาร หรือหากพิจารณายอดขอ BOI ในพื้นที่ EEC (ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) สัดส่วนราว 80.6% ของ ยอดขอ BOI ทั้งหมด ซึ่งชลบุรี เป็นจังหวัดที่มียอด BOI ขยายตัวสูงสุด รองลงมา คือ ฉะเชิงเทรา และระยอง ขณะที่ประเทศที่มายื่นขอ BOI ได้แก่ ญี่ปุ่นสัดส่วนราว 47.3% รองลงมา คือ จีน 11.39%, ฮ่องกง 10.92%, เนเธอร์แลนด์ 9.67%, สิงค์โปร์ 8.05% เป็นต้น

ขณะที่แนวโน้มขยายตัวต่อหลังจาก พ.ร.บ. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หรือ EEC ได้ประกาศบังคับใช้ไปเป็นกฏหมายเป็นที่เรียบร้อย เมื่อ 15 พ.ค. คือ เพิ่มระยะเวลาการเช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขต EEC เพิ่มขึ้นเป็นสูงสุด 99 ปี (จากเดิม 50 ปี), ให้สิทธิลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหลือ 17% จากเดิมขั้นบันไดสูงสุด 35% สําหรับต่างชาติที่เข้า มาทํางานใน EEC 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และระยอง และอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ยิ่งเร่งสร้างความเชื่อมั่นการลงทุนจากต่างชาติ โดยการลงทุนภาครัฐ (คิดราว 6% ของ GDP) พลิกกลับมาบวกอีกครั้งที่ 4.0% (หลังจากที่ติดลบติดต่อกันในช่วง 3 ไตรมาสก่อนหน้า) สูงกว่าที่ ASPS คาดหดตัว 1.9% หลักๆ เป็นผลจากภาครัฐ ลงทุนในส่วนของเครื่องมือ เครื่องจักร โดยเฉพาะของรัฐวิสาหกิจขยายตัว 16.5% อาทิ การนําเข้า และเครื่องบินของการบินไทย

ขณะที่การก่อสร้างงานภาครัฐยังคงหดตัวติดต่อกัน 3 ไตรมาส ล่าสุด ติดลบ 0.1% เนื่องจากในช่วง ไตรมาส 1/61 ยังไม่มีงานประมูลภาครัฐใหม่ๆ ออกมาตามแผนการลงทุนของภาครัฐในปี 2561 วงเงิน 8.19 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องตั้งแต่รัฐบาลออก พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 23 ส.ค. 2560 ซึ่งมีกําหนดบทลงโทษรุนแรงมากขึ้นกรณีหากเกิดการทุจริต และขั้นตอนการทํางานที่มากขึ้น รวมไปถึงรูปแบบการลงทุนที่ภาครัฐพยายามให้เกิดการร่วมลงทุนระหว่างรัฐ และเอกชน หรือ PPP มากขึ้นเพื่อลดการใช้งบประมาณภาครัฐ โดยอัตราผลตอบแทนการลงทุนของโครงการในรูปแบบ PPP ที่ค่อนข้างตํ่า และต้องใช้เงินลงทุนที่สูงมาก ไม่สร้างแรงจูงใจให้กับบริษัทรับเหมาก่อสร้างเข้าร่วมลงทุน

ล่าสุดเริ่มเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นจากการเดินหน้าเร่งงานประมูลของภาครัฐ หลังจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ประกาศร่างขอบเขตงาน (TOR) งานก่อสร้างทางด่วนดาวคะนอง-พระราม 3 วงเงิน 3.1 หมื่นล้านบาท และคาดจะเปิดขายซองประกวดราคาระหว่างเดือน มิ.ย. และโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 2.36 แสนล้านบาท จะมีการขายซองประกวดราคาราว 9 มิ.ย. 2561 จะประกาศผลผู้ชนะ ต.ค. 2561 และเซ็นสัญญา พ.ย. 2561 น่าจะเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโครงการอื่นๆ ที่จะทยอยตามมา

การใช้จ่ายภาครัฐ (G) ต่ำกว่าเป้า การใช้จ่ายภาครัฐ (ราว 16% ของ GDP) งวดไตรมาส 1/61 (ตรงกับงวดไตรมาส 2/61 ของปีงบประมาณ 2561) ขยายตัว 1.9% เทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อนหน้าจาก 0.2% ในไตรมาส 4/60 (สูงกว่า ASPS คาดที่ 1.7%) เนื่องจากรัฐเบิกจ่ายรายจ่ายประจํา (สัดส่วนราว 82.5% ของการเบิกจ่ายงบประมาณรวม) ได้ราว 21% ใกล้เคียงเป้าที่ตั้งไว้ 22% ขณะที่การเบิกจ่ายงบลงทุน (สัดส่วนราว 17.5% ของการเบิกจ่ายงบประมาณรวม) ยังคงล่าช้าโดยไตรมาส 1/61 เบิกจ่ายไปเพียง 15.1% ของงบประมาณรายจ่ายลงทุนตํ่ากว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 22%

ขณะที่ในส่วนของการค้าระหว่างประเทศยังขยายตัว การส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดราว 67% ของ GDP) งวดไตรมาส 1/61 ขยายตัว 11.3% เทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อนหน้าจาก 11.7% ในไตรมาส 4/60 (สูงกว่า ASPS 9% คาด) โดยขยายตัวเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะคู่ค้าหลัก อาทิ ญี่ปุ่น, สหรัฐฯ, เวียดนาม, ออสเตรเลีย, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น ขณะที่ตลาดจีน (คู่ค้าอันดับ 1 สัดส่วนราว 12% ของยอดส่งออกรวมทั้งหมด) ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากสินค้าบางรายการ เช่น ยางพารา และเครื่องจักรกล ที่จีนสามารถผลิตได้มากขึ้น ทําให้ลดการนําเข้าจากไทย และผลของฐานที่สูงในปีก่อน

สินค้าส่งออก 10 อันดับแรก (สัดส่วนราว 40% ของสินค้า ส่งออกทั้งหมด) ขยายตัวต่อเนื่องจากงวดไตรมาส 4/60 โดยเฉพาะรถยนต์ และส่วนประกอบ, คอมพิวเตอร์, ผลิตภัณฑ์ยาง, เม็ดพลาสติก, เคมีภัณฑ์ และสินค้าโภคภัณฑ์ประเภท ข้าว, มันสําปะหลัง ขณะที่สินค้าที่ชะลอตัว ได้แก่ อัญมณี, ยางพารา และเครื่องใช้ไฟฟ้า

ขณะที่ปัจจัยลบต่อการลงทุนจากต่างประเทศ แม้ว่าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป (รอผลการประกาศรายชื่อสินค้าที่จะเก็บภาษีนําเข้าต่อ 15 มิ.ย.) แต่ดูเหมือนจีนจะมีท่าทีผ่อนปรนลง โดยจีนการประกาศลดภาษีนําเข้าจากทั่วโลก 2 รอบ คือ ครั้งแรกเมื่อ 22 พ.ค. 2561 จีนลดภาษีนําเข้ารถยนต์ทั่วโลกครั้งแรกในรอบ 10 ปี เหลือ 15% จากเดิม 25% และลดภาษีชิ้นส่วนยานยนต์เหลือ 6% จากเดิม 10% และล่าสุด วานนี้ ได้มีการปรับลดภาษีนําเข้าสินค้าอุปโภค และบริโภคหลักๆ เพิ่ม อาทิ เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องใช้ในครัวเรือน, อาหารแปรรูป และเครื่องสําอาง, ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและสุขภาพ เป็นต้น โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ก.ค. 2561

ตรงข้ามกับสหรัฐฯ ยังมีท่าที่แข็งกร้าวต่อประเทศทั่วโลก หลังจากปลายเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ใช้อํานาจประธานาธิบดี มาตรา 232 ภายใต้กฎหมาย Trade Expansion Act ในการลดหรือจํากัดการนําเข้าสินค้าที่มีปริมาณสูง จนอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงได้ และประกาศขึ้นภาษีนําเข้า สินค้า (Safe Guard) ทั้งหมดราว 7 สินค้า โดยมีสินค้าที่มีผลบังคับใช้แล้ว 5 สินค้า คือ เครื่องซักผ้า, แผงโซลาร์เซลล์, เหล็ก, อลูมิเนียม และนํ้ามันไบโอดีเซล ขณะที่อีก 2 สินค้าที่อยู่ในช่วงพิจารณา คือ รถยนต์และยางรัด อย่างไรก็ตาม ทําให้ประเทศพันธมิตรสําคัญเตรียมประกาศตอบโต้ โดยเฉพาะยุโรป จะขึ้นภาษีมอเตอร์ไซค์ ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน, กางเกงยีนส์ ลีวายส์ และวิสกี เบอร์เบิน ของสหรัฐฯ มูลค่าราว 3.3 พันเหรียญสหรัฐฯ

คาด GDP Growth ปี 2561-62 ขยายตัว 4.4% ดีกว่าที่คาด ประกอบกับมุมมองเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2561 คาดว่าจะยังขยายตัวต่อเนื่องดังกล่าว ทําให้ ASPS ได้ปรับเพิ่มประมาณการสมมติฐานเศรษฐกิจ รายภาคปี 2561 และยังคงปี 2562 ตามเดิมคือ ปรับเพิ่ม การค้าระหว่างประเทศในรูปดอลลาร์ คือ ส่งออก (X) และนําเข้า (M) ปี 2561 ปรับเพิ่ม เป็น 8% และ 11% (จากเดิม 5% และ 8%) โดยยังคงส่วนต่าง -3% และการบริโภคภาคครัวเรือน (C) ปรับเพิ่มเป็น 3.6% จากเดิม 3.4% ขณะที่การบริโภคภาครัฐ การลงทุนเอกชน และลงทุนรัฐยังคงเดิม ภายใต้สมมติฐานนํ้ามันดิบดูไบ ปี 2561-62 คงเดิมที่ 65 เหรียญ/บาร์เรล และ 70 เหรียญ และอัตราแลกเปลี่ยน 33 บาทดอลลาร์ ตามลําดับ โดยรวมทําให้คาดการณ์ GDP Growth ทั้งปี 2561 ใหม่เพิ่มขึ้น 4.4% จากเดิมคาด 4.2% ระดับใกล้เคียงกับ Consensus และจะแตะระดับ 4.4% ในปี 2562 แต่อาจจะยังตํ่ากว่าเมื่อ เทียบกับประเทศในแถบเอเซีย

เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง ทําให้ กนง. น่าจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด อัตราดอกเบี้ยโลกเป็นขาขึ้นชัดเจน สังเกตได้จากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วยังเดินหน้าขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยนโยบาย นําโดยสหรัฐที่นําร่องขึ้นไปก่อนตั้งแต่ปลายปี 2558 จนถึงสิ้นปี 2560 ขึ้น ดอกเบี้ยรวมทั้งหมด 5 ครั้งๆละ 0.25% และในปี 2561 นี้ขึ้นไปแล้ว 1 ครั้งเมื่อเดือน มี.ค. และช่วงที่ เหลือของปีจากการประชุมที่เหลืออีก 5 ครั้งคาดจะขึ้นอย่างน้อย 2 ครั้ง ขณะที่ปี 2562 และ 2563 มีแผนจะขึ้นดอกเบี้ยฯ ราว 3 ครั้ง และ 2 ครั้ง ตามลําดับ โดยรวมทําให้ให้อัตราดอกเบี้ย ณ สิ้นปี 2561 - 2563 อยู่ที่ราว 2.25%, 3.0% และ 3.5% ตามลําดับ เทียบกับเงินเฟ้อล่าสุดอยู่ที่ 2.4% และเป้าเงินเฟ้อระยะยาวอยู่ที่ 2% ตามมาด้วยอังกฤษ เนื่องจากเงินเฟ้อที่สูง ล่าสุด อยู่ที่ 2.4% เป็นผลจาก Brexit 24 มิ.ย. 2559 ทํา ให้ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าราว 10.6% ส่งผลให้ราคาสินค้านําเข้าในอังกฤษปรับตัวสูงขึ้น ทําให้ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 10 ปี เมื่อปลายปี 2560 และคาดจะ ขึ้นดอกเบี้ยฯราว 2 ครั้งในปี 2561 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย ณ สิ้นปี 2561 อยู่ที่ราว 1.0%

ขณะที่ยุโรปน่าจะเป็นรายต่อไปที่เริ่มเดินหน้ากลับมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวในปี 2562 เนื่องจาก เงินเฟ้อ ล่าสุด อยู่ที่ 1.2%เทียบกับดอกเบี้ยฯ 0% และมาตรการ QE สิ้นสุดในเดือน ก.ย. 2561 เนื่องจากประเทศบางกลุ่มยังประสบปัญหาเศรษฐกิจฟื้นตัวล่าช้า โดยเฉพาะประเทศกลุ่ม PIIGS และบางประเทศยังมีความไม่แน่นอนทางการเมือง เช่น อิตาลีที่ยังคงประสบปัญหาการจัดตั้ง รัฐบาลใหม่ ซึ่งอาจลุกลามจนถึงขั้นเลือกตั้งใหม่ได้ และมีความเสี่ยงที่จะถอนตัวออกจากยุโรป (Italexit) และญี่ปุ่นคาดว่าน่าจะเริ่มกลับมาดําเนินนโยบายการเงินตึงตัวในปี 2562 เช่นกัน เนื่องจากธนาคาร กลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้ส่งสัญญาณการใช้นโยบายการเงินตึงตัวจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 1/62 เนื่องจาก อัตราเงินเฟ้อปัจจุบันพุ่งขึ้นอยู่ที่ 1.1% สูงกว่าดอกเบี้ยนโยบายที่ติดลบ 0.1%


เช่นเดียวกับประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งเดินหน้าใช้นโยบายการเงินในตึงตัวเกือบทุกประเทศตั้งแต่ต้น ปี เริ่มตั้งแต่ต้นปี ม.ค. 2561 มาเลเซียเป็นประเทศแรกในกลุ่มที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 3 ปี) 0.25% อยู่ที่ 3.25% เพราะเศรษฐกิจขยายตัวและอัตราเงินเฟ้อสูง ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ได้ขึ้น ครั้งแรกในรอบ 4 ปี 0.25% เป็น 3.25% ไปเมื่อกลางเดือน พ.ค. เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อฟิลิปินส์พุ่ง ขึ้นอยู่ที่ 4.5% เทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อนหน้า เกินเป้าหมายที่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ตั้งไว้ราว 3േ1% และ ล่าสุดคือ อินโดนีเซียที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกัน 2 ครั้ง ภายในเดือน พ.ค. รวม 0.5% เป็น 4.5% (ครั้งแรกในรอบ 4 ปี) ผลจากค่าเงินรูเปียะของอินโดนีเซียที่อ่อนค่า 6.3% ตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. 2561 เพราะ Fund flow ไหลออก โดยค่าเงินที่อ่อนค่าทําให้ต้นทุนสินค้านําเข้าสูงขึ้น กดดันให้เงิน เฟ้อพุ่งขึ้นล่าสุดเดือน เม.ย. 3.4% จาก 3.0% ในช่วงต้นปี 2561 อย่างไรก็ตามคาดว่าในช่วงที่เหลือ ของปีประเทศกลุ่มนี้น่าจะชะลอการขึ้น เพราะอัตราเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลงบ้างแล้ว


ขณะที่ไทยเป็นยังประเทศเดียวในกลุ่ม TIP ที่ยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย คือ คงดอกเบี้ยที่ 1.5% ตั้งแต่ เม.ย. 2558 อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับตัวแปรสําคัญ คือ อัตราเงินเฟ้อ ล่าสุด เดือน พ.ค. พุ่งขึ้นอยู่ที่ 1.49% (ตั้งแต่ต้นปีเฉลี่ย 0.9% ytd) โดยเชื่อว่าน่าจะเห็นเงินเฟ้อน่าจะเร่งตัวขึ้นในช่วงที่ครึ่งปีหลัง โดยคาดจะแตะ 2% ในเดือน ก.ย. 2561 ภายใต้สมมติฐานราคานํ้ามันดิบที่ฝ่ายวิจัยกําหนดไว้ที่ 65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในปี 2561 และ 70 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2562 เหรียญสหรัฐฯ (ราคานํ้ามันดิบดูไบเฉลี่ยตั้งแต่ ต้นปี 66.74 เหรียญสหรัฐฯ) และเงินบาทยังอ่อนค่าไปแตะ 32.5 บาทอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 31.58 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) และน่าจะแตะ 33 บาทสิ้นปีนี้ จากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ดังกล่าวข้างต้น จึงน่าจะเป็นแรงกดดันให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ต้องหันมาใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นนับจากปลายปีนี้เป็นต้น

ทั้งนี้ หากพิจารณาสถิติในอดีตพบว่า ทุกครั้งที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเร็ว มักมีการขึ้นดอกเบี้ยในอัตราเร่งเช่นกัน เช่น ในช่วง 2 ช่วงหลังสุด คือ ช่วง ส.ค. 2547-มิ.ย. 2549 และช่วง ก.ค. 2553-ส.ค. 2554 อัตราเงินเฟ้อขึ้นเร็ว เพราะราคานํ้ามันโลกที่เกิน 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ทําให้ กนง. มีการขึ้นดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นเวลานาน กล่าวคือ ช่วง ส.ค. 2547-มิ.ย. 2549 พบว่า อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. 2547 ขยายตัว 3.1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นจนถึง 6.1% ในเดือน พ.ค. 2549 ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (พบว่าราคานํ้ามันดูไบ เฉลี่ยอยู่ที่ 72.7 เหรียญสหรัฐฯ ใน มิ.ย. 2547 และ 104.5 เหรียญสหรัฐฯ ใน พ.ค. 2549) ทําให้ กนง. ขึ้น ดอกเบี้ยฯ ในช่วงนั้นรวม 13 ครั้งๆ ละ 25 bps รวมทั้งหมด 3.5% ปี 2547 (ขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้ง คือ รอบ ส.ค., ต.ค. และ ธ.ค.) ปี 2558 ขึ้น 6 ครั้ง (รอบ มี.ค., มิ.ย., ก.ค., ก.ย., ต.ค. และ ธ.ค.) ยกเว้น เดือน ก.ย. และ ต.ค. 2548 ที่ขึ้นครั้งละ 0.5% และปี 2549 ขึ้น อีก 4 ครั้ง ครั้งละ 0.25% (เดือน ม.ค., มี.ค., เม.ย. และ มิ.ย.)


กำลังโหลดความคิดเห็น