xs
xsm
sm
md
lg

ภาษีน้ำหวาน กดหุ้นกุล่มเครื่องดื่มร่วงกราว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

กรมสรรพสามิตเตรียมเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเกินมาตรฐานกำหนด ดังนี้ :

1) ปริมาณน้ำตาล 10 กรัม-14 กรัม

2) ปริมาณน้ำตาลตั้งแต่ 14 กรัม-18 กรัม

3) ปริมาณน้ำตาลเกิน 18 กรัม

อย่างไรก็ตาม ทางภาครัฐยังไม่กำหนดอัตราที่ชัดเจน และให้เวลาผู้ประกอบการเครื่องดื่มปรับตัวเป็นระยะเวลา 2 ปี หากปรับตัวได้ยังคงใช้อัตราภาษีเดิม

ปิดตลาดหุ้นไทยช่วงเช้าวันที่ 19 มิ.ย. 60 หุ้นกลุ่มเครื่องดื่ม ปรับตัวลงยกแผง จากข่าวกรมสรรพสามิตจ่อขึ้นภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเกินมาตรฐานกำหนด บล. เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ คาดเซ็ปเป้-อิชิตัน-โออิชิ รับผลกระทบมากสุด เนื่องจากไม่สามารถผลักภาระไปให้ผู้บริโภคได้ เพราะการแข่งขันในธุรกิจเป็นไปอย่างรุนแรง

โดยหุ้นมาลีกรุ๊ป (MALEE) ปิดการซื้อขายที่ 46.00 บาท ลดลง 1.25 บาท หรือ -2.65%

หุ้นอิชิตัน กรุ๊ป (ICHI) ปิดการซื้อขายที่ 9.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.05 บาท หรือ +0.50%

หุ้นคาราบาวกรุ๊ป (CBG) ปิดการซื้อขายที่ 71.25 บาท ลดลง 1.00 บาท หรือ -1.38% ล้านบาท

หุ้นโออิชิ (OISHI) ปิดการซื้อขายที่ 137.00 บาท ลดลง 2.50 บาท หรือ -1.79% ล้านบาท

และหุ้นเซ็ปเป้ (SAPPE) ปิดที่ 25.25 บาท ไม่เปลี่ยนแปลงจากวันก่อนหน้า
ฝ่ายวิจัย บล. เอเซีย พลัส ระบุประเด็นดังกล่าวส่งผลลบต่อผู้ประกอบการที่มีรายได้มาจากเครื่องดื่ม 100% คือ ICHI และ SAPPE จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุนไปก่อน ขณะที่ OISHI ได้รับผลกระทบเพียง 50% เนื่องจากมีรายได้อีก 50% มาจากธุรกิจร้านอาหาร ฝ่ายวิจัย จึงยังแนะนำ “ซื้อลงทุน”

เครื่องดื่มที่เข้าข่ายถูกจัดเก็บภาษี ได้แก่ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลังและเกลือแร่ น้ำผลไม้ และน้ำพืชผัก เครื่องดื่มชนิดผง เครื่องดื่มชนิดเข้มข้น รวมถึงเครื่องดื่มที่หวานตามธรรมชาติไม่ได้ใส่น้ำตาลเพิ่มด้วย โดยจะเริ่มจัดเก็บภาษีแบบอัตราก้าวหน้า ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2562 เป็นต้นไป ทั้งนี้ จะให้เวลาผู้ผลิตปรับส่วนผสมของน้ำตาลในเครื่องดื่มภายใน 2 ปี ตั้งแต่ 16 ก.ย. 2560-30 ก.ย. 2562 เพื่อยังให้ใช้ภาษีในอัตราเท่าเดิม

ประเด็นข่าวดังกล่าวถือเป็น Sentiment เชิงลบต่อหุ้นในกลุ่มเครื่องดื่ม ที่ฝ่ายวิจัยศึกษา ได้แก่ ICHI (FV@7.50), OISHI (FV@B165) และ SAPPE(FV@B22.2) เนื่องจากการประกาศใช้ภาษีน้ำหวานอัตราใหม่ จะส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรสุทธิของผู้ประกอบการโดยตรง ฝ่ายวิจัยประเมินต้นทุนน้ำตาลของผู้ผลิตแต่ละรายเฉลี่ยอยู่ที่ 25% ของต้นทุนการผลิตรวม กรณีที่ภาครัฐเก็บภาษีทุกๆ 10% จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนให้สูงขึ้นราว 2.5% จากปัจจุบัน (ถ้าขึ้น 20-25% จะกระทบราว 5-6%)

ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยเชื่อว่า ผู้ผลิตไม่สามารถผลักภาระภาษีที่เพิ่มขึ้นไปยังผู้บริโภคโดยตรง โดยการปรับขึ้นราคาได้ เนื่องจากเครื่องดื่มดังกล่าวจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ผู้บริโภคอาจลดปริมาณการบริโภคลง และจะส่งผลกระทบต่อยอดขายของผู้ผลิต นอกจากนี้ ภาวะการแข่งขันในตลาดเครื่องดื่ม เครื่องดื่มชาพร้อมดื่มและฟังก์ชันนอลดริงก์ ในประเทศอยู่มีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งด้านราคา และโปรโมชัน โดยภาพรวมตลาดชาพร้อมดื่มมูลค่าติดลบมาตลอด 3 ปี ย้อนหลัง (ปี 2014-2016 ลดลง 1%, 2%, 7% ตามลำดับ) กดดันให้การปรับราคาขายเป็นไปได้ยาก กดดันต่อ Net Profit Margin ของผู้ประกอบการ
กำลังโหลดความคิดเห็น