ผู้ถือหุ้นรายย่อย อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น ฟ้อง “วิชัย ถาวรวัฒนยงค์-ธวัช ไทรราหู-ศุภนันท์ ฤทธิไพโรจน์” คดีอาญาโทษฐานจงใจจัดเลือกตั้งกรรมการแบบผิดกฎหมาย พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และ พ.ร.บ. มหาชนจำกัด พร้อมเรียกร้องแบงก์ UOB ในฐานะต้นสังกัด “ธวัช” สอบจริยธรรมผู้บริหาร ใช้เวลางานเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ให้ไอเฟค
นายจักกริช ประชุม ทนายความตัวแทนผู้ถือหุ้นรายย่อย บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC เปิดเผยว่า ผู้ถือหุ้นรายย่อยไอเฟคได้ฟ้องร้องเพื่อดำเนินคดีอาญากับนายวิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ในฐานะจำเลยที่ 1 นายศุภนันท์ ฤทธิไพโรจน์ จำเลยที่ 2 และนายธวัช ไทรราหู จำเลยที่ 3 ในข้อหาหรือฐานความผิด พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และ พ.ร.บ. มหาชนจำกัด
ทั้งนี้ เนื่องจากทั้งสามคนได้กำหนดให้มีการจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ และในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 ซึ่งใช้วิธีการลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการของบริษัทด้วยวิธีการเทคะแนน (Cumulative Vote) ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และผิดข้อบังคับของบริษัทฯ ที่กำหนดให้คะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง แต่ก็ยังมีเจตนาที่จะกระทำผิด
โดยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตามมาตรา 4 มาตรา 89/1 มาตรา 89/7 มาตรา 281/2 พ.ร.บ. มหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 70 มาตรา 71 มาตรา 85 มาตรา 105 และมาตรา 215 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มาตรา 91
ขณะเดียวกัน ยังมีรายงานว่า นายปริญญา พัฒนะคูหา ผู้ถือหุ้นรายย่อยไอเฟค ได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยัง นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายยุทธชัย เตยะราชกุล, รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บุคคลธนกิจ และนายพรชัย วิวัฒน์ภัทรกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กำกับธุรกิจ ธนาคาร UOB จำกัด (มหาชน) เพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบเรื่องจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพของนายธวัช ไทรราหู ผู้อำนวยการอาวุโส แผนกอนุมัติวงเงินและป้องกันทุจริต (PFS) เนื่องจากนายธวัช ยังคงปฏิบัติหน้าที่ในธนาคาร UOB และมีความสัมพันธ์ในไอเฟคอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2560 ที่ศาลแรงงานกลาง แขวงปทุมวัน ได้มีการนัดชี้ประเด็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมระหว่างอดีตพนักงานไอเฟคจำนวน 24 คน นายธวัชได้เข้าร่วมให้การต่อศาลแรงงานกลางด้วย ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อมาตรฐานจรรยาบรรณของพนักงานกลุ่ม UOB ตลอดจนอาจก่อให้เกิดการขัดแย้งทางผลประโยชน์ และเป็นการใช้เวลาทำงานของธนาคารมาปฏิบัติหน้าที่ให้กับไอเฟค
โดยมีประเด็นที่น่าสังเกต คือ พนักงานของธนาคารได้เข้าไปมีส่วนได้เสียกับไอเฟคอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ยังคงเป็นสภาพการเป็นพนักงานของธนาคาร ซึ่งเป็นเวลาที่พนักงานควรปฏิบัติงานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อธนาคารเอง การกระทำดังกล่าวถูกต้องและเหมาะสมต่อธนาคารหรือไม่
“การบังคับใช้วิธีลงคะแนนแบบ Cumulative ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความวุ่นวายในการบริหารงานของ IFEC เป็นการกระทำที่ผิดข้อบังคับของบริษัทโดยเจตนา และมากระทำความปิดซ้ำอีกครั้งในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น 2 พฤษภาคม ต้องมีผู้รับผิดชอบทั้งทางแพ่งและอาญาต่อความเสียหายที่เกิดกับผู้ถือหุ้น”
ผู้ถือหุ้นรายย่อยไอเฟครายหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้นายวิชัยทำทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเลือกตั้งกรรมการด้วยวิธีที่ผิดกฎหมาย ข้อบังคับ การไม่เร่งปิดงบการเงินปี 2559 ทำให้หุ้นถูกแขวน SP ลากยาวมาตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2560 ถึงปัจจุบัน จับเอานักลงทุนรายย่อยเป็นตัวประกัน สร้างความเสียหายให้กับบริษัท
เนื่องจากกังวลว่า หุ้นที่ตัวเองนำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน (มาร์จิน) จะถูกบังคับขาย และสุดท้ายนายวิชัย แทบจะไม่เหลืออะไร ทำให้เขายังคงยื้อนั่งในตำแหน่งประธานกรรมการไอเฟค แม้กระทรวงพาณิชย์จะไม่รับจดทะเบียนกรรมการชุดใหม่ ซึ่งทำให้กรรมการที่มีอยู่ไม่ครบองค์ประชุม ส่งผลให้ไอเฟคมีข้อจำกัดในการทำนิติกรรม หรือธุรกรรมต่าง ๆ ที่มีผลผูกพันกับบริษัท ดังนั้น สำนักงาน ก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลต้องเร่งเข้ามาจัดการปัญหา เพื่อให้นายวิชัย คืนอำนาจให้กับผู้ถือหุ้น เพราะนักลงทุนรายย่อยที่มีกว่า 27,000 คนเป็นเจ้าของตัวจริงไอเฟค ไม่ใช่นายวิชัย ที่สร้างปัญหามานานกว่า 8-9 เดือนที่ผ่านมา
นายจักกริช ประชุม ทนายความตัวแทนผู้ถือหุ้นรายย่อย บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC เปิดเผยว่า ผู้ถือหุ้นรายย่อยไอเฟคได้ฟ้องร้องเพื่อดำเนินคดีอาญากับนายวิชัย ถาวรวัฒนยงค์ ในฐานะจำเลยที่ 1 นายศุภนันท์ ฤทธิไพโรจน์ จำเลยที่ 2 และนายธวัช ไทรราหู จำเลยที่ 3 ในข้อหาหรือฐานความผิด พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และ พ.ร.บ. มหาชนจำกัด
ทั้งนี้ เนื่องจากทั้งสามคนได้กำหนดให้มีการจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ และในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 ซึ่งใช้วิธีการลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการของบริษัทด้วยวิธีการเทคะแนน (Cumulative Vote) ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และผิดข้อบังคับของบริษัทฯ ที่กำหนดให้คะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง แต่ก็ยังมีเจตนาที่จะกระทำผิด
โดยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตามมาตรา 4 มาตรา 89/1 มาตรา 89/7 มาตรา 281/2 พ.ร.บ. มหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 70 มาตรา 71 มาตรา 85 มาตรา 105 และมาตรา 215 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มาตรา 91
ขณะเดียวกัน ยังมีรายงานว่า นายปริญญา พัฒนะคูหา ผู้ถือหุ้นรายย่อยไอเฟค ได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยัง นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายยุทธชัย เตยะราชกุล, รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บุคคลธนกิจ และนายพรชัย วิวัฒน์ภัทรกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กำกับธุรกิจ ธนาคาร UOB จำกัด (มหาชน) เพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบเรื่องจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพของนายธวัช ไทรราหู ผู้อำนวยการอาวุโส แผนกอนุมัติวงเงินและป้องกันทุจริต (PFS) เนื่องจากนายธวัช ยังคงปฏิบัติหน้าที่ในธนาคาร UOB และมีความสัมพันธ์ในไอเฟคอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2560 ที่ศาลแรงงานกลาง แขวงปทุมวัน ได้มีการนัดชี้ประเด็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมระหว่างอดีตพนักงานไอเฟคจำนวน 24 คน นายธวัชได้เข้าร่วมให้การต่อศาลแรงงานกลางด้วย ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อมาตรฐานจรรยาบรรณของพนักงานกลุ่ม UOB ตลอดจนอาจก่อให้เกิดการขัดแย้งทางผลประโยชน์ และเป็นการใช้เวลาทำงานของธนาคารมาปฏิบัติหน้าที่ให้กับไอเฟค
โดยมีประเด็นที่น่าสังเกต คือ พนักงานของธนาคารได้เข้าไปมีส่วนได้เสียกับไอเฟคอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ยังคงเป็นสภาพการเป็นพนักงานของธนาคาร ซึ่งเป็นเวลาที่พนักงานควรปฏิบัติงานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อธนาคารเอง การกระทำดังกล่าวถูกต้องและเหมาะสมต่อธนาคารหรือไม่
“การบังคับใช้วิธีลงคะแนนแบบ Cumulative ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความวุ่นวายในการบริหารงานของ IFEC เป็นการกระทำที่ผิดข้อบังคับของบริษัทโดยเจตนา และมากระทำความปิดซ้ำอีกครั้งในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น 2 พฤษภาคม ต้องมีผู้รับผิดชอบทั้งทางแพ่งและอาญาต่อความเสียหายที่เกิดกับผู้ถือหุ้น”
ผู้ถือหุ้นรายย่อยไอเฟครายหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้นายวิชัยทำทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเลือกตั้งกรรมการด้วยวิธีที่ผิดกฎหมาย ข้อบังคับ การไม่เร่งปิดงบการเงินปี 2559 ทำให้หุ้นถูกแขวน SP ลากยาวมาตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2560 ถึงปัจจุบัน จับเอานักลงทุนรายย่อยเป็นตัวประกัน สร้างความเสียหายให้กับบริษัท
เนื่องจากกังวลว่า หุ้นที่ตัวเองนำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน (มาร์จิน) จะถูกบังคับขาย และสุดท้ายนายวิชัย แทบจะไม่เหลืออะไร ทำให้เขายังคงยื้อนั่งในตำแหน่งประธานกรรมการไอเฟค แม้กระทรวงพาณิชย์จะไม่รับจดทะเบียนกรรมการชุดใหม่ ซึ่งทำให้กรรมการที่มีอยู่ไม่ครบองค์ประชุม ส่งผลให้ไอเฟคมีข้อจำกัดในการทำนิติกรรม หรือธุรกรรมต่าง ๆ ที่มีผลผูกพันกับบริษัท ดังนั้น สำนักงาน ก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลต้องเร่งเข้ามาจัดการปัญหา เพื่อให้นายวิชัย คืนอำนาจให้กับผู้ถือหุ้น เพราะนักลงทุนรายย่อยที่มีกว่า 27,000 คนเป็นเจ้าของตัวจริงไอเฟค ไม่ใช่นายวิชัย ที่สร้างปัญหามานานกว่า 8-9 เดือนที่ผ่านมา