พ.ร.บ. สรรพสามิตใหม่ กำหนดวิธีจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมตามระดับความหวานใน 5 ระดับ แต่เพื่อให้ผู้ประกอบการมีเวลาปรับตัวกำหนด ให้ 2 ปีแรกหลังการบังคับใช้กฎหมาย ภาระการจ่ายภาษีจะยังใกล้เคียงกับที่เคยจ่ายในปัจจุบัน ส่วนการปรับขึ้นอัตราภาษีจะดำเนินการหลังครบ 2 ปีนั้น จะทำการปรับขึ้น 100%
นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต กล่าวถึงการบังคับใช้พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ซึ่งจะมีผลวันที่ 16 ก.ย. นี้ว่า กรมสรรพสามิตจะเริ่มนำมาตรการภาษีสำหรับเครื่องดื่มที่มีความหวานมาใช้ควบคู่กับมาตรการในการรณรงค์ลดความหวานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการอ้างอิงความหวานนั้น จะใช้ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และดำเนินการตามข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่ได้เคยมีมติให้เก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกินเกณฑ์มาตรฐานสุขภาพไปแล้วเมื่อปี 2559
ส่วนวิธีการจัดเก็บภาษีนั้น กรมสรรพสามิตจะแบ่งค่าความหวานเป็น 5 ระดับ คือ ปริมาณน้ำตาลต่ำกว่า 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร, ระดับ 6-10 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร, ระดับ 10-14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร, ระดับ 14-18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร และระดับ 18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตรขึ้นไป ทั้งนี้ ค่ากลางของระดับน้ำตาลของผู้ผลิตเครื่องดื่มในไทยใช้อยู่ในปัจจุบันจะอยู่ที่ 10-14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีเวลาในการปรับตัว กรมสรรพสามิตจึงกำหนดให้ในระยะ 2 ปีแรกหลังการบังคับใช้กฎหมายจริงนั้น ภาระภาษีเครื่องดื่มที่มีความหวานในกลุ่มดังกล่าวนี้จะยังคงมีความใกล้เคียงในปัจจุบัน ขณะที่เครื่องดื่มประเภทที่ปลอดน้ำตาล หรือเครื่องดื่มที่ใช้สารความหวานทดแทนน้ำตาล เช่น หญ้าหวาน จะเสียภาษีในอัตราที่ถูกลงกว่า 20-30%
ส่วนแนวทางการปรับภาษีจะดำเนินการหลังครบ 2 ปีของการบังคับใช้กฎหมายนั้น จะดำเนินการปรับแบบขั้นบันได ซึ่งการปรับขึ้นภาษีดังกล่าวจะเป็นการดำเนินการ 3 ครั้ง รวมระยะเวลาในการปรับภาษีทั้งสิ้น 6 ปี โดยการปรับอัตราภาษีขึ้นครั้งแรกนั้น จะเป็นการปรับขึ้น 100% โดยแนวทางดังกล่าวกรมสรรพสามิตย้ำว่าได้มีการหารือกับผู้ประกอบการในช่วงปีที่ผ่านมา และมั่นใจว่า การปรับภาษีจะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีก
นายณัฐกร กล่าวเพิ่มเติมถึงเรื่องการลดปริมาณน้ำตาลเครื่องดื่มนั้น จะมีมาตรการทั้งภาษี และไม่ใช่ภาษี โดยเชื่อว่า ผู้ประกอบการต้องมีการลงทุนปรับสูตรเครื่องดื่มใหม่เพื่อหันมาใช้น้ำตาลเทียมเนื่องจากหลังจาก 6 ปีของการปรับอัตราภาษีคงอยู่ในระดับที่สูงขึ้นมาก แต่คงไม่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการถึงขนาดต้องปิดกิจการ
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน กรมสรรพสามิตมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มราว 18,000-20,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนในอนาคตเครื่องดื่มที่เข้าข่ายต้องถูกเก็บภาษีจากการมีกฎหมายใหม่ เช่น น้ำอัดลม, ชาเขียว, กาแฟ, เครื่องดื่มชูกำลัง, นมเปรี้ยว และนมถั่วเหลือง หลังจากที่ปัจจุบันได้รับยกเว้นภาษีด้วยเหตุผลของการมีส่วนผสมทางด้านการเกษตร
นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต กล่าวถึงการบังคับใช้พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ซึ่งจะมีผลวันที่ 16 ก.ย. นี้ว่า กรมสรรพสามิตจะเริ่มนำมาตรการภาษีสำหรับเครื่องดื่มที่มีความหวานมาใช้ควบคู่กับมาตรการในการรณรงค์ลดความหวานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการอ้างอิงความหวานนั้น จะใช้ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และดำเนินการตามข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่ได้เคยมีมติให้เก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกินเกณฑ์มาตรฐานสุขภาพไปแล้วเมื่อปี 2559
ส่วนวิธีการจัดเก็บภาษีนั้น กรมสรรพสามิตจะแบ่งค่าความหวานเป็น 5 ระดับ คือ ปริมาณน้ำตาลต่ำกว่า 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร, ระดับ 6-10 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร, ระดับ 10-14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร, ระดับ 14-18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร และระดับ 18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตรขึ้นไป ทั้งนี้ ค่ากลางของระดับน้ำตาลของผู้ผลิตเครื่องดื่มในไทยใช้อยู่ในปัจจุบันจะอยู่ที่ 10-14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีเวลาในการปรับตัว กรมสรรพสามิตจึงกำหนดให้ในระยะ 2 ปีแรกหลังการบังคับใช้กฎหมายจริงนั้น ภาระภาษีเครื่องดื่มที่มีความหวานในกลุ่มดังกล่าวนี้จะยังคงมีความใกล้เคียงในปัจจุบัน ขณะที่เครื่องดื่มประเภทที่ปลอดน้ำตาล หรือเครื่องดื่มที่ใช้สารความหวานทดแทนน้ำตาล เช่น หญ้าหวาน จะเสียภาษีในอัตราที่ถูกลงกว่า 20-30%
ส่วนแนวทางการปรับภาษีจะดำเนินการหลังครบ 2 ปีของการบังคับใช้กฎหมายนั้น จะดำเนินการปรับแบบขั้นบันได ซึ่งการปรับขึ้นภาษีดังกล่าวจะเป็นการดำเนินการ 3 ครั้ง รวมระยะเวลาในการปรับภาษีทั้งสิ้น 6 ปี โดยการปรับอัตราภาษีขึ้นครั้งแรกนั้น จะเป็นการปรับขึ้น 100% โดยแนวทางดังกล่าวกรมสรรพสามิตย้ำว่าได้มีการหารือกับผู้ประกอบการในช่วงปีที่ผ่านมา และมั่นใจว่า การปรับภาษีจะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีก
นายณัฐกร กล่าวเพิ่มเติมถึงเรื่องการลดปริมาณน้ำตาลเครื่องดื่มนั้น จะมีมาตรการทั้งภาษี และไม่ใช่ภาษี โดยเชื่อว่า ผู้ประกอบการต้องมีการลงทุนปรับสูตรเครื่องดื่มใหม่เพื่อหันมาใช้น้ำตาลเทียมเนื่องจากหลังจาก 6 ปีของการปรับอัตราภาษีคงอยู่ในระดับที่สูงขึ้นมาก แต่คงไม่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการถึงขนาดต้องปิดกิจการ
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน กรมสรรพสามิตมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มราว 18,000-20,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนในอนาคตเครื่องดื่มที่เข้าข่ายต้องถูกเก็บภาษีจากการมีกฎหมายใหม่ เช่น น้ำอัดลม, ชาเขียว, กาแฟ, เครื่องดื่มชูกำลัง, นมเปรี้ยว และนมถั่วเหลือง หลังจากที่ปัจจุบันได้รับยกเว้นภาษีด้วยเหตุผลของการมีส่วนผสมทางด้านการเกษตร