“ปธ.ชมรมฟินเทคฯ” เตรียมลงนามความร่วมมือสร้าง National Sand Box ร่วมกับ “คลัง-ธปท.-หน่วยงานอื่น” ก่อนเปิดให้บริการต้นปี 60 หวังตอกย้ำไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศของโลกที่ให้ความสำคัญกับระบบฟินเทค ด้าน “สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา” ย้ำ แม้ ธปท.พน้อมหนุน เพราะยากต่อการต้านกระแสโลก หากต้องให้ความสำคัญการรักษาเสถียรภาพ และความมั่นคงของสถาบันการเงินในประเทศ “ฉัตรชัย ศิริวิไล” ระบุยังไม่กล้าเล่นลงเล่นเต็มตัว วอน ธปท.ทำกติกาให้ชัดเจนถึงรูปแบบฟินเทคที่ ธอส.ให้บริการได้
นายกรณ์ จาติกวณิต ประธานชมรมฟินเทคประเทศไทย กล่าวตอนหนึ่งในงานเสวนาหัวข้อ “Fin Fin with FINTECH” ซึ่งจัดโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ว่า ชมรมฟินเทคฯ ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อที่จะให้ความช่วยเหลือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาธุรกิจภายในกลุ่มผู้ที่เพิ่งจะเริ่มทำธุรกิจ (Start Up)
สำหรับการทำงานในก้าวต่อไปนั้น จะเตรียมลงนามความตกลงร่วมกับสถาบันการเงินรัฐ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ เพื่อสร้าง National Sand Box ซึ่งมีไว้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาทดลองใช้บริการในกรอบที่จำกัดแต่เฉพาะกลุ่ม Start Up อีกทั้ง ใน National Sand Box นี้ยังจะมีไว้เพื่อให้หน่วยงานกำกับดูแลได้พิจารณาว่า ควรจะต้องออกกฎกติกาที่เหมาะสมได้อย่างไร โดยก่อนหน้านี้ชมรมฟินเทคฯ ได้เคยลงนามความร่วมมือเพื่อสร้าง Sand Box ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้ว
นายกรณ์ ยังย้ำด้วยว่า National Sand Box จะเริ่มต้นเปิดให้บริการได้ในต้นปี 60 ซึ่งจะเป็นการตอกย้ำว่าประเทศไทยจะเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบฟินเทคภายประเทศของตน เนื่องจากประเทศที่มี Nation Sand Box ในลักษณะนี้จะถือว่าเป็นประเทศที่ส่งเสริมให้ใช้นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ
อย่างไรก็ตาม แม้ในปัจจุบัน ระบบฟินเทคจากต่างประเทศได้เข้าสู่ประเทศไทยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเว็บซื้อขายออนไลน์อย่างอาลีบาบา และอเมซอน แต่เชื่อว่าประเทศไทยยังคงมีพื้นที่ที่จะให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าของตัวเพื่อแข็งขันกับต่างประเทศ และตอบโจทย์ของลูกค้าได้อีก
นอกจากนี้ การวัดความสำเร็จของระบบฟินเทคนั้น เชื่อว่าวัยของผู้ใช้บริการระบบฟินเทคนั้น ไม่ใช่ปัญหา แต่สิ่งที่จะเป็นปัญหาจริงๆ คือ ความสะดวกในการเข้าถึง และการสื่อสารด้วยข้อมูลที่ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใจได้ไม่ยากมากกว่า ส่วนที่ยังคำถามว่าฟินเทคจะเข้ามาแทนที่การให้บริการของธนาคารพาณิชย์ หรือไม่นั้น เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์เข้าใจดี และรู้ตัวว่าต้องปรับตัวตามอยู่ตลอดเวลา
นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายระบบการชำระเงิน และเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธปท.ระบุว่า ธปท.ยินดีสนับสนุนระบบฟินเทค เนื่องจากรู้ดีว่าเป็นกระแสของโลกที่ ธปท.ไม่อาจต้านทานได้ แต่ในฐานะผู้ที่ต้องดูแลรักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินโดยรวมในประเทศแล้ว ธปท.ยังต้องให้ความสำคัญกับ 3 ประโยชน์ และ 2 ความ โดย 3 ประโยชน์นั้น จะประกอบไปด้วย ต้องมีประโยชน์กับประชาชนทั้งในแง่ความรวดเร็ว และความปลอดภัยที่จะทำผู้ใช้บริการสามารถวางใจต่อระบบฟินเทคได้ ต้องมีประโยชน์ในแง่ประสิทธิภาพในการลดต้นทุนทั้งในส่วนของผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการ และต้องมีประโยชน์ต่อการสร้างผลิตภัณฑ์การเงินรูปแบบใหม่ๆ ในประเทศด้วย ส่วน 2 ความ จะเน้นเรื่องความเสี่ยงในแง่ข้อมูลการกู้ยืมของลูกค้าที่สถาบันการเงินต้องให้ความระมัดระวัง และอยู่ในระดับที่เพียงพอ และความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้บริการที่ต้องมีอย่างเพียงพอ
ส่วน นายฉัตรชัย ศิริวิไล กรรมการผู้จัดการ ธอส. ได้กล่าวว่า ธอส.ได้เริ่มใช้ทดลองใช้ Fintech ภายในกลุ่มพนักงานจนปัจจุบันสามารถนำไปให้บริการได้จริงแก่ลูกค้า โดยยกตัวอย่างเช่น การให้บริการใบเสร็จรับชำระเงินกู้แบบอิเล็กทรอนิกส์ (GH Bank Smart Receipt) ที่เปิดให้บริการไปตั้งแต่เมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ฟินเทคก็ยังเป็นเหมือนเส้นบางๆ ที่แบ่งระหว่างความเพ้อฝัน กับความเพ้อเจ้อ ทำให้ ธอส.ไม่กล้าก้าวลงไปเล่นอย่างเต็มตัว ดังนั้น ตนจึงอยากขอร้องให้ ธปท.กำหนดกติกาให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาว่า การให้บริการฟินเทครูปแบบใดบ้างที่ ธอส.ทำได้ และไม่ได้
นายกรณ์ จาติกวณิต ประธานชมรมฟินเทคประเทศไทย กล่าวตอนหนึ่งในงานเสวนาหัวข้อ “Fin Fin with FINTECH” ซึ่งจัดโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ว่า ชมรมฟินเทคฯ ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อที่จะให้ความช่วยเหลือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาธุรกิจภายในกลุ่มผู้ที่เพิ่งจะเริ่มทำธุรกิจ (Start Up)
สำหรับการทำงานในก้าวต่อไปนั้น จะเตรียมลงนามความตกลงร่วมกับสถาบันการเงินรัฐ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ เพื่อสร้าง National Sand Box ซึ่งมีไว้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาทดลองใช้บริการในกรอบที่จำกัดแต่เฉพาะกลุ่ม Start Up อีกทั้ง ใน National Sand Box นี้ยังจะมีไว้เพื่อให้หน่วยงานกำกับดูแลได้พิจารณาว่า ควรจะต้องออกกฎกติกาที่เหมาะสมได้อย่างไร โดยก่อนหน้านี้ชมรมฟินเทคฯ ได้เคยลงนามความร่วมมือเพื่อสร้าง Sand Box ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้ว
นายกรณ์ ยังย้ำด้วยว่า National Sand Box จะเริ่มต้นเปิดให้บริการได้ในต้นปี 60 ซึ่งจะเป็นการตอกย้ำว่าประเทศไทยจะเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบฟินเทคภายประเทศของตน เนื่องจากประเทศที่มี Nation Sand Box ในลักษณะนี้จะถือว่าเป็นประเทศที่ส่งเสริมให้ใช้นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ
อย่างไรก็ตาม แม้ในปัจจุบัน ระบบฟินเทคจากต่างประเทศได้เข้าสู่ประเทศไทยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเว็บซื้อขายออนไลน์อย่างอาลีบาบา และอเมซอน แต่เชื่อว่าประเทศไทยยังคงมีพื้นที่ที่จะให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าของตัวเพื่อแข็งขันกับต่างประเทศ และตอบโจทย์ของลูกค้าได้อีก
นอกจากนี้ การวัดความสำเร็จของระบบฟินเทคนั้น เชื่อว่าวัยของผู้ใช้บริการระบบฟินเทคนั้น ไม่ใช่ปัญหา แต่สิ่งที่จะเป็นปัญหาจริงๆ คือ ความสะดวกในการเข้าถึง และการสื่อสารด้วยข้อมูลที่ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใจได้ไม่ยากมากกว่า ส่วนที่ยังคำถามว่าฟินเทคจะเข้ามาแทนที่การให้บริการของธนาคารพาณิชย์ หรือไม่นั้น เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์เข้าใจดี และรู้ตัวว่าต้องปรับตัวตามอยู่ตลอดเวลา
นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายระบบการชำระเงิน และเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธปท.ระบุว่า ธปท.ยินดีสนับสนุนระบบฟินเทค เนื่องจากรู้ดีว่าเป็นกระแสของโลกที่ ธปท.ไม่อาจต้านทานได้ แต่ในฐานะผู้ที่ต้องดูแลรักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินโดยรวมในประเทศแล้ว ธปท.ยังต้องให้ความสำคัญกับ 3 ประโยชน์ และ 2 ความ โดย 3 ประโยชน์นั้น จะประกอบไปด้วย ต้องมีประโยชน์กับประชาชนทั้งในแง่ความรวดเร็ว และความปลอดภัยที่จะทำผู้ใช้บริการสามารถวางใจต่อระบบฟินเทคได้ ต้องมีประโยชน์ในแง่ประสิทธิภาพในการลดต้นทุนทั้งในส่วนของผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการ และต้องมีประโยชน์ต่อการสร้างผลิตภัณฑ์การเงินรูปแบบใหม่ๆ ในประเทศด้วย ส่วน 2 ความ จะเน้นเรื่องความเสี่ยงในแง่ข้อมูลการกู้ยืมของลูกค้าที่สถาบันการเงินต้องให้ความระมัดระวัง และอยู่ในระดับที่เพียงพอ และความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้บริการที่ต้องมีอย่างเพียงพอ
ส่วน นายฉัตรชัย ศิริวิไล กรรมการผู้จัดการ ธอส. ได้กล่าวว่า ธอส.ได้เริ่มใช้ทดลองใช้ Fintech ภายในกลุ่มพนักงานจนปัจจุบันสามารถนำไปให้บริการได้จริงแก่ลูกค้า โดยยกตัวอย่างเช่น การให้บริการใบเสร็จรับชำระเงินกู้แบบอิเล็กทรอนิกส์ (GH Bank Smart Receipt) ที่เปิดให้บริการไปตั้งแต่เมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ฟินเทคก็ยังเป็นเหมือนเส้นบางๆ ที่แบ่งระหว่างความเพ้อฝัน กับความเพ้อเจ้อ ทำให้ ธอส.ไม่กล้าก้าวลงไปเล่นอย่างเต็มตัว ดังนั้น ตนจึงอยากขอร้องให้ ธปท.กำหนดกติกาให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาว่า การให้บริการฟินเทครูปแบบใดบ้างที่ ธอส.ทำได้ และไม่ได้