xs
xsm
sm
md
lg

“ไรส์แลนด์” เผยตลาดพื้นที่ค้าปลีกไทยยังรุ่ง สวนทางตลาดโลกที่รับผลกระทบธุรกิจออนไน์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

สุรเชษฐ กองชีพ
เผยแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกหดตัว หลังรับผลกระทบธุรกิจออนไลน์ชอปปิ้ง และพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง “ไรส์แลนด์” แจงผลวิจัยตลาดค้าปล๊กไทย Q1/61 ยังขยายตัวดี ชอปปิ้งออนไลน์ ยังไม่ส่งผลกระทบตลาดไทย ด้านผู้พัฒนาโครงการค้าปลีก ยังมองหาโอกาสขยายสาขา-เปิดโครงการใหม่ในทำเลที่ศักยภาพ ระบุไฮเปอร์มาร์เกต-ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ไม่ขยายว่า 10 ปี สวนทางคอมมูนิตีมอลล์ ที่มีพื้นที่เพิ่ม 1.251 ล้าน ตร.ม. หรือขยายตัวต่อปีกว่า 28.9%

นายสุรเชษฐ กองชีพ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตลาด ไรส์แลนด์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า พื้นที่ค้าปลีก และอาคารสำนักงาน รวมไปถึงอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร และพื้นที่โดยรอบนั้น มีมากมายเมื่อเทียบกับในจังหวัดอื่นๆ โดยเฉพาะอสังหาฯ บางประเภทนั้น อยู่ในกรุงเทพฯ มากถึง 95% หรือมากกว่านั้น เช่น อาคารสำนักงาน ในขณะที่พื้นที่ค้าปลีกประมาณ 43% ของทั้งประเทศอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และพื้นที่โดยรอบ สำหรับพื้นที่ค้าปลีกที่เปิดให้บริการใหม่ในไตรมาสที่ 1 ปี 61 มีอยู่ประมาณ 42,590 ตารางเมตร (ตร.ม.) และอีกประมาณ 348,360 ตร.ม. ที่จะแล้วเสร็จในปี 61

แม้ว่าธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกกำลังประสบปัญหา เนื่องจากผลกระทบจากออนไลน์ชอปปิ้ง และพฤติกรรมผู้ซื้อที่เปลี่ยนไป แต่ธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยยังไม่ได้รับผลกระทบเช่นประเทศอื่นๆ ผู้พัฒนาโครงการค้าปลีกจึงยังคงมองหาโอกาสในการขยายสาขาหรือว่าเปิดโครงการใหม่ในทำเลที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ผู้พัฒนาโครงการค้าปลีกยังกังวลในเรื่องของออนไลน์ชอปปิ้ง แต่ผู้ประกอบการพื้นที่ค้าปลีกส่วนใหญ่มีการพัฒนาแอปฯ ในสมาร์ทโฟน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

“สัดส่วนพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพฯ และพื้นที่ค้าปลีกรายประเภท ณ ไตรมาสที่ 1/61 อยู่ที่ 7.973 ล้าน ตร.ม. โดยศูนย์การค้ามีสัดส่วน 59% หรือประมาณ 4.706 ล้าน ตร.ม. คอมมูนิตีมอลล์ 16% ขณะที่ไฮเปอร์มาร์เกต มีอยู่ 10%”

สำหรับการขยายตัวของพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพฯ และพื้นที่โดยรอบรายประเภท คอมมูนิตีมอลล์มีการขยายตัวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จาก 300,000 ตร.ม. ในปี 50 เพิ่มขึ้น 1.251 ล้าน ตร.ม. ในไตรมาสที่ 1/61 ทำให้อัตราการขยายตัวต่อปีของคอมมูนิตีมอลล์อยู่ที่ 28.9% สูงที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นที่ค้าปลีกประเภทอื่นๆ ส่วนพื้นที่ค้าปลีกประเภทอื่นๆ มีการขยายตัวต่ำกว่า 6% ต่อปี ขณะที่ห้างสรรพสินค้า ไฮเปอร์มาร์เกต เอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ แทบไม่มีการขยายตัวเลยในรอบ 10 ปี ต่างกับพื้นที่ค้าปลีกสนับสนุนมีการขยายตัวมากกว่าพื้นที่ค้าปลีกรูปแบบอื่นๆ ตามการขยายตัวของอาคารสำนักงานที่มีมากขึ้น

นายสุรเชษฐ กล่าวว่า ด้านอัตราการเช่าเฉลี่ยของพื้นที่ค้าปลีกนั้น ศูนย์การค้าและไฮเปอร์มาร์เกตส่วนใหญ่มีอัตราการเช่าเต็มหรือเกือบเต็ม 100% และโครงการพื้นที่ค้าปลีกทั้งสองรูปแบบนี้มีสัดส่วน 69% ของพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพฯ และพื้นที่โดยรอบ ดังนั้น อัตราการเช่าเฉลี่ยของพื้นที่ค้าปลีกทุกประเภท จึงมากกว่า 94% แม้ว่าจะมีโครงการพื้นที่ค้าปลีกหลายโครงการเปิดให้บริการในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ส่วนค่าเช่าของพื้นที่ค้าปลีกรายทำเลนั้น ณ ไตรมาสที่ 1/61 ยังคงใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา แม้ว่ากำลังซื้อคนไทยจะลดลงในช่วงหลายปี ทำให้ผู้เช่าหลักในโครงการพื้นที่ค้าปลีกได้รับผลกระทบโดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม ค่าเช่าเฉลี่ยในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในนั้น สูงที่สุดในตลาดพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพฯ และพื้นที่โดยรอบ เพราะว่ามีศูนย์การค้าระดับ High-End หรือ Luxury และมีขนาดใหญ่ และบางโครงการอยู่ในทำเลตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า และรถไฟใต้ดิน

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่หลายโครงการเปิดให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และคาดว่าตลาดพื้นที่ค้าปลีกอาจจะยังมีการขยายตัวต่อไปในอนาต เพียงแต่เป็นอัตราการขยายตัวที่ลดลงไม่ได้มากมายเหมือนช่วงที่ผ่านมา


กำลังโหลดความคิดเห็น