กระแส “เทคโอเวอร์” ธุรกิจสื่อร้อนแรงต่อเนื่องทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเดิมที่กลุ่มเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดีซื้อหุ้น บมจ. อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง หรือ AMARIN สัดส่วน 47.62% คิดเป็น 200 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 4.25 บาท รวมเป็นเงิน 850 ล้านบาท พร้อมขอผ่อนผันการทำคำเสนอซื้อ นำเงินใช้ดำเนินธุรกิจทีวีดิจิตอล-ชำระหนี้เงินกู้สถาบันการเงิน
ตามด้วย บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กรณีบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (วัน เอ็นเตอร์ไพรส์) ซึ่งทำธุรกิจทีวีดิจิตอลช่องวัน จะจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 1,905 ล้านบาท โดยการออกหุ้นเพิ่มทุนกว่า 19 ล้านหุ้น ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม รวมถึง บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด ซึ่งจะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นของ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ก่อนที่ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จะเพิ่มทุนจดทะเบียน โดยบริษัทประนันท์ภรณ์ จำกัด ผู้ซื้อเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งมีนางสาวปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 99.98% ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์การเข้ามาเทกโอเวอร์ธุรกิจสื่อของกลุ่มบรรดาเจ้าสัวมี 3 ปัจจัยหลักๆ คือ 1.ผู้ประกอบการต้องการลดภาระต้นทุนด้วยการขายหรือการขายหุ้นส่วนหนึ่งให้กลุ่มทุนที่มีสภาพคล่องสูง, 2.ผู้ที่เข้ามาเทคโอเวอร์ต้องการใช้ช่องทางสื่อในการทำตลาดให้กับสินค้าให้เครือบริษัทตนเอง, และ 3.ผู้เข้ามาเทกโอเวอร์มองว่าเป็นการลงทุนในอนาคต เพราะธุรกิจใกล้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว อย่างไรก็ตาม การเข้ามาเทกโอเวอร์ถือเป็นเรื่องปกติของธุรกิจทั้งสองฝ่าย เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินการต่อไปได้
“วรพงศ์ ตันติวุฒิพงศ์” ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ลูกค้าสถาบัน บล. กรุงศรี ระบุ ธุรกิจทีวีดิจิตอลในประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ปีที่สามแล้ว สัดส่วนผู้ชมเริ่มนิ่งขึ้น แต่ละช่องเริ่มมีกลุ่มผู้ชมเป็นของตัวเอง สังเกตุได้จาก ranking ใน Top 5 ค่อนข้างที่จะทรงตัว แม้ว่าแนวโน้มของการใช้จ่ายโฆษณาผ่านสื่อทีวีในช่วง 9 เดือนของปีนี้จะลดลงประมาณ 9.8% แต่บางช่องอย่าง Workpoint หรือ Mono29 ก็มีผลประกอบการที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจาก Rating ที่สูงขึ้น โดยที่ไปแย่งจำนวนผู้ชมมาจากช่องอื่นๆ ส่วนช่องเล็กๆ ที่เหลือบางส่วนเริ่มแบกต้นทุนไม่ไหว จึงมีปิดตัวลง หรือมีการเปลี่ยนเจ้าของในช่วงที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดี ช่องหลักๆ ยังสามารถทำกำไรได้
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายงานวิเคราะห์ฯ บล. กรุงศรี ยอมรับว่า ปี 2559 การบริโภคภายในประเทศยังฟื้นตัวได้ช้า ส่งผลโดยตรงกับธุรกิจ FMCG และพวกกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งเป็น top spenders ของสื่อต่างๆ จึงทำให้การใช้จ่ายโฆษณาผ่านสื่อทีวีซึ่งเป็นสื่อหลักหดตัวไปด้วย ขณะเดียวกัน ช่วงของความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งชาติ ทำให้ช่วงไตรมาส 4/59 อยู่ภายในบรรยากาศของการถวายความไว้อาลัย ทั้งหน่วยงานราชการ และธุรกิจเอกชนล้วนเลื่อนกิจกรรมต่างๆ ออกไป ทำให้การใช้จ่ายโฆษณานั้น ถูกเลื่อนออกไป ซึ่งการชะลอตัวดังกล่าว เราคาดว่า น่าจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการกับทุกบริษัท ไม่เพียงแต่สื่อโฆษณาทางทีวีเท่านั้น ธุรกิจสื่อนอกบ้านก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน
“ผลกระทบที่เกิดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นปัจจัยระยะสั้นต่อกลุ่ม media เราจึงคาดว่า ผลประกอบการใน Q4 ปีนี้น่าจะเป็นจุดต่ำสุด และปีหน้า คาดว่าจะมีการฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดเริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1/60 เป็นต้นไป”
“วรพงศ์ “ มองว่า หุ้นกลุ่ม Media เป็นหุ้นกลุ่มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความน่าสนในใจ และมีผลประกอบการที่พัฒนาขึ้นสม่ำเสมอ อย่างตัว WORK เป็นหุ้นที่เราคาดอัตราการเติบโตของกำไร 3 ปี CAGR ที่ 65% เรามองว่า สถานะที่แข็งแกร่งของบริษัทในธุรกิจนี้ยังทำให้หุ้น WORK น่าสนใจซึ่งเราให้ราคาเป้าหมายที่ 48 บาท
ขณะที่หุ้น MONO ถึงแม้ว่าปีนี้ จะมีผลประกอบการที่ขาดทุนอยู่ แต่เราคาดว่า ปีหน้าจะเป็นปีที่ MONO จะพลิกฟื้นกลับมาเป็นกำไรได้ จากเรตติ้งที่ดีขึ้น และค่าโฆษณาที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามเรตติ้ง เราให้ราคาเป้าหมายของ MONO ที่ 3.4 บาท
หากมองในธุรกิจสื่อนอกบ้าน ทางเรายังชอบตัว PLANB ซึ่งทำธุรกิจเป็นผู้นำสื่อนอกบ้านในส่วนของป้าย digital LED ซึ่งในปีที่ผ่านมา บริษัทอยู่ในช่วงของการขยาย media capacity ซึ่งเพิ่มมากถึง 30% เรามองว่า การขยายสื่อดังกล่าวจะทำให้ปี 2560 PLANB จะมีอัตราการเติบโตที่ดี อีกทั้งบริษัทยังมีช่องทางการหารายได้ตัวใหม่จากการเป็น Agency ให้กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ซึ่งเราคาดว่าธุรกิจใหม่นี้จะสามารถสร้างกำไรให้กับ PLANB ได้ประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี เรายังคงแนะนำซื้อ PLANB ที่ราคาเป้าหมาย 6.2 บาทต่อหุ้น
“มงคล พ่วงเภตรา” ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ กลยุทธ์การลงทุน บล.เคทีบี (ประเทศไทย) วิเคราะห์ ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจสื่อปิดกิจการ หรือเกิดการเทกโอเวอร์จากบรรดาเจ้าสัวเพื่มขึ้น เนื่องจากธุรกิจสื่อเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากส่งผลให้เกิดการแข่งกันในการหาโฆษณาสูง ทำให้บริษัทที่มีปัญหาสภาพคล่องไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ประกอบกับช่วงเศรษฐกิจที่ชะลอตัวบริษัทต่างๆ จำเป็นต้องลดงบประมาณด้านการตลาด ส่งผลให้รายได้ หรือกำไรของกลุ่มสื่อที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลดลงอย่างมาก โดยช่วง 9 เดือน กลุ่มสื่อ และจัดงานอีเวนต์ 13 บริษัทยกเว้นสื่อสิ่งพิมพ์มีกำไร 1,201 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 53% โดยจำนวนนี้มีขาดทุน 5 บริษัท
“แนวโน้มธุรกิจมีเดียเริ่มประสบปัญหารายได้ลดลง และขาดทุนเพิ่มขึ้น เห็นจากข้อมูลการแจ้งผลประกอบการของกลุ่มบริษัทในหมวด Media รายใหญ่ เช่น บีอีซี, อสมท., แกรมมี่, อาร์เอส และกลุ่มจัดงานอีเวนต์ เป็นต้น ต่างก็มีกำไรลดลง และขาดทุน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่สูง และมีผู้ประกอบการจำนวนมากมาแย่งโฆษณา”
ตามด้วย บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กรณีบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (วัน เอ็นเตอร์ไพรส์) ซึ่งทำธุรกิจทีวีดิจิตอลช่องวัน จะจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 1,905 ล้านบาท โดยการออกหุ้นเพิ่มทุนกว่า 19 ล้านหุ้น ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม รวมถึง บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด ซึ่งจะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นของ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ก่อนที่ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จะเพิ่มทุนจดทะเบียน โดยบริษัทประนันท์ภรณ์ จำกัด ผู้ซื้อเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งมีนางสาวปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 99.98% ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์การเข้ามาเทกโอเวอร์ธุรกิจสื่อของกลุ่มบรรดาเจ้าสัวมี 3 ปัจจัยหลักๆ คือ 1.ผู้ประกอบการต้องการลดภาระต้นทุนด้วยการขายหรือการขายหุ้นส่วนหนึ่งให้กลุ่มทุนที่มีสภาพคล่องสูง, 2.ผู้ที่เข้ามาเทคโอเวอร์ต้องการใช้ช่องทางสื่อในการทำตลาดให้กับสินค้าให้เครือบริษัทตนเอง, และ 3.ผู้เข้ามาเทกโอเวอร์มองว่าเป็นการลงทุนในอนาคต เพราะธุรกิจใกล้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว อย่างไรก็ตาม การเข้ามาเทกโอเวอร์ถือเป็นเรื่องปกติของธุรกิจทั้งสองฝ่าย เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินการต่อไปได้
“วรพงศ์ ตันติวุฒิพงศ์” ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ลูกค้าสถาบัน บล. กรุงศรี ระบุ ธุรกิจทีวีดิจิตอลในประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ปีที่สามแล้ว สัดส่วนผู้ชมเริ่มนิ่งขึ้น แต่ละช่องเริ่มมีกลุ่มผู้ชมเป็นของตัวเอง สังเกตุได้จาก ranking ใน Top 5 ค่อนข้างที่จะทรงตัว แม้ว่าแนวโน้มของการใช้จ่ายโฆษณาผ่านสื่อทีวีในช่วง 9 เดือนของปีนี้จะลดลงประมาณ 9.8% แต่บางช่องอย่าง Workpoint หรือ Mono29 ก็มีผลประกอบการที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจาก Rating ที่สูงขึ้น โดยที่ไปแย่งจำนวนผู้ชมมาจากช่องอื่นๆ ส่วนช่องเล็กๆ ที่เหลือบางส่วนเริ่มแบกต้นทุนไม่ไหว จึงมีปิดตัวลง หรือมีการเปลี่ยนเจ้าของในช่วงที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดี ช่องหลักๆ ยังสามารถทำกำไรได้
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายงานวิเคราะห์ฯ บล. กรุงศรี ยอมรับว่า ปี 2559 การบริโภคภายในประเทศยังฟื้นตัวได้ช้า ส่งผลโดยตรงกับธุรกิจ FMCG และพวกกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งเป็น top spenders ของสื่อต่างๆ จึงทำให้การใช้จ่ายโฆษณาผ่านสื่อทีวีซึ่งเป็นสื่อหลักหดตัวไปด้วย ขณะเดียวกัน ช่วงของความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งชาติ ทำให้ช่วงไตรมาส 4/59 อยู่ภายในบรรยากาศของการถวายความไว้อาลัย ทั้งหน่วยงานราชการ และธุรกิจเอกชนล้วนเลื่อนกิจกรรมต่างๆ ออกไป ทำให้การใช้จ่ายโฆษณานั้น ถูกเลื่อนออกไป ซึ่งการชะลอตัวดังกล่าว เราคาดว่า น่าจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการกับทุกบริษัท ไม่เพียงแต่สื่อโฆษณาทางทีวีเท่านั้น ธุรกิจสื่อนอกบ้านก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน
“ผลกระทบที่เกิดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นปัจจัยระยะสั้นต่อกลุ่ม media เราจึงคาดว่า ผลประกอบการใน Q4 ปีนี้น่าจะเป็นจุดต่ำสุด และปีหน้า คาดว่าจะมีการฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดเริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1/60 เป็นต้นไป”
“วรพงศ์ “ มองว่า หุ้นกลุ่ม Media เป็นหุ้นกลุ่มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความน่าสนในใจ และมีผลประกอบการที่พัฒนาขึ้นสม่ำเสมอ อย่างตัว WORK เป็นหุ้นที่เราคาดอัตราการเติบโตของกำไร 3 ปี CAGR ที่ 65% เรามองว่า สถานะที่แข็งแกร่งของบริษัทในธุรกิจนี้ยังทำให้หุ้น WORK น่าสนใจซึ่งเราให้ราคาเป้าหมายที่ 48 บาท
ขณะที่หุ้น MONO ถึงแม้ว่าปีนี้ จะมีผลประกอบการที่ขาดทุนอยู่ แต่เราคาดว่า ปีหน้าจะเป็นปีที่ MONO จะพลิกฟื้นกลับมาเป็นกำไรได้ จากเรตติ้งที่ดีขึ้น และค่าโฆษณาที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามเรตติ้ง เราให้ราคาเป้าหมายของ MONO ที่ 3.4 บาท
หากมองในธุรกิจสื่อนอกบ้าน ทางเรายังชอบตัว PLANB ซึ่งทำธุรกิจเป็นผู้นำสื่อนอกบ้านในส่วนของป้าย digital LED ซึ่งในปีที่ผ่านมา บริษัทอยู่ในช่วงของการขยาย media capacity ซึ่งเพิ่มมากถึง 30% เรามองว่า การขยายสื่อดังกล่าวจะทำให้ปี 2560 PLANB จะมีอัตราการเติบโตที่ดี อีกทั้งบริษัทยังมีช่องทางการหารายได้ตัวใหม่จากการเป็น Agency ให้กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ซึ่งเราคาดว่าธุรกิจใหม่นี้จะสามารถสร้างกำไรให้กับ PLANB ได้ประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี เรายังคงแนะนำซื้อ PLANB ที่ราคาเป้าหมาย 6.2 บาทต่อหุ้น
“มงคล พ่วงเภตรา” ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ กลยุทธ์การลงทุน บล.เคทีบี (ประเทศไทย) วิเคราะห์ ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจสื่อปิดกิจการ หรือเกิดการเทกโอเวอร์จากบรรดาเจ้าสัวเพื่มขึ้น เนื่องจากธุรกิจสื่อเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากส่งผลให้เกิดการแข่งกันในการหาโฆษณาสูง ทำให้บริษัทที่มีปัญหาสภาพคล่องไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ประกอบกับช่วงเศรษฐกิจที่ชะลอตัวบริษัทต่างๆ จำเป็นต้องลดงบประมาณด้านการตลาด ส่งผลให้รายได้ หรือกำไรของกลุ่มสื่อที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลดลงอย่างมาก โดยช่วง 9 เดือน กลุ่มสื่อ และจัดงานอีเวนต์ 13 บริษัทยกเว้นสื่อสิ่งพิมพ์มีกำไร 1,201 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 53% โดยจำนวนนี้มีขาดทุน 5 บริษัท
“แนวโน้มธุรกิจมีเดียเริ่มประสบปัญหารายได้ลดลง และขาดทุนเพิ่มขึ้น เห็นจากข้อมูลการแจ้งผลประกอบการของกลุ่มบริษัทในหมวด Media รายใหญ่ เช่น บีอีซี, อสมท., แกรมมี่, อาร์เอส และกลุ่มจัดงานอีเวนต์ เป็นต้น ต่างก็มีกำไรลดลง และขาดทุน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่สูง และมีผู้ประกอบการจำนวนมากมาแย่งโฆษณา”